ASTVผู้จัดการรายวัน-มติ กกต.เสียงข้างมาก 3-1 เลื่อนรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ออกไป30วัน รอผลสอบสวนเรื่องร้องเรียนทุจริตก่อน “มาร์ค”เตรียมเปิดทีมงานบริหาร กทม. สัปดาห์หน้า แย้มมีรองผู้ว่าฯ หญิง 1 ที่ บอก"สุขุมพันธุ์"ต่อไปต้องทำงานเชื่อมโยงกับพรรคให้มากขึ้น "จูดี้"รอพบ "ปู" ขอคัมแบ็ก รอง ผบ.ตร. ยันไม่เข็ด อีก 4 ปี จะขอลงชิงอีกครั้ง นักวิชาการสะกิดไม่ควรกลับมา เพื่อไทยสั่งรื้อทีมงาน กทม. ทั้งกะบิ หลังแพ้เลือกตั้ง
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต. 4 คน มีมติ 3 ต่อ 1 เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้ง ตามที่ กกต.กทม.เสนอ โดยเป็นไปตามมาตรา 95 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ประกอบประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) ฉบับที่ 32 ที่ให้ กกต. สามารถสืบสวนสอบสวนกรณีผู้ได้รับเลือกตั้งมีเรื่องร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากไม่แล้วเสร็จ ให้ กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อน โดยกำหนดระยะเวลา 30 วัน จะครบในวันที่ 2 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ถูกร้องเรียนใน 3 เรื่อง แยกเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ กกต.กทม. 2 เรื่อง และฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. กลาง 1 เรื่อง โดยทั้งหมดเป็นคำร้องที่กล่าวหาว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กระทำผิดฐานปราศรัยใส่ร้าย หลอกลวง จูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม ตามมาตรา 57 (5) ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเบื้องต้นทาง กกต.กทม. ขอเวลาในการสืบสวน 15 วัน ก่อนที่จะเสนอมายัง กกต. กลางพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากการสอบสวนแล้วเสร็จก่อนระยะเวลา 30 วัน กกต.ก็อาจพิจารณาเรื่องประกาศรับรองผลก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ได้
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมกกต.ครั้งนี้ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งเมื่อเข้าสู่วาระการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือว่าจะต้องรอนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. กลับมาจากการดูงานที่ต่างประเทศก่อนหรือไม่ หลังจากนั้น ได้มีการรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง และแจ้งว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ มีเรื่องถูกร้องเรียนรวม 3 เรื่อง รวมถึง กกต.กทม. เสนอความเห็นว่ายังไม่ควรประกาศรับรองผล จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาก่อนที่กรรมการแต่ละคนจะนำใบลงคะแนนไปลงคะแนนที่ห้องทำงานของตนเอง และส่งให้ฝ่ายการประชุมนำไปรวมคะแนน ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการแถลงข่าว
โดยเสียงข้างน้อย 1เสียง ที่เห็นว่า ควรประกาศรับรองผล คือ นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้งที่มองว่า พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 48 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง แต่เสียงส่วนใหญ่ เห็นว่า พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น และประกาศ คปค. ที่กำหนดให้กกต. สืบสวนสอบสวนกรณีมีเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า พ.ร.บ.องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นๆ ประกอบกับ กกต.กทม. ก็ยืนยันว่าจะใช้เวลาในการสอบสวนตามคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวปลัดกรุงเทพมหานครก็ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯ กทม.ได้
**“มาร์ค”จ่อประกาศทีมบริหารกทม.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีการรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่ากทม.เมื่อไร แต่เชื่อว่าต้นสัปดาห์หน้า น่าจะประกาศรายชื่อทีมบริหารของ กทม. ได้ทุกตำแหน่ง คือ ตำแหน่งรองผู้ว่ากทม. 4 ตำแหน่ง ที่ปรึกษา 9 ตำแหน่ง เลขา ผู้ช่วยเลขา 4 และหน่วยงานของ กทม. ที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการบริหาร หลังจากที่ผู้ว่าฯ กทม. เข้ารับตำแหน่ง โดยในขณะนี้การเลือกบุคคลที่จะไปเป็นทีมบริหารก็มีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่จบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ทีมงานใหม่ของผู้ว่าฯ กทม. จะต้องมีความกระฉับกระเฉง เพราะทราบดีว่าคะแนนเสียงที่ประชาชนมอบให้มาพร้อมความคาดหวังที่ต้องการเห็นการปรับปรุงหลายอย่าง ซึ่งพรรคก็พยายามจะดึงคนนอกเข้ามา และในความเห็นของตนคิดว่าควรมีผู้หญิงมาเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อย่างน้อย 1 คน เพื่อเป็นการเสริมโอกาสของผู้หญิง และยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไปเป็นรองผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่
ส่วนกรณีที่ส.ส.ติติง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า ขาดการเชื่อมต่อกับพรรคในระหว่างการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่การวางระบบให้เชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น เพราะช่วงที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เยอะและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดช่องว่าง ก็เป็นบทเรียนที่ทุกฝ่ายทราบดีและจะนำมาแก้ไข ซึ่งตนได้คุยกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แล้วว่าพร้อมที่จะแก้ปัญหาลดช่องว่างเหล่านี้ มีส.ส.พรรคอยากให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เข้าพรรคมากขึ้น แต่ตนก็เห็นใจว่าคนที่ทำงาน บางทีก็ภารกิจเยอะ เพราะไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ว่าฯ กทม. หลายคนที่เป็นรัฐมนตรีก็ถูกต่อว่าในเรื่องนี้ จึงต้องพยายาม เพราะความสำเร็จของงานจะขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนทางการเมืองด้วย บางทีคนไปทำงาน ก็มองข้ามตรงนี้ไป ถ้าขาดการขับเคลื่อนทางการเมืองควบคู่ไปด้วย งานก็ออกมาได้ยาก
ทั้งนี้ ทราบมาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมที่จะเรียก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไปรับทราบข้อกล่าวหากรณีเงินบริจาคเข้าพรรคโดยไม่ทำเป็นเช็คขีดคร่อม แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบกับการรับตำแหน่ง เพราะเป็นการแจ้งข้อกล่าวหา และเชื่อว่าคงจะมีการใช้อำนาจดีเอสไอมาดำเนินการกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์อีก เพราะทำมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งจนถูกแจ้งข้อหาสองคดี ซึ่งทุกคนก็ต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และเชื่อว่าแม้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะมีคดีอยู่ที่ดีเอสไอแล้วสองคดี ก็จะไม่เสียสมาธิในการบริหารกรุงเทพฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า มีแนวโน้มที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จะไปเป็นรองผู้ว่ากทม. ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น นายชวนนท์ ก็ต้องลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค และต้องมีการเลือกใหม่ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรค และยังมีกระแสข่าวว่า นางอานิก อัมมระนันท์ และนางผุสดี ตามไท ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นแคนดิเดตรองผู้ว่าฯ กทม. ในโควตาผู้หญิง
**"องอาจ"ปฎิเสธรับตำแหน่งรองผู้ว่าฯ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผอ.ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีรายชื่อเป็นแคนดิเดตรองผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตนขอปฏิเสธว่าไม่ขอรับตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ถึงแม้จะมีผู้ใหญ่ในพรรคบางคนที่ทาบทาม ตั้งแต่อยู่ในช่วงที่มีการรณรงค์หาเสียง แต่ขณะนั้นตนได้ปฏิเสธอย่างจริงจังไปแล้ว ซึ่งหลังจากชนะการเลือกตั้ง ก็มีผู้ใหญ่ในพรรคหลายคนส่งสัญญาณมาว่าอยากให้ทำหน้าที่ดังกล่าว แต่ก็ขอปฏิเสธ เพราะขณะนี้ยังมีความสุขในการทำหน้าที่ ส.ส.อยู่ และพรรคก็มีคนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมากที่เหมาะสมจะไปทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งขณะนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคนที่เหมาะสมอยู่
**"จูดี้"รอคุย "ปู" ขอกลับเป็นตำรวจ
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจาก น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันที่ 7 มี.ค. ตนจะขอเข้าพบเพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องขอกลับเข้ารับราชการตำรวจ โดยไม่ขอรับตำแหน่งใดๆ ทางการเมือง รวมถึงตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะเป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ดีที่สุด ซึ่งการกลับมารับราชการ ไม่ได้คาดหวังว่าต้องได้เป็น ผบ.ตร. แม้จะเหลืออายุราชการอีกสามปี เพราะตลอดเวลาของการเป็นตำรวจ และ 48 วันของการหาเสียงพบประชาชน เห็นปัญหาใน กทม. มากขึ้น แต่ก็ยอมรับว่าการขอกลับเข้ารับราชการตำรวจอีกครั้งย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แน่นอน แต่ตนมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะส่วนตัวยืนยันตลอดว่า ต้องการทำงานในตำแหน่งที่ทำประโยชน์ให้ประชาชนที่สุด และการรับราชการตำรวจสามารถแก้ปัญหาให้คน กทม. ได้ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม
**ไม่เข็ด! อีก4ปีขอชิงผู้ว่าฯกทม.อีก
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า การลงสมัครในครั้งนี้ ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง โดยเริ่มจากตนเคยทำงานร่วมกับนายกฯ สมัยเป็นโฆษก ศปภ. ทำให้เห็นปัญหาของคน กทม. แล้วก็ห่างหายกันไป แต่พอมีการสมัคร ก็ได้คุยกับนายกฯ อีกครั้ง และนายกฯ ได้หารือถึงปัญหาต่างๆ จึงมีแนวคิดอยากทำงานแบบไร้รอยต่อ จึงตัดสินใจขอลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ด้วยความเต็มใจ
"ยืนยันว่าจะไม่มีทางแปรเปลี่ยน 1 ล้านคะแนนของคน กทม. เพื่อมารับตำแหน่งทางการเมือง หรือนำมาหาประโยชน์ใส่ตัวเพราะชีวิตถึงขณะนี้ มีความสุขดีแล้ว ครอบครัวสุขสบาย ไม่ได้เดือดร้อน มีเพียงความต้องการกลับมารับราชการตำรวจ เพื่อเข้ามาดูแลทุกข์สุขประชาชน อย่างไรก็ตาม หากในอีก 4 ปี ข้างหน้า กทม. ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ก็จะขออาสาสมัครอีกครั้ง" พล.ต.อ.พงศพัศกล่าว
**สะกิด"จูดี้"ไม่ควรกลับมา
นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกรณีพล.ต.อ.พงศพัศ จะขอกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) หลังลาออกไปลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ว่า แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ แต่ควรจะมีมาตรการหรือการกำหนดให้บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูง อาทิ ผู้บังคับการ อธิบดี รองอธิบดี ซึ่งมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับฝ่ายนโยบาย เมื่อลาออกจากราชการไปลงเลือกตั้ง หากแพ้เลือกตั้งแล้วจะกลับมารับราชการอีกครั้ง ควรให้อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่ไม่มีอิทธิพลกับนโยบาย และไม่มีผลกระทบในวงกว้าง เพราะต้องอย่าลืมว่าตำแหน่งระดับสูงเหล่านี้ มีการทำงานที่ใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในฐานะผู้ใต้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็เกิดคำถามว่า ข้าราชการเหล่านี้ยังจะสามารถทำงานสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ได้หรือไม่
"ผมคิดว่า พล.ต.อ.พงศพัศไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรองผบ.ตร. เพราะได้ออกไปลงสมัครในสังกัดพรรคการเมืองอย่างชัดเจนแล้ว ทุกคนรับรู้หมดแล้ว ทางที่ดีควรจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ไปลงการเมือง หรือเป็นข้าราชการการเมืองแทน ซึ่งรัฐบาลเองก็สามารถเปิดตำแหน่งให้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรเป็นข้าราชการประจำอีก"
ด้านนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "คนขับรถของผมที่ลาออกไปหางานใหม่ แต่พอหาไม่ได้ จะกลับมา ผมยังไม่เอาเลย ตำรวจที่รับราชการมา ทำไมยอมเปิดโอกาสให้คนที่เป็นขี้ข้าโจร? หรือพวกคุณสองแสนกว่าคนไร้ปัญญาและฝีมือ ต้องรอไปกราบนักโทษ? กระจอกจริง มีตำรวจรับราชการอยู่สองแสนกว่าคน แต่กลายเป็นแหล่งฟอกตัวและเป็นที่รองรับ "ขี้แพ้" ที่ยังคงสภาพหน้าด้านได้อย่างคงที่ คนที่อยู่ในตำแหน่งไม่อายบ้างหรือที่ไม่มีปัญญาขึ้นสู่ตำแหน่ง นอกจากยอมเป็นขี้ข้า"
**"เหลิม"โนคอมเม้นท์บอกต้องงดจ้อ7วัน
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกรณีที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ สามารถยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ได้ภายใน 30 วัน ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) พิจารณาอนุมัติ โดยกล่าวอย่างอารมณ์ดีเพียงสั้นๆ ว่า “เรื่องนี้ยังไม่ทราบ ก็งดสัมภาษณ์ 7 วันไง”
**พท.รื้อโครงสร้างทีมงานกทม.ใหม่
ที่พรรคเพื่อไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา13.00 น. วานนี้ (5มี.ค.) พรรคเพื่อไทยมีการประชุมส.ส.กทม. ผู้สมัครส.ส., ส.ก. และส.ข.กทม. ของพรรคทั้ง 50 เขต ตามที่พรรคได้ส่งเอสเอ็มเอสแจ้งไป โดยมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายสาโรช หงษ์ชูเวช เป็นประธานการประชุม โดยทุกคนถึงกับตกใจ เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าคุณหญิงสุดารัตน์จะมาเป็นประธานการประชุมครั้งนี้ โดยคุณหญิงสุดารัตน์ได้สั่งในที่ประชุมให้ทุกคนทำรายงานสรุปปัญหาต่างๆ ของทั้ง 50เขต ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พร้อมทั้งระบุว่า หลังจากนี้ จะวางโครงสร้างกันใหม่ทั้งหมด พร้อมเปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะเขตที่แพ้การเลือกตั้ง โดยในการประชุมพรรคสัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม คุณหญิงสุดารัตน์ยังเสนอให้พรรคติดตามเรื่องร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ด้วย โดยมอบหมายให้นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.เป็นผู้รับผิดชอบ
ด้านนายสาโรช กล่าวว่า จากนี้ไปจะต้องมีการจัดระบบกันใหม่ในทุกเขตของกทม. เริ่มจากศูนย์ หรือ Set Zero จะวางโครงสร้างใหม่ ระดมความเห็น พร้อมทั้งจัดสัมมนา ต่อจากนี้ในการประชุมวงใหญ่ๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสไกป์เข้ามาร่วมด้วยทุกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต. 4 คน มีมติ 3 ต่อ 1 เห็นควรยังไม่ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้ง ตามที่ กกต.กทม.เสนอ โดยเป็นไปตามมาตรา 95 ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ประกอบประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) ฉบับที่ 32 ที่ให้ กกต. สามารถสืบสวนสอบสวนกรณีผู้ได้รับเลือกตั้งมีเรื่องร้องคัดค้านให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากไม่แล้วเสร็จ ให้ กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไปก่อน โดยกำหนดระยะเวลา 30 วัน จะครบในวันที่ 2 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ถูกร้องเรียนใน 3 เรื่อง แยกเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ กกต.กทม. 2 เรื่อง และฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. กลาง 1 เรื่อง โดยทั้งหมดเป็นคำร้องที่กล่าวหาว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กระทำผิดฐานปราศรัยใส่ร้าย หลอกลวง จูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม ตามมาตรา 57 (5) ของพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเบื้องต้นทาง กกต.กทม. ขอเวลาในการสืบสวน 15 วัน ก่อนที่จะเสนอมายัง กกต. กลางพิจารณา อย่างไรก็ตาม หากการสอบสวนแล้วเสร็จก่อนระยะเวลา 30 วัน กกต.ก็อาจพิจารณาเรื่องประกาศรับรองผลก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ได้
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมกกต.ครั้งนี้ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวน ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งเมื่อเข้าสู่วาระการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือว่าจะต้องรอนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. กลับมาจากการดูงานที่ต่างประเทศก่อนหรือไม่ หลังจากนั้น ได้มีการรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง และแจ้งว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ มีเรื่องถูกร้องเรียนรวม 3 เรื่อง รวมถึง กกต.กทม. เสนอความเห็นว่ายังไม่ควรประกาศรับรองผล จากนั้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาก่อนที่กรรมการแต่ละคนจะนำใบลงคะแนนไปลงคะแนนที่ห้องทำงานของตนเอง และส่งให้ฝ่ายการประชุมนำไปรวมคะแนน ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ก่อนที่จะมีการแถลงข่าว
โดยเสียงข้างน้อย 1เสียง ที่เห็นว่า ควรประกาศรับรองผล คือ นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารการเลือกตั้งที่มองว่า พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 48 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง แต่เสียงส่วนใหญ่ เห็นว่า พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น และประกาศ คปค. ที่กำหนดให้กกต. สืบสวนสอบสวนกรณีมีเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า พ.ร.บ.องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นๆ ประกอบกับ กกต.กทม. ก็ยืนยันว่าจะใช้เวลาในการสอบสวนตามคำร้องให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวปลัดกรุงเทพมหานครก็ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯ กทม.ได้
**“มาร์ค”จ่อประกาศทีมบริหารกทม.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีการรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่ากทม.เมื่อไร แต่เชื่อว่าต้นสัปดาห์หน้า น่าจะประกาศรายชื่อทีมบริหารของ กทม. ได้ทุกตำแหน่ง คือ ตำแหน่งรองผู้ว่ากทม. 4 ตำแหน่ง ที่ปรึกษา 9 ตำแหน่ง เลขา ผู้ช่วยเลขา 4 และหน่วยงานของ กทม. ที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในการบริหาร หลังจากที่ผู้ว่าฯ กทม. เข้ารับตำแหน่ง โดยในขณะนี้การเลือกบุคคลที่จะไปเป็นทีมบริหารก็มีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่จบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ทีมงานใหม่ของผู้ว่าฯ กทม. จะต้องมีความกระฉับกระเฉง เพราะทราบดีว่าคะแนนเสียงที่ประชาชนมอบให้มาพร้อมความคาดหวังที่ต้องการเห็นการปรับปรุงหลายอย่าง ซึ่งพรรคก็พยายามจะดึงคนนอกเข้ามา และในความเห็นของตนคิดว่าควรมีผู้หญิงมาเป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อย่างน้อย 1 คน เพื่อเป็นการเสริมโอกาสของผู้หญิง และยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไปเป็นรองผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่
ส่วนกรณีที่ส.ส.ติติง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า ขาดการเชื่อมต่อกับพรรคในระหว่างการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่การวางระบบให้เชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น เพราะช่วงที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เยอะและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดช่องว่าง ก็เป็นบทเรียนที่ทุกฝ่ายทราบดีและจะนำมาแก้ไข ซึ่งตนได้คุยกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แล้วว่าพร้อมที่จะแก้ปัญหาลดช่องว่างเหล่านี้ มีส.ส.พรรคอยากให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เข้าพรรคมากขึ้น แต่ตนก็เห็นใจว่าคนที่ทำงาน บางทีก็ภารกิจเยอะ เพราะไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ว่าฯ กทม. หลายคนที่เป็นรัฐมนตรีก็ถูกต่อว่าในเรื่องนี้ จึงต้องพยายาม เพราะความสำเร็จของงานจะขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนทางการเมืองด้วย บางทีคนไปทำงาน ก็มองข้ามตรงนี้ไป ถ้าขาดการขับเคลื่อนทางการเมืองควบคู่ไปด้วย งานก็ออกมาได้ยาก
