“นิรโทษกรรมและแก้รัฐธรรมนูญของมายา กู้ทำสาธารณูปโภค 2 ล้านล้านสิของจริง”
วรรคทองของม.จ.สิทธิพร กฤดากร (2426 - 2514) เมื่อวันวานอาจจะเป็น “เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง” แต่วรรคทองของรัฐบาลชินวัตรวันนี้น่าจะเป็นอย่างข้างบน
เป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ที่แท้จริงของรัฐบาลนี้ในช่วงปี 2556
1) เลือกกลุ่มผู้รับเหมาโครงการน้ำให้ได้ภายในเมษา กู้เงิน 340,000 ล้านบาทตามพระราชกำหนดให้หมดภายใน 30 มิถุนายน 2556
2) ผ่านพ.ร.บ.กู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทให้เสร็จภายในมิถุนายน-สิงหาคม 2556
3) เร่งออก TOR รถไฟด่วนความเร็วสูงที่มีมูลค่าโครงการเกือบ 80% ของโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทให้เรียบร้อยก่อนสิ้นปี 2556 เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาและ/หรือผู้ร่วมทุนภายในกลางปี 2557
เป้าหมายหลักอื่นๆ ที่เคยประกาศไว้โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ รวมทั้งการนิรโทษกรรมและ/หรือการปรองดอง เป็นเป้าหมายรองไปแล้ว ไม่เร่ง ไม่กำหนดระยะเวลา ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่จะไม่เสี่ยงเข้าหักหาญ
แต่การแสดงออกทางยุทธวิธีก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะต้องบริหารจัดการศรัทธาของมวลชนคนเสื้อแดงให้อยู่ในกรอบที่แม้ไม่พอใจไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังต้องสนับสนุน
การกู้เงินให้ครบตามพระราชกำหนด 350,000 ล้านบาทภายในมิถุนายน 2556 และกู้อีก 2 ล้านล้านบาทภายใน 7 ปีจนถึงปี 2563 ตามร่างพระราชบัญญัติที่กำลังจะเข้าสภาเร็วๆ นี้ จะทำให้ GDP โตขึ้นเท่าไรก็ยังต้องพิสูจน์กัน และยังมีตัวแปรจากภาวะเศรษฐกิจโลกอีก มิพักต้องพูดถึงว่าส่วนที่โตขึ้นนั้นกระจุกมากกว่ากระจาย แต่ที่แน่นอนชนิดไม่ต้องพิสูจน์เลยก็คือเมื่อกู้ครบแล้วนับแต่ปี 2563 ไปประเทศมีภาระต้องจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยปีละประมาณ 100,000 ล้านบาทบวกลบโดยต้องตั้งจ่ายคืนจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ยอดนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1/5 - 1/4 ของงบลงทุนในแต่ละปีงบประมาณ
นี่ยังไม่นับรวมภาระดอกเบี้ยที่ต้องตั้งจ่ายคืนจากหนี้สาธารณะก้อนอื่นที่มีอยู่แล้ว และจะมีเพิ่มขึ้น อาทิ หนี้ที่ขาดทุนสะสมจากโครงการรับจำนำข้าวราคาสูงกว่าตลาดโลกที่ยังดื้อทำอยู่
นี่พูดเฉพาะดอกเบี้ย ไม่ได้พูดถึงเงินต้น และยังไม่ได้พูดถึง Commitment fee และ Penalty fee ที่อาจจะต้องมีอีกนะ
ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้มีแสดงไว้ในนิทรรศการของรัฐบาลที่จัดอยู่ตลอดสัปดาห์ที่แล้วที่ศูนย์ราชการ!
