ในระยะนี้ข่าวโจรเข้าไปขโมยกล่องรับบริจาคเงินภายในวัดมีบ่อย และบางวัดถูกขโมยซ้ำซาก ทั้งไม่ค่อยปรากฏว่าจับหัวขโมยได้ แม้กระทั่งในรายที่ถูกบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดค่อนข้างชัดเจน จึงมีคำถามว่าเมื่อวัดอันเป็นที่เคารพสักการะยังไม่ปลอดภัย บ้านพักอาศัยและสถานที่ประกอบการจะปลอดภัยจากโจรใจบาปเหล่านี้ได้อย่างไร?
ทำไมยุคนี้สมัยนี้จึงมีการโจรกรรมมากขึ้น แม้กระทั่งวัดก็ไม่เว้น และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร?
เกี่ยวกับการขโมยทรัพย์สินของวัด ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับวัด และสนใจติดตามข่าวอาชญากรรมอยู่บ้าง ก็พอจะอนุมานสาเหตุหรือที่มาโดยอาศัยหลักตรรกศาสตร์ได้ดังนี้
1. ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยเข้าวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และนำไปเป็นแนวทางดำเนินชีวิต หรือที่เรียกว่า เข้าวัดและถึงวัด มีน้อยลง
แต่เข้าวัดไม่ถึงวัด เช่น ไปหาพระเกจิชื่อดังด้วยศรัทธาในความแก่กล้าในวิทยาคมต่างๆ รวมไปถึงการเข้าวัดเพื่อดูหมอ สะเดาะเคราะห์ โดยไม่สนใจใฝ่ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาปฏิบัติ เป็นต้น และผู้ที่เข้าวัดในลักษณะนี้เองทำให้วัดเสื่อม ไม่เป็นที่เคารพของผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริง
ยิ่งกว่านี้ วัดที่มีผู้คนเข้าวัดในทำนองดังกล่าวส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในชุมชนรอบๆ วัด ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เด็กเกเรจากชุมชนรอบวัดนี้เองเข้าไปขโมยของวัด หรือไม่ขโมยเองก็ไม่คิดที่จะป้องกันมิให้คนจากที่อื่นมาขโมยของวัดเนื่องจากไม่ศรัทธาต่อวัด และผู้ที่เข้าวัดด้วยวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่น และไม่สนใจว่าพระภิกษุในวัดจะมีข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยหรือไม่เพียงใด จึงไม่สนใจที่จะปกป้องวัดในทางที่ถูกที่ควรแต่ประการใด ทั้งยังเป็นสาเหตุโดยอ้อมให้วัดถูกขโมยด้วยการนำลาภสักการะ ข้าวของมีค่า และเงินทองมาถวาย จนกระทั่งวัดและพระในวัดกลายเป็นผู้สะสมทรัพย์สิน และเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการขโมย
2. ในปัจจุบันสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมืองเต็มไปด้วยบ่อนการพนัน และยาเสพติดชนิดต่างๆ ทำให้เยาวชนโดยเฉพาะจากครอบครัวยากจน และขาดความอบอุ่นไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควรจะตกเป็นทาสการพนัน และยาเสพติดได้ง่าย
เมื่อเด็กเหล่านี้ติดการพนัน หรือติดยา หรือทั้งสองอย่าง และเมื่อไม่มีเงินเล่นการพนันหรือไม่มีเงินซื้อยามาเสพ ก็แสวงหาด้วยการจี้ปล้นและลักขโมยบุคคลทั่วไป และแม้กระทั่งวัดโดยไม่เกรงกลัวบาปและกฎหมาย ขอเพียงให้ได้เงินมาบำบัดความต้องการซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นพอ ส่วนจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นผลตามมาไม่คิด
3. เมื่อเกิดโจรกรรมแล้ว ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เท่าที่เป็นอยู่ ถ้าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมิได้เป็นคนมีชื่อเสียง และปรากฏเป็นข่าวใหญ่ น้อยรายจะจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ นี่ก็เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ผู้คิดจะกระทำผิดไม่เกรงกลัวกฎหมาย
4. นอกจากเหตุจากข้อ 1-3 อันเป็นเหตุให้เกิดโจรกรรมเป็นปกติแล้ว วันนี้และเวลานี้ยังมีเหตุปัจจัยให้เกิดอาชญากรรมประเภทจี้ปล้นและลักขโมยโดยรวมอีกประการหนึ่ง คือ เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวของแพง คนว่างงานที่เพิ่มขึ้น อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนหนึ่งพากันปิดกิจการ หรือไม่ก็ลดคนงานด้วยการเลิกจ้างในรูปแบบการจ้างรายวันมาเป็นการจ้างเป็นชิ้นงาน หรือไม่ก็ใช้เครื่องจักรแทนคนทำให้คนส่วนหนึ่งตกงาน และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาชญากรรม
ส่วนประเด็นที่ว่าจะป้องกันและปราบปรามอย่างไรนั้น ก็จะต้องมีการกำหนดแนวทางแก้ไขป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุ
เริ่มด้วยประเด็นการขโมยข้าวของวัด สิ่งแรกที่จะต้องแก้มิใช่เพียงการตามจับกุมผู้ที่ขโมย แต่จะต้องเริ่มด้วยการให้พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในวัดประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของภิกษุ เคร่งครัดในศีล และศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอน แล้วสั่งสอนผู้ที่เข้าวัดให้ถึงวัด คือ เรียนรู้และเข้าใจคำสอนแล้วนำไปปฏิบัติ โดยเน้นหนักไปที่ผู้คนในชุมชนรอบๆ วัดเพื่อปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นพุทธบริษัท เพื่อจะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาปกป้องทรัพย์สินของวัดประหนึ่งทรัพย์สินของตน เพื่อจะได้ป้องกันมิให้คนในชุมชนขโมยของวัด และในขณะเดียวกันป้องกันมิให้คนนอกชุมชนเข้ามาขโมยด้วย
แต่ถ้าคนรอบวัดช่วยกันแล้วยังเกิดการขโมยขึ้นอีก ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจร่วมมือกับวัดและชุมชนรอบวัดสืบหาและติดตามจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็เชื่อว่าจะทำให้การโจรกรรมของวัดลดลงได้
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ตกเป็นของอาชญากรรม จะแก้ไขป้องกันได้โดยแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ
ในด้านปัจเจกบุคคลทั่วไป ทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็คือ รัฐในฐานะที่มีความรับผิดชอบโดยรวมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน จะต้องกำหนดแนวทางแก้ปัญหานี้โดยการนำเศรษฐกิจมาเป็นยุทธศาสตร์ ซึ่งอาจใช้แนวทางของพุทศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร ตอนหนึ่งว่า
“พราหมณ์ปุโรหิตได้แนะนำพระเจ้ามหาวิชิตะให้ปราบโจรผู้ร้ายก่อน (ที่จะทำพิธีบูชายัญ) แต่ไม่ใช่ด้วยการฆ่าหรือจองจำ เพราะพวกที่เหลือจากการถูกฆ่าจะเบียดเบียนชนบทในภายหลัง (ในรูปแบบของตัวตายตัวแทน) โดยการถอนรากโจรผู้ร้ายด้วยวิธีจัดการทางเศรษฐกิจให้ดี คือ แจกจ่ายพันธุ์พืชแก่เกษตรกรในชนบทที่อุตสาหะในการประกอบอาชีพ ให้ทุนแก่พ่อค้าที่อุตสาหะในการทำการค้า ให้อาหารและค่าจ้างแก่ข้าราชการ พระราชทรัพย์ก็จะเพิ่มพูน ชนบทก็จะไม่มีเสี้ยนหนาม มนุษย์ทั้งหลายก็จะรื่นเริง อุ้มบุตรฟ้อนรำ ไม่ต้องปิดประตูเรือน”
โดยนัยแห่งข้อความนี้หมายถึงว่า ถ้าจะแก้ปัญหาอาชญากรรม อย่าแก้ด้วยการจับโจรมาฆ่าหรือจองจำ เพราะการทำเช่นนี้ไม่มีทางจะปราบโจรให้หมดไปได้ มีแต่จะทำให้โจรเพิ่มขึ้น เพราะพวกญาติมิตรของโจรจะโกรธแค้น และลุกขึ้นมาต่อต้านภาครัฐ
แต่ถ้าแก้ด้วยการให้ทุกฝ่ายมีงานทำ มีรายได้พอจะเลี้ยงชีพได้โดยไม่เดือดร้อน ทุกคนก็จะเลิกเป็นโจร และสังคมโดยรวมก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
ถ้ามองดูให้ดี และลงลึกถึงเนื้อหาแล้ว วิธีการทำนองนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นประชานิยมยุคพุทธกาลก็ว่าได้ และน่าจะนำมาใช้กับการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา
โดยสรุป ปัญหาอาชญากรรมโดยรวมจะลดลงได้ภาครัฐจะต้องแก้ที่ปัญหาปากท้องก่อน เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากอาชญากรจำเป็น และตามมาด้วยการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ประหารชีวิตและจองจำอาชญากรโดยสันดาน
ทำไมยุคนี้สมัยนี้จึงมีการโจรกรรมมากขึ้น แม้กระทั่งวัดก็ไม่เว้น และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร?
