นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิชย์ รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงความคืบหน้า กรณีการสอบคัดเลือกตำแหน่งครูผู้ช่วยจำนวน 2,000 อัตรา ว่า ขณะนี้พบข้อมูลเพิ่มเติม จากผลคะแนนการสอบครั้งที่ผ่านมา พบว่ามีผู้เข้าสอบ 486 คนทำคะแนนได้เต็ม และเกือบเต็ม โดยพบว่าในจำนวนนี้กระจายตัวอยู่ใน 60 จังหวัด ทำให้เข้าใจได้ว่า ในจังหวัดทั้งหมดนี้ อาจจะมีการขายข้อสอบ หรือมีการรั่วไหลของข้อสอบไปถึงมือผู้สอบอย่างแน่นนอน และหากพบว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมีส่วนรู้เห็น จะต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาด
"ผมจะเร่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เร่งสรุปข้อมูลการทุจริตสอบครูผู้ช่วยทั้งหมดให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ และหากพบว่าใครในกระทรวงมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด ไม่มีทางที่จะปล่อยไปอย่างแน่นอน" นายเสริมศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ศธ. จะพิจารณากระบวนการ และรูปแบบการสอบใหม่หรือไม่ รมช.ศธ. กล่าวว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการสอบครูใหม่ เช่น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ก็อาจจะให้เป็นผู้จัดสอบเอง แต่ขณะนี้ยังไม่ด่วนสรุปว่า การสอบครั้งนี้จะเป็นโฆษะหรือไม่ ต้องดูข้อมูลจากดีเอสไอให้ละเอียดก่อน เพราะเป็นเรื่องที่มีทั้งผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์
อย่างไรก็ตาม นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า การจะตัดสินใจยกเลิกการสอบครั้งนี้หรือไม่นั้น ต้องรอผลข้อมูลที่ชัดเจนก่อน ว่าจะพิจารณาให้ยกเลิกผลการสอบครั้งนี้ และให้มีการสอบใหม่หรือไม่ เพื่อจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ซึ่งตนจะขอให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เลื่อนการประชุม ก.ค.ศ.ออกไปเป็นสิ้นเดือนมี.ค. เพราะต้องการรอรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วนกว่านี้
** "ดีเอสไอ"เตรียมชงเป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ได้ขอให้ ดีเอสไอ ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตการสอบคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงมอบหมายให้ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษเร่งดำเนินการสืบสวนโดยเร็ว
ด้านนายธานินทร์ กล่าวว่า คณะพนักงานสืบสวนได้กำหนดแนวทางในการสืบสวนไว้ 2 ประเด็น คือ 1. การสอบเมื่อวันที่ 13ม.ค.56 มีการทุจริตจริงหรือไม่ 2. การทุจริต มีใครเป็นผู้กระทำความผิด และการกระทำความผิดดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อาจจะต้องเสนอให้เป็นคดีพิเศษ เนื่องจากความผิดดังกล่าวไม่ได้อยู่ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้นจึงต้องเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) มีมติรับเป็นคดีพิเศษก่อน ดีเอสไอ จึงจะมีอำนาจสอบสวน
ทั้งนี้ จากการสืบสวนและได้ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายพิษณุ ตุลสุข ) เป็นประธานคณะกรรมการ เบื้องต้น เชื่อได้ว่าการสอบครั้งนี้ น่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นจริง โดยมีการดำเนินการเป็นขบวนการ และมีการทุจริตอย่างน้อย 3 รูปแบบ คือ 1.ให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทน 2. นำข้อสอบออกมาและเฉลยข้อสอบ และให้นำไปท่องจำเข้าไปสอบ และ 3. การนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปในห้องสอบจากการสืบสวน ขณะนี้ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้พบพยานหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการสอบ กระดาษคำตอบที่นำเข้าไปลอกในห้องสอบ และได้สอบปากคำพยานบุคคลอีกหลายปาก ซึ่งเข้าร่วมในขบวนการทุจริต และในสัปดาห์หน้า คณะทำงานสืบสวน จะเดินทางลงพื้นที่ทางภาคอีสาน เพื่อสอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าน่าจะสรุปผลการสืบสวนเบื้องต้นส่งให้กระทรวงศึกษาธิการได้ภายในวันที่ 18 มี.ค.นี้