ทั้งนี้ ทราบมาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมที่จะเรียก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ไปรับทราบข้อกล่าวหากรณีเงินบริจาคเข้าพรรคโดยไม่ทำเป็นเช็คขีดคร่อม แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบกับการรับตำแหน่ง เพราะเป็นการแจ้งข้อกล่าวหา และเชื่อว่าคงจะมีการใช้อำนาจดีเอสไอมาดำเนินการกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์อีก เพราะทำมาตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งจนถูกแจ้งข้อหาสองคดี ซึ่งทุกคนก็ต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และเชื่อว่าแม้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะมีคดีอยู่ที่ดีเอสไอแล้วสองคดี ก็จะไม่เสียสมาธิในการบริหารกรุงเทพฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า มีแนวโน้มที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จะไปเป็นรองผู้ว่ากทม. ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น นายชวนนท์ ก็ต้องลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค และต้องมีการเลือกใหม่ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรค และยังมีกระแสข่าวว่า นางอานิก อัมมระนันท์ และนางผุสดี ตามไท ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นแคนดิเดตรองผู้ว่าฯ กทม. ในโควตาผู้หญิง
**"องอาจ"ปฎิเสธรับตำแหน่งรองผู้ว่าฯ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผอ.ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีรายชื่อเป็นแคนดิเดตรองผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตนขอปฏิเสธว่าไม่ขอรับตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ถึงแม้จะมีผู้ใหญ่ในพรรคบางคนที่ทาบทาม ตั้งแต่อยู่ในช่วงที่มีการรณรงค์หาเสียง แต่ขณะนั้นตนได้ปฏิเสธอย่างจริงจังไปแล้ว ซึ่งหลังจากชนะการเลือกตั้ง ก็มีผู้ใหญ่ในพรรคหลายคนส่งสัญญาณมาว่าอยากให้ทำหน้าที่ดังกล่าว แต่ก็ขอปฏิเสธ เพราะขณะนี้ยังมีความสุขในการทำหน้าที่ ส.ส.อยู่ และพรรคก็มีคนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมากที่เหมาะสมจะไปทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งขณะนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาคนที่เหมาะสมอยู่
**"จูดี้"รอคุย "ปู" ขอกลับเป็นตำรวจ
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจาก น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันที่ 7 มี.ค. ตนจะขอเข้าพบเพื่อแจ้งให้ทราบเรื่องขอกลับเข้ารับราชการตำรวจ โดยไม่ขอรับตำแหน่งใดๆ ทางการเมือง รวมถึงตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะเป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ดีที่สุด ซึ่งการกลับมารับราชการ ไม่ได้คาดหวังว่าต้องได้เป็น ผบ.ตร. แม้จะเหลืออายุราชการอีกสามปี เพราะตลอดเวลาของการเป็นตำรวจ และ 48 วันของการหาเสียงพบประชาชน เห็นปัญหาใน กทม. มากขึ้น แต่ก็ยอมรับว่าการขอกลับเข้ารับราชการตำรวจอีกครั้งย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แน่นอน แต่ตนมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะส่วนตัวยืนยันตลอดว่า ต้องการทำงานในตำแหน่งที่ทำประโยชน์ให้ประชาชนที่สุด และการรับราชการตำรวจสามารถแก้ปัญหาให้คน กทม. ได้ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม
**ไม่เข็ด! อีก4ปีขอชิงผู้ว่าฯกทม.อีก
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า การลงสมัครในครั้งนี้ ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง โดยเริ่มจากตนเคยทำงานร่วมกับนายกฯ สมัยเป็นโฆษก ศปภ. ทำให้เห็นปัญหาของคน กทม. แล้วก็ห่างหายกันไป แต่พอมีการสมัคร ก็ได้คุยกับนายกฯ อีกครั้ง และนายกฯ ได้หารือถึงปัญหาต่างๆ จึงมีแนวคิดอยากทำงานแบบไร้รอยต่อ จึงตัดสินใจขอลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ด้วยความเต็มใจ
"ยืนยันว่าจะไม่มีทางแปรเปลี่ยน 1 ล้านคะแนนของคน กทม. เพื่อมารับตำแหน่งทางการเมือง หรือนำมาหาประโยชน์ใส่ตัวเพราะชีวิตถึงขณะนี้ มีความสุขดีแล้ว ครอบครัวสุขสบาย ไม่ได้เดือดร้อน มีเพียงความต้องการกลับมารับราชการตำรวจ เพื่อเข้ามาดูแลทุกข์สุขประชาชน อย่างไรก็ตาม หากในอีก 4 ปี ข้างหน้า กทม. ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ก็จะขออาสาสมัครอีกครั้ง" พล.ต.อ.พงศพัศกล่าว
**สะกิด"จูดี้"ไม่ควรกลับมา
นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกรณีพล.ต.อ.พงศพัศ จะขอกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) หลังลาออกไปลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ว่า แม้กฎหมายจะเปิดช่องให้ แต่ควรจะมีมาตรการหรือการกำหนดให้บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูง อาทิ ผู้บังคับการ อธิบดี รองอธิบดี ซึ่งมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับฝ่ายนโยบาย เมื่อลาออกจากราชการไปลงเลือกตั้ง หากแพ้เลือกตั้งแล้วจะกลับมารับราชการอีกครั้ง ควรให้อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่ไม่มีอิทธิพลกับนโยบาย และไม่มีผลกระทบในวงกว้าง เพราะต้องอย่าลืมว่าตำแหน่งระดับสูงเหล่านี้ มีการทำงานที่ใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในฐานะผู้ใต้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลก็เกิดคำถามว่า ข้าราชการเหล่านี้ยังจะสามารถทำงานสนองนโยบายรัฐบาลใหม่ได้หรือไม่
"ผมคิดว่า พล.ต.อ.พงศพัศไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรองผบ.ตร. เพราะได้ออกไปลงสมัครในสังกัดพรรคการเมืองอย่างชัดเจนแล้ว ทุกคนรับรู้หมดแล้ว ทางที่ดีควรจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ไปลงการเมือง หรือเป็นข้าราชการการเมืองแทน ซึ่งรัฐบาลเองก็สามารถเปิดตำแหน่งให้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรเป็นข้าราชการประจำอีก"
ด้านนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "คนขับรถของผมที่ลาออกไปหางานใหม่ แต่พอหาไม่ได้ จะกลับมา ผมยังไม่เอาเลย ตำรวจที่รับราชการมา ทำไมยอมเปิดโอกาสให้คนที่เป็นขี้ข้าโจร? หรือพวกคุณสองแสนกว่าคนไร้ปัญญาและฝีมือ ต้องรอไปกราบนักโทษ? กระจอกจริง มีตำรวจรับราชการอยู่สองแสนกว่าคน แต่กลายเป็นแหล่งฟอกตัวและเป็นที่รองรับ "ขี้แพ้" ที่ยังคงสภาพหน้าด้านได้อย่างคงที่ คนที่อยู่ในตำแหน่งไม่อายบ้างหรือที่ไม่มีปัญญาขึ้นสู่ตำแหน่ง นอกจากยอมเป็นขี้ข้า"
**"เหลิม"โนคอมเม้นท์บอกต้องงดจ้อ7วัน
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นกรณีที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ระบุพล.ต.อ.พงศพัศ สามารถยื่นเรื่องขอกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ได้ภายใน 30 วัน ก่อนจะเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) พิจารณาอนุมัติ โดยกล่าวอย่างอารมณ์ดีเพียงสั้นๆ ว่า “เรื่องนี้ยังไม่ทราบ ก็งดสัมภาษณ์ 7 วันไง”
**พท.รื้อโครงสร้างทีมงานกทม.ใหม่
ที่พรรคเพื่อไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา13.00 น. วานนี้ (5มี.ค.) พรรคเพื่อไทยมีการประชุมส.ส.กทม. ผู้สมัครส.ส., ส.ก. และส.ข.กทม. ของพรรคทั้ง 50 เขต ตามที่พรรคได้ส่งเอสเอ็มเอสแจ้งไป โดยมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายสาโรช หงษ์ชูเวช เป็นประธานการประชุม โดยทุกคนถึงกับตกใจ เพราะไม่ทราบมาก่อนว่าคุณหญิงสุดารัตน์จะมาเป็นประธานการประชุมครั้งนี้ โดยคุณหญิงสุดารัตน์ได้สั่งในที่ประชุมให้ทุกคนทำรายงานสรุปปัญหาต่างๆ ของทั้ง 50เขต ภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พร้อมทั้งระบุว่า หลังจากนี้ จะวางโครงสร้างกันใหม่ทั้งหมด พร้อมเปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะเขตที่แพ้การเลือกตั้ง โดยในการประชุมพรรคสัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม คุณหญิงสุดารัตน์ยังเสนอให้พรรคติดตามเรื่องร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ด้วย โดยมอบหมายให้นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.เป็นผู้รับผิดชอบ
ด้านนายสาโรช กล่าวว่า จากนี้ไปจะต้องมีการจัดระบบกันใหม่ในทุกเขตของกทม. เริ่มจากศูนย์ หรือ Set Zero จะวางโครงสร้างใหม่ ระดมความเห็น พร้อมทั้งจัดสัมมนา ต่อจากนี้ในการประชุมวงใหญ่ๆ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสไกป์เข้ามาร่วมด้วยทุกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป