ASTVผู้จัดการรายวัน - เอสซีจี เคมิคอลล์ทุ่มงบ 2.5 พันล้านบาทในช่วงปี 54-59 เพื่อลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่ออยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนตั้งเป้าปี 56 Eco Factory ฉลองครบรอบ 100 ปีของกลุ่มเอสซีจี โดยปลายปีนี้ประกาศเป็นโรงงานที่ไม่มีการจำกัดกากของเสียด้วยวิธีฝังกลบ( Zero Land Field)
นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ปฏิบัติการ เอสซีจี เคมิคอลล์ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด บริษัทย่อยในเอสซีจี เคมิคอลล์ เปิดเผยว่า เอสซีจี เคมิคอลล์ ได้จัดสรรงบประมาณ 2.5 พันล้านบาทเพื่อลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบสังคมเพื่ออยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานใน 7 ด้าน อาทิ การลดการใช้พลังงาน การลดค่าไนไตรเจนออกไซด์ (Noxs) การลดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) การลดเสียง การบริหารจัดการเรื่องน้ำ การจัดการกากของเสีย และการกำหนดเขตพื้นที่สีเขียว โดยมุ่งหวังเป็นต้นแบบการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับบริษัทฯอื่น
ในปีนี้บริษัทฯได้อนุมัติการลงทุนโครงการต่างๆคิดเป็นมูลค่ารวม 1 พันกว่าล้านบาท ใช้เงินทุนไปแล้ว 500 ล้านบาท โดยโครงการหลักที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียโดยการลงทุนติดตั้งระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Waste Water Treatment) ใช้งบลงทุน 450 ล้านบาท นอกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานในการเดินเครื่องอัดอากาศและลดการเกิดกากของเสียแล้วยังให้ก๊าซชีวภาพนำมาใช้เป็นพลังงานช่วยลดการใช้พลังงานได้ประมาณปีละ100 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 55
โครงการติดตั้งหอเตาเผาภายใน (Enclosure Ground Flare) ที่โรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ ใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนก.ย.นี้ แล้วเสร็จในเดือนพ.ย. 2556 โครงการติดตั้งหน่วยดักเก็บสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VRUs) เพื่อลดการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย ( VOCs )ไม่ให้ออกสู่บรรยากาศได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการติดตั้ง 2 แห่งที่โรงงานผลิตโพลิโพรไพลีน และที่ท่าเทียบเรือมาบตาพุดแทงค์เทอร์มินัล ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 250 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2555
นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดซื้อ Catalyst ชุดสำรอง เพื่อไม่ให้มีการ regeneration ในโรงงาน ป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่น โครงการติดตั้ง Absorption Chiller โครงการนำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ และโครงการย่อยอื่นๆ
การดำเนินโครงการต่างๆ ทำให้เกิดผลพลอยได้ นำไปเป็นวัตถุดิบของโรงงานภายในกลุ่มเอสซีจี ซึ่งข้อดีของกลุ่มมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรได้เต็มที่ ทั้งโรงงานเคมิคอลล์ โรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานกระดาษ ทำให้ไม่มีกากของเสียออกจากระบบ
โดยตั้งเป้าหมายในปลายปีนี้ โรงงานทั้ง 17 แห่งในกลุ่มเอสซีจี เคมิคอลล์ จะเป็นZero Land Field โดยไม่มีการกำจัดกากของเสียด้วยวิธีฝังกลบ พร้อมทั้งพัฒนาแผนการดำเนิน Green Manufacturing เพื่อยกระดับสู่การเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์หรือ ECO Factory ซึ่งจะเป็นปีที่เครือเอสซีจี มีอายุครบ 100ปี และในปี 2559 กลุ่มเอสซีจี เคมิคอลส์จะก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ไม่มีการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือ Zero VOC
นอกจากนี้ บริษัทฯได้ออกสินค้าเม็ดพลาสติกไบโอชีวภาพ ซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพด เพื่อใช้ผลิตถุงใช้ในการเพาะชำ ภาชนะบรรจุอาหารแทนโฟม และถุงหูหิ้ว ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เอง โดยยอมรับว่าราคาขายสูงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไปถึง 4-6 เท่า ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกไบโอชีวภาพนี้ยังต่ำอยู่
นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ปฏิบัติการ เอสซีจี เคมิคอลล์ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด บริษัทย่อยในเอสซีจี เคมิคอลล์ เปิดเผยว่า เอสซีจี เคมิคอลล์ ได้จัดสรรงบประมาณ 2.5 พันล้านบาทเพื่อลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบสังคมเพื่ออยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานใน 7 ด้าน อาทิ การลดการใช้พลังงาน การลดค่าไนไตรเจนออกไซด์ (Noxs) การลดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) การลดเสียง การบริหารจัดการเรื่องน้ำ การจัดการกากของเสีย และการกำหนดเขตพื้นที่สีเขียว โดยมุ่งหวังเป็นต้นแบบการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับบริษัทฯอื่น
ในปีนี้บริษัทฯได้อนุมัติการลงทุนโครงการต่างๆคิดเป็นมูลค่ารวม 1 พันกว่าล้านบาท ใช้เงินทุนไปแล้ว 500 ล้านบาท โดยโครงการหลักที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียโดยการลงทุนติดตั้งระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Waste Water Treatment) ใช้งบลงทุน 450 ล้านบาท นอกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานในการเดินเครื่องอัดอากาศและลดการเกิดกากของเสียแล้วยังให้ก๊าซชีวภาพนำมาใช้เป็นพลังงานช่วยลดการใช้พลังงานได้ประมาณปีละ100 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 55
โครงการติดตั้งหอเตาเผาภายใน (Enclosure Ground Flare) ที่โรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ ใช้เงินลงทุน 200 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนก.ย.นี้ แล้วเสร็จในเดือนพ.ย. 2556 โครงการติดตั้งหน่วยดักเก็บสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VRUs) เพื่อลดการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย ( VOCs )ไม่ให้ออกสู่บรรยากาศได้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการติดตั้ง 2 แห่งที่โรงงานผลิตโพลิโพรไพลีน และที่ท่าเทียบเรือมาบตาพุดแทงค์เทอร์มินัล ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 250 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2555
นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดซื้อ Catalyst ชุดสำรอง เพื่อไม่ให้มีการ regeneration ในโรงงาน ป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่น โครงการติดตั้ง Absorption Chiller โครงการนำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ และโครงการย่อยอื่นๆ
การดำเนินโครงการต่างๆ ทำให้เกิดผลพลอยได้ นำไปเป็นวัตถุดิบของโรงงานภายในกลุ่มเอสซีจี ซึ่งข้อดีของกลุ่มมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรได้เต็มที่ ทั้งโรงงานเคมิคอลล์ โรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานกระดาษ ทำให้ไม่มีกากของเสียออกจากระบบ
โดยตั้งเป้าหมายในปลายปีนี้ โรงงานทั้ง 17 แห่งในกลุ่มเอสซีจี เคมิคอลล์ จะเป็นZero Land Field โดยไม่มีการกำจัดกากของเสียด้วยวิธีฝังกลบ พร้อมทั้งพัฒนาแผนการดำเนิน Green Manufacturing เพื่อยกระดับสู่การเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์หรือ ECO Factory ซึ่งจะเป็นปีที่เครือเอสซีจี มีอายุครบ 100ปี และในปี 2559 กลุ่มเอสซีจี เคมิคอลส์จะก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ไม่มีการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือ Zero VOC
นอกจากนี้ บริษัทฯได้ออกสินค้าเม็ดพลาสติกไบโอชีวภาพ ซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพด เพื่อใช้ผลิตถุงใช้ในการเพาะชำ ภาชนะบรรจุอาหารแทนโฟม และถุงหูหิ้ว ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เอง โดยยอมรับว่าราคาขายสูงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไปถึง 4-6 เท่า ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกไบโอชีวภาพนี้ยังต่ำอยู่