วานนี้ (13 ก.พ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงนามความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ พล.อ.อ.วินัย เปล่งวิทยา รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.ธัชชัย ถนัดใช้ปืน รองเสนาธิการทหาร ตัวแทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ ผู้ช่วย ผบ.ทอ. และพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก เพื่อกำหนดให้พื้นที่ในสถานที่ราชการของ 4 หน่วยงานดังกล่าว ปลอดเหล้า ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของกำลังพลที่อยู่ในสังกัด รวมทั้งครอบครัวและประชาชนทั่วไป จากอันตรายที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยทุกหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 4 ประการดังนี้
1. จัดให้สถานที่ราชการ และสวนสาธารณะ ที่อยู่ในกำกับดูแล ปลอดการขายและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
2. ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ราชการ และสวนสาธารณะ ที่อยู่ในกำกับดูแล
3. ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในเฉพาะในร้าน หรือ สโมสรที่เปิดให้บริการเป็นประจำ หรือถาวร และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากสถานที่ราชการนั้นๆ เท่านั้น
4. ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และให้ขายได้เฉพาะเวลาที่กำหนดในกฎมาย เท่านั้น คือเวลา 11.00-14.00 น. และตั้งแต่เวลา 17.00น.-24.00 น. ทั้งนี้ ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง ช่วยกันตรวจตราและเอาผิดผู้ที่ละเมิดกฎหมาย รวมทั้งลงพื้นที่ตรวจใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร้านค้าในชุมชนหรือบริเวณใกล้เคียง และเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายด้วย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ประชาชนทั่วไป และเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นอนาคตที่เข้มแข็งของชาติ
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า หลังจากประกาศใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 51 รวมเป็นเวลา 5 ปี พบว่า ปัญหาที่พบได้บ่อยและมีการกระทำผิดกฎหมาย จนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ คือ การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้าย ป้ายไฟ ติดตั้งอยู่ข้างทาง หรือตามหน้าร้านอาหารทั่วประเทศ และการส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม ชิงโชค ชิงรางวัล พบว่ามีการทำผิดซ้ำซากมากเป็นอันดับ 1
ในปีนี้ สธ.ได้เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องนี้ ดีเดย์ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.56 เป็นต้นไป เนื่องจากการโฆษณา จะเป็นช่องทางที่ทำให้ประชาชนหรือเยาวชน รู้จักยี่ห้อเครื่องดื่ม และจำตราสินค้าได้ แม้จะเป็นแค่สี หรือเป็นเงาสัญลักษณ์ของยี่ห้อเครื่องดื่ม โดยได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ทั่วประเทศ รวมประมาณ 900 แห่ง ตรวจจับอย่างจริงจังบนถนนทุกเส้นในพื้นที่เมืองและชนบท หากพบการกระทำผิดให้แจ้งความดำเนินคดีได้ ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง หรือรวบรวมหลักฐานส่งไปที่ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) เพื่อส่งฟ้องศาลดำเนินคดีทุกราย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากยังมีการฝ่าฝืนอยู่ จะมีโทษปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนการส่งเสริมการตลาด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทาง
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ผลสำรวจสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครอบครัวไทย กลุ่มที่อยู่ในชานเมืองล่าสุดในปี 2555 โดยนักวิชาการเครือข่ายเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า เด็กอายุ 12 ปี จะรู้จักผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 12 ชนิด 15 ยี่ห้อ และรู้ราคา 7 ยี่ห้อ แสดงว่า การโฆษณามีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเด็กอย่างชัดเจน
1. จัดให้สถานที่ราชการ และสวนสาธารณะ ที่อยู่ในกำกับดูแล ปลอดการขายและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
2. ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ราชการ และสวนสาธารณะ ที่อยู่ในกำกับดูแล
3. ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในเฉพาะในร้าน หรือ สโมสรที่เปิดให้บริการเป็นประจำ หรือถาวร และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องจากสถานที่ราชการนั้นๆ เท่านั้น
4. ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และให้ขายได้เฉพาะเวลาที่กำหนดในกฎมาย เท่านั้น คือเวลา 11.00-14.00 น. และตั้งแต่เวลา 17.00น.-24.00 น. ทั้งนี้ ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง ช่วยกันตรวจตราและเอาผิดผู้ที่ละเมิดกฎหมาย รวมทั้งลงพื้นที่ตรวจใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามร้านค้าในชุมชนหรือบริเวณใกล้เคียง และเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายด้วย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ประชาชนทั่วไป และเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นอนาคตที่เข้มแข็งของชาติ
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า หลังจากประกาศใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 51 รวมเป็นเวลา 5 ปี พบว่า ปัญหาที่พบได้บ่อยและมีการกระทำผิดกฎหมาย จนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ คือ การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้าย ป้ายไฟ ติดตั้งอยู่ข้างทาง หรือตามหน้าร้านอาหารทั่วประเทศ และการส่งเสริมการขาย ลดแลกแจกแถม ชิงโชค ชิงรางวัล พบว่ามีการทำผิดซ้ำซากมากเป็นอันดับ 1
ในปีนี้ สธ.ได้เพิ่มความเข้มงวดในเรื่องนี้ ดีเดย์ ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.56 เป็นต้นไป เนื่องจากการโฆษณา จะเป็นช่องทางที่ทำให้ประชาชนหรือเยาวชน รู้จักยี่ห้อเครื่องดื่ม และจำตราสินค้าได้ แม้จะเป็นแค่สี หรือเป็นเงาสัญลักษณ์ของยี่ห้อเครื่องดื่ม โดยได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ทั่วประเทศ รวมประมาณ 900 แห่ง ตรวจจับอย่างจริงจังบนถนนทุกเส้นในพื้นที่เมืองและชนบท หากพบการกระทำผิดให้แจ้งความดำเนินคดีได้ ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง หรือรวบรวมหลักฐานส่งไปที่ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) เพื่อส่งฟ้องศาลดำเนินคดีทุกราย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากยังมีการฝ่าฝืนอยู่ จะมีโทษปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5 หมื่นบาท ส่วนการส่งเสริมการตลาด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทาง
ด้านนพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ผลสำรวจสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครอบครัวไทย กลุ่มที่อยู่ในชานเมืองล่าสุดในปี 2555 โดยนักวิชาการเครือข่ายเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า เด็กอายุ 12 ปี จะรู้จักผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 12 ชนิด 15 ยี่ห้อ และรู้ราคา 7 ยี่ห้อ แสดงว่า การโฆษณามีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเด็กอย่างชัดเจน