ต่อรองค่าจ้างเดินรถสีม่วงถึงทางตัน BMCL ยืนราคา 8.3 หมื่นล.ระบุสุดท้ายต้องโยนครม.ตัดสินใจ รับไม่รับ คาดจะกลายเป็นเผือกร้อนรัฐบาลเหตุเสี่ยงถูกฝ่ายค้านถล่ม เนื่องจากยังมีตัวเลขแฝงที่ค่า Operation ตลอดสัญญา 30 ปี ประมาณ 2 พันล. ที่เอกชนคิดจากฐานเดินรถระบบใต้ดินซึ่งไม่ถูกต้องเพราะรถไฟฟ้าสีม่วงเป็นระบบลอยฟ้าควรเทียบจากระบบที่เหมือนกัน
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญา 4 (สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา) กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ
BMCL เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากที่ปรึกษายังทำรายรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ครบถ้วน รวมถึงยังไม่สามารถเจรจาปรับลดค่าจ้างเดินรถจากล่าสุดที่ราคาลดลงมาอยู่ที่ 83,310 ล้านบาทลงได้เพิ่มเติม
ทั้งนี้ การที่ BMCL ยังไม่ยอมปรับลดราคาลงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ยังไม่สามารถสรุปผลการพิจารณาสัญญาเดินรถสายสีม่วง เสนอครม.ได้ ซึ่งล่าสุดนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯรฟม.ได้ยอมรับว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องเลื่อนกำหนดการเปิดเดินรถจากเดือนตุลาคม 2558 ออกไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2559 แทน
ซึ่งการเลื่อนกำหนดเปิดเดินรถออกไปครั้งนี้ จะช่วยลดแรงกดดันในการเจรจาที่ทางเอกชนหวังใช้เงื่อนเวลาเปิดเดินรถบีบให้รฟม.ยอมรับราคา
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคาค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในรูปแบบการร่วมทุนแบบ PPP Gross Cost Concession (GC) โดยรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและจัดเก็บค่าโดยสาร เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าทำหน้าที่เดินรถแล้วจ่ายเป็นเงินค่าจ้างแบบกำหนดราคาคงที่นั้น แม้จะให้อำนาจคณะกรรมการมาตรา 13 แต่หากเสนอราคาที่ 8.3
หมื่นล้านบาทครม.อาจจะไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเป็นที่ทราบกันว่าราคายังสูงไป ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกฝ่ายค้านโจมตีกลับได้ เพราะก่อนหน้านี้ ฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งคำถามและมีการตรวจสอบกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมัยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ ต่อสัญญาเดินรถให้บีทีเอส
“ข้อเท็จจริงเรื่องราคาที่ยังลดไม่ลง ไม่ได้อยู่ที่ราคาตัวรถไฟฟ้า แต่เป็นเรื่องค่าจ้างเดินรถซึ่ง BMCL อ้างว่าใช้ฐานจากค่าOperation เดินรถรถไฟฟ้าใต้ดินที่รับสัมปทานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะสายสีม่วงเป็นระบบลอยฟ้าควรใช้ราคาของบีทีเอสที่เป็นระบบลอยฟ้าเหมือนกันมาอ้างอิง โดยประเมินว่าค่า Operation สามารถลดได้อีกถึง 2,000 ล้านบาท
แต่เมื่อใช้ฐานที่สูงทำให้ต้นทุนสูงไปด้วย การพิจารณาของรฟม.จึงยืดเยื้อ เพราะทราบดีว่า ค่าจ้างเดินรถสายสีม่วงจะเป็นบรรทัดฐานและต้นแบบของค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายอื่นที่จะเปิดเพิ่ม ทั้งสีเขียว สีชมพูและสีน้ำเงิน ถ้าจ้างแพง ค่าโดยสารต้องแพง และถ้าจะเก็บ 20 บาทตลอดสายตามนโยบาย รัฐบาลต้องใช้เงินเข้าไปอุดหนุนมากขึ้นด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญา 4 (สัมปทานสำหรับการลงทุน การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา) กับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ
BMCL เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากที่ปรึกษายังทำรายรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่ครบถ้วน รวมถึงยังไม่สามารถเจรจาปรับลดค่าจ้างเดินรถจากล่าสุดที่ราคาลดลงมาอยู่ที่ 83,310 ล้านบาทลงได้เพิ่มเติม
ทั้งนี้ การที่ BMCL ยังไม่ยอมปรับลดราคาลงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ยังไม่สามารถสรุปผลการพิจารณาสัญญาเดินรถสายสีม่วง เสนอครม.ได้ ซึ่งล่าสุดนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าฯรฟม.ได้ยอมรับว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องเลื่อนกำหนดการเปิดเดินรถจากเดือนตุลาคม 2558 ออกไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2559 แทน
ซึ่งการเลื่อนกำหนดเปิดเดินรถออกไปครั้งนี้ จะช่วยลดแรงกดดันในการเจรจาที่ทางเอกชนหวังใช้เงื่อนเวลาเปิดเดินรถบีบให้รฟม.ยอมรับราคา
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเจรจาต่อรองราคาค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในรูปแบบการร่วมทุนแบบ PPP Gross Cost Concession (GC) โดยรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและจัดเก็บค่าโดยสาร เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้าทำหน้าที่เดินรถแล้วจ่ายเป็นเงินค่าจ้างแบบกำหนดราคาคงที่นั้น แม้จะให้อำนาจคณะกรรมการมาตรา 13 แต่หากเสนอราคาที่ 8.3
หมื่นล้านบาทครม.อาจจะไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเป็นที่ทราบกันว่าราคายังสูงไป ซึ่งเสี่ยงที่จะถูกฝ่ายค้านโจมตีกลับได้ เพราะก่อนหน้านี้ ฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งคำถามและมีการตรวจสอบกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) สมัยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ ต่อสัญญาเดินรถให้บีทีเอส
“ข้อเท็จจริงเรื่องราคาที่ยังลดไม่ลง ไม่ได้อยู่ที่ราคาตัวรถไฟฟ้า แต่เป็นเรื่องค่าจ้างเดินรถซึ่ง BMCL อ้างว่าใช้ฐานจากค่าOperation เดินรถรถไฟฟ้าใต้ดินที่รับสัมปทานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะสายสีม่วงเป็นระบบลอยฟ้าควรใช้ราคาของบีทีเอสที่เป็นระบบลอยฟ้าเหมือนกันมาอ้างอิง โดยประเมินว่าค่า Operation สามารถลดได้อีกถึง 2,000 ล้านบาท
แต่เมื่อใช้ฐานที่สูงทำให้ต้นทุนสูงไปด้วย การพิจารณาของรฟม.จึงยืดเยื้อ เพราะทราบดีว่า ค่าจ้างเดินรถสายสีม่วงจะเป็นบรรทัดฐานและต้นแบบของค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายอื่นที่จะเปิดเพิ่ม ทั้งสีเขียว สีชมพูและสีน้ำเงิน ถ้าจ้างแพง ค่าโดยสารต้องแพง และถ้าจะเก็บ 20 บาทตลอดสายตามนโยบาย รัฐบาลต้องใช้เงินเข้าไปอุดหนุนมากขึ้นด้วย”แหล่งข่าวกล่าว