ASTVผู้จัดการรายวัน - อัยการยื่นฟ้อง 31 พันธมิตรฯ บุกสนามบิน ก่อนนัดสอบคำให้การจำเลย วันที่ 29 เมษายนนี้ ด้านทนายความได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพประกันตัวคนละ 8 แสนบาท ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
วานนี้ (14 มี.ค.)ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 14.00 น. พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุลกับพวกรวม 31 คน อาทิ นายพิภพ ธงไชย, ,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายสุริยะใส กตะศิลา, นายประพันธุ์ คูณมี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายศิริชัย ไม้งาม, พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ , นายเทิดภูมิ ใจดี,นายไทกร พลสุวรรณ ,พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ และบริษัทเอเอสทีวี เป็นจำเลยในความผิด ฐานร่วมกันก่อการร้ายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ กรณีพวกจำเลยบุกเข้าไปในสนามบินดอนเมืองและ สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551
โดยอัยการระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2551 รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีสถานการณ์ร้ายแรงในเขตพื้นที่ดอนเมือง ลาดกระบัง และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการโดยให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.(ขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยได้ออกประกาศวันที่ 29 พ.ย. 2551 ห้ามมิให้มีการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป บริเวณเขตดอนเมืองและพื้นที่อื่น ๆ และห้ามใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณพื้นที่ชุมนุมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (ดอนเมือง) ห้ามใช้อาคาร ห้ามใช้พื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและให้ประชาชนที่ชุมนุมบริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองออกจากพื้นที่ทันที
ต่อมาวันที่ 29 พ.ย. 2551 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ. 1 หัวหน้าผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณเขตลาดกระบังและ อ.บางเสาธง ได้ออกข้อกำหนดอีก 1 ฉบับ กล่าวคือ ห้ามมีการชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คน ชุมนุมในกรุงเทพและจ.สมุทรปราการ ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสนามบินสุวรรณภูมิใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณ ถ.บางนา-ตราดและที่อื่น ๆ และห้ามผู้ใดไปในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยใช้อพยพผู้ชุมนุมออกไปและห้ามกลับเข้ามาอีก
ต่อมานายศรันยู วงศ์กระจ่างกับพวกที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้องได้ร่วมกันกับนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ พล.อ.ปฐมพงศ์ เกสรสุข นายกษิต ภิรมย์ นายวีระ สมความคิด น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ได้ประกาศรวมตัวประชาชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จำนวนหลายพันคนเข้าร่วมชุมนุมบริเวณสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งบ.เอเอสทีวี จำเลยที่ 31 ได้จัดให้ มีการถ่ายทอดแพร่ภาพและเสียงชักชวนปลุกระดมประชาชนให้เข้าชุมนุมที่สนามบินทั้ง 2 แห่งอีกเพื่อประท้วงรัฐบาลนายสมชาย ทำให้ประชาชนที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ทราบการเคลื่อนไหวชุมนุมที่ฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล
ต่อมาวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย ทำให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพวกจำเลยจึงยอมสลายการชุมนุม
อัยการระบุฟ้องต่อไปว่า พวกจำเลยได้ทำร้ายร่างกาย จ.ส.ต. วิเชียร ช่วยพัทลุง สังกัดสันติบาล 1 ที่ใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายภาพผู้ชุมนุมขณะทำการยึดและปิดล้อมอาคารชั้น 4 สนามบินสุวรรณภูมิ และยังแย่งกล้องถ่ายรูปไปโดย จ.ส.ต.วิเชียรได้ถ่ายรูปจำเลยขณะบุกยึดอาคารไว้ทั้งหมด ขู่เข็ญให้เกิดความกลัวเพื่อให้ลบภาพการชุมนุม จึงเป็นความผิดฐานขัดขวางหน่วงเหนี่ยวและข่มขืนใจเจ้าพนักงาน ให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดกฎหมาย
นอกจากนี้วันที่ 26 พ.ย. 2551 จำเลยที 11 กับพวกได้บังคับนางอุบล ปราโมช ผช.หน.รปภ.ที่ดูแลร้านค้าในสนามบินสุวรรณภูมิ ได้บุกเข้าไปในร้านค้าปลอดภาษีให้ทำการปิดร้านและให้ออกไปจากพื้นที่ โดยพวกจำเลยจะเข้าไปดูแลพื้นที่ดังกล่าวเอง มิฉะนั้นจะไม่รับรองความปลอดภัย และเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2551 ได้มีพวกของจำเลยประมาณ 300คนซึ่งมีหนังสติ๊ก ไม้กอล์ฟ เข้าไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณหน้าอาคารคลังสินค้า ถ.เมนโรดฝั่งขาเข้า โดยได้ใช้รถบรรทุกหกล้อดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยและร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย จ.ส.ต.เกรียงไกร บุญธรรม กับพวกจนได้รับบาดเจ็บ จากนั้นได้ใช้มีดปลายแหลมกรีดทำลายล้อรถยนต์ของราชการ ทั้งยังบังคับให้ตำรวจเปิดประตูรถยนต์ของราชการ แล้วนายศรันยู วงศ์กระจ่าง เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ เข้ารื้อค้นสิ่งของในรถและเอาพวกเหล็ก ไม้กอล์ฟ คืนกลับไป วันเดียวกันพวกของจำเลยยังได้ทำร้าย ด.ต.สมภพ นที กับพวกที่รักษาการบริเวณสถานีตำรวจภูธรราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ โดยพวกข่มขู่ ฉุดกระชากให้เข้าไปในอาคารผู้โดยสารชั้น4 เพื่อให้นายสำราญ รอดเพชร สอบปากคำเพื่อให้ตอบคำถามว่าที่ สภ.มีคลังอาวุธอยู่บริเวณใการกระทำของจำเลยเป็นการระดมมวลชนให้โค่นล้มนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ลาออกจากนายกรัฐมนตรีโดยใช้แผนเรียกว่า “การประกาศสงครามครั้งสุดท้ายครั้งเดียวจบ” โดยใช้ยุทธวิธีแผนดาวกระจาย และใช้สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีสนับสนุน เป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมมากที่สุด การกระทำดังกล่าวทำให้ประชาชนร่วมประท้วงรัฐบาลมีการกระจายกำลงปิดล้อมรัฐสภา ขณะนายสมชาย แถลงนโยบายรัฐบาล อีกพวกหนึ่งปิดล้อมกระทรวงการคลัง เพื่อบีบบังคับไม่ให้ รมว.คลังปฏิบัติหน้าที่แล้วเคลื่อนกำลังเข้าไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลที่สนามบินดอนเมือง เพื่อไม่ให้รัฐบาลปฏิบัติหน้าที่ได้มีการนำรถยนต์ ลวดหนาม แผงเหล็ก มาปิดกันสะพานกลับรถบริเวณ ถ.วิภาวีดี-รังสิต ขาออกทำให้ประชาชนเดินทางไม่ได้ และยังบุกเข้าไปในสถานที่ทำการติดตั้งเสาเรดาร์ของบ.วิทยุการบินฯแล้วเอาจานรับสัญญาณโทรทัศน์ของผู้ชุมนุมไปติดตั้งไว้ใกล้ ๆทำให้สัญญาณเรดาร์ใช้การไม่ได้ การบินหยุดชะงัก และยังขู่เข็ญห้ามไม่ให้เครื่องบินขึ้น-ลงสนามบินดอนเมือง และพวกจำเลยได้ทำร้าย ขู่เข็ญเจ้าพนักงานหลายครั้งซึ่งเป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระ มีอัตราโทษสูง อันเป็นความผิดตามกฎหมายจึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานร่วมกันก่อการร้ายเพี่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ, ร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครอง เข้าไปซ่อนตัวในอาคารสำนักงานของผู้อื่นและไม่ยอมออกไปจากสถานที่นั้น โดยใช้กำลงประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยร่วมกันทำลาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยาน ทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยาน, ร่วมกันทำให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะอันตรายต่อการจราจร, ร่วมจัดทำให้การสื่อสารสาธารณะขัดข้อง, ร่วมกันทำลายทำให้เสื่อมค่าทรัพย์สินของผู้อื่น, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ, ร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิตจนผู้ข่มขืนใจยินยอม,ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้เสื่อมเสียอิสรภาพต่อร่างกายศาลได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.973/2556 และนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 09.00น.
ทั้งนี้ ทนายความของจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพประกันตัวคนละ 8 แสนบาท ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยื่นฟ้องของอัยการวันนี้มีนายพิภพ ธงไชย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ กับพวกรวม 17 คนเท่านั้นที่มาศาล ส่วน พล.ต.จำลอง นายสนธิ กับพวกอีก 14 คนซึ่งได้ถูกฟ้องคดีร่วมกันบุกทำเนียบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.55ไม่ได้เดินทางมาศาลเนื่องจากได้รับการประกันตัวไปก่อนหน้านี้
สำหรับคดีนี้จำเลยมีทั้งหมด 114 คน โดยวันนี้นำตัวมาฟ้องต่อศาลแล้ว 31 คน ส่วนจำเลยที่เหลืออัยการจะได้ทยอยฟ้องต่อไป
วานนี้ (14 มี.ค.)ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 14.00 น. พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุลกับพวกรวม 31 คน อาทิ นายพิภพ ธงไชย, ,นายสมศักดิ์ โกศัยสุข,นายสุริยะใส กตะศิลา, นายประพันธุ์ คูณมี, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, นายศิริชัย ไม้งาม, พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ , นายเทิดภูมิ ใจดี,นายไทกร พลสุวรรณ ,พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ และบริษัทเอเอสทีวี เป็นจำเลยในความผิด ฐานร่วมกันก่อการร้ายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมตั้งแต่10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ กรณีพวกจำเลยบุกเข้าไปในสนามบินดอนเมืองและ สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551
โดยอัยการระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2551 รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีสถานการณ์ร้ายแรงในเขตพื้นที่ดอนเมือง ลาดกระบัง และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการโดยให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.(ขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยได้ออกประกาศวันที่ 29 พ.ย. 2551 ห้ามมิให้มีการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป บริเวณเขตดอนเมืองและพื้นที่อื่น ๆ และห้ามใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณพื้นที่ชุมนุมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (ดอนเมือง) ห้ามใช้อาคาร ห้ามใช้พื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองและให้ประชาชนที่ชุมนุมบริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองออกจากพื้นที่ทันที
ต่อมาวันที่ 29 พ.ย. 2551 พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ ผบช.ภ. 1 หัวหน้าผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณเขตลาดกระบังและ อ.บางเสาธง ได้ออกข้อกำหนดอีก 1 ฉบับ กล่าวคือ ห้ามมีการชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 5 คน ชุมนุมในกรุงเทพและจ.สมุทรปราการ ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสนามบินสุวรรณภูมิใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณ ถ.บางนา-ตราดและที่อื่น ๆ และห้ามผู้ใดไปในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยใช้อพยพผู้ชุมนุมออกไปและห้ามกลับเข้ามาอีก
ต่อมานายศรันยู วงศ์กระจ่างกับพวกที่ยังไม่ได้นำตัวมาฟ้องได้ร่วมกันกับนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ พล.อ.ปฐมพงศ์ เกสรสุข นายกษิต ภิรมย์ นายวีระ สมความคิด น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ได้ประกาศรวมตัวประชาชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จำนวนหลายพันคนเข้าร่วมชุมนุมบริเวณสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งบ.เอเอสทีวี จำเลยที่ 31 ได้จัดให้ มีการถ่ายทอดแพร่ภาพและเสียงชักชวนปลุกระดมประชาชนให้เข้าชุมนุมที่สนามบินทั้ง 2 แห่งอีกเพื่อประท้วงรัฐบาลนายสมชาย ทำให้ประชาชนที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ทราบการเคลื่อนไหวชุมนุมที่ฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล
ต่อมาวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย ทำให้นายสมชายพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพวกจำเลยจึงยอมสลายการชุมนุม
อัยการระบุฟ้องต่อไปว่า พวกจำเลยได้ทำร้ายร่างกาย จ.ส.ต. วิเชียร ช่วยพัทลุง สังกัดสันติบาล 1 ที่ใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายภาพผู้ชุมนุมขณะทำการยึดและปิดล้อมอาคารชั้น 4 สนามบินสุวรรณภูมิ และยังแย่งกล้องถ่ายรูปไปโดย จ.ส.ต.วิเชียรได้ถ่ายรูปจำเลยขณะบุกยึดอาคารไว้ทั้งหมด ขู่เข็ญให้เกิดความกลัวเพื่อให้ลบภาพการชุมนุม จึงเป็นความผิดฐานขัดขวางหน่วงเหนี่ยวและข่มขืนใจเจ้าพนักงาน ให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดกฎหมาย
นอกจากนี้วันที่ 26 พ.ย. 2551 จำเลยที 11 กับพวกได้บังคับนางอุบล ปราโมช ผช.หน.รปภ.ที่ดูแลร้านค้าในสนามบินสุวรรณภูมิ ได้บุกเข้าไปในร้านค้าปลอดภาษีให้ทำการปิดร้านและให้ออกไปจากพื้นที่ โดยพวกจำเลยจะเข้าไปดูแลพื้นที่ดังกล่าวเอง มิฉะนั้นจะไม่รับรองความปลอดภัย และเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2551 ได้มีพวกของจำเลยประมาณ 300คนซึ่งมีหนังสติ๊ก ไม้กอล์ฟ เข้าไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณหน้าอาคารคลังสินค้า ถ.เมนโรดฝั่งขาเข้า โดยได้ใช้รถบรรทุกหกล้อดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยและร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย จ.ส.ต.เกรียงไกร บุญธรรม กับพวกจนได้รับบาดเจ็บ จากนั้นได้ใช้มีดปลายแหลมกรีดทำลายล้อรถยนต์ของราชการ ทั้งยังบังคับให้ตำรวจเปิดประตูรถยนต์ของราชการ แล้วนายศรันยู วงศ์กระจ่าง เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ เข้ารื้อค้นสิ่งของในรถและเอาพวกเหล็ก ไม้กอล์ฟ คืนกลับไป วันเดียวกันพวกของจำเลยยังได้ทำร้าย ด.ต.สมภพ นที กับพวกที่รักษาการบริเวณสถานีตำรวจภูธรราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ โดยพวกข่มขู่ ฉุดกระชากให้เข้าไปในอาคารผู้โดยสารชั้น4 เพื่อให้นายสำราญ รอดเพชร สอบปากคำเพื่อให้ตอบคำถามว่าที่ สภ.มีคลังอาวุธอยู่บริเวณใการกระทำของจำเลยเป็นการระดมมวลชนให้โค่นล้มนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ลาออกจากนายกรัฐมนตรีโดยใช้แผนเรียกว่า “การประกาศสงครามครั้งสุดท้ายครั้งเดียวจบ” โดยใช้ยุทธวิธีแผนดาวกระจาย และใช้สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีสนับสนุน เป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมมากที่สุด การกระทำดังกล่าวทำให้ประชาชนร่วมประท้วงรัฐบาลมีการกระจายกำลงปิดล้อมรัฐสภา ขณะนายสมชาย แถลงนโยบายรัฐบาล อีกพวกหนึ่งปิดล้อมกระทรวงการคลัง เพื่อบีบบังคับไม่ให้ รมว.คลังปฏิบัติหน้าที่แล้วเคลื่อนกำลังเข้าไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลที่สนามบินดอนเมือง เพื่อไม่ให้รัฐบาลปฏิบัติหน้าที่ได้มีการนำรถยนต์ ลวดหนาม แผงเหล็ก มาปิดกันสะพานกลับรถบริเวณ ถ.วิภาวีดี-รังสิต ขาออกทำให้ประชาชนเดินทางไม่ได้ และยังบุกเข้าไปในสถานที่ทำการติดตั้งเสาเรดาร์ของบ.วิทยุการบินฯแล้วเอาจานรับสัญญาณโทรทัศน์ของผู้ชุมนุมไปติดตั้งไว้ใกล้ ๆทำให้สัญญาณเรดาร์ใช้การไม่ได้ การบินหยุดชะงัก และยังขู่เข็ญห้ามไม่ให้เครื่องบินขึ้น-ลงสนามบินดอนเมือง และพวกจำเลยได้ทำร้าย ขู่เข็ญเจ้าพนักงานหลายครั้งซึ่งเป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระ มีอัตราโทษสูง อันเป็นความผิดตามกฎหมายจึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานร่วมกันก่อการร้ายเพี่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ, ร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครอง เข้าไปซ่อนตัวในอาคารสำนักงานของผู้อื่นและไม่ยอมออกไปจากสถานที่นั้น โดยใช้กำลงประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยร่วมกันทำลาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าอากาศยาน ทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยาน, ร่วมกันทำให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะอันตรายต่อการจราจร, ร่วมจัดทำให้การสื่อสารสาธารณะขัดข้อง, ร่วมกันทำลายทำให้เสื่อมค่าทรัพย์สินของผู้อื่น, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธ, ร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย, ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวจะเกิดอันตรายต่อชีวิตจนผู้ข่มขืนใจยินยอม,ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้เสื่อมเสียอิสรภาพต่อร่างกายศาลได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.973/2556 และนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 29 เม.ย. เวลา 09.00น.
ทั้งนี้ ทนายความของจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพประกันตัวคนละ 8 แสนบาท ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การยื่นฟ้องของอัยการวันนี้มีนายพิภพ ธงไชย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ กับพวกรวม 17 คนเท่านั้นที่มาศาล ส่วน พล.ต.จำลอง นายสนธิ กับพวกอีก 14 คนซึ่งได้ถูกฟ้องคดีร่วมกันบุกทำเนียบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.55ไม่ได้เดินทางมาศาลเนื่องจากได้รับการประกันตัวไปก่อนหน้านี้
สำหรับคดีนี้จำเลยมีทั้งหมด 114 คน โดยวันนี้นำตัวมาฟ้องต่อศาลแล้ว 31 คน ส่วนจำเลยที่เหลืออัยการจะได้ทยอยฟ้องต่อไป