xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

เครื่องยนต์สเตอร์ลิง ชนิดผลต่างอุณหภูมิต่ำ นวัตกรรมชิ้นเยี่ยมจาก ม.เทคโนโลยีมหานคร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่งปรากฏว่าสุดท้ายแล้ว คนกรุงเทพฯ ก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” รั้งตำแหน่งพ่อเมืองเป็นสมัยที่สอง

แน่นอน ชัยชนะครั้งนี้ คุณชายสุขุมพันธุ์มิอาจผยองพองขนได้ เพราะคะแนนที่ออกมามิได้เป็นคะแนนบริสุทธิ์ของคนรักพรรคประชาธิปัตย์ล้วนๆ หากแต่ผสมรวมกับคะแนนคนเกลียดพรรคเพื่อไทยและไม่ประสงค์ให้ตัวแทนผู้สมัครจากพรรคนี้คือ “พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ” ได้รับชัยชนะ

ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 ปีนับจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์และคุณชายสุขุมพันธุ์จะแก้ตัวฝากผลงานอะไรเอาไว้บ้างหลังจาก 4 ปีที่ผ่านมาแทบนึกไม่ออกเลยว่า มีอะไรที่น่าจดจำ เพราะเที่ยวนี้ถ้ายังทำตัวแบบเดิมอีก โอกาสคงไม่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3

ตัดฉากกลับไปที่เรื่องดีๆ กันบ้างกับ การเปิดรั้วจัดงาน “โครงงานวิศวกรรม” ครั้งที่ 9 ของ ม.เทคโนโลยีมหานคร โดยเที่ยวนี้นวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศก็คือ “เครื่องยนต์สเตอร์ลิงชนิดผลต่างอุณหภูมิต่ำ” ฝีมือของ พิเชษฐ์ พระใหม่งาม, กฤตชัย อารีสวัสดิ์ และเพื่อนๆ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่หยิบข้อจำกัดของเครื่องยนต์ที่มีลักษะเป็นเครื่องปิด ดูดซับพลังงานความร้อนจากภายในแปลงเป็นพลังงาน อนุมานว่าหากดัดแปลงแล้วติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรมจะช่วยแปลงของเสียงต่างๆ เป็นพลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้อีกได้!!!

รศ. ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีมหานคร อธิบายความเจ๋ของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวว่า

“ปี ค.ศ.1816 Robert stirling และพี่ชายของเขาคือ Jakes ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ซึ่งอาศัยการให้ความร้อนจากภายนอกโดยไม่มีการจุดระเบิดภายใน สมัยก่อนเรียกว่า hot air engine ซึ่งเครื่องยนต์จะเป็นการพาอากาศจำนวนหนึ่งผ่านไปมาหลายๆ ครั้งระหว่างด้านร้อนและด้านเย็นจนเกิดขบวนการอัดตัว รับความร้อน ขยายตัว และคายความร้อน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากสมัยนั้น เพราะการทำงานที่ประหยัด ขณะเดินเครื่องเสียงค่อนข้างต่ำ ใช้เชื้อเพลิงอะไรก็ได้ที่ให้พลังงานความร้อน และมลพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ต่ำเพราะไม่มีการสันดาป ต่อมาเครื่องยนต์สเตอลิงได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้งโดย บริษัท Philip ในประเทศ Holland ในประมาณช่วงปี ค.ศ.1937 และได้มีการสร้างเครื่องยนต์สเตอร์ลิงขนาดเล็ก 102CC โดยกำลังที่เครื่องยนต์สามารถผลิตได้มีขนาดเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ hot air engine จากความสำเร็จนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรพากันหันมาทำการวิจัยและพัฒนา เครื่องยนต์สเตอร์ลิงอย่างกว้างขวาง เช่น ถูกนำมาออกแบบใช้ในรถบัส รถบรรทุก ยวดยานต่างๆ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฯลฯ โดยกลไกการทำงานและสภาวะเริ่มต้น อากาศจะอยู่ทางด้านล่างของกระบอกสูบด้านร้อน ความร้อนจากภายนอกถูกป้อนให้กับอากาศ ส่งผลให้อากาศเกิดการขยายตัวและดันลูกสูบกำลังให้เคลื่อนที่ขึ้นไปทางด้านบน และมีการทำงานเกิดขึ้น”

“สิ่งที่น่าสนใจในคือ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงเป็นเครื่องปิด ไม่มีการการดูดไอดีหรือปล่อยไอเสีย เพียงแต่ต้องการความร้อนจากปัจจัยภายนอกซึ่งมาจากอะไรก็ตามที่สามารถเผาและให้ความร้อนแก่เครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้ เช่น ถ่านหิน ก๊าซโซลีน แอลกอฮอล์ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซมีเทน ความร้อนจากพลังแสงอาทิตย์ ความร้อนจากพื้นพิภพ และความร้อนเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้ทั้งสิ้น โดยข้อดีของ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงชนิดผลต่างอุณหภูมิต่ำ จะสามารถทำงานแยกความแตกต่างของอุณหภูมิของกระบอกสูบด้านร้อนและเย็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยคิดค้นเพิ่มเติม คาดว่าอนาคตอาจใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม แทนที่จะปล่อยความร้อนและมลพิษสู่ชั้นอากาศ สามารถแปลงเป็นพลังงานนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ประหยัดค่าไฟฟ้ารักษาสิ่งแวดล้อม”

เจ๋ง...อย่างนี้ ต้องขอชื่นชมความคิดดีนะคร้าบบบบบ.

ข่าวดีข่าวที่สองมาจากกรมสรรพากร ที่ดร.สาธิต รังคสิริ (กลาง) อธิบดีกรมสรรพากร เป็นประธาน เปิดงานโครงการ “คุณ คือ คนดี...ที่เสียภาษีถูกต้อง” นำเงินภาษีของ ประชาชนมาจัดซื้อเครื่อง ดนตรีให้แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมจากโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ พร้อมด้วยแขกรับเชิญพิเศษ นพ.อุดม เพชรสังหาร,นวลพรรณ ล่ำซำ และสหรัถ สังคปรีชา ที่มาร่วมเสวนาในหัวข้อ “ดนตรีกับการพัฒนาศักยภาพเยาวชน” ณ ลานโถงชั้น 1 อาคารกรมสรรพากร

และปิดท้ายกันที่โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ สาขาคณิตศาสตร์การจัดการ หลักสูตรปริญญาตรีควบโท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อ โดยกำหนดรับสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 รับสมัครจำนวน 30 คน ตั้งแต่วันนี้-22 เมษายน 2556 ด้วยการใช้คะแนน GAT,PAT,O-NET และกลุ่มที่ 2 รับสมัครจำนวน 30 คนตั้งแต่วันนี้-16 พฤษภาคม 2556 ด้วยการสอบข้อเขียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ สอบถาม โทร.02564-4440-59 ต่อ 2100-2103 กด 207 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://math.sci.tu.ac.th

คอลัมน์// หนังสือน่าอ่าน

10 การทดลองที่แสนมหัศจรรย์

มีเหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์มากมายที่แม้กระทั่งถึงวันนี้ เชื่อว่า หลายคนอาจยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ทำไมพวกเขาเหล่านักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกเหล่านั้นถึงสามารถค้นพบสรรพสิ่งอันน่าฉงนสนเท่ห์ได้

ทำไม กาลิเลโอ จึงรู้ว่าวัตถุหนักไม่เท่ากันจะตกถึงพื้นได้ในเวลาใกล้เคียงกัน

ทำไม วิลเลียม ฮาร์วีย์ จึงรู่ว่าเลือดไม่ได้ซึมผ่านเยื่อกั้นในหัวใจ แต่มีการหมุนเวียนเป็นระบบ

ทำไม ไอแซก นิวตัน จึงรู้ว่าแสงมีความสามารถในการหักเหต่างกัน

ทำไม อองตวน-โลรอง ลาวัวซีเย จึงรู้ว่าแก๊สออกซิเจนในอากาศเป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้

ทำไม ลุยจี กัลวานี จึงรู้ว่านอกจากไฟฟ้าจะเกิดตากธรรมชาติและการสร้างขึ้นแล้ว ยังเกิดจากสัตว์ด้วย

ทำไม ไมเคิล ฟาราเดย์ จึงรู้ว่าแม่เหล็กกับแสงและไฟฟ้ากับแสงมีความเชื่อมโยงกันอยู่

ทำไม เจมส์ จูล จึงรู้ว่าความร้อนกับงานคือสิ่งเดียวกัน และพลังงานสามารถเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนที่ได้

ทำไม อัลเบิร์ต ไมเคิลสัน จึงรู้ว่าแสงเคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วเดียวกันทุกทิศทาง

ทำไม อีวาน พัฟลอฟ จึงรู้ว่าการที่สุนัขน้ำลายไหลเป็นปฏิกิริยา ตอบสนองตามสถานการณ์ต่างๆ

ทำไม รอเบิร์ต มิลลิแกน จึงรู้ว่าประจุไฟฟ้าของอิเล็กตอนคือ 1.5924x10 -19 คูลอมบ์

แน่นอนว่า ทำไม ทำไมและทำไมเหล่านี้สามารถค้นหาคำตอบได้ในหนังสือ “วิทยาศาสตร์อัจฉริยะ 10 การทดลองที่แสนมหัศจรรย์”

ลุงอ้วน
managerweekend@yahoo.com



กำลังโหลดความคิดเห็น