ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”พบกว่า 100 บริษัทเสี่ยงเป็นนอมินี เหตุมีทั้งต่างชาติจ้างคนไทยถือหุ้นแทน มีสิทธิออกเสียงบริหารได้มากกว่า เตรียมแถลงใหญ่สัปดาห์นี้ ส่วนการแก้กฎหมายต่างด้าวรับ AEC รอนายกฯ เคาะ ยัน กสทช.เสนอให้ต่างชาติถือหุ้นโทรคมนาคม 70% ยังทำไม่ได้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รายงานผลการตรวจสอบสถานะบริษัทไทยที่มีคนต่างชาติถือหุ้นตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แล้ว โดยเบื้องต้นพบว่ามีมากกว่า 100 บริษัท ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงว่าจะมีคนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) เพราะจากการตรวจสอบพบว่าแม้ต่างชาติที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทเหล่านั้นจะมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่เกิน 49.99% ตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อตรวจลึกในรายละเอียดของบริษัทกลับพบว่าคนต่างชาติมีสิทธิ์ในการออกเสียง หรือครอบงำการบริหารกิจการมากถึง 90% หรือมีอำนาจบริหารมากกว่าคนไทยที่มีสัดส่วนหุ้นมากกว่า
ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์นี้ จะมีการแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสอบทั้งหมด เพราะถือเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง และหลบเลี่ยงกฎหมายไทย
สำหรับการแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ต้องรอนโยบายจากรัฐบาลก่อน ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เออีซี ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ยังไม่มีการหารือเรื่องปรับปรุงกฎหมายต่างด้าว แต่เชื่อว่าจะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปิดเออีซีแน่นอน และในระหว่างนี้ ก็จะมีการทบทวนการเปิดเสรีตามบัญชีแนบท้าย 3 ของกฎหมายเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สนับสนุนให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อเปิดทางให้นักลงทุนกลุ่มโทรคมนาคมเข้ามาถือหุ้นในไทยสัดส่วน 70% ยืนยันว่า หากไม่มีนโยบายชัดเจนจากรัฐบาลในการแก้ไขกฎหมาย นักลงทุนก็ต้องยึดตามกฎหมายเดิมอย่างเคร่งครัด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีแนวคิดในการจัดทำมาตรฐานแนวทางการตรวจสอบนอมินี เพราะมีชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจ ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มากกว่า 3.2 หมื่นราย และในจำนวนนี้มี 5,000 รายที่มีสัดส่วนการถือหุ้นเกิน 50% แต่ได้ขออนุญาตการประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 2.7 หมื่นรายมีต่างด้าวถือหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 49% ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รายงานผลการตรวจสอบสถานะบริษัทไทยที่มีคนต่างชาติถือหุ้นตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