ทาทาสตีลฯสุดทน เตรียมยื่นขอพาณิชย์ออกมาตรการเซฟการ์ดเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากจีนโดยเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มในอัตรา 15.9% หลังผู้ผลิตเหล็กในประเทศขาดทุนหนัก ยืนยันแม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปลายทาง
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทาสตีล (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) (TSTH) เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้บริษัทฯเตรียมยื่นขอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการปกป้องภายใต้พ.ร.บ.มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 เป็นการชั่วคราวในสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนสูงที่นำเข้าจากจีน อยู่ในกลุ่มพิกัด 7213 และ 7227โดยให้เรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 15.9 % จากปัจจุบันต้องเสียภาษีนำเข้าอัตรา 0-5% เนื่องจากเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากจีนเข้ามาทุ่มตลาด โดยจีนนำเหล็กลวดมาผสมโครเมียมและโบรอนเล็กน้อยเพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้า 5% และรัฐบาลจีนอุดหนุนการส่งออกอีก 9% ทำให้ราคาเหล็กลวดคาร์บอนสูงของไทยแพงกว่าราคาเหล็กลวดจากจีนเกือบตันละ 3 พันบาท
แม้ว่าขณะนี้กระทรวงพาณิชย์อยู่ในขั้นตอนการประกาศไต่สวน วินิจฉัยและขอข้อมูลต่างๆจากบริษัทที่เกี่ยวข้องแต่ก็คงต้องใช้เวลานาน 6-12 เดือนกว่าจะออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดได้ จึงอยากให้รัฐออกมาตรการปกป้องฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวจนกว่าการกระบวนการต่างๆจะแล้วเสร็จ โดยยืนยันว่าการปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กลวดจากจีนในอัตราที่ 15.9%นั้นจะไม่กระทบต่อราคาปลายทาง เข่นเสาคอนกรีต เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้นำเข้าและเทรดเดอร์ได้รับประโยชน์จากราคาเหล็กลวดนำเข้าจีนเพียงกลุ่มเดียว แต่ผู้ประกอบการเหล็กลวดของไทยได้รับความเดือดร้อน จนบางรายถึงขั้นหยุดกิจการไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีเพียง บริษัท เอ็น.ที.เอส. สตีล กรุ๊ป และบริษัท เหล็กสยาม เพียง 2 บริษัทฯในเครือทาทาสตีลที่ผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูงอยู่ และส่วนแบ่งการตลาดที่บริษัทฯเคยอยู่ 33%ปัจจุบันเหลือเพียง 23%เท่านั้น
ขณะเดียวกัน บริษัทหันไปผลิตเหล็กเส้น เหล็กสเปเชียว บาร์ และเหล็กประเภทอื่นๆเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูง ทำให้ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด31 ธ.ค. 2555 บริษัทฯขาดทุนสุทธิ 992 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 1344 ล้านบาท และมีEBITDA 297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีEBITDA191 ล้านบาท
อย่างไรก็ตารม ผลการดำเนินงานของทาทาสตีล งวดปี 2555/56 (สิ้นสุด 31 มี.ค.56) บริษัทฯยังคงขาดทุน แต่จะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม( EBTDA) เป็นบวกมากขึ้น ส่วนงวดปี 2556/57 จะพลิกเป็นกำไรได้หรือไม่ ขึ้นกับภาครัฐว่าจะมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของเหล็กลวดนำเข้าจากจีนหรือไม่ โดยปีนี้คาดว่าไทยมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ที่ 17.5 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการใช้อยู่ที่ 16 ล้านตัน หรือเพิ่มชึ้น 5% ตามการขยายตัวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เมื่อพิจารณาเหล็กนำเข้าพบว่ามีปริมาณการนำเข้าสูงถึง 11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่เหล็กนำเข้ามีเพียง 8 ล้านตันเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเหล็กนำเข้ามีปริมาณสูงกว่าเหล็กที่ผลิตในประเทศถึงเท่าตัว หรือกล่าวได้ว่าไทยนำเข้าเหล็กโตขึ้นถึง 23%
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีแผนที่จะเปิดโรงเตาถลุงเหล็กหลอมเหลว (MBF) หลังจากหยุดผลิตไปตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากราคาแร่เหล็กและถ่านโค้กสูงกว่าราคาเศษเหล็ก ส่วนการหาพันธมิตรร่วมทุนในบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ปนั้น บริษัทฯรอรัฐที่จะช่วยเหลือในการออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดจากจีน
หากรัฐออกมาตรการตอบโต้ฯจะทำให้บริษัทฯสามารถผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูงได้เพิ่มขึ้นอีก 6 หมื่นตัน และอาจไม่มีความจำเป็นต้องหาพันธมิตรร่วมทุน ปัจจุบัน โรงงานเหล็กในเครือทาทาสตีลมีกำลังการผลิตเหล็กลวด 6.5 แสนตัน ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กลวดคาร์บอนสูงในประเทศอยู่ที่ 2.5 แสนตัน ซึ่งบริษัทฯมีความสามารถในการผลิตเพียงพอที่จะป้อนตลาด และสินค้าได้รับมาตรฐานมอก.
ส่วนกรณีที่เมียมาร์เปิดประเทศนั้น ทางกลุ่มทาทาสตีลได้ตั้งสำนักงานที่ย่างกุ้ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทั้งโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน ยานยนต์ และเหล็ก รวมทั้งสนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมทวายของเมียนมาร์ด้วย
นายปิยุช กุปต้า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทาทาสตีล (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) (TSTH) เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์นี้บริษัทฯเตรียมยื่นขอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการปกป้องภายใต้พ.ร.บ.มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. 2550 เป็นการชั่วคราวในสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนสูงที่นำเข้าจากจีน อยู่ในกลุ่มพิกัด 7213 และ 7227โดยให้เรียกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 15.9 % จากปัจจุบันต้องเสียภาษีนำเข้าอัตรา 0-5% เนื่องจากเหล็กลวดคาร์บอนสูงจากจีนเข้ามาทุ่มตลาด โดยจีนนำเหล็กลวดมาผสมโครเมียมและโบรอนเล็กน้อยเพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้า 5% และรัฐบาลจีนอุดหนุนการส่งออกอีก 9% ทำให้ราคาเหล็กลวดคาร์บอนสูงของไทยแพงกว่าราคาเหล็กลวดจากจีนเกือบตันละ 3 พันบาท
แม้ว่าขณะนี้กระทรวงพาณิชย์อยู่ในขั้นตอนการประกาศไต่สวน วินิจฉัยและขอข้อมูลต่างๆจากบริษัทที่เกี่ยวข้องแต่ก็คงต้องใช้เวลานาน 6-12 เดือนกว่าจะออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดได้ จึงอยากให้รัฐออกมาตรการปกป้องฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวจนกว่าการกระบวนการต่างๆจะแล้วเสร็จ โดยยืนยันว่าการปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กลวดจากจีนในอัตราที่ 15.9%นั้นจะไม่กระทบต่อราคาปลายทาง เข่นเสาคอนกรีต เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้นำเข้าและเทรดเดอร์ได้รับประโยชน์จากราคาเหล็กลวดนำเข้าจีนเพียงกลุ่มเดียว แต่ผู้ประกอบการเหล็กลวดของไทยได้รับความเดือดร้อน จนบางรายถึงขั้นหยุดกิจการไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีเพียง บริษัท เอ็น.ที.เอส. สตีล กรุ๊ป และบริษัท เหล็กสยาม เพียง 2 บริษัทฯในเครือทาทาสตีลที่ผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูงอยู่ และส่วนแบ่งการตลาดที่บริษัทฯเคยอยู่ 33%ปัจจุบันเหลือเพียง 23%เท่านั้น
ขณะเดียวกัน บริษัทหันไปผลิตเหล็กเส้น เหล็กสเปเชียว บาร์ และเหล็กประเภทอื่นๆเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูง ทำให้ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด31 ธ.ค. 2555 บริษัทฯขาดทุนสุทธิ 992 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 1344 ล้านบาท และมีEBITDA 297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีEBITDA191 ล้านบาท
อย่างไรก็ตารม ผลการดำเนินงานของทาทาสตีล งวดปี 2555/56 (สิ้นสุด 31 มี.ค.56) บริษัทฯยังคงขาดทุน แต่จะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม( EBTDA) เป็นบวกมากขึ้น ส่วนงวดปี 2556/57 จะพลิกเป็นกำไรได้หรือไม่ ขึ้นกับภาครัฐว่าจะมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของเหล็กลวดนำเข้าจากจีนหรือไม่ โดยปีนี้คาดว่าไทยมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ที่ 17.5 ล้านตัน
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการใช้อยู่ที่ 16 ล้านตัน หรือเพิ่มชึ้น 5% ตามการขยายตัวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เมื่อพิจารณาเหล็กนำเข้าพบว่ามีปริมาณการนำเข้าสูงถึง 11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่เหล็กนำเข้ามีเพียง 8 ล้านตันเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเหล็กนำเข้ามีปริมาณสูงกว่าเหล็กที่ผลิตในประเทศถึงเท่าตัว หรือกล่าวได้ว่าไทยนำเข้าเหล็กโตขึ้นถึง 23%
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังไม่มีแผนที่จะเปิดโรงเตาถลุงเหล็กหลอมเหลว (MBF) หลังจากหยุดผลิตไปตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากราคาแร่เหล็กและถ่านโค้กสูงกว่าราคาเศษเหล็ก ส่วนการหาพันธมิตรร่วมทุนในบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ปนั้น บริษัทฯรอรัฐที่จะช่วยเหลือในการออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กลวดจากจีน
หากรัฐออกมาตรการตอบโต้ฯจะทำให้บริษัทฯสามารถผลิตเหล็กลวดคาร์บอนสูงได้เพิ่มขึ้นอีก 6 หมื่นตัน และอาจไม่มีความจำเป็นต้องหาพันธมิตรร่วมทุน ปัจจุบัน โรงงานเหล็กในเครือทาทาสตีลมีกำลังการผลิตเหล็กลวด 6.5 แสนตัน ขณะที่ความต้องการใช้เหล็กลวดคาร์บอนสูงในประเทศอยู่ที่ 2.5 แสนตัน ซึ่งบริษัทฯมีความสามารถในการผลิตเพียงพอที่จะป้อนตลาด และสินค้าได้รับมาตรฐานมอก.
ส่วนกรณีที่เมียมาร์เปิดประเทศนั้น ทางกลุ่มทาทาสตีลได้ตั้งสำนักงานที่ย่างกุ้ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทั้งโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน ยานยนต์ และเหล็ก รวมทั้งสนใจลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมทวายของเมียนมาร์ด้วย