หุ้นไทยดีดตัวต่อเนื่อง ดันปี55 กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ กำไรโต จากรายได้ค่านายหน้าพุ่งตามวอลุ่มซื้อขาย อีกทั้งรับรู้จากดอกเบี้ยสินเชื่อให้ยืมซื้อหุ้น ค่าธรรมเนียมและบริการ รวมทั้งProp Trade โบรกเกอร์ประเมินปี56 ปัจจัยลบภายนอกกดดันช่วงที่เหลือ ดัชนีหุ้นไทยไม่พุ่งแรง วอลุ่มเทรดนิ่ง อีกทั้งการเปิดเสรีฯ ทำค่าคอมมิชชั่นปรับตัวลดลง
รายงานจากตลาดหลักทรัพย์ฯ แจ้งว่า ภายหลังจากบริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลดำเนินงานประจำปี 2555 ให้ผู้ลงทุนได้รับทราบนั้น ทั้งนี้พบว่า หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ที่ซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์ ได้ประกาศผลดำเนินของทุกบริษัท ออกมาแล้วเช่นกัน
เริ่มที่ บล.เอเซีย พลัส (ASP) บริษัทมีรายได้ 2,082.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ 603.14 ล้านบาท ขณะที่ปี55 มีรายได้ 2,014.76 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 505.32 ล้านบาท โดยมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 /55จำนวน 306.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.49% จากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันในตลาดหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็น 33,018.96 ล้านบาท จาก 19,502.70 ล้านบาทในไตรมาสที่ 4/54 หรือ เพิ่มขึ้น 69.30% อีกทั้งมีกำไรจากการซื้อขายเงินลงทุนเพิ่มขึ้น ตามสภาวะตลาดหลักทรัพย์
บล.คันทรี่ กรุ๊ป (CGS) มีรายได้ 1,678.66 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 312 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 1,560.76 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 254.45 ล้านบาท โดยมีรายได้ค่านายหน้า 1,269.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.31 ล้านบาท หรือ2.36% จากปีก่อน 1,240.37 ล้านบาท จากรายได้ค่านายหน้าฯที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการซื้อขาย และมีกำไรจากเงินลงทุนและตราสารอนุพันธ์
ถัดมา บล. โนมูระ พัฒนสิน (CNS) มีรายได้ 1,115.24 ล้านบาท กำไรสุทธิ 187.99 ล้านบาท ขณะที่ปี2554 มีรายได้ 318.39 ล้านบาท กำไรสุทธิ 37.44 ล้านบาท โดยให้เหตุผลมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ และรายได้ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณซื้อขายของตลาด
บล. ฟินันเซีย ไซรัส (FSS) มีรายได้ 1,813.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ 181.50 ล้านบาท ขณะที่ปี54 มีรายได้ 1,624.88 ล้านบาท กำไรสุทธิ 79.30 ล้านบาท เกิดจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ฯที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ และรายได้ดอกเบี้ยกู้ยืมให้ซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรจากเงินลงทุนใกล้เคียงกันในระดับเดิม
บล.ซีมิโก้ (ZMICO) รายได้ 164.78 ล้านบาท กำไรสุทธิ 98.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 145.98 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 23.03 ล้านบาท , บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) มีรายได้ 869.47 ล้านบาท กำไรสุทธิ 166.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 819.49 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 140.12 ล้านบาท ,บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (MBKET) มีรายได้ 3,304.80 ล้านบาท กำไรสุทธิ 738.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 3,292.11 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 654.18 ล้านบาท , บล.บัวหลวง (BLS) มีกำไรสุทธิ 796.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 463.98 ล้านบาท และ
บล.ธนชาติ (TNS) มีกำไรสุทธิ 457.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 293.06 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ รายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น
ขณะที่ บล.ยูไนเต็ด (US) มีรายได้ 48 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10.15 ล้านบาท เกิดการเปลี่ยนแปลงจากปี 54 ซึ่งมีรายได้ 227.69 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 2.87 ล้านบาท
ส่วน บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) (KGI) มีรายได้ 1,908.56 ล้านบาท กำไรสุทธิ 442.85 ล้านบาท ลดลงจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 2,332.92 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 534.77 ล้านบาท เพราะมีรายได้ค่านายหน้าลดลงจาก 949 ล้านบาท ในปี 2554 เป็น 820 ล้านบาท ในปี 2555 เนื่องจากบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงเหลือ 3.47%
นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมส่วนใหญ่ ผลการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เติบโตไปในทิศทางเดียวกับภาวะตลาดหุ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ครึ่งปีหลัง 2554 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งในด้านดัชนี และปริมาณการซื้อขายที่ขึ้นมาถึง 50,000 ล้านบาท/วัน
ขณะเดียวกัน จากการเปิดเสรีฯ บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งได้ปรับตัวต่อเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มธุรกิจใหม่ เข้ามาช่วยสร้างรายได้ ทดแทนการพึ่งพิงรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพียงช่องทางเดียว เช่นการให้บริการด้านสินค้าอนุพันธ์ ในตลาดสินค้าล่วงหน้าที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้ ไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากการปล่อยมาร์จิ้นจำนวนมาก เพราะแม้จะมีอัตราการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจมาโดยตลอด
นอกจากนี้ ประเมินว่าการเติบโตในด้านผลดำเนินงานของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จะเป็นไปในลักษณะปรับตัวขึ้น ไม่รุนแรง หรือหวือหวา ส่วนหนึ่งมาจากค่าคอมมิชชั่น เพราะแม้ปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เติบโต แต่เรื่องดังกล่าวจะมีผลทางบวกอย่างสูงก็เฉพาะกับนักลงทุนทั่วไป ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ หรือสถาบัน ด้วยปริมาณการสั่งซื้อขายในแต่ละครั้งมีวอลุ่มที่สูง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงมีการเจรจาต่อรองหรือปรับลดค่าคอมมิชชั่นกับโบรกเกอร์ ซึ่งหมายความว่า โบรกเกอร์ไม่สามารถทำกำไรหรือสร้างรายได้จากนักลงทุนกลุ่มนี้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
รายงานจากตลาดหลักทรัพย์ฯ แจ้งว่า ภายหลังจากบริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลดำเนินงานประจำปี 2555 ให้ผู้ลงทุนได้รับทราบนั้น ทั้งนี้พบว่า หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ที่ซื้อขายบนกระดานหลักทรัพย์ ได้ประกาศผลดำเนินของทุกบริษัท ออกมาแล้วเช่นกัน
เริ่มที่ บล.เอเซีย พลัส (ASP) บริษัทมีรายได้ 2,082.35 ล้านบาท กำไรสุทธิ 603.14 ล้านบาท ขณะที่ปี55 มีรายได้ 2,014.76 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 505.32 ล้านบาท โดยมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 /55จำนวน 306.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.49% จากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันในตลาดหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นเป็น 33,018.96 ล้านบาท จาก 19,502.70 ล้านบาทในไตรมาสที่ 4/54 หรือ เพิ่มขึ้น 69.30% อีกทั้งมีกำไรจากการซื้อขายเงินลงทุนเพิ่มขึ้น ตามสภาวะตลาดหลักทรัพย์
บล.คันทรี่ กรุ๊ป (CGS) มีรายได้ 1,678.66 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 312 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 1,560.76 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 254.45 ล้านบาท โดยมีรายได้ค่านายหน้า 1,269.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.31 ล้านบาท หรือ2.36% จากปีก่อน 1,240.37 ล้านบาท จากรายได้ค่านายหน้าฯที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการซื้อขาย และมีกำไรจากเงินลงทุนและตราสารอนุพันธ์
ถัดมา บล. โนมูระ พัฒนสิน (CNS) มีรายได้ 1,115.24 ล้านบาท กำไรสุทธิ 187.99 ล้านบาท ขณะที่ปี2554 มีรายได้ 318.39 ล้านบาท กำไรสุทธิ 37.44 ล้านบาท โดยให้เหตุผลมีรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ และรายได้ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณซื้อขายของตลาด
บล. ฟินันเซีย ไซรัส (FSS) มีรายได้ 1,813.60 ล้านบาท กำไรสุทธิ 181.50 ล้านบาท ขณะที่ปี54 มีรายได้ 1,624.88 ล้านบาท กำไรสุทธิ 79.30 ล้านบาท เกิดจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ฯที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ และรายได้ดอกเบี้ยกู้ยืมให้ซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรจากเงินลงทุนใกล้เคียงกันในระดับเดิม
บล.ซีมิโก้ (ZMICO) รายได้ 164.78 ล้านบาท กำไรสุทธิ 98.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 145.98 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 23.03 ล้านบาท , บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) มีรายได้ 869.47 ล้านบาท กำไรสุทธิ 166.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 819.49 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 140.12 ล้านบาท ,บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (MBKET) มีรายได้ 3,304.80 ล้านบาท กำไรสุทธิ 738.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 3,292.11 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 654.18 ล้านบาท , บล.บัวหลวง (BLS) มีกำไรสุทธิ 796.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 463.98 ล้านบาท และ
บล.ธนชาติ (TNS) มีกำไรสุทธิ 457.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี54 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 293.06 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการ รายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น
ขณะที่ บล.ยูไนเต็ด (US) มีรายได้ 48 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10.15 ล้านบาท เกิดการเปลี่ยนแปลงจากปี 54 ซึ่งมีรายได้ 227.69 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 2.87 ล้านบาท
ส่วน บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) (KGI) มีรายได้ 1,908.56 ล้านบาท กำไรสุทธิ 442.85 ล้านบาท ลดลงจากปี54 ซึ่งมีรายได้ 2,332.92 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 534.77 ล้านบาท เพราะมีรายได้ค่านายหน้าลดลงจาก 949 ล้านบาท ในปี 2554 เป็น 820 ล้านบาท ในปี 2555 เนื่องจากบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงเหลือ 3.47%
นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมส่วนใหญ่ ผลการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์เติบโตไปในทิศทางเดียวกับภาวะตลาดหุ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ครึ่งปีหลัง 2554 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งในด้านดัชนี และปริมาณการซื้อขายที่ขึ้นมาถึง 50,000 ล้านบาท/วัน
ขณะเดียวกัน จากการเปิดเสรีฯ บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งได้ปรับตัวต่อเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มธุรกิจใหม่ เข้ามาช่วยสร้างรายได้ ทดแทนการพึ่งพิงรายได้หลักที่มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพียงช่องทางเดียว เช่นการให้บริการด้านสินค้าอนุพันธ์ ในตลาดสินค้าล่วงหน้าที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้ ไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากการปล่อยมาร์จิ้นจำนวนมาก เพราะแม้จะมีอัตราการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจมาโดยตลอด
นอกจากนี้ ประเมินว่าการเติบโตในด้านผลดำเนินงานของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ จะเป็นไปในลักษณะปรับตัวขึ้น ไม่รุนแรง หรือหวือหวา ส่วนหนึ่งมาจากค่าคอมมิชชั่น เพราะแม้ปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เติบโต แต่เรื่องดังกล่าวจะมีผลทางบวกอย่างสูงก็เฉพาะกับนักลงทุนทั่วไป ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ หรือสถาบัน ด้วยปริมาณการสั่งซื้อขายในแต่ละครั้งมีวอลุ่มที่สูง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงมีการเจรจาต่อรองหรือปรับลดค่าคอมมิชชั่นกับโบรกเกอร์ ซึ่งหมายความว่า โบรกเกอร์ไม่สามารถทำกำไรหรือสร้างรายได้จากนักลงทุนกลุ่มนี้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย