ตอนต้นปีมักมีการทำนายอนาคตจำนวนมากออกมาจากบรรดาหมอดูคู่กับหมอเดา ต้นปีนี้ก็มีคำทำนายมากมายของหมอดูไทยไม่ต่างกับปีที่ผ่านๆ มาจึงอาจพูดได้ว่ามีจำนวนมากกว่า หรือล้ำหน้าฝรั่งเพราะมีอย่างแพร่หลายมาก อย่างไรก็ดี ต้นปีนี้มีกรณีพิเศษเกิดขึ้น นั่นคือ อดีตรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา อัล กอร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 ทำนายอนาคตออกมาเช่นกัน แต่ของเขาเป็นการทำนายในระยะยาวออกมาในรูปของหนังสือชื่อ “อนาคต” (The Future: Six Drivers of Global Change) ซึ่งเขามองว่าจะถูกขับเคลื่อนด้วยอานุภาพของวิวัฒนาการหกด้านด้วยกัน
วิวัฒนาการเหล่านั้นคือ
การเชื่อมต่อกันแบบแนบสนิทของเศรษฐกิจโลกซึ่งทำงานเชิงบูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกันโดยสมบูรณ์บนฐานใหม่ในด้านความสัมพันธ์ของการไหลเวียนของทุน แรงงาน ตลาดสินค้าและรัฐบาล
การเกิดโครงข่ายอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมโลกทำให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวโลกนับพันล้านคนซึ่งเข้าถึงข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวส่งสัญญาณต่างๆ ที่ฝังตัวอยู่ทั่วโลก และเครื่องจักรกลจำพวกคิดแทนคนได้ซึ่งบางอย่างคิดสิ่งต่างๆ ได้เร็วกว่าคนแล้ว
การเกิดขึ้นของความสมดุลใหม่ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารบนผิวโลกซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากความสมดุลในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำและผู้มีเสถียรภาพ ฝ่ายโลกตะวันออกเข้ามาแทนโลกตะวันตก ศูนย์กลางอำนาจที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกเข้ามาแทนที่ประเทศร่ำรวย ภาคเอกชนเข้ามาแทนที่ภาครัฐ และระบบตลาดเข้ามาแทนระบบการเมือง
การขยายตัวแบบไม่ยั่งยืนในด้านประชากร เมืองขนาดใหญ่และการใช้ทรัพยากร นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียผิวดิน แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตต่างๆ พร้อมทั้งการเพิ่มขึ้นของมลพิษและเศรษฐกิจที่วัดกันโดยวิธีที่แสนบัดซบซึ่งนำไปสู่การกระทำในด้านการทำลายตัวเองแบบหลงผิด
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่มีอานุภาพสูงทางด้านชีวะ เคมีชีวะ กรรมพันธุ์ และสะสารต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสิ่งต่างๆ ได้รวมทั้งการสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้นมาด้วย
การเกิดความสัมพันธ์แนวใหม่ระหว่างพลังอำนาจของมนุษย์กับระบบนิเวศของโลกโดยเฉพาะในด้านที่เปราะบางมากที่สุดอันได้แก่ความสมดุลในชั้นบรรยากาศและฤดูกาลของโลกซึ่งมนุษย์ต้องพึ่งพา พร้อมกันนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางเทคโนโลยีด้านพลังงาน การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และการก่อสร้างที่สามารถนำมาใช้ได้ในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีและมีความสมดุลระหว่างอารยธรรมมนุษย์และวิวัฒนาการของโลก
ตัวขับเคลื่อนทั้งหกนี้มีอานุภาพสูงมาก มันกำลังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำไปสู่ด้านดีหรือด้านร้ายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมนุษย์ว่าจะเลือกทำอะไรต่อไปทั้งในทางด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ
อัล กอร์ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วโลกเข้าใจในสิ่งที่เขาเขียนและอยากบอกชาวอเมริกันอย่างเร่งด่วนเพราะเขามองว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่มีพลังเพียงพอที่จะนำชาวโลกให้ตัดสินใจไปในทางที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้สังคมมนุษย์วิวัฒน์ไปในทางยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เขามองว่าสภาพปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้สังคมอเมริกันทำเช่นนั้นได้ด้วยปัจจัยสำคัญยิ่ง นั่นคือ เงินได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีจนเกือบย่อยยับโดยเข้าไปครอบงำการเมืองและระบบเศรษฐกิจของเขาเกือบทั้งหมด ชนชั้นเศรษฐียึดส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจไปเป็นของตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมให้มีการปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์และระบบแรงจูงใจที่จะทำให้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจทำงานไปตามอุดมการณ์ของมันได้ ฉะนั้น ชาวอเมริกันจะต้องปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของตนก่อน แต่จะทำได้อย่างไรอัล กอร์ มิได้ให้ความกระจ่างมากนักโดยเฉพาะจากปัจจัยพื้นฐาน
จากมุมมองของด้านความคิดพื้นฐาน สังคมอเมริกันคงปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจไปในทางยั่งยืนได้ยากมาก เนื่องจากเป้าหมายหลักของสังคมอย่างหนึ่งซึ่งได้แก่การแสวงหาความสุขอันเกิดจากการบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (การบริโภคในที่นี้ไม่จำกัดอยู่ที่การส่งของเข้าปากแล้วกลืนลงท้อง หากรวมสิ่งของและบริการทุกอย่างที่มนุษย์เราใช้หมดไปในแต่ละวัน) เป้าหมายดังกล่าวถูกเขียนไว้ในคำประกาศอิสรภาพของประเทศจากอังกฤษเมื่อ 2319
ตอนนี้เริ่มมีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป้าหมายไปเป็น “การมีชีวิตที่ดี” แทนการแสวงหาความสุข ปัจจัยสำคัญในการมีชีวิตที่ดีได้แก่การบริโภคพอประมาณตามความจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิต มิใช่บริโภคเพื่อสนองความอยาก เรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือของปราชญ์สองพ่อลูกโรเบิร์ตและเอ็ดเวิร์ด สกีเดลสกี้ เรื่อง How Much Is Enough? Money and the Good Life นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำเช่นเจฟฟรี่ แซคส์ ก็เสนอให้บริโภคแบบมีสติ หรือ พอประมาณเช่นกัน เรื่องนี้เขาเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity
ผู้ที่รู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงย่อมเข้าใจได้ทันทีว่า แนวคิดทั้งสองนั้นอยู่ในกรอบของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เท่าที่ผ่านมา คนอเมริกันส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเหล่านี้ทั้งที่มีตัวอย่างท่ามกลางสังคมบริโภคแบบสุดโต่งของเขามานมนานว่า การอยู่อย่างพอเพียงนั้นทำได้อย่างสุขกายสบายใจไม่น้อยกว่าสังคมบริโภคนิยมของเขา ตัวอย่างดังกล่าวได้แก่สังคมชาวอามิชซึ่งตั้งชุมชนอยู่ทั่วไปในอเมริกาโดยเฉพาะในมลรัฐเพนซิลเวเนีย ชาวอามิชไม่ใช้เครื่องจักรกล เช่น รถยนต์และรถไถนา แต่ใช้ม้าลากไถ พวกเขาไม่ใช้แม้กระทั่งไฟฟ้าและโทรศัพท์ในบ้าน รายละเอียดอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ อเมริกาที่ยังใช้ม้าเทียมไถ (ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.openbase.in.th)
จากมุมมองของด้านแนวคิด เมืองไทยมีเศรษฐกิจพอเพียง ฉะนั้น จึงอาจพูดได้โดยไม่ต้องอายใครว่าไทยล้ำหน้าฝรั่ง แต่ไทยมิได้ล้ำหน้าในทางมีแนวคิดที่ดีเท่านั้น หากยังล้ำหน้าในทางการทำลายระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีอีกด้วย
ผู้ติดตามการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่งผ่านมาเมื่อตอนปลายปีที่แล้วย่อมจำได้ว่า ผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีใช้เงินรวมกันนับพันล้านดอลลาร์ แต่เงินนั้นมิได้ใช้ไปในการซื้อเสียง หากใช้ไปในการหาเสียงซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพราะการใช้ข้อมูลละเอียดมากชนิดรู้เป้าหมายแทบจะเป็นรายบุคคล การใช้เงินมากขนาดนี้ย่อมเป็นทางที่ผู้มีเงินมาก บริษัทห้างร้านขาดใหญ่และสมาคมต่างๆ เข้าถึงนักการเมืองได้ง่ายกว่าสามัญชนโดยทั่วไป นั่นหมายความว่านโยบายต่างๆ ที่ออกมาย่อมมีผู้บริจาคเงินเป็นผู้ได้ผลประโยชน์มากกว่าด้วย ด้วยเหตุนี้เอง อัล กอร์ จึงพูดว่าระบอบประชาธิปไตและระบบตลาดเสรีถูกผู้มีเงินทำโจรกรรมไปเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเมืองไทย ประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีของเขายังไม่ถูกโจรกรรมเท่าในเมืองไทยเพราะอะไรคงไม่ต้องอธิบายกันมากนอกจากเพียงเอ่ยถึงเรื่องการขายสิทธิซื้อเสียงโดยทางตรงและทางอ้อม การใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายมอมเมาผู้ไม่รู้เท่าทัน ความฉ้อฉลของคนมีอำนาจ การผูกขาดของบริษัทขนาดยักษ์และการใช้อิทธิพลมืดของผู้กว้างขวางหรือเจ้าพ่อต่างๆ ในท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ไทยมีมากกว่าสหรัฐอเมริกาและประเทศก้าวหน้าที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรี ทางด้านความชั่วร้ายเหล่านี้ไทยจึงมีความล้ำหน้าพวกเขามาก
เนื่องจากไทยล้ำหน้าฝรั่งทั้งในด้านการทำนายอนาคตโดยหมอดูคู่กับหมอเดา ในด้านการมีแนวคิดที่ดี และในด้านการโจรกรรมระบบตลาดเสรีและระบอบประชาธิปไตย คนไทยจึงมีทางเลือกอย่างเด่นชัดว่าจะตัดสินใจทำอะไรต่อไปในอนาคต แน่ละ ถ้าเลือกใช้แนวคิดที่ดี โอกาสที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนมีสูงมาก หากยังเลือกทำโจรกรรมต่อไป อนาคตย่อมไม่ผ่องใสแม้แต่น้อย
วิวัฒนาการเหล่านั้นคือ
การเชื่อมต่อกันแบบแนบสนิทของเศรษฐกิจโลกซึ่งทำงานเชิงบูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกันโดยสมบูรณ์บนฐานใหม่ในด้านความสัมพันธ์ของการไหลเวียนของทุน แรงงาน ตลาดสินค้าและรัฐบาล
การเกิดโครงข่ายอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมโลกทำให้เกิดการเชื่อมต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวโลกนับพันล้านคนซึ่งเข้าถึงข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวส่งสัญญาณต่างๆ ที่ฝังตัวอยู่ทั่วโลก และเครื่องจักรกลจำพวกคิดแทนคนได้ซึ่งบางอย่างคิดสิ่งต่างๆ ได้เร็วกว่าคนแล้ว
การเกิดขึ้นของความสมดุลใหม่ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารบนผิวโลกซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากความสมดุลในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำและผู้มีเสถียรภาพ ฝ่ายโลกตะวันออกเข้ามาแทนโลกตะวันตก ศูนย์กลางอำนาจที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกเข้ามาแทนที่ประเทศร่ำรวย ภาคเอกชนเข้ามาแทนที่ภาครัฐ และระบบตลาดเข้ามาแทนระบบการเมือง
การขยายตัวแบบไม่ยั่งยืนในด้านประชากร เมืองขนาดใหญ่และการใช้ทรัพยากร นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียผิวดิน แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตต่างๆ พร้อมทั้งการเพิ่มขึ้นของมลพิษและเศรษฐกิจที่วัดกันโดยวิธีที่แสนบัดซบซึ่งนำไปสู่การกระทำในด้านการทำลายตัวเองแบบหลงผิด
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่มีอานุภาพสูงทางด้านชีวะ เคมีชีวะ กรรมพันธุ์ และสะสารต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสิ่งต่างๆ ได้รวมทั้งการสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้นมาด้วย
การเกิดความสัมพันธ์แนวใหม่ระหว่างพลังอำนาจของมนุษย์กับระบบนิเวศของโลกโดยเฉพาะในด้านที่เปราะบางมากที่สุดอันได้แก่ความสมดุลในชั้นบรรยากาศและฤดูกาลของโลกซึ่งมนุษย์ต้องพึ่งพา พร้อมกันนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางเทคโนโลยีด้านพลังงาน การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม และการก่อสร้างที่สามารถนำมาใช้ได้ในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีและมีความสมดุลระหว่างอารยธรรมมนุษย์และวิวัฒนาการของโลก
ตัวขับเคลื่อนทั้งหกนี้มีอานุภาพสูงมาก มันกำลังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำไปสู่ด้านดีหรือด้านร้ายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของมนุษย์ว่าจะเลือกทำอะไรต่อไปทั้งในทางด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ
อัล กอร์ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วโลกเข้าใจในสิ่งที่เขาเขียนและอยากบอกชาวอเมริกันอย่างเร่งด่วนเพราะเขามองว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่มีพลังเพียงพอที่จะนำชาวโลกให้ตัดสินใจไปในทางที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้สังคมมนุษย์วิวัฒน์ไปในทางยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เขามองว่าสภาพปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้สังคมอเมริกันทำเช่นนั้นได้ด้วยปัจจัยสำคัญยิ่ง นั่นคือ เงินได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีจนเกือบย่อยยับโดยเข้าไปครอบงำการเมืองและระบบเศรษฐกิจของเขาเกือบทั้งหมด ชนชั้นเศรษฐียึดส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจไปเป็นของตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่ยอมให้มีการปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์และระบบแรงจูงใจที่จะทำให้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจทำงานไปตามอุดมการณ์ของมันได้ ฉะนั้น ชาวอเมริกันจะต้องปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของตนก่อน แต่จะทำได้อย่างไรอัล กอร์ มิได้ให้ความกระจ่างมากนักโดยเฉพาะจากปัจจัยพื้นฐาน
จากมุมมองของด้านความคิดพื้นฐาน สังคมอเมริกันคงปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจไปในทางยั่งยืนได้ยากมาก เนื่องจากเป้าหมายหลักของสังคมอย่างหนึ่งซึ่งได้แก่การแสวงหาความสุขอันเกิดจากการบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (การบริโภคในที่นี้ไม่จำกัดอยู่ที่การส่งของเข้าปากแล้วกลืนลงท้อง หากรวมสิ่งของและบริการทุกอย่างที่มนุษย์เราใช้หมดไปในแต่ละวัน) เป้าหมายดังกล่าวถูกเขียนไว้ในคำประกาศอิสรภาพของประเทศจากอังกฤษเมื่อ 2319
ตอนนี้เริ่มมีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป้าหมายไปเป็น “การมีชีวิตที่ดี” แทนการแสวงหาความสุข ปัจจัยสำคัญในการมีชีวิตที่ดีได้แก่การบริโภคพอประมาณตามความจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิต มิใช่บริโภคเพื่อสนองความอยาก เรื่องนี้มีอยู่ในหนังสือของปราชญ์สองพ่อลูกโรเบิร์ตและเอ็ดเวิร์ด สกีเดลสกี้ เรื่อง How Much Is Enough? Money and the Good Life นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำเช่นเจฟฟรี่ แซคส์ ก็เสนอให้บริโภคแบบมีสติ หรือ พอประมาณเช่นกัน เรื่องนี้เขาเขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Price of Civilization: Reawakening American Virtue and Prosperity
ผู้ที่รู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงย่อมเข้าใจได้ทันทีว่า แนวคิดทั้งสองนั้นอยู่ในกรอบของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เท่าที่ผ่านมา คนอเมริกันส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเหล่านี้ทั้งที่มีตัวอย่างท่ามกลางสังคมบริโภคแบบสุดโต่งของเขามานมนานว่า การอยู่อย่างพอเพียงนั้นทำได้อย่างสุขกายสบายใจไม่น้อยกว่าสังคมบริโภคนิยมของเขา ตัวอย่างดังกล่าวได้แก่สังคมชาวอามิชซึ่งตั้งชุมชนอยู่ทั่วไปในอเมริกาโดยเฉพาะในมลรัฐเพนซิลเวเนีย ชาวอามิชไม่ใช้เครื่องจักรกล เช่น รถยนต์และรถไถนา แต่ใช้ม้าลากไถ พวกเขาไม่ใช้แม้กระทั่งไฟฟ้าและโทรศัพท์ในบ้าน รายละเอียดอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ อเมริกาที่ยังใช้ม้าเทียมไถ (ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.openbase.in.th)
จากมุมมองของด้านแนวคิด เมืองไทยมีเศรษฐกิจพอเพียง ฉะนั้น จึงอาจพูดได้โดยไม่ต้องอายใครว่าไทยล้ำหน้าฝรั่ง แต่ไทยมิได้ล้ำหน้าในทางมีแนวคิดที่ดีเท่านั้น หากยังล้ำหน้าในทางการทำลายระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีอีกด้วย
ผู้ติดตามการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่งผ่านมาเมื่อตอนปลายปีที่แล้วย่อมจำได้ว่า ผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีใช้เงินรวมกันนับพันล้านดอลลาร์ แต่เงินนั้นมิได้ใช้ไปในการซื้อเสียง หากใช้ไปในการหาเสียงซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพราะการใช้ข้อมูลละเอียดมากชนิดรู้เป้าหมายแทบจะเป็นรายบุคคล การใช้เงินมากขนาดนี้ย่อมเป็นทางที่ผู้มีเงินมาก บริษัทห้างร้านขาดใหญ่และสมาคมต่างๆ เข้าถึงนักการเมืองได้ง่ายกว่าสามัญชนโดยทั่วไป นั่นหมายความว่านโยบายต่างๆ ที่ออกมาย่อมมีผู้บริจาคเงินเป็นผู้ได้ผลประโยชน์มากกว่าด้วย ด้วยเหตุนี้เอง อัล กอร์ จึงพูดว่าระบอบประชาธิปไตและระบบตลาดเสรีถูกผู้มีเงินทำโจรกรรมไปเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเมืองไทย ประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีของเขายังไม่ถูกโจรกรรมเท่าในเมืองไทยเพราะอะไรคงไม่ต้องอธิบายกันมากนอกจากเพียงเอ่ยถึงเรื่องการขายสิทธิซื้อเสียงโดยทางตรงและทางอ้อม การใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายมอมเมาผู้ไม่รู้เท่าทัน ความฉ้อฉลของคนมีอำนาจ การผูกขาดของบริษัทขนาดยักษ์และการใช้อิทธิพลมืดของผู้กว้างขวางหรือเจ้าพ่อต่างๆ ในท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ไทยมีมากกว่าสหรัฐอเมริกาและประเทศก้าวหน้าที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรี ทางด้านความชั่วร้ายเหล่านี้ไทยจึงมีความล้ำหน้าพวกเขามาก
เนื่องจากไทยล้ำหน้าฝรั่งทั้งในด้านการทำนายอนาคตโดยหมอดูคู่กับหมอเดา ในด้านการมีแนวคิดที่ดี และในด้านการโจรกรรมระบบตลาดเสรีและระบอบประชาธิปไตย คนไทยจึงมีทางเลือกอย่างเด่นชัดว่าจะตัดสินใจทำอะไรต่อไปในอนาคต แน่ละ ถ้าเลือกใช้แนวคิดที่ดี โอกาสที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนมีสูงมาก หากยังเลือกทำโจรกรรมต่อไป อนาคตย่อมไม่ผ่องใสแม้แต่น้อย