xs
xsm
sm
md
lg

นักวิชาการรุมฉะรัฐบาล “ปูแดง” ตีปี๊บไทยวิกฤตไฟฟ้า เม.ย.นี้ จวกแค่เรื่องดรามา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี จัดเวทีเสวนาปัญหาไฟฟ้าดับเดือนเมษายน  เพราะแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติในประเทศพม่าปิดซ่อมแซม และท่อก๊าซไทย-มาเลเซียในทะเลรั่ว เป็นวิกฤตไฟฟ้าหรือเป็นเรื่องดราม่า โดยมีนักวิชาการอิสระ ส.ส.ในพื้นที่และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมเสวนา  มีประชาชนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง พร้อมแสดงความเห็นจำนวนมาก
อุบลราชธานี - นักวิชาการเดินหน้าฉะรัฐบาล “ปูแดง” สร้างภาพวิกฤตไฟฟ้า ชี้เป็นแค่ดรามา ด้าน กฟผ.อีสานยันเมษายนไฟฟ้าไม่ดับ หากโรงผลิตไฟฟ้าไม่พัง ส.ส.เพื่อไทยเสียงอ่อย แค่รัฐต้องการเตือนให้ชาวบ้านประหยัดไฟ ยันไม่ได้จุดประกายใช้สร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ด้านประชาชนเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลพลังงาน เพราะไม่ต้องการตกเป็นเหยื่อธุรกิจพลังงานอีกต่อไป

วันนี้ (10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุบลราชธานี ว่า สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี จัดเวทีเสวนาปัญหาไฟฟ้าดับเดือนเมษายน เพราะแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติในพม่าปิดซ่อมแซม และท่อก๊าซไทย-มาเลเซียในทะเลรั่ว หรือเป็นเรื่องดรามา ที่โรงละครคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีนักวิชาการอิสระ ส.ส. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมเสวนา มีประชาชนร่วมรับฟังพร้อมแสดงความเห็นจำนวนมาก

นายอนุชิต จริญพันธ์ วิศวกรฝ่ายปฏิบัติการ กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า วันที่ต้องจับตา คือ วันที่ 5 เมษายน เพราะจะมีกำลังสำรองไฟฟ้าต่ำสุดเพียง 700 เมกะวัตต์ หากเกิดเหตุขัดข้องในโรงผลิตกระแสไฟฟ้าโรงใดโรงหนึ่ง จะทำให้เสียการควบคุมในการจ่ายไฟฟ้า จึงเตรียมไฟฟ้าสำรองโดยซื้อจากมาเลเซีย และจากโรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศ เพิ่มอีกวันละกว่า 310 เมกะวัตต์ แต่หลังจากวันที่ 5 เมษายน กำลังไฟฟ้าสำรองในประเทศจะมากขึ้นจนถึงระดับปกติช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์

“ภาคอีสานไม่น่ามีปัญหาไฟฟ้าดับ เพราะมีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหลายแห่ง และยังมีการซื้อไฟฟ้าจากลาวเข้ามาสำรองจำนวนมาก จึงคาดว่าจะไม่เกิดไฟฟ้าดับ”

นายอนุชิต กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่ว่าทำไมประเทศไทยต้องใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าร้อยละ 68 ทั้งที่ตั้งเป้าใช้ไม่เกินร้อยละ 50 เนื่องจากพลังงานชนิดอื่นประชาชนยังไม่ยอมรับ ส่วนพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงามลมมีต้นทุนสูง ไม่สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่อนาคต กฟผ.มีนโยบายจะใช้ก๊าซไม่เกินร้อยละ 45 โดยหาพลังงานชนิดอื่นมามาทดแทน โดยสำหรับปัจจุบัน กฟผ.มีกำลังผลิตไฟฟ้า 33,000 เมกะวัตต์ต่อวัน

นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่รัฐบาลออกมาเตือนประชาชนเพราะต้องการให้เตรียมตัว และประหยัดการใช้ไฟฟ้า แต่ขณะนี้ทราบว่ามีกำลังสำรองไฟฟ้าเพียงพอ จึงไม่น่ามีปัญหา นอกจากนี้ รัฐบาลไม่มีจุดประสงค์จุดประกายวิกฤตไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ส่วนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.อุบลราชธานี และอีก 4 แห่งในประเทศไทย ยังไม่มีความเป็นไปได้ เพราะประชาชนไม่ยอมรับ

ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงปัญหาการจัดหาพลังงานว่า ที่ผ่านมา การนำพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมมาใช้มีต้นทุนสูงจริง แต่ปัจจุบัน ราคาถูกลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับการซื้อโทรศัพท์มือถือ ในอดีตมีราคาถึงเครื่องละ 2-3 แสนบาท แต่ปัจจุบันไม่กี่พันบาท นอกจากนี้ พลังงานทั้ง 2 ชนิดยังใช้ได้ไม่มีวันหมด โกงไม่ได้ ไม่เหมือนพลังงานนิวเคลียร์ที่โกงได้จากโครงสร้างที่มีมูลค่าเป็นแสนล้านบาท และอนาคตจะเป็นพลังงานที่แพงขึ้นไปเรื่อยๆ

“พลังงานก๊าซ พลังถ่านหิน ไม่เชื่อว่าเป็นพลังงานสะอาด เพราะนำซากฟอสซิลขึ้นมาใช้ ย่อมมีผลต่อมลภาวะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่พลังงานลม และแสงอาทิตย์เป็นพลังงานธรรมชาติ และประเทศไทยเหมาะที่จะใช้เพราะบางพื้นที่ร้อนเป็นบ้า ชายทะเลก็ลมแรง ซึ่งปัจจุบันมีคนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี มีรายได้เดือนละ 5,000 บาท จากการนำพลังงานลมมาใช้ผลิตไฟฟ้า”

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงศา ผู้แทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า เรื่องที่รัฐบาลพยายามประโคมข่าวไฟฟ้าดับมองได้หลายมุม เพราะความจริงการปิดหลุมก๊าซซ่อมแซมนั้น รัฐบาลพม่าแจ้งให้ไทยทราบมาตั้งหลายปีแล้ว และจำนวนพลังงานที่หายไปก็มากเกินความจริง จึงสงสัยมีการนำตัวเลขจากท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย ที่รั่วเมื่อปลายปีมาบวกรวมเข้าไปให้ดูน่ากลัวหรือไม่ ประการสำคัญ คือ แหล่งก๊าซทั้งยานาดา และเยตากุน มีบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกเป็นผู้ผลิตและส่งขายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ก่อนขายให้ กฟผ.

“ประเด็นนี้ไทยจึงไม่ต้องไปคุยกับพม่าเรื่องวันเวลาในการปิดหลุม เพราะก๊าซทั้งหมดเป็นของ ปตท. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย วิกฤตไฟฟ้าตามที่รัฐบาลบอก จะเป็นเรื่องดรามา หรือเรื่องจริง แค่นี้ก็สามารถพิสูจน์ได้แล้ว”

นายอิฐบูรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยตกเป็นเหยื่อของธุรกิจพลังงานที่นำโดย ปตท. มีการถ่ายเทพลังงานเพื่อทำกำไร รัฐบาลจึงต้องมีความชัดเจนเรื่องการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ไม่ให้ตกอยู่ในมือของกลุ่มทุน ไม่ใช่แค่มารณรงค์ให้ชาวบ้านปิดไฟ รัฐบาลต้องจัดการเรื่องการจัดซื้อพลังงานไม่ให้มีการคอร์รัปชัน หรือโก่งราคาซื้อขายพลังงาน เพราะท่อก๊าซที่ศาลตัดสินให้กลับคืนเป็นของประชาชนนั้น ยังปล่อยให้เอกชนไปค้ากำไรอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ประชาชนได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องพลังงานที่มีอยู่ในประเทศ และให้นำพลังงานทั้งก๊าซ และน้ำมันกลับมาเป็นของประชาชน ไม่ใช่ปล่อยให้กลุ่มทุนผูกขาด เพราะเริ่มส่งผลกระทบต่อประชาชนที่เป็นผู้บริโภคมาหลายปี และนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ประชาชนที่เข้ารับฟังได้เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลความจริงทั้งหมดในเรื่องพลังที่มีอยู่ในประเทศ และให้นำพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันกลับมาเป็นของประชาชน ไม่ใช่ปล่อยให้กลุ่มทุนธุรกิจเป็นผูกขาด
โรงจ่ายไฟฟ้า
วิกฤตไฟฟ้าเมษา วิกฤตหรือสร้างสถานการณ์?
วิกฤตไฟฟ้าเมษา วิกฤตหรือสร้างสถานการณ์?
#8203;นับเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้วที่กระทรวงพลังงานสร้างความตื่นตกใจแก่ประชาชนว่าจะเกิดปัญหาไฟฟ้าขาดแคลนในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสุงสุดของปี โดยในปีนี้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและผู้ว่าการ กฟผ.ถึงกับระบุว่า ในวันที่ 5 เมษายนนี้อาจเกิดปัญหาไฟดับในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคใต้ เนื่องจากก๊าซจากพม่าจะหยุดส่งเพื่อซ่อมบำรุงแท่นขุดเจาะ อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่อก๊าซไทย-มาเลเซียก็จะปิดซ่อมเช่นกันเนื่องจากอุบัติเหตุจากการทิ้งสมอเรือทำให้ท่อก๊าซเสียหาย#8203;มีการอ้างว่า ผลจากการหยุดส่งก๊าซทั้งสองแหล่งจะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าหายไปประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเหลือเพียง 2% เช่นเดียวกับปีที่แล้ว นายณอคุณ สิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงพลังงานได้ออกมาให้ข่าวในช่วงเดือนมีนาคมว่าจะเกิด “ภาวะวิกฤตด้านพลังงานของประเทศ” ในช่วงวันที่ 8-17 เมษายน 2555 เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองจะลดลงจาก 20% เหลือเพียง 5% จากการที่พม่าปิดซ่อมท่อส่งก๊าซ ทำให้โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติไม่สามารถใช้การได้ถึง 5,000 เมกะวัตต์
กำลังโหลดความคิดเห็น