"ประสาร"ชี้คิดต่าง"คลัง"เรื่องปกติ ยันเร่งหาข้อสรุปเชิงสร้างสรรค์การใช้นโยบายการเงินต่อไป ระบุมองสบู่คนละยี่ห้อ เหตุดอกเบี้ยต่ำอาจเกิดกาวะฟองสบู่ในประเทศได้เช่นกัน ส่วนเงินไหลเข้าต้องขึ้นอยู่กับต่างชาตินำเงินมาลงทุนอะไรเผยผลการศึกษาธนาคารกลางส่วนใหญ่จะพิจารณาความเสี่ยงประเทศนั้นๆ เป็นอันดับแรกย้ำการขาดทุนของแบงก์ชาติยังไม่ต้องรบกวนงบประมาณและเงินภาษีของประชาชน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงความขัดแย้งเกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินระหว่างหน่วยงานธปท.กับกระทรวงการคลังตามสื่อต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาว่า ทุกฝ่ายไม่ได้มีปัญหาถึงขนาดนั้น โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีความคิดเห็นตรงกันและแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกประเทศ อาทิ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดอาจไม่ดี เพราะอาจจะไม่เห็นสิ่งที่เรามองข้ามไปบ้าง ดังนั้น ในส่วนที่มีความคิดเห็นต่างกันก็จะหาข้อสรุปในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
ในช่วงเวลานี้ หากคลี่ภาพดีๆ ก็มองตรงกันค่อนข้างเยอะ แต่ต่างกันบ้าง คือ ผลของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่าเงินทุนไหลเข้าเยอะ ทำให้สภาพคล่องสูง จึงเกิดปัญหาฟองสบู่ ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเกินไปก็อาจเกิดฟองสบู่ได้เช่นกัน ถือว่าสบู่คนละยี่ห้อ ทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้ามามีหลายประเภท
โดยหากดอกเบี้ยต่ำจะส่งผลดีต่อต่างชาติที่นำทุนมาสร้างโรงงาน ลงทุนในตลาดหุ้น เพราะประเมินราคาหุ้นจะได้ราคาสูงขึ้น ขณะที่ดอกเบี้ยสูงจะส่งผลดีต่อการเข้ามาซื้อพันธบัตร แต่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังไม่ชัดเจนต่อความสัมพันธ์ดอกเบี้ย
ฉะนั้นเงินทุนไหลเข้าจะมีความสัมพันธ์แตกต่างกัน ขึ้นกับการวางน้ำหนักการลงทุนแตกต่างกันและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งความพอดีจะขึ้นกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะใช้ดุลพินิจตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายและวิเคราะห์ข้อมูล
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของธนาคารกลาง พบว่า ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยจะคำนึงถึงความเสี่ยงของประเทศนั้นๆ เป็นจุดเริ่มต้นแรก นอกจากนั้นจะคำนึงถึงความเสี่ยงนโยบายและกฎเกณฑ์ ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงสภาพคล่อง และผลตอบแทนก็มีผลสำคัญ แต่เรื่องอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวท้ายๆ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของต่างชาติในการเข้ามาลงทุน
“การขาดทุนมากๆ จนต้องตั้งงบประมาณมาใช้หนี้ แต่เท่าที่ประเมินสถานการณ์ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากรบกวนงบประมาณและภาษีประชาชน เพราะการที่จะขาดทุนต้องใช้งบประมาณต้องมีการขาดทุนจนเกิดความเสียหายที่ต้องขอกู้ระบบสถาบันการเงินแล้วนำไปชดเชยความเสียหาย แต่ตอนนี้เรายังมีเงินดอลลาร์ เงินเยน ในทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่
และการทำงานของธนาคารกลางจะดูแลเสถียรภาพมากกว่าที่จะคำนึงถึงผลกำไรขาดทุน” ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ช่วงเดือนเม.ย.นี้ ธปท.จะมีการประกาศงบการเงินปี 55 ซึ่งขาดทุน 5 แสนล้านบาท ในบัญชีกิจการธนาคาร ขณะที่บัญชีสำรองพิเศษ 8 แสนล้านบาท ซึ่งหากนำทั้ง 2 บัญชีมารวมกัน ธปท.ไม่ได้ทุนติดลบ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางหลายประเทศก็มีการขาดทุนเช่นกัน อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ชิลี สวิตเซอร์แลนด์ เปรู เป็นต้น
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมถึง การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทค่อนข้างทรงตัว และเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มภูมิภาคมากขึ้น เพราะขณะนี้ทั้งภาวะ Risk on และ Risk off หลังจากปรับตัวแข็งค่ามากในช่วงเดือน ม.ค.56 ซึ่งช่วงนั้นต่างชาติเข้ามาลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นค่อนข้างมาก
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงความขัดแย้งเกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินระหว่างหน่วยงานธปท.กับกระทรวงการคลังตามสื่อต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาว่า ทุกฝ่ายไม่ได้มีปัญหาถึงขนาดนั้น โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีความคิดเห็นตรงกันและแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกประเทศ อาทิ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านบางแห่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมดอาจไม่ดี เพราะอาจจะไม่เห็นสิ่งที่เรามองข้ามไปบ้าง ดังนั้น ในส่วนที่มีความคิดเห็นต่างกันก็จะหาข้อสรุปในเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
ในช่วงเวลานี้ หากคลี่ภาพดีๆ ก็มองตรงกันค่อนข้างเยอะ แต่ต่างกันบ้าง คือ ผลของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่าเงินทุนไหลเข้าเยอะ ทำให้สภาพคล่องสูง จึงเกิดปัญหาฟองสบู่ ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเกินไปก็อาจเกิดฟองสบู่ได้เช่นกัน ถือว่าสบู่คนละยี่ห้อ ทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้ามามีหลายประเภท
โดยหากดอกเบี้ยต่ำจะส่งผลดีต่อต่างชาติที่นำทุนมาสร้างโรงงาน ลงทุนในตลาดหุ้น เพราะประเมินราคาหุ้นจะได้ราคาสูงขึ้น ขณะที่ดอกเบี้ยสูงจะส่งผลดีต่อการเข้ามาซื้อพันธบัตร แต่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังไม่ชัดเจนต่อความสัมพันธ์ดอกเบี้ย
ฉะนั้นเงินทุนไหลเข้าจะมีความสัมพันธ์แตกต่างกัน ขึ้นกับการวางน้ำหนักการลงทุนแตกต่างกันและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งความพอดีจะขึ้นกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะใช้ดุลพินิจตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายและวิเคราะห์ข้อมูล
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของธนาคารกลาง พบว่า ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยจะคำนึงถึงความเสี่ยงของประเทศนั้นๆ เป็นจุดเริ่มต้นแรก นอกจากนั้นจะคำนึงถึงความเสี่ยงนโยบายและกฎเกณฑ์ ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงสภาพคล่อง และผลตอบแทนก็มีผลสำคัญ แต่เรื่องอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวท้ายๆ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของต่างชาติในการเข้ามาลงทุน
“การขาดทุนมากๆ จนต้องตั้งงบประมาณมาใช้หนี้ แต่เท่าที่ประเมินสถานการณ์ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากรบกวนงบประมาณและภาษีประชาชน เพราะการที่จะขาดทุนต้องใช้งบประมาณต้องมีการขาดทุนจนเกิดความเสียหายที่ต้องขอกู้ระบบสถาบันการเงินแล้วนำไปชดเชยความเสียหาย แต่ตอนนี้เรายังมีเงินดอลลาร์ เงินเยน ในทุนสำรองทางการระหว่างประเทศอยู่
และการทำงานของธนาคารกลางจะดูแลเสถียรภาพมากกว่าที่จะคำนึงถึงผลกำไรขาดทุน” ผู้ว่าการธปท.กล่าว
ทั้งนี้ ช่วงเดือนเม.ย.นี้ ธปท.จะมีการประกาศงบการเงินปี 55 ซึ่งขาดทุน 5 แสนล้านบาท ในบัญชีกิจการธนาคาร ขณะที่บัญชีสำรองพิเศษ 8 แสนล้านบาท ซึ่งหากนำทั้ง 2 บัญชีมารวมกัน ธปท.ไม่ได้ทุนติดลบ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางหลายประเทศก็มีการขาดทุนเช่นกัน อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ชิลี สวิตเซอร์แลนด์ เปรู เป็นต้น
ผู้ว่าการธปท.กล่าวเพิ่มเติมถึง การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทค่อนข้างทรงตัว และเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มภูมิภาคมากขึ้น เพราะขณะนี้ทั้งภาวะ Risk on และ Risk off หลังจากปรับตัวแข็งค่ามากในช่วงเดือน ม.ค.56 ซึ่งช่วงนั้นต่างชาติเข้ามาลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นค่อนข้างมาก