"ผมจะเร่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เร่งสรุปข้อมูลการทุจริตสอบครูผู้ช่วยทั้งหมดให้ได้ภายในสัปดาห์นี้ และหากพบว่าใครในกระทรวงมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาด ไม่มีทางที่จะปล่อยไปอย่างแน่นอน" นายเสริมศักดิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากการทุจริตการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ศธ. จะพิจารณากระบวนการ และรูปแบบการสอบใหม่หรือไม่ รมช.ศธ. กล่าวว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการสอบครูใหม่ เช่น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง ก็อาจจะให้เป็นผู้จัดสอบเอง แต่ขณะนี้ยังไม่ด่วนสรุปว่า การสอบครั้งนี้จะเป็นโฆษะหรือไม่ ต้องดูข้อมูลจากดีเอสไอให้ละเอียดก่อน เพราะเป็นเรื่องที่มีทั้งผู้ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์
อย่างไรก็ตาม นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า การจะตัดสินใจยกเลิกการสอบครั้งนี้หรือไม่นั้น ต้องรอผลข้อมูลที่ชัดเจนก่อน ว่าจะพิจารณาให้ยกเลิกผลการสอบครั้งนี้ และให้มีการสอบใหม่หรือไม่ เพื่อจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ซึ่งตนจะขอให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เลื่อนการประชุม ก.ค.ศ.ออกไปเป็นสิ้นเดือนมี.ค. เพราะต้องการรอรายละเอียดข้อมูลให้ครบถ้วนกว่านี้
** "ดีเอสไอ"เตรียมชงเป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ได้ขอให้ ดีเอสไอ ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตการสอบคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงมอบหมายให้ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษเร่งดำเนินการสืบสวนโดยเร็ว
ด้านนายธานินทร์ กล่าวว่า คณะพนักงานสืบสวนได้กำหนดแนวทางในการสืบสวนไว้ 2 ประเด็น คือ 1. การสอบเมื่อวันที่ 13ม.ค.56 มีการทุจริตจริงหรือไม่ 2. การทุจริต มีใครเป็นผู้กระทำความผิด และการกระทำความผิดดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อาจจะต้องเสนอให้เป็นคดีพิเศษ เนื่องจากความผิดดังกล่าวไม่ได้อยู่ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้นจึงต้องเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) มีมติรับเป็นคดีพิเศษก่อน ดีเอสไอ จึงจะมีอำนาจสอบสวน
ทั้งนี้ จากการสืบสวนและได้ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายพิษณุ ตุลสุข ) เป็นประธานคณะกรรมการ เบื้องต้น เชื่อได้ว่าการสอบครั้งนี้ น่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นจริง โดยมีการดำเนินการเป็นขบวนการ และมีการทุจริตอย่างน้อย 3 รูปแบบ คือ 1.ให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทน 2. นำข้อสอบออกมาและเฉลยข้อสอบ และให้นำไปท่องจำเข้าไปสอบ และ 3. การนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปในห้องสอบจากการสืบสวน ขณะนี้ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้พบพยานหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ในการสอบ กระดาษคำตอบที่นำเข้าไปลอกในห้องสอบ และได้สอบปากคำพยานบุคคลอีกหลายปาก ซึ่งเข้าร่วมในขบวนการทุจริต และในสัปดาห์หน้า คณะทำงานสืบสวน จะเดินทางลงพื้นที่ทางภาคอีสาน เพื่อสอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าน่าจะสรุปผลการสืบสวนเบื้องต้นส่งให้กระทรวงศึกษาธิการได้ภายในวันที่ 18 มี.ค.นี้