วานนี้(11 ก.พ.56) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ในรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โพสต์ในเฟซบุ๊ค Korbsak Sabhavasu กรณี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาตำหนิธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า แทรงแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท ในช่วงที่ผ่านมา จนขาดทุนสะสม กว่า 5 แสนล้านบาท แต่กลับไม่เอ่ยถึงนโยบายจำนำข้าว ที่คาดว่า จะขาดทุนปีละ 2 แสนล้านบาท
นายกอร์ปศักดิ์ ระบุว่า อดขำไม่ได้ รัฐมนตรีคลังโวยธนาคารชาติขาดทุนสะสมกว่า 5 แสนล้านบาทจากการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในช่วงเวลา 6- 7 ปีที่ผ่านมา
แต่รัฐมนตรีคนนี้ปิดปากเงียบจากการที่รัฐบาลกำลังขาดทุนจากนโยบายจำนำข้าวปีละไม่หนี 2 แสนล้านบาท แปลว่ามีเจตนาแฝง ผู้ว่าการคนนี้คงดื้อ ไม่ยอมทำตามคำสั่งของคนต่างประเทศที่คิดการใหญ่ จะนำเงิน 2.2 ล้านล้านบาทจากธนาคารชาติมาใช้ในเมกาโปรเจค รัฐมนตรีคงกลัวถูกย้าย ต้องเร่งสร้างผลงาน กดดันให้ผู้ว่าการธนาคารอยู่ต่อไม่ได้
หน้ามืดถึงกับร่างหนังสือส่งถึง ดร.โกร่ง ประธานธนาคารชาติเรื่องการกำหนดนโยบายการเงิน
ทั้งรัฐมนตรีคลัง ทั้งประธานธนาคารชาติ ไม่มีหน้าที่ทางกฎหมายแม้แต่น้อยนิดที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศ คนที่รับผิดชอบโดยตรงคือคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ทีรัฐมนตรีส่งจดหมายไปถึงประธานธนาคารชาติอาจถือว่าแทรกแซงการทำงาน ผิดกฎหมายได้นะ ทำเล่นไป
ในการประชุมวุฒิสภา วันเดียวกัน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา หารือว่า ฝากไปยังนายกรัฐมนตรีถึงกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง ได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ต้องการให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็ง อีกทั้งยังเตือนว่าคณะกรรมการธปท.ต้องรับผิดชอบหากประเทศเสียหาย เรื่องนี้หลายฝ่ายเห็นว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและไม่เหมาะสม แม้กระทั้งนายทนง พิทยะ อดีตรมว.คลัง ซึ่งเป็นคนในพรรคและกลุ่มเดียวกันยังเห็นว่าไม่ควร และยังเห็นว่าควรใช้วิธีการหารือเป็นการภายในมากกว่า เพราะว่าข้อมูลที่รมว.คลังให้มา อาจเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน และการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ใช้การแก้ไขปัญหาทางเดียว ที่สำคัญรัฐบาลอาจมองปัญหาในระยะสั้น แต่ธปท.ธนาคารอาจจะมองปัญหาในระยะยาว ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นควรนั่งจับเข่าคุยกันให้ตกผลึกเสียมากกว่า.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อกรณีความห่วงใยของนายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ซึ่งได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) เพื่อแสดงความเป็นห่วง และเตือนการทำงานของธปท.ในเรื่องผลขาดทุนของธปท. และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมกันครั้งต่อไปในวันที่ 20 ก.พ.ที่จะถึงนี้พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) กล่าวว่า ตนในฐานะประธานบอร์ดของธปท.ได้ทำหนังสือตอบ และชี้แจงข้อมูลไปยังนายกิตติรัตน์แล้ววานนี้ (11 ก.พ.) แต่ปฏิเสธที่จะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดในจดหมายใดๆ
นายกอร์ปศักดิ์ ระบุว่า อดขำไม่ได้ รัฐมนตรีคลังโวยธนาคารชาติขาดทุนสะสมกว่า 5 แสนล้านบาทจากการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในช่วงเวลา 6- 7 ปีที่ผ่านมา
แต่รัฐมนตรีคนนี้ปิดปากเงียบจากการที่รัฐบาลกำลังขาดทุนจากนโยบายจำนำข้าวปีละไม่หนี 2 แสนล้านบาท แปลว่ามีเจตนาแฝง ผู้ว่าการคนนี้คงดื้อ ไม่ยอมทำตามคำสั่งของคนต่างประเทศที่คิดการใหญ่ จะนำเงิน 2.2 ล้านล้านบาทจากธนาคารชาติมาใช้ในเมกาโปรเจค รัฐมนตรีคงกลัวถูกย้าย ต้องเร่งสร้างผลงาน กดดันให้ผู้ว่าการธนาคารอยู่ต่อไม่ได้
หน้ามืดถึงกับร่างหนังสือส่งถึง ดร.โกร่ง ประธานธนาคารชาติเรื่องการกำหนดนโยบายการเงิน
ทั้งรัฐมนตรีคลัง ทั้งประธานธนาคารชาติ ไม่มีหน้าที่ทางกฎหมายแม้แต่น้อยนิดที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศ คนที่รับผิดชอบโดยตรงคือคณะกรรมการนโยบายการเงิน
ทีรัฐมนตรีส่งจดหมายไปถึงประธานธนาคารชาติอาจถือว่าแทรกแซงการทำงาน ผิดกฎหมายได้นะ ทำเล่นไป
ในการประชุมวุฒิสภา วันเดียวกัน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา หารือว่า ฝากไปยังนายกรัฐมนตรีถึงกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง ได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ต้องการให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็ง อีกทั้งยังเตือนว่าคณะกรรมการธปท.ต้องรับผิดชอบหากประเทศเสียหาย เรื่องนี้หลายฝ่ายเห็นว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและไม่เหมาะสม แม้กระทั้งนายทนง พิทยะ อดีตรมว.คลัง ซึ่งเป็นคนในพรรคและกลุ่มเดียวกันยังเห็นว่าไม่ควร และยังเห็นว่าควรใช้วิธีการหารือเป็นการภายในมากกว่า เพราะว่าข้อมูลที่รมว.คลังให้มา อาจเป็นข้อมูลที่ไม่รอบด้าน และการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ใช้การแก้ไขปัญหาทางเดียว ที่สำคัญรัฐบาลอาจมองปัญหาในระยะสั้น แต่ธปท.ธนาคารอาจจะมองปัญหาในระยะยาว ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นควรนั่งจับเข่าคุยกันให้ตกผลึกเสียมากกว่า.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อกรณีความห่วงใยของนายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ซึ่งได้ส่งหนังสือถึงคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) เพื่อแสดงความเป็นห่วง และเตือนการทำงานของธปท.ในเรื่องผลขาดทุนของธปท. และเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมกันครั้งต่อไปในวันที่ 20 ก.พ.ที่จะถึงนี้พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (กกธ.) กล่าวว่า ตนในฐานะประธานบอร์ดของธปท.ได้ทำหนังสือตอบ และชี้แจงข้อมูลไปยังนายกิตติรัตน์แล้ววานนี้ (11 ก.พ.) แต่ปฏิเสธที่จะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดในจดหมายใดๆ