ASTVผู้จัดการรายวัน-น่าเป็นห่วง! อีก 4 ปี ค่าไฟขยับอีก 2 บาทต่อหน่วย เหตุไทยผลิตได้ไม่เพียงพอ ชี้ใช้พลังงานนิวเคลียร์คงเกิดยาก ใช้ก๊าซฯ ก็มีไม่พอ และมีแต่แพงขึ้น ส่วนถ่านหิน ก็ถูกต้าน "เพ้ง"สั่ง กฟผ. ชี้แจงประชาชน
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ปี 2556 วานนี้ (13 มี.ค.) ว่า ได้มีการประเมินแนวโน้มเรื่องค่าไฟฟ้าที่คนไทยจะต้องตระหนัก เพราะการที่ไทยพึ่งก๊าซธรรมชาติผลิตไฟถึง 70% อีกเพียงแค่ 4 ปี ค่าไฟฟ้าฐานที่ปัจจุบัน 3.75 บาทต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นไปถึง 5.75 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศอย่างแน่นอน
“ปัจจุบันสหรัฐฯ มีค่าไฟเฉลี่ยที่ 3.75 บาทต่อหน่วย คิดเฉลี่ย 11 เซนต่อหน่วย เมื่อเทียบกับค่าครองชีพถือว่าต่ำมาก แต่อนาคตไทยจะแพงขึ้น เพราะเราพึ่งก๊าซฯ ที่อ่าวไทย หากหมด ต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงกว่าอ่าวไทยและพม่าเท่าตัว เฉลี่ยแนวโน้มค่าไฟจะขึ้นปีละ 50 สตางค์ต่อหน่วย จึงเป็นเรื่องที่คนต้องจะต้องช่วยกันคิดทางออก”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ เชื้อเพลิงที่ผลิตไฟถูกสุด คือ นิวเคลียร์ รองลงมาเป็นน้ำและถ่านหิน โดยนิวเคลียร์ รัฐบาลนี้อีก 2 ปี คงไม่ต้องพูด เพราะตามกฏหมายสากลแล้ว ไทยไม่มีพื้นที่เหมาะสมเพียงพอ ขณะที่น้ำ แค่คิดจะสร้างเขื่อนกั้นน้ำ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็โดนต่อต้านหนัก แต่ชาวบ้านน้ำท่วมคนต่อต้านกลับหนีหายไป ดังนั้น เมื่อ 2 ชนิดไม่ได้ ก็เหลือเพียงถ่านหิน แต่ถ้าคนไทยไม่เลือก ต้องเข้าใจว่าในที่สุดแล้วจะต้องไปพึ่งพิงการซื้อไฟต่างประเทศ ความมั่นคงก็จะยิ่งต่ำ ค่าไฟก็จะแพงกว่า จึงได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปชี้แจงประชาชนในเรื่องนี้แล้ว
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวา กรณีมีกระแสข่าวถึงการสร้างกระแสไฟดับ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยการดึง บมจ.บ้านปู มาสร้างโรงไฟฟ้านั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะไม่เคยคิดที่จะเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาดำเนินงาน ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามระเบียบกฏหมายที่ถูกต้อง
สำหรับกรณีการหยุดจ่ายก๊าซพม่าวันที่ 4-15 เม.ย.2556 ที่จะส่งผลกระทบให้ก๊าซฯ หายไป 1,100 เมกะวัตต์และกระทบการผลิตไฟหายไป 4,100 เมกะวัตต์ โดยสิ่งที่กังวล คือ สำรองไฟวันที่ 5 เม.ย.ที่เดิมมีอยู่ 767 เมกะวัตต์ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ ล่าสุดการจัดหาไฟเพิ่มและรวมกับการร่วมมือจากภาคเอกชนผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภาครัฐและประชาชน ทำให้สำรองเพิ่มขึ้นถึง 1,700 เมกะวัตต์แล้ว การประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อค่าไฟขึ้น 0.48 สตางค์ต่อหน่วยในงวดถัดไป (พ.ค.-ส.ค.) ก็จะไม่เกิดขึ้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไทยคงไม่สามารถเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ในอีกหลายทศวรรษนี้แน่นอน เพราะทุกคนในไทยไม่คิดว่าไทยจะพร้อมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังมีแนวโน้มสร้างอยู่ ไทยอาจจะต้องซื้อจากประเทศเหล่านี้แทน โดยในระดับนโยบายก็คงจะต้องหารือกันต่อไป
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ปี 2556 วานนี้ (13 มี.ค.) ว่า ได้มีการประเมินแนวโน้มเรื่องค่าไฟฟ้าที่คนไทยจะต้องตระหนัก เพราะการที่ไทยพึ่งก๊าซธรรมชาติผลิตไฟถึง 70% อีกเพียงแค่ 4 ปี ค่าไฟฟ้าฐานที่ปัจจุบัน 3.75 บาทต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นไปถึง 5.75 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศอย่างแน่นอน
“ปัจจุบันสหรัฐฯ มีค่าไฟเฉลี่ยที่ 3.75 บาทต่อหน่วย คิดเฉลี่ย 11 เซนต่อหน่วย เมื่อเทียบกับค่าครองชีพถือว่าต่ำมาก แต่อนาคตไทยจะแพงขึ้น เพราะเราพึ่งก๊าซฯ ที่อ่าวไทย หากหมด ต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่มีราคาแพงกว่าอ่าวไทยและพม่าเท่าตัว เฉลี่ยแนวโน้มค่าไฟจะขึ้นปีละ 50 สตางค์ต่อหน่วย จึงเป็นเรื่องที่คนต้องจะต้องช่วยกันคิดทางออก”นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ เชื้อเพลิงที่ผลิตไฟถูกสุด คือ นิวเคลียร์ รองลงมาเป็นน้ำและถ่านหิน โดยนิวเคลียร์ รัฐบาลนี้อีก 2 ปี คงไม่ต้องพูด เพราะตามกฏหมายสากลแล้ว ไทยไม่มีพื้นที่เหมาะสมเพียงพอ ขณะที่น้ำ แค่คิดจะสร้างเขื่อนกั้นน้ำ อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็โดนต่อต้านหนัก แต่ชาวบ้านน้ำท่วมคนต่อต้านกลับหนีหายไป ดังนั้น เมื่อ 2 ชนิดไม่ได้ ก็เหลือเพียงถ่านหิน แต่ถ้าคนไทยไม่เลือก ต้องเข้าใจว่าในที่สุดแล้วจะต้องไปพึ่งพิงการซื้อไฟต่างประเทศ ความมั่นคงก็จะยิ่งต่ำ ค่าไฟก็จะแพงกว่า จึงได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปชี้แจงประชาชนในเรื่องนี้แล้ว
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวา กรณีมีกระแสข่าวถึงการสร้างกระแสไฟดับ เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยการดึง บมจ.บ้านปู มาสร้างโรงไฟฟ้านั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะไม่เคยคิดที่จะเอาบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาดำเนินงาน ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามระเบียบกฏหมายที่ถูกต้อง
สำหรับกรณีการหยุดจ่ายก๊าซพม่าวันที่ 4-15 เม.ย.2556 ที่จะส่งผลกระทบให้ก๊าซฯ หายไป 1,100 เมกะวัตต์และกระทบการผลิตไฟหายไป 4,100 เมกะวัตต์ โดยสิ่งที่กังวล คือ สำรองไฟวันที่ 5 เม.ย.ที่เดิมมีอยู่ 767 เมกะวัตต์ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ ล่าสุดการจัดหาไฟเพิ่มและรวมกับการร่วมมือจากภาคเอกชนผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภาครัฐและประชาชน ทำให้สำรองเพิ่มขึ้นถึง 1,700 เมกะวัตต์แล้ว การประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อค่าไฟขึ้น 0.48 สตางค์ต่อหน่วยในงวดถัดไป (พ.ค.-ส.ค.) ก็จะไม่เกิดขึ้น
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ไทยคงไม่สามารถเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ในอีกหลายทศวรรษนี้แน่นอน เพราะทุกคนในไทยไม่คิดว่าไทยจะพร้อมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังมีแนวโน้มสร้างอยู่ ไทยอาจจะต้องซื้อจากประเทศเหล่านี้แทน โดยในระดับนโยบายก็คงจะต้องหารือกันต่อไป