หนี้ของประเทศไม่ได้มีหนี้ก้อนนี้ก้อนเดียว
ยังมีอีกมาก
เอาง่ายๆ ล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมานี้เอง
ก่อนหน้านี้ทั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังต่างยืนยันนั่งยันและนอนยันว่าจะไม่เพิ่มวงเงินค้ำประกันเงินกู้และให้กู้ต่อตามพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2552 มาตรา 25, 28 แก่ ธ.ก.ส.เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าว จะยังคงให้แค่ 150,000 ล้านบาทตามมติ ครม.ครั้งก่อน แต่มติคณะรัฐมนตรีล่าสุดเพิ่มวงเงินให้อีก 74,170 ล้านบาทเรียบร้อยตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ 2556 ปรับปรุงใหม่
คนเสียภาษีถูกล้วงกระเป๋าไปอีกกว่า 7 หมื่นล้านบาทกับโครงการที่รัฐมนตรีอีกคนเพิ่งออกมาสารภาพบาปสัปดาห์ก่อนว่าล้มเหลว
แต่ก็ยังดันทุรังทู่ซี้ทำต่อไปโดยไม่มีสัญญาณว่าจะปรับแก้ในสาระสำคัญ
การลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานจะดีหรือไม่ ยังไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดถึงในวันนี้ ที่พูดนี่พูดถึงเฉพาะวิธีการใช้เงินที่ผมเห็นมาโดยตลอดว่าควรใช้วิธีการตามปรกติที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 – 170
โดยเฉพาะในกรณีนี้คือมาตรา 169 วรรคหนึ่ง
“การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
ระบอบประชาธิปไตยคือการควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐ
สำคัญสุดคือการใช้เงิน
ประเทศไทยมีวิวัฒนาการเรื่องนี้มายาวนาน กฎหมายงบประมาณรายจ่ายมีความละเอียดเพื่อให้ระบบราชการประจำได้ทำงานอย่างรอบคอบ และให้อำนาจฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบและเสนอตัดทอนได้
การออกกฎหมายพิเศษเพื่อการใช้เงินนั้นมีได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ผมขีดเส้นใต้ไว้
“เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน...”
การใช้เงินลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งสิ้น 4.2 ล้านล้านบาท แยกออกมาเป็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแน่นอน ความจำเป็นในการลงทุนให้ทันโลกอาจจะเร่งด่วน แต่การใช้เงินไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะต้องทยอยใช้ภายใน 7 ปีงบประมาณ ใช้จ่ายตามความคืบหน้าของงาน เหมือนปลูกบ้านนั่นแหละ
นี่คือความล่อแหลมที่สุดของว่าที่ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
ล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญ!
รัฐบาลจะวางแผนกำหนดเวลาอะไรไว้ อย่าลืมเผื่อเวลาสำหรับการพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญด้วยก็แล้วกัน
เรื่องเร่งด่วนนี้เฉพาะพระราชกำหนดตัวเก่ากู้ 350,000 ล้านบาทก็มีปัญหาแล้ว ออกมาตั้งแต่มกราคม 2555 บอกว่าเร่งด่วนอย่างนั้นอย่างนี้ จนบัดนี้กู้ไปเพียง 10,000 ล้านบาท เหลืออีก 340,000 ล้านบาทจะต้องกู้ภายใน 30 มิถุนายน 2556 แต่ก็ยังไม่ได้ใช้ทันที เพราะโครงการยังไม่มีรายละเอียด และยังต้องมีขั้นตอนอีกมาก ต้องทยอยใช้ไปอีกอย่างน้อยๆ ก็ 5 ปีงบประมาณ
ล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 นี้เช่นกัน
และยังล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 อีกด้วย
เสียดายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปแล้วตั้งแต่เมื่อปี 2555 ว่าพระราชกำหนดตัวนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลบอกว่าการลงทุนครั้งใหญ่นี้จะไม่กู้ทั้งหมด จะมีส่วนที่ร่วมทุนกับภาคเอกชนด้วย ซึ่งก็ให้เผอิญกฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่กำลังจะมีผลบังคับใช้แทนฉบับเก่า 2535 ด้วย เปิดดูในมาตรา 28 พบว่าให้อำนาจคณะรัฐมนตรีตัดสินใจใช้เงินแผ่นดินมาร่วมทุนกับเอกชนได้โดยไม่ต้องทำตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 169
กฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่จะได้ไปเยี่ยมศาลรัฐธรรมนูญก่อนกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านแน่!