เกี่ยวกับการขโมยทรัพย์สินของวัด ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับวัด และสนใจติดตามข่าวอาชญากรรมอยู่บ้าง ก็พอจะอนุมานสาเหตุหรือที่มาโดยอาศัยหลักตรรกศาสตร์ได้ดังนี้
1. ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยเข้าวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และนำไปเป็นแนวทางดำเนินชีวิต หรือที่เรียกว่า เข้าวัดและถึงวัด มีน้อยลง
แต่เข้าวัดไม่ถึงวัด เช่น ไปหาพระเกจิชื่อดังด้วยศรัทธาในความแก่กล้าในวิทยาคมต่างๆ รวมไปถึงการเข้าวัดเพื่อดูหมอ สะเดาะเคราะห์ โดยไม่สนใจใฝ่ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาปฏิบัติ เป็นต้น และผู้ที่เข้าวัดในลักษณะนี้เองทำให้วัดเสื่อม ไม่เป็นที่เคารพของผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริง
ยิ่งกว่านี้ วัดที่มีผู้คนเข้าวัดในทำนองดังกล่าวส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในชุมชนรอบๆ วัด ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เด็กเกเรจากชุมชนรอบวัดนี้เองเข้าไปขโมยของวัด หรือไม่ขโมยเองก็ไม่คิดที่จะป้องกันมิให้คนจากที่อื่นมาขโมยของวัดเนื่องจากไม่ศรัทธาต่อวัด และผู้ที่เข้าวัดด้วยวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่น และไม่สนใจว่าพระภิกษุในวัดจะมีข้อวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยหรือไม่เพียงใด จึงไม่สนใจที่จะปกป้องวัดในทางที่ถูกที่ควรแต่ประการใด ทั้งยังเป็นสาเหตุโดยอ้อมให้วัดถูกขโมยด้วยการนำลาภสักการะ ข้าวของมีค่า และเงินทองมาถวาย จนกระทั่งวัดและพระในวัดกลายเป็นผู้สะสมทรัพย์สิน และเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการขโมย
2. ในปัจจุบันสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมืองเต็มไปด้วยบ่อนการพนัน และยาเสพติดชนิดต่างๆ ทำให้เยาวชนโดยเฉพาะจากครอบครัวยากจน และขาดความอบอุ่นไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควรจะตกเป็นทาสการพนัน และยาเสพติดได้ง่าย
เมื่อเด็กเหล่านี้ติดการพนัน หรือติดยา หรือทั้งสองอย่าง และเมื่อไม่มีเงินเล่นการพนันหรือไม่มีเงินซื้อยามาเสพ ก็แสวงหาด้วยการจี้ปล้นและลักขโมยบุคคลทั่วไป และแม้กระทั่งวัดโดยไม่เกรงกลัวบาปและกฎหมาย ขอเพียงให้ได้เงินมาบำบัดความต้องการซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นพอ ส่วนจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นผลตามมาไม่คิด
3. เมื่อเกิดโจรกรรมแล้ว ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เท่าที่เป็นอยู่ ถ้าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมิได้เป็นคนมีชื่อเสียง และปรากฏเป็นข่าวใหญ่ น้อยรายจะจับผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ นี่ก็เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ผู้คิดจะกระทำผิดไม่เกรงกลัวกฎหมาย
4. นอกจากเหตุจากข้อ 1-3 อันเป็นเหตุให้เกิดโจรกรรมเป็นปกติแล้ว วันนี้และเวลานี้ยังมีเหตุปัจจัยให้เกิดอาชญากรรมประเภทจี้ปล้นและลักขโมยโดยรวมอีกประการหนึ่ง คือ เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวของแพง คนว่างงานที่เพิ่มขึ้น อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนหนึ่งพากันปิดกิจการ หรือไม่ก็ลดคนงานด้วยการเลิกจ้างในรูปแบบการจ้างรายวันมาเป็นการจ้างเป็นชิ้นงาน หรือไม่ก็ใช้เครื่องจักรแทนคนทำให้คนส่วนหนึ่งตกงาน และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาชญากรรม
ส่วนประเด็นที่ว่าจะป้องกันและปราบปรามอย่างไรนั้น ก็จะต้องมีการกำหนดแนวทางแก้ไขป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุ
เริ่มด้วยประเด็นการขโมยข้าวของวัด สิ่งแรกที่จะต้องแก้มิใช่เพียงการตามจับกุมผู้ที่ขโมย แต่จะต้องเริ่มด้วยการให้พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในวัดประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของภิกษุ เคร่งครัดในศีล และศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอน แล้วสั่งสอนผู้ที่เข้าวัดให้ถึงวัด คือ เรียนรู้และเข้าใจคำสอนแล้วนำไปปฏิบัติ โดยเน้นหนักไปที่ผู้คนในชุมชนรอบๆ วัดเพื่อปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นพุทธบริษัท เพื่อจะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาปกป้องทรัพย์สินของวัดประหนึ่งทรัพย์สินของตน เพื่อจะได้ป้องกันมิให้คนในชุมชนขโมยของวัด และในขณะเดียวกันป้องกันมิให้คนนอกชุมชนเข้ามาขโมยด้วย
แต่ถ้าคนรอบวัดช่วยกันแล้วยังเกิดการขโมยขึ้นอีก ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจร่วมมือกับวัดและชุมชนรอบวัดสืบหาและติดตามจับกุมผู้กระทำผิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็เชื่อว่าจะทำให้การโจรกรรมของวัดลดลงได้
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ตกเป็นของอาชญากรรม จะแก้ไขป้องกันได้โดยแบ่งออกเป็นส่วนๆ คือ
ในด้านปัจเจกบุคคลทั่วไป ทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็คือ รัฐในฐานะที่มีความรับผิดชอบโดยรวมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน จะต้องกำหนดแนวทางแก้ปัญหานี้โดยการนำเศรษฐกิจมาเป็นยุทธศาสตร์ ซึ่งอาจใช้แนวทางของพุทศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร ตอนหนึ่งว่า
“พราหมณ์ปุโรหิตได้แนะนำพระเจ้ามหาวิชิตะให้ปราบโจรผู้ร้ายก่อน (ที่จะทำพิธีบูชายัญ) แต่ไม่ใช่ด้วยการฆ่าหรือจองจำ เพราะพวกที่เหลือจากการถูกฆ่าจะเบียดเบียนชนบทในภายหลัง (ในรูปแบบของตัวตายตัวแทน) โดยการถอนรากโจรผู้ร้ายด้วยวิธีจัดการทางเศรษฐกิจให้ดี คือ แจกจ่ายพันธุ์พืชแก่เกษตรกรในชนบทที่อุตสาหะในการประกอบอาชีพ ให้ทุนแก่พ่อค้าที่อุตสาหะในการทำการค้า ให้อาหารและค่าจ้างแก่ข้าราชการ พระราชทรัพย์ก็จะเพิ่มพูน ชนบทก็จะไม่มีเสี้ยนหนาม มนุษย์ทั้งหลายก็จะรื่นเริง อุ้มบุตรฟ้อนรำ ไม่ต้องปิดประตูเรือน”
โดยนัยแห่งข้อความนี้หมายถึงว่า ถ้าจะแก้ปัญหาอาชญากรรม อย่าแก้ด้วยการจับโจรมาฆ่าหรือจองจำ เพราะการทำเช่นนี้ไม่มีทางจะปราบโจรให้หมดไปได้ มีแต่จะทำให้โจรเพิ่มขึ้น เพราะพวกญาติมิตรของโจรจะโกรธแค้น และลุกขึ้นมาต่อต้านภาครัฐ
แต่ถ้าแก้ด้วยการให้ทุกฝ่ายมีงานทำ มีรายได้พอจะเลี้ยงชีพได้โดยไม่เดือดร้อน ทุกคนก็จะเลิกเป็นโจร และสังคมโดยรวมก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
ถ้ามองดูให้ดี และลงลึกถึงเนื้อหาแล้ว วิธีการทำนองนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นประชานิยมยุคพุทธกาลก็ว่าได้ และน่าจะนำมาใช้กับการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ซึ่งก็สอดคล้องกับพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา
โดยสรุป ปัญหาอาชญากรรมโดยรวมจะลดลงได้ภาครัฐจะต้องแก้ที่ปัญหาปากท้องก่อน เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากอาชญากรจำเป็น และตามมาด้วยการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ประหารชีวิตและจองจำอาชญากรโดยสันดาน