ASTVผู้จัดการรายวัน - จุฬาฯหวังศธ.เป็นเจ้าภาพลดข้อพิพาท การขอคืนที่ดินที่ตั้งอุเทนถวาย ระบุไม่ได้เร่งรัด ด้าน”อุเทนถวาย”ส่งตัวแทนเข้าพบรมว.ศธ. ชี้ขาดขออยู่ต่อ ยันไม่ยอมย้ายออกจากพื้นที่ ด้าน“พงศ์เทพ” เผยอุเทนถวายยันไม่ย้ายออก พร้อมให้อุเทนถวาย ส่งข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณาอีกครั้ง พร้อมขอให้คิดว่าระหว่างย้ายออกหรืออยู่ต่ออันไหนเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ขณะที่ศิษย์เก่านัดร่วมพล 15 มี.ค.ชุมนุมใหญ่ต้าน
หลังจากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอคืนพื้นที่บริเวณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน 20 ไร่ หลังจากจุฬาฯไม่ต่อสัญญาเช่า จนทำให้เกิดข้อพิพากระหว่างทั้งสองสถาบัน และอาจจะลุกลามไปถึงขั้นที่ศิษย์เก่าอุเทนถวาย จะรวมตัวกันวันที่ 15 มีนาคม ปิดถนนประท้วง เพื่อทวงคืนที่ดินจากจุฬาฯนั้น
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์ฯกล่าวว่า ตามที่้คณะกรรมการชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ กยพ. ได้ตัดสินชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืน พร้อมให้ชำระค่าเสียหายให้แก่จุฬาฯเป็นเงิน1,140,900 บาท นับตั้งแต่วันที่1ต.ค.2549 เป็นต้นไป จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จสิ้น
แต่ถึงกระนั้น ทางจุฬาฯไม้ได้มีเจตนาให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ในทันที แต่ให้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อมีความพร้อมแล้ว ทั้งนี้ ในการขนย้ายดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบในการดำเนินการ 200 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ทางศธ.ต้องให้การสนับสนุน รวมถึงจัดหาพื้นที่ในการก่อสร้างแห่งใหม่ด้วย มิฉะนั้นจะเป็นการยากลำบากในการดำเนินการ
รศ.น.อ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์ฯ กล่าวเสริม จุฬาฯมีที่ดินรวม 1,153 ไร่ แบ่งการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา 52% การใช้ประโยชน์ของส่วนราชการอื่นๆ และบริการสาธารณะ 18% และการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 30%
โดยในส่วนของอุเทนถวายนั้น เป็นไปตามผังแม่บทปี 2559 ที่จะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืน ภายในโครงการจะประกอบไปด้วย 1.หน่วยข้อมูลด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 2.พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพื่อสังคม 3.หน่วยเผยแพร่นวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 4.หน่วยบ่มเพาะเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5.หน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 6.คณะเทคโนโลยีอาหาร และ 7.หน่วยวิจัยและพัฒนาองค์ ความรู้งานสร้างสรรค์ โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้างประมาณ 2ปี โดยใช้งบประมาณการก่อสร้าง 2,000 ล้านบาท
***"พงศ์เทพ"ระบุอุเทนถวายไม่ย้าย!
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการเชิญนายสืบพงษ์ ม่วงชู รองอธิการบดี มทร.อุเทนถวาย พร้อมด้วยนายอภิชาติ จิระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เข้าหารือกรณีข้อพิพาทการทวงคืนที่ดินบริเวณ มทร.ตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย ว่า ทางอุเทนถวายได้ให้ข้อมูลว่าที่ดินมีที่มาอย่างไร โดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการเช่าที่ดินจากจุฬาเลย จนกระทั่งมาถึงปี 2482 ที่ดินทั้งหมดในละแวกนั้นซึ่งเป็นที่ดินพระราชมรดกต้องโอนให้จุฬาฯ ซึ่งอุเทนถวายก็ได้มีการถวายฎีกา และยังไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยลงมา
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ กยพ.ระบุว่าที่ดินเป็นสิทธิ์ของจุฬาฯ และให้อุเทนถวายย้ายออกไปนั้น ทางอุเทนถวายอ้างว่าในชั้นนี้อุเทนถวายไม่ได้เคยได้เข้ามีส่วนเข้าไปสู้คดีเลย
"ข้อมูลที่ได้จากจุฬาฯ และอุเทนถวายในขณะนี้ บางส่วนก็ตรงกันบางส่วนก็ไม่ตรงกัน ดังนั้นในส่วนที่ต่างกันคงต้องขอข้อมูลมาดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งทางอุเทนถวายจะส่งเอกสารข้อมูลต่างๆ มาให้ นอกจากนี้จะขอดูเอกสารกรณีของ กยพ.พิจารณาด้วย ดังนั้นคงต้องรอดูเอกสารก่อน และยังไม่มีการนัดทั้งสองฝ่ายมาเจอกัน ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่นานในการพิจารณาข้อมูล" นายพงศ์เทพ กล่าวและว่า
ทางอุเทนถวายยังยืนยันว่าตนเองมีสิทธิ์ในพื้นที่นี้อยู่ และจะยังไม่ย้ายออกไป แต่ตนก็ได้ขอให้อุเทนถวาย ได้กลับไปคิดทบทวนด้วยว่าการอยู่ที่เดิมกับการย้ายไปอยู่ที่ใหม่บริเวณ ต.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางกว่ากันมาก พื้นที่ใดจะมีประโยชน์ต่อการศึกษามากกว่ากัน ทั้งนี้หากอุเทนถวายยอมที่จะย้ายที่ดิน ทางรัฐบาลก็จะต้องจัดสรรงบประมาณที่จะใช้พัฒนาสถานที่ใหม่ให้กับอุเทนถวายอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2550
หลังจากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอคืนพื้นที่บริเวณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน 20 ไร่ หลังจากจุฬาฯไม่ต่อสัญญาเช่า จนทำให้เกิดข้อพิพากระหว่างทั้งสองสถาบัน และอาจจะลุกลามไปถึงขั้นที่ศิษย์เก่าอุเทนถวาย จะรวมตัวกันวันที่ 15 มีนาคม ปิดถนนประท้วง เพื่อทวงคืนที่ดินจากจุฬาฯนั้น
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์ฯกล่าวว่า ตามที่้คณะกรรมการชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ กยพ. ได้ตัดสินชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืน พร้อมให้ชำระค่าเสียหายให้แก่จุฬาฯเป็นเงิน1,140,900 บาท นับตั้งแต่วันที่1ต.ค.2549 เป็นต้นไป จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จสิ้น
แต่ถึงกระนั้น ทางจุฬาฯไม้ได้มีเจตนาให้อุเทนถวายย้ายออกจากพื้นที่ในทันที แต่ให้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อมีความพร้อมแล้ว ทั้งนี้ ในการขนย้ายดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบในการดำเนินการ 200 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ทางศธ.ต้องให้การสนับสนุน รวมถึงจัดหาพื้นที่ในการก่อสร้างแห่งใหม่ด้วย มิฉะนั้นจะเป็นการยากลำบากในการดำเนินการ
รศ.น.อ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์ฯ กล่าวเสริม จุฬาฯมีที่ดินรวม 1,153 ไร่ แบ่งการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา 52% การใช้ประโยชน์ของส่วนราชการอื่นๆ และบริการสาธารณะ 18% และการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 30%
โดยในส่วนของอุเทนถวายนั้น เป็นไปตามผังแม่บทปี 2559 ที่จะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืน ภายในโครงการจะประกอบไปด้วย 1.หน่วยข้อมูลด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 2.พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพื่อสังคม 3.หน่วยเผยแพร่นวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 4.หน่วยบ่มเพาะเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5.หน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนวัตกรรมงานสร้างสรรค์ 6.คณะเทคโนโลยีอาหาร และ 7.หน่วยวิจัยและพัฒนาองค์ ความรู้งานสร้างสรรค์ โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการออกแบบและก่อสร้างประมาณ 2ปี โดยใช้งบประมาณการก่อสร้าง 2,000 ล้านบาท
***"พงศ์เทพ"ระบุอุเทนถวายไม่ย้าย!
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังการเชิญนายสืบพงษ์ ม่วงชู รองอธิการบดี มทร.อุเทนถวาย พร้อมด้วยนายอภิชาติ จิระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เข้าหารือกรณีข้อพิพาทการทวงคืนที่ดินบริเวณ มทร.ตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย ว่า ทางอุเทนถวายได้ให้ข้อมูลว่าที่ดินมีที่มาอย่างไร โดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการเช่าที่ดินจากจุฬาเลย จนกระทั่งมาถึงปี 2482 ที่ดินทั้งหมดในละแวกนั้นซึ่งเป็นที่ดินพระราชมรดกต้องโอนให้จุฬาฯ ซึ่งอุเทนถวายก็ได้มีการถวายฎีกา และยังไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยลงมา
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการชี้ขาดการยุติการดำเนินคดีแพ่งของหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ กยพ.ระบุว่าที่ดินเป็นสิทธิ์ของจุฬาฯ และให้อุเทนถวายย้ายออกไปนั้น ทางอุเทนถวายอ้างว่าในชั้นนี้อุเทนถวายไม่ได้เคยได้เข้ามีส่วนเข้าไปสู้คดีเลย
"ข้อมูลที่ได้จากจุฬาฯ และอุเทนถวายในขณะนี้ บางส่วนก็ตรงกันบางส่วนก็ไม่ตรงกัน ดังนั้นในส่วนที่ต่างกันคงต้องขอข้อมูลมาดูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งทางอุเทนถวายจะส่งเอกสารข้อมูลต่างๆ มาให้ นอกจากนี้จะขอดูเอกสารกรณีของ กยพ.พิจารณาด้วย ดังนั้นคงต้องรอดูเอกสารก่อน และยังไม่มีการนัดทั้งสองฝ่ายมาเจอกัน ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่นานในการพิจารณาข้อมูล" นายพงศ์เทพ กล่าวและว่า
ทางอุเทนถวายยังยืนยันว่าตนเองมีสิทธิ์ในพื้นที่นี้อยู่ และจะยังไม่ย้ายออกไป แต่ตนก็ได้ขอให้อุเทนถวาย ได้กลับไปคิดทบทวนด้วยว่าการอยู่ที่เดิมกับการย้ายไปอยู่ที่ใหม่บริเวณ ต.บางปิ้ง จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางกว่ากันมาก พื้นที่ใดจะมีประโยชน์ต่อการศึกษามากกว่ากัน ทั้งนี้หากอุเทนถวายยอมที่จะย้ายที่ดิน ทางรัฐบาลก็จะต้องจัดสรรงบประมาณที่จะใช้พัฒนาสถานที่ใหม่ให้กับอุเทนถวายอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2550