วรรคทองของม.จ.สิทธิพร กฤดากร (2426 - 2514) เมื่อวันวานอาจจะเป็น “เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง” แต่วรรคทองของรัฐบาลชินวัตรวันนี้น่าจะเป็นอย่างข้างบน
เป้าหมายหลักทางยุทธศาสตร์ที่แท้จริงของรัฐบาลนี้ในช่วงปี 2556
1) เลือกกลุ่มผู้รับเหมาโครงการน้ำให้ได้ภายในเมษา กู้เงิน 340,000 ล้านบาทตามพระราชกำหนดให้หมดภายใน 30 มิถุนายน 2556
2) ผ่านพ.ร.บ.กู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทให้เสร็จภายในมิถุนายน-สิงหาคม 2556
3) เร่งออก TOR รถไฟด่วนความเร็วสูงที่มีมูลค่าโครงการเกือบ 80% ของโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทให้เรียบร้อยก่อนสิ้นปี 2556 เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาและ/หรือผู้ร่วมทุนภายในกลางปี 2557
เป้าหมายหลักอื่นๆ ที่เคยประกาศไว้โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ รวมทั้งการนิรโทษกรรมและ/หรือการปรองดอง เป็นเป้าหมายรองไปแล้ว ไม่เร่ง ไม่กำหนดระยะเวลา ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่จะไม่เสี่ยงเข้าหักหาญ
แต่การแสดงออกทางยุทธวิธีก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะต้องบริหารจัดการศรัทธาของมวลชนคนเสื้อแดงให้อยู่ในกรอบที่แม้ไม่พอใจไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังต้องสนับสนุน
การกู้เงินให้ครบตามพระราชกำหนด 350,000 ล้านบาทภายในมิถุนายน 2556 และกู้อีก 2 ล้านล้านบาทภายใน 7 ปีจนถึงปี 2563 ตามร่างพระราชบัญญัติที่กำลังจะเข้าสภาเร็วๆ นี้ จะทำให้ GDP โตขึ้นเท่าไรก็ยังต้องพิสูจน์กัน และยังมีตัวแปรจากภาวะเศรษฐกิจโลกอีก มิพักต้องพูดถึงว่าส่วนที่โตขึ้นนั้นกระจุกมากกว่ากระจาย แต่ที่แน่นอนชนิดไม่ต้องพิสูจน์เลยก็คือเมื่อกู้ครบแล้วนับแต่ปี 2563 ไปประเทศมีภาระต้องจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยปีละประมาณ 100,000 ล้านบาทบวกลบโดยต้องตั้งจ่ายคืนจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ยอดนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1/5 - 1/4 ของงบลงทุนในแต่ละปีงบประมาณ
นี่ยังไม่นับรวมภาระดอกเบี้ยที่ต้องตั้งจ่ายคืนจากหนี้สาธารณะก้อนอื่นที่มีอยู่แล้ว และจะมีเพิ่มขึ้น อาทิ หนี้ที่ขาดทุนสะสมจากโครงการรับจำนำข้าวราคาสูงกว่าตลาดโลกที่ยังดื้อทำอยู่
นี่พูดเฉพาะดอกเบี้ย ไม่ได้พูดถึงเงินต้น และยังไม่ได้พูดถึง Commitment fee และ Penalty fee ที่อาจจะต้องมีอีกนะ
ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้มีแสดงไว้ในนิทรรศการของรัฐบาลที่จัดอยู่ตลอดสัปดาห์ที่แล้วที่ศูนย์ราชการ!
หนี้ของประเทศไม่ได้มีหนี้ก้อนนี้ก้อนเดียว
ยังมีอีกมาก
เอาง่ายๆ ล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมานี้เอง
ก่อนหน้านี้ทั้งรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังต่างยืนยันนั่งยันและนอนยันว่าจะไม่เพิ่มวงเงินค้ำประกันเงินกู้และให้กู้ต่อตามพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2552 มาตรา 25, 28 แก่ ธ.ก.ส.เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าว จะยังคงให้แค่ 150,000 ล้านบาทตามมติ ครม.ครั้งก่อน แต่มติคณะรัฐมนตรีล่าสุดเพิ่มวงเงินให้อีก 74,170 ล้านบาทเรียบร้อยตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ 2556 ปรับปรุงใหม่
คนเสียภาษีถูกล้วงกระเป๋าไปอีกกว่า 7 หมื่นล้านบาทกับโครงการที่รัฐมนตรีอีกคนเพิ่งออกมาสารภาพบาปสัปดาห์ก่อนว่าล้มเหลว
แต่ก็ยังดันทุรังทู่ซี้ทำต่อไปโดยไม่มีสัญญาณว่าจะปรับแก้ในสาระสำคัญ
การลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานจะดีหรือไม่ ยังไม่ใช่ประเด็นที่จะพูดถึงในวันนี้ ที่พูดนี่พูดถึงเฉพาะวิธีการใช้เงินที่ผมเห็นมาโดยตลอดว่าควรใช้วิธีการตามปรกติที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 – 170
โดยเฉพาะในกรณีนี้คือมาตรา 169 วรรคหนึ่ง
“การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
ระบอบประชาธิปไตยคือการควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐ
สำคัญสุดคือการใช้เงิน
ประเทศไทยมีวิวัฒนาการเรื่องนี้มายาวนาน กฎหมายงบประมาณรายจ่ายมีความละเอียดเพื่อให้ระบบราชการประจำได้ทำงานอย่างรอบคอบ และให้อำนาจฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบและเสนอตัดทอนได้
การออกกฎหมายพิเศษเพื่อการใช้เงินนั้นมีได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ผมขีดเส้นใต้ไว้
“เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน...”
การใช้เงินลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งสิ้น 4.2 ล้านล้านบาท แยกออกมาเป็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแน่นอน ความจำเป็นในการลงทุนให้ทันโลกอาจจะเร่งด่วน แต่การใช้เงินไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะต้องทยอยใช้ภายใน 7 ปีงบประมาณ ใช้จ่ายตามความคืบหน้าของงาน เหมือนปลูกบ้านนั่นแหละ
นี่คือความล่อแหลมที่สุดของว่าที่ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
ล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญ!
รัฐบาลจะวางแผนกำหนดเวลาอะไรไว้ อย่าลืมเผื่อเวลาสำหรับการพิจารณาในศาลรัฐธรรมนูญด้วยก็แล้วกัน
เรื่องเร่งด่วนนี้เฉพาะพระราชกำหนดตัวเก่ากู้ 350,000 ล้านบาทก็มีปัญหาแล้ว ออกมาตั้งแต่มกราคม 2555 บอกว่าเร่งด่วนอย่างนั้นอย่างนี้ จนบัดนี้กู้ไปเพียง 10,000 ล้านบาท เหลืออีก 340,000 ล้านบาทจะต้องกู้ภายใน 30 มิถุนายน 2556 แต่ก็ยังไม่ได้ใช้ทันที เพราะโครงการยังไม่มีรายละเอียด และยังต้องมีขั้นตอนอีกมาก ต้องทยอยใช้ไปอีกอย่างน้อยๆ ก็ 5 ปีงบประมาณ
ล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 นี้เช่นกัน
และยังล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 อีกด้วย
เสียดายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปแล้วตั้งแต่เมื่อปี 2555 ว่าพระราชกำหนดตัวนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลบอกว่าการลงทุนครั้งใหญ่นี้จะไม่กู้ทั้งหมด จะมีส่วนที่ร่วมทุนกับภาคเอกชนด้วย ซึ่งก็ให้เผอิญกฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่กำลังจะมีผลบังคับใช้แทนฉบับเก่า 2535 ด้วย เปิดดูในมาตรา 28 พบว่าให้อำนาจคณะรัฐมนตรีตัดสินใจใช้เงินแผ่นดินมาร่วมทุนกับเอกชนได้โดยไม่ต้องทำตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 169
กฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่จะได้ไปเยี่ยมศาลรัฐธรรมนูญก่อนกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านแน่!