วานนี้ ( 24 ก.พ.56) เวลา 06.30 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางออกจากท่าอากาศสุวรรณภูมิ โดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเดินทางถึงกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ในเวลา 14.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
จากนั้น เวลา 15.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางจากโรงแรมที่พัก ไปยังทำเนียบประธานาธิบดี (Blue House) เพื่อหารือข้อราชการกับนายอี มยอง-บัก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย เพื่อแสดงความขอบคุณ พร้อมกับอำลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี
โดยที่สำคัญมีการหารือ สำหรับความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท K-Water ได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งต่อจากนี้จะให้แต่ละบริษัทที่ผ่านการพิจารณาจัดทำข้อเสนอรายละเอียดด้านราคาและเทคนิค เพื่อพิจารณาขั้นสุดท้ายในเดือนเมษายน โดยในภาพรวมฝ่ายไทยจะพิจารณาเรื่องเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด ที่สำคัญคือ ต้องเหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศไทย นอกจากนั้นจะดูความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับราคาการถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอบด้วย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความหวังว่าประธานาธิบดีฯจะยังคอยสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ให้แนบแน่นยิ่งขึ้นต่อไป และยินดีต้อนรับหากประธานาธิบดีฯมีโอกาสเยือนประเทศไทย
ภายหลังการหารือ ในช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังบ้านพักประจำตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่นายคัง ชาง ฮี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลีในทุกมิติ
**กยอ.ตั้งหมอมิ้งนั่งแท่นที่ปรึกษา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 ก.พ.56นี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เสนอให้ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2556 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. สรุปผลการศึกษาดูงาน “การสร้างสรรค์มูลค่าจากรถไฟความเร็วสูง” ระหว่างวันที่ 11 – 16 ธันวาคม 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่นของ กยอ. พบว่า จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงควรมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและแนวทางการพัฒนากิจการรถไฟจากการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลไปสู่รูปแบบกิจการที่สามารถพึ่งพาตนเองในทางธุรกิจได้ ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มจากกิจการรถไฟในประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่
1.1 การปฏิรูปและการพัฒนากิจการรถไฟให้มีประสิทธิภาพควรต้องสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง
1.2 การออกแบบบริการ (Service Design) ควรต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในพื้นที่/ชุมชนที่แตกต่างกัน และสร้างกิจกรรมที่ตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม
1.3 การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจการรถไฟ
2. ความคืบหน้าของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติของ คปภ. มีดังนี้
2.1 ผลการดำเนินการระหว่างวันที่ 28 มีนาคม 2555 – 7 มกราคม 2556 บริษัทประกันภัยจำนวน 52 บริษัท ได้มีการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยเป็นจำนวน 591,167 ฉบับ โดยมีทุนประกันภัยพิบัติรวม 62,985 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรวม 450 ล้านบาท ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนกองทุนฯ 47,864 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยต่อรวม 359 ล้านบาท
2.2 สัดส่วนการรับประกันภัยแบ่งตามกลุ่มผู้เอาประกันภัย พบว่า
2.2.1 กลุ่มบ้านและที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนของการรับประกันภัยสูงสุดถึงร้อยละ 91 รองลงมาคือ SMEs ร้อยละ 8 และอุตสาหกรรม ร้อยละ 1
2.2.2 กลุ่มบ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนของทุนประกันภัยต่อสูงสุดถึงร้อยละ 55 อุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และ SMEs ร้อยละ 15
2.2.3 อุตสาหกรรมมีสัดส่วนของเบี้ยประกันภัยต่อสูงสุดถึงร้อยละ 43 รองลงมาคือ บ้านและที่อยู่อาศัย ร้อยละ 37 และ SMEs ร้อยละ 20
2.3 โครงการจัดจ้างนายหน้า (ที่ปรึกษา) ประกันภัยต่อ โดยจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาประกันภัยต่อ 2 บริษัท คือ Aon (Aon Benfield) และ Marsh (Guy Carpenter) ซึ่งอยู่ระหว่างการทำสัญญาการทำประกันภัยต่อโดยจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนข้างหน้า และบางบริษัทประสงค์จะขอปรับสัดส่วนการรับความเสี่ยงไว้เอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของสมาคมประกันวินาศภัยไทยให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2556 และจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งให้กองทุนฯ รวบรวมให้บริษัทที่ปรึกษาพิจารณาแนวทางการทำประกันภัยต่อกองทุนฯ ต่อไป
3. ความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟู กนอ. กระทรวงอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจสถานะผู้ประกอบการในนิคม/เขต/สวนอุตสาหกรรม ณ วันที่ 25 มกราคม 2556 พบว่ามีผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินการเต็มกำลังการผลิต จำนวน 489 ราย เปิดดำเนินการบางส่วน จำนวน 210 ราย และยังไม่ได้เปิดดำเนินการ 140 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งสิ้น 839 ราย หรือคิดเป็นผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินการแล้ว ร้อยละ 83.31 โดยมอบหมายให้ กนอ. รายงานความคืบหน้าฯ ให้ กยอ.ทราบต่อไป
4. การแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นที่ปรึกษา กยอ. และมอบหมายฝ่ายเลขานุการ กยอ. รับไปดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้การประชุมคณะรัฐมนตรีจะเลื่อนประชุมจากวันที่ 26 ก.พ. เป็นวันที่ 27 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรีติดภารกิจดังกล่าว ส่วนในช่วงที่นายกฯปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศนั้นจะมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองนายกฯลำดับที่1 หรือ สร.2 จะทำหน้าที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จนกว่านายกฯจะเดินทางกลับมา
จากนั้น เวลา 15.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางจากโรงแรมที่พัก ไปยังทำเนียบประธานาธิบดี (Blue House) เพื่อหารือข้อราชการกับนายอี มยอง-บัก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย เพื่อแสดงความขอบคุณ พร้อมกับอำลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี
โดยที่สำคัญมีการหารือ สำหรับความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท K-Water ได้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งต่อจากนี้จะให้แต่ละบริษัทที่ผ่านการพิจารณาจัดทำข้อเสนอรายละเอียดด้านราคาและเทคนิค เพื่อพิจารณาขั้นสุดท้ายในเดือนเมษายน โดยในภาพรวมฝ่ายไทยจะพิจารณาเรื่องเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด ที่สำคัญคือ ต้องเหมาะสมกับเงื่อนไขของประเทศไทย นอกจากนั้นจะดูความคุ้มค่าเปรียบเทียบกับราคาการถ่ายทอดเทคโนโลยีประกอบด้วย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความหวังว่าประธานาธิบดีฯจะยังคอยสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ให้แนบแน่นยิ่งขึ้นต่อไป และยินดีต้อนรับหากประธานาธิบดีฯมีโอกาสเยือนประเทศไทย
ภายหลังการหารือ ในช่วงค่ำ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปยังบ้านพักประจำตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่นายคัง ชาง ฮี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลีในทุกมิติ
**กยอ.ตั้งหมอมิ้งนั่งแท่นที่ปรึกษา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 ก.พ.56นี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เสนอให้ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2556 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
1. สรุปผลการศึกษาดูงาน “การสร้างสรรค์มูลค่าจากรถไฟความเร็วสูง” ระหว่างวันที่ 11 – 16 ธันวาคม 2555 ณ ประเทศญี่ปุ่นของ กยอ. พบว่า จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงควรมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและแนวทางการพัฒนากิจการรถไฟจากการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลไปสู่รูปแบบกิจการที่สามารถพึ่งพาตนเองในทางธุรกิจได้ ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มจากกิจการรถไฟในประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่
1.1 การปฏิรูปและการพัฒนากิจการรถไฟให้มีประสิทธิภาพควรต้องสร้างความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง
1.2 การออกแบบบริการ (Service Design) ควรต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในพื้นที่/ชุมชนที่แตกต่างกัน และสร้างกิจกรรมที่ตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม
1.3 การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกิจการรถไฟ
2. ความคืบหน้าของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติของ คปภ. มีดังนี้
2.1 ผลการดำเนินการระหว่างวันที่ 28 มีนาคม 2555 – 7 มกราคม 2556 บริษัทประกันภัยจำนวน 52 บริษัท ได้มีการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยเป็นจำนวน 591,167 ฉบับ โดยมีทุนประกันภัยพิบัติรวม 62,985 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรวม 450 ล้านบาท ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนกองทุนฯ 47,864 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยต่อรวม 359 ล้านบาท
2.2 สัดส่วนการรับประกันภัยแบ่งตามกลุ่มผู้เอาประกันภัย พบว่า
2.2.1 กลุ่มบ้านและที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนของการรับประกันภัยสูงสุดถึงร้อยละ 91 รองลงมาคือ SMEs ร้อยละ 8 และอุตสาหกรรม ร้อยละ 1
2.2.2 กลุ่มบ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนของทุนประกันภัยต่อสูงสุดถึงร้อยละ 55 อุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และ SMEs ร้อยละ 15
2.2.3 อุตสาหกรรมมีสัดส่วนของเบี้ยประกันภัยต่อสูงสุดถึงร้อยละ 43 รองลงมาคือ บ้านและที่อยู่อาศัย ร้อยละ 37 และ SMEs ร้อยละ 20
2.3 โครงการจัดจ้างนายหน้า (ที่ปรึกษา) ประกันภัยต่อ โดยจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาประกันภัยต่อ 2 บริษัท คือ Aon (Aon Benfield) และ Marsh (Guy Carpenter) ซึ่งอยู่ระหว่างการทำสัญญาการทำประกันภัยต่อโดยจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนข้างหน้า และบางบริษัทประสงค์จะขอปรับสัดส่วนการรับความเสี่ยงไว้เอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของสมาคมประกันวินาศภัยไทยให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2556 และจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งให้กองทุนฯ รวบรวมให้บริษัทที่ปรึกษาพิจารณาแนวทางการทำประกันภัยต่อกองทุนฯ ต่อไป
3. ความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟู กนอ. กระทรวงอุตสาหกรรม จากผลการสำรวจสถานะผู้ประกอบการในนิคม/เขต/สวนอุตสาหกรรม ณ วันที่ 25 มกราคม 2556 พบว่ามีผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินการเต็มกำลังการผลิต จำนวน 489 ราย เปิดดำเนินการบางส่วน จำนวน 210 ราย และยังไม่ได้เปิดดำเนินการ 140 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งสิ้น 839 ราย หรือคิดเป็นผู้ประกอบการที่เปิดดำเนินการแล้ว ร้อยละ 83.31 โดยมอบหมายให้ กนอ. รายงานความคืบหน้าฯ ให้ กยอ.ทราบต่อไป
4. การแต่งตั้ง นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นที่ปรึกษา กยอ. และมอบหมายฝ่ายเลขานุการ กยอ. รับไปดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้การประชุมคณะรัฐมนตรีจะเลื่อนประชุมจากวันที่ 26 ก.พ. เป็นวันที่ 27 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากนายกรัฐมนตรีติดภารกิจดังกล่าว ส่วนในช่วงที่นายกฯปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศนั้นจะมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองนายกฯลำดับที่1 หรือ สร.2 จะทำหน้าที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จนกว่านายกฯจะเดินทางกลับมา