ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ไฟเขียวพ.ร.บ.กู้เงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท ระบบรางกวาดเรียบ กรมศุลฯ มีเอี่ยว 1.2 หมื่นล้านสร้างด่านใหม่พัฒนาด่านเก่า เตรียมจัดนิทรรศการโชว์แผนลงทุน 7-10 มี.ค.นี้ ก่อนนำรายละเอียดโครงการเข้าครม.อีกครั้ง "โต้ง"ดันเข้าสภาปลายเดือนเม.ย.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบในหลักการร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อช่ายลดต้นทุนดำเนินการของภาคเอกชน โดยการลงทุนดังกล่าว กระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณารายละเอียดของโครงการ ขณะที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะพิจารณาให้ความเห็นถึงความพร้อมในการจัดหาแหล่งเงินทุน
ทั้งนี้ หากเป็นการเสนอแผนการลงทุนด้านขนส่งทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบย่อยที่เชื่อมโยงกันของแต่ละจังหวัดต่อเนื่องไปในระยะ 10 ปีนี้ ไทยจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 4.2 ล้านล้านบาท ดังนั้น ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเน้นไปที่ระบบรางก่อนเป็นอันดับแรก และใช้เงินทั้งสิ้น 2 ล้านล้านบาท รวมกับการลงทุนด่านศุลกากรที่จะเอื้อต่อการขนส่งสินค้าระหว่างกันด้วยส่วนหนึ่ง ส่วนการลงทุนด้านอื่นๆ จะนำไปจัดสรรในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปกติ ที่มองว่าในอนาคตรัฐบาลจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสามารถลดการขาดดุลได้จนเข้าสู่จุดสมดุลในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ อีกทั้งน่าจะทำให้สามารถวิเคราะห์โครงการต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีความพร้อมในการลงทุนมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดแสดงนิทรรศการการลงทุนระบบรางทั้งหมดระหว่างวันที่ 7-10 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนสามารถไปดูรายละเอียดของการลงทุนระบบรางทั้งหมดได้ และจะเปิดรับฟังข้อชี้แนะต่างๆ เพื่อจะนำมากำหนดรายละเอียดของโครงการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม. อีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาได้ประมาณปลายเดือนเม.ย.2556 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกรอบเวลาที่รัฐบาลวางเอาไว้
"ระหว่างนี้ โครงการไหนที่มีความพร้อม ก็เริ่มเดินหน้าได้ทันที โดยให้ทำคู่ขนานกันไป รัฐบาลไม่ได้หยุดชะงักการลงทุนอะไร อย่างรถไฟฟ้าสายสีแดงก็เดินหน้าแล้ว ครม.เห็นชอบกรอบการลงทุนเพิ่มเติมแล้ว ส่วนการลงทุนสร้างและพัฒนาด่านของกรมศุลกากร ถือว่ามีความจำเป็นจากจำนวนที่มีในปัจจุบัน 41 แห่ง และมีแห่งใหญ่ 9 แห่ง ต้องเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกัน และต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ อย่าง ตม. ดังนั้น หน้าที่หลักของกรมศุลฯ ต่อไป คือการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ถูกต้องมากกว่าการทำหน้าที่จัดเก็บภาษีที่จะลดอัตราลงไปเหลือ 0% เรื่อยๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว
ด้านนางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลฯ ได้รับพิจารณาจัดสรรวงเงินลงทุนตามร่างพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทเป็นเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้ในการสร้างด่านใหม่ 28 แห่ง ที่จะเพิ่มขึ้นตามด่านชายแดนที่สำคัญ เช่นที่อรัญประเทศและมีการพัฒนาปรับปรุงด่านเก่าอีก 8 แห่ง โดยน่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เพราะต้องมีการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้กรมศุลฯ สามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้น
นอกจากนั้น กรมศุลฯ ยังมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงการใช้บริการวางค้ำประกันค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 18 แห่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมให้ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่กระทรวงคมนาคมได้วางไว้ในระยะเวลา 7 ปี เป็นวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท แต่โครงการที่กำหนดไว้ตามยุทธศาตร์ของเงินกู้จำนวน 2 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่มีความสำคัญที่ส่งเสริมการคมนาคมขนส่งของประเทศและเชี่อมโยงการคมนาคมขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านในฐานะที่เราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เช่น การสร้างรถไฟความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง และการสร้างรถไฟฟ้า 10 เส้นทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการกู้เงินเพื่อลงทุนยังคงเป็นไปตามที่ประเมินไว้ว่าประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท โดยมียอดกู้สูงสุดในปี 2560 และในการกู้เงินจะอยู่ในการกำกับดูแลของ สบน. ซึ่งจะควบคุมเพดานหนี้สาธารณะให้ไม่เกิน 50% ของจีดีพี
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รายงานให้ที่ประชุมครม.รับทราบถึงปฏิทินงานในสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐบาลเตรียมเสนอร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท และร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ ภายในเดือนมี.ค. จากนั้นก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา คาดว่าจะมีการพิจารณาทั้ง 2 เรื่องได้ในเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนการขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 57 น่าจะเป็นช่วงคือประมาณปลายเดือนพ.ค. จากนั้นก็เป็นขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา ทั้งนี้ คาดว่าทั้งร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 57 จะแล้วเสร็จในช่วงประมาณเดือนก.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้ทำหนังสือเวียนถึงประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 35 คณะ เพื่อแจ้งขอความร่วมมืองดเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ ในระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-2 มิ.ย.2556 เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2557 ในวาระที่ 1
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบในหลักการร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อช่ายลดต้นทุนดำเนินการของภาคเอกชน โดยการลงทุนดังกล่าว กระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณารายละเอียดของโครงการ ขณะที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะพิจารณาให้ความเห็นถึงความพร้อมในการจัดหาแหล่งเงินทุน
ทั้งนี้ หากเป็นการเสนอแผนการลงทุนด้านขนส่งทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบย่อยที่เชื่อมโยงกันของแต่ละจังหวัดต่อเนื่องไปในระยะ 10 ปีนี้ ไทยจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 4.2 ล้านล้านบาท ดังนั้น ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จึงเน้นไปที่ระบบรางก่อนเป็นอันดับแรก และใช้เงินทั้งสิ้น 2 ล้านล้านบาท รวมกับการลงทุนด่านศุลกากรที่จะเอื้อต่อการขนส่งสินค้าระหว่างกันด้วยส่วนหนึ่ง ส่วนการลงทุนด้านอื่นๆ จะนำไปจัดสรรในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปกติ ที่มองว่าในอนาคตรัฐบาลจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสามารถลดการขาดดุลได้จนเข้าสู่จุดสมดุลในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ อีกทั้งน่าจะทำให้สามารถวิเคราะห์โครงการต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีความพร้อมในการลงทุนมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะมีการจัดแสดงนิทรรศการการลงทุนระบบรางทั้งหมดระหว่างวันที่ 7-10 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนสามารถไปดูรายละเอียดของการลงทุนระบบรางทั้งหมดได้ และจะเปิดรับฟังข้อชี้แนะต่างๆ เพื่อจะนำมากำหนดรายละเอียดของโครงการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม. อีกครั้ง ก่อนจะนำเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาได้ประมาณปลายเดือนเม.ย.2556 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกรอบเวลาที่รัฐบาลวางเอาไว้
"ระหว่างนี้ โครงการไหนที่มีความพร้อม ก็เริ่มเดินหน้าได้ทันที โดยให้ทำคู่ขนานกันไป รัฐบาลไม่ได้หยุดชะงักการลงทุนอะไร อย่างรถไฟฟ้าสายสีแดงก็เดินหน้าแล้ว ครม.เห็นชอบกรอบการลงทุนเพิ่มเติมแล้ว ส่วนการลงทุนสร้างและพัฒนาด่านของกรมศุลกากร ถือว่ามีความจำเป็นจากจำนวนที่มีในปัจจุบัน 41 แห่ง และมีแห่งใหญ่ 9 แห่ง ต้องเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกัน และต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ อย่าง ตม. ดังนั้น หน้าที่หลักของกรมศุลฯ ต่อไป คือการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ถูกต้องมากกว่าการทำหน้าที่จัดเก็บภาษีที่จะลดอัตราลงไปเหลือ 0% เรื่อยๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว
ด้านนางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมศุลฯ ได้รับพิจารณาจัดสรรวงเงินลงทุนตามร่างพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทเป็นเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้ในการสร้างด่านใหม่ 28 แห่ง ที่จะเพิ่มขึ้นตามด่านชายแดนที่สำคัญ เช่นที่อรัญประเทศและมีการพัฒนาปรับปรุงด่านเก่าอีก 8 แห่ง โดยน่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เพราะต้องมีการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้กรมศุลฯ สามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้น
นอกจากนั้น กรมศุลฯ ยังมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงการใช้บริการวางค้ำประกันค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ 18 แห่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยอำนวยความสะดวก ลดระยะเวลาตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมให้ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ เป็นต้นไป
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่กระทรวงคมนาคมได้วางไว้ในระยะเวลา 7 ปี เป็นวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท แต่โครงการที่กำหนดไว้ตามยุทธศาตร์ของเงินกู้จำนวน 2 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่มีความสำคัญที่ส่งเสริมการคมนาคมขนส่งของประเทศและเชี่อมโยงการคมนาคมขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านในฐานะที่เราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เช่น การสร้างรถไฟความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง และการสร้างรถไฟฟ้า 10 เส้นทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการกู้เงินเพื่อลงทุนยังคงเป็นไปตามที่ประเมินไว้ว่าประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท โดยมียอดกู้สูงสุดในปี 2560 และในการกู้เงินจะอยู่ในการกำกับดูแลของ สบน. ซึ่งจะควบคุมเพดานหนี้สาธารณะให้ไม่เกิน 50% ของจีดีพี
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รายงานให้ที่ประชุมครม.รับทราบถึงปฏิทินงานในสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐบาลเตรียมเสนอร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท และร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ ภายในเดือนมี.ค. จากนั้นก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา คาดว่าจะมีการพิจารณาทั้ง 2 เรื่องได้ในเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนการขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 57 น่าจะเป็นช่วงคือประมาณปลายเดือนพ.ค. จากนั้นก็เป็นขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา ทั้งนี้ คาดว่าทั้งร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท และร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 57 จะแล้วเสร็จในช่วงประมาณเดือนก.ย.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้ทำหนังสือเวียนถึงประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 35 คณะ เพื่อแจ้งขอความร่วมมืองดเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ ในระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-2 มิ.ย.2556 เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2557 ในวาระที่ 1