ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ด กนง.ลงมติ 6 ต่อ 1 คงดอกเบี้ยนโยบาย กางตัวเลขเศรษฐกิจสภาพัฒน์ย้อนเกล็ด ชี้ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.750% เหมาะสมกับเป้าหมายการเงินและเศรษฐกิจ แต่ยังจับตาความเสี่ยงด้านเสถียรภาพหลังพบสินเชื่อบางตัวร้อนแรง หนี้ครัวเรือนเพิ่ม ราคาสินทรัพย์บางตลาดพุ่ง ส่วนเศรษฐกิจโลกยังมีความสุ่มเสี่ยงจากเงินทุนเคลื่อนย้าย ส่วน "โต้ง" รูดซิปปาก อัดพวกไม่รู้วิจารณ์มั่ว
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ด กนง.วานนี้ (20 ก.พ.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.75%ต่อปี ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 56 โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในช่วงที่ผ่านมามีส่วนเอื้อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่และเศรษฐกิจในประเทศยังมีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินจากการเร่งขึ้นของสินทรัพย์
“เป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายการเงินจะพิจารณาปัจจัยรอบด้าน เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ไม่มีปัญหาเสถียรภาพ จึงไม่ควรดูเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อถึงเวลาชั่งน้ำหนักมติส่วนใหญ่ จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้เหมาะสมต่อการรักษาเป้าหมายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม”
ทั้งนี้ ในที่ประชุมบอร์ด กนง.ครั้งนี้ไม่มีการพูดถึงแรงกดดันจากทางการเมืองและเห็นว่าไม่ควรพูดถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าควรส่งสัญญาณไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยบอร์ด กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยสำคัญ จึงสร้างความสบายใจได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันปัญหาเงินเฟ้อยังไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจและแนวโน้มไม่สร้างความวิตกกังวลมากนัก แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นบ้างจากการประชุมครั้งก่อน เพราะราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตาต่อไป คือ เรื่องเสถียรภาพการเงิน ซึ่งยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งการขยายตัวสินเชื่อบางประเภทที่ค่อนข้างร้อนแรง ภาระหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ราคาสินทรัพย์ในบางตลาดปรับตัวเร็วและมากเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ซึ่งภาวะเกิดขึ้นจากครั้งก่อนไม่ทำให้ กนง.เบาใจได้ จึงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
เลขานุการบอร์ด กนง.กล่าวว่า แม้ข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่ข้อสรุปของความคิดเห็นแตกต่างกันไม่ใช่เรื่องแปลก ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ประสบการณ์ ความเห็นส่วนตัวของกรรมการ กนง.แต่ละคน ดังนั้นมติออกมา 6 ต่อ 1 เสียง แสดงว่ามีต่างกันในแง่ความคิดบ้าง โดยกรรมการ กนง. 1 เสียงมองว่าควรลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อบรรเทาความเสี่ยงของเงินทุนเคลื่อนย้ายและเห็นว่าเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความเปาะบางอยู่ แต่คณะกรรมการทั้งชุดก็ยังมีความห่วงใยความผันผวนเกิดจากเงินทุนเคลื่อนย้ายและผลต่อเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและพร้อมดำเนินการที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังประเมินภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ว่ามีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่จากความยืดเยื้อในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรและความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลังของสหรัฐ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดไตรมาส 4 ก็ขยายตัวดีกว่าที่คาด และคาดว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและสูงกว่าที่บอร์ดกนง.ประเมินไว้ที่ระดับ 4.9% สำหรับปี 56 โดยอุปสงค์ภายในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก รวมถึงการส่งออกที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
***"โต้ง" รูดซิปปาก อัดพวกไม่รู้วิจารณ์มั่ว
วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงการประชุม กนง. แต่ระบุว่า รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อการแข็งค่าของเงินบาท อยากให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ อย่างเรื่องหนี้ต่างประเทศที่มีอยู่ ก่อนหน้านี้ก็ได้ขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไว้ว่า อาจมีการชำระคืนก่อนกำหนดหากสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องยอมรับว่า ส่วนนั้นมีไม่มาก ประมาณแสนล้านบาทเท่านั้น และต้องยอมรับว่าปริมาณเงินไหลเข้าประเทศมีมากกว่า จะให้รัฐบาลช่วยฝ่ายเดียวคงจะไม่เพียงพอ
"แนวทางกู้เงินในประเทศเป็นหลักจะมีผลต่อภาวะดอกเบี้ยนโยบาย เพราะต้องยอมรับว่าทุกอย่างในระบบเศรษฐกิจมีความเกี่ยวพันกันทั้งหมด แต่ที่ผ่านมาส่วนตัวไม่ค่อยสบายใจ เพราะมีหลายคนพยายามแสดงความเห็นในแง่เศรษฐศาสตร์ ทั้งที่ไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์หรือไม่มีความรู้" นายกิตติรัตน์กล่าว
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ไปหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เพื่อช่วยกันดูแล อย่างน้อยต้องติดตามและประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้เกิดผลกระทบ เมื่อถามว่าจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งกรณีที่ รมว.คลังทำหนังสือถึงประธานบอร์ด ธปท.ให้รับผิดชอบร่วมกันกรณีไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ตอบคำถาม ดังกล่าว.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ด กนง.วานนี้ (20 ก.พ.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.75%ต่อปี ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 2 ของปี 56 โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนปรนในช่วงที่ผ่านมามีส่วนเอื้อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่และเศรษฐกิจในประเทศยังมีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินจากการเร่งขึ้นของสินทรัพย์
“เป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายการเงินจะพิจารณาปัจจัยรอบด้าน เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ไม่มีปัญหาเสถียรภาพ จึงไม่ควรดูเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อถึงเวลาชั่งน้ำหนักมติส่วนใหญ่ จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้เหมาะสมต่อการรักษาเป้าหมายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม”
ทั้งนี้ ในที่ประชุมบอร์ด กนง.ครั้งนี้ไม่มีการพูดถึงแรงกดดันจากทางการเมืองและเห็นว่าไม่ควรพูดถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าควรส่งสัญญาณไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยบอร์ด กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยสำคัญ จึงสร้างความสบายใจได้ระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันปัญหาเงินเฟ้อยังไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจและแนวโน้มไม่สร้างความวิตกกังวลมากนัก แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นบ้างจากการประชุมครั้งก่อน เพราะราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตาต่อไป คือ เรื่องเสถียรภาพการเงิน ซึ่งยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ ทั้งการขยายตัวสินเชื่อบางประเภทที่ค่อนข้างร้อนแรง ภาระหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ราคาสินทรัพย์ในบางตลาดปรับตัวเร็วและมากเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ซึ่งภาวะเกิดขึ้นจากครั้งก่อนไม่ทำให้ กนง.เบาใจได้ จึงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
เลขานุการบอร์ด กนง.กล่าวว่า แม้ข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่ข้อสรุปของความคิดเห็นแตกต่างกันไม่ใช่เรื่องแปลก ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ ประสบการณ์ ความเห็นส่วนตัวของกรรมการ กนง.แต่ละคน ดังนั้นมติออกมา 6 ต่อ 1 เสียง แสดงว่ามีต่างกันในแง่ความคิดบ้าง โดยกรรมการ กนง. 1 เสียงมองว่าควรลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อบรรเทาความเสี่ยงของเงินทุนเคลื่อนย้ายและเห็นว่าเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความเปาะบางอยู่ แต่คณะกรรมการทั้งชุดก็ยังมีความห่วงใยความผันผวนเกิดจากเงินทุนเคลื่อนย้ายและผลต่อเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและพร้อมดำเนินการที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังประเมินภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ว่ามีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่จากความยืดเยื้อในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรและความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลังของสหรัฐ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดไตรมาส 4 ก็ขยายตัวดีกว่าที่คาด และคาดว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและสูงกว่าที่บอร์ดกนง.ประเมินไว้ที่ระดับ 4.9% สำหรับปี 56 โดยอุปสงค์ภายในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก รวมถึงการส่งออกที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
***"โต้ง" รูดซิปปาก อัดพวกไม่รู้วิจารณ์มั่ว
วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงการประชุม กนง. แต่ระบุว่า รัฐบาลไม่ได้เพิกเฉยต่อการแข็งค่าของเงินบาท อยากให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ อย่างเรื่องหนี้ต่างประเทศที่มีอยู่ ก่อนหน้านี้ก็ได้ขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไว้ว่า อาจมีการชำระคืนก่อนกำหนดหากสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องยอมรับว่า ส่วนนั้นมีไม่มาก ประมาณแสนล้านบาทเท่านั้น และต้องยอมรับว่าปริมาณเงินไหลเข้าประเทศมีมากกว่า จะให้รัฐบาลช่วยฝ่ายเดียวคงจะไม่เพียงพอ
"แนวทางกู้เงินในประเทศเป็นหลักจะมีผลต่อภาวะดอกเบี้ยนโยบาย เพราะต้องยอมรับว่าทุกอย่างในระบบเศรษฐกิจมีความเกี่ยวพันกันทั้งหมด แต่ที่ผ่านมาส่วนตัวไม่ค่อยสบายใจ เพราะมีหลายคนพยายามแสดงความเห็นในแง่เศรษฐศาสตร์ ทั้งที่ไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์หรือไม่มีความรู้" นายกิตติรัตน์กล่าว
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ไปหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เพื่อช่วยกันดูแล อย่างน้อยต้องติดตามและประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้เกิดผลกระทบ เมื่อถามว่าจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งกรณีที่ รมว.คลังทำหนังสือถึงประธานบอร์ด ธปท.ให้รับผิดชอบร่วมกันกรณีไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ตอบคำถาม ดังกล่าว.