ASTVผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้วอลุ่มตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นมีส่วนเอื้อต่อการสร้างราคาหุ้นได้ง่าย ยอมรับทำให้ตรวจสอบยากขึ้น แจง 3 เดือนที่ผ่านมาส่งเรื่องปั่นหุ้นให้ก.ล.ต.ตรวจสอบแล้ว สุภกิจ แจง ขณะนี้อยู่ระหว่างเข้าตรวจสอบโบรกเกอร์ที่มีลูกค้าเทรดบัญชีแคลชบาลานซ์สูง เพื่อดูระบบ จากปัจจุบันมีจำนวนหุ้นติดมากขึ้นเดือนม.ค.อยู่ที่ 28 ตัว เกิน 50% ของทั้งปี 55 อยู่ที่ 48 ตัว ยันไม่ต้องมีเกณฑ์ใหม่ดูแลเพิ่ม จากเกณฑ์ปัจจุบันเพียงพอ
นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการที่มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในปีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท นั้น ซึ่งยอมรับว่าสภาพตลาดเอื้อต่อคนที่จะเข้ามาสร้างราคาหุ้นได้ง่ายมากขึ้น ทำให้การตรวจยากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะตรวจไม่ได้ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯมีหน่วยงานที่ตรวจสอบ
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการส่งเรื่องเกี่ยวกับการสร้างราคาหุ้นให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)แล้วในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาแล้ว และจากการที่ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นขนาดกลางและเล็กได้มีปริมาณการซื้อขายและราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นทำให้มีค่าP/E สูงเกิน 40 เท่า นั้นและมีหุ้นที่นักลงทุน ต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับบล.เต็มจำนวนที่จะซื้อ (แคลชบาลานซ์) จำนวนมากขึ้น ซึ่งเดือนมกราคม 2556 มีจำนวน 28 หลักทรัพย์ จำนวน 28 ครั้ง ปี 2555 อยู่ที่จำนวน 48 หลักทรัพย์ จำนวน 80 ครั้ง (บางหลักทรัพย์มีการติดแคลซบาลานซ์มากกว่า 1 ครั้ง ) ขณะปี 2554 อยู่ที่ 30 หลักทรัพย์ จำนวน 48 ครั้ง
ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการดำเนินการไปตรวจสอบโบรกเกอร์ว่ามีการดำเนินการเรื่องแคลชบาลานซ์ไปตามเกณธ์หรือไม่ ในโบรกเกอร์ที่มีการจำนวนบัญชีแคลชบาลานซ์จำนวนมาก เพราะ ตลาดหลักทรัพย์ฯสามารถดูข้อมูลได้ว่า หุ้นที่ติดแคลชบาลานซ์นั้นซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ไหน ซึ่งหากพบ่าไม่ดีเท่าที่ควรก็จะมีการเตือน ให้มีการดำเนินถูกต้องหากไม่ปฎิบัติตามก็จะมีการดำเนินการลงโทษไปตามเกณฑ์ของตลดาหลักทรัพย์
นายสุภกิจ ล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าไปตรวจสอบแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเป้าหมายที่จะเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งหุ้นที่จะติดเกณฑ์แคลซบาลานซ์นั้น ก็จะมีการนำรายชื่อหุ้นที่ติดเกณฑ์ของก.ล.ต.ที่มีปริมาณซื้อขายหุ้นหมุนเวียนสูง (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์)มาเป็นส่วนประกอบและใช้เกณฑ์ภายในของตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณาประกอบ ซึ่งเกณฑ์ภายในของตลดาหลักทรัพย์ฯนั้นก็จะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ฯ ไหนเข้าเกณฑ์ติดแคลชบาลานซ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการประกาศออกมาทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการเตือนนักลงทุนรายย่อยให้มีความระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งหากนักลงทุนอยากเข้าไปลงทุนต้องวางเงินสดเต็มจำนวน ไม่ควรที่จะใช้มาร์จิ้นโลนในการซื้อหุ้นนั้น และป้องกันไม่ให้นักลงทุนเกิดความเสียหาย และอุตสาหกรรมหลักทรัพย์เสียหายสำหรับปัจจุบันเกณฑ์กำกับดูแลการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯมีอยู่ไม่ว่าจะแคลชบาลานซ์ เทรดดิ้งอะเลิธ นั้นเพียงพอในการดูแลแล้วไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่เข้ามาดูแลเพิ่ม
นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการที่มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในปีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท นั้น ซึ่งยอมรับว่าสภาพตลาดเอื้อต่อคนที่จะเข้ามาสร้างราคาหุ้นได้ง่ายมากขึ้น ทำให้การตรวจยากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะตรวจไม่ได้ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯมีหน่วยงานที่ตรวจสอบ
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการส่งเรื่องเกี่ยวกับการสร้างราคาหุ้นให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)แล้วในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาแล้ว และจากการที่ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นขนาดกลางและเล็กได้มีปริมาณการซื้อขายและราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นทำให้มีค่าP/E สูงเกิน 40 เท่า นั้นและมีหุ้นที่นักลงทุน ต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้ากับบล.เต็มจำนวนที่จะซื้อ (แคลชบาลานซ์) จำนวนมากขึ้น ซึ่งเดือนมกราคม 2556 มีจำนวน 28 หลักทรัพย์ จำนวน 28 ครั้ง ปี 2555 อยู่ที่จำนวน 48 หลักทรัพย์ จำนวน 80 ครั้ง (บางหลักทรัพย์มีการติดแคลซบาลานซ์มากกว่า 1 ครั้ง ) ขณะปี 2554 อยู่ที่ 30 หลักทรัพย์ จำนวน 48 ครั้ง
ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการดำเนินการไปตรวจสอบโบรกเกอร์ว่ามีการดำเนินการเรื่องแคลชบาลานซ์ไปตามเกณธ์หรือไม่ ในโบรกเกอร์ที่มีการจำนวนบัญชีแคลชบาลานซ์จำนวนมาก เพราะ ตลาดหลักทรัพย์ฯสามารถดูข้อมูลได้ว่า หุ้นที่ติดแคลชบาลานซ์นั้นซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ไหน ซึ่งหากพบ่าไม่ดีเท่าที่ควรก็จะมีการเตือน ให้มีการดำเนินถูกต้องหากไม่ปฎิบัติตามก็จะมีการดำเนินการลงโทษไปตามเกณฑ์ของตลดาหลักทรัพย์
นายสุภกิจ ล่าวว่า ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯเข้าไปตรวจสอบแล้วบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเป้าหมายที่จะเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งหุ้นที่จะติดเกณฑ์แคลซบาลานซ์นั้น ก็จะมีการนำรายชื่อหุ้นที่ติดเกณฑ์ของก.ล.ต.ที่มีปริมาณซื้อขายหุ้นหมุนเวียนสูง (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์)มาเป็นส่วนประกอบและใช้เกณฑ์ภายในของตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณาประกอบ ซึ่งเกณฑ์ภายในของตลดาหลักทรัพย์ฯนั้นก็จะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ฯ ไหนเข้าเกณฑ์ติดแคลชบาลานซ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการประกาศออกมาทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการเตือนนักลงทุนรายย่อยให้มีความระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งหากนักลงทุนอยากเข้าไปลงทุนต้องวางเงินสดเต็มจำนวน ไม่ควรที่จะใช้มาร์จิ้นโลนในการซื้อหุ้นนั้น และป้องกันไม่ให้นักลงทุนเกิดความเสียหาย และอุตสาหกรรมหลักทรัพย์เสียหายสำหรับปัจจุบันเกณฑ์กำกับดูแลการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯมีอยู่ไม่ว่าจะแคลชบาลานซ์ เทรดดิ้งอะเลิธ นั้นเพียงพอในการดูแลแล้วไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใหม่เข้ามาดูแลเพิ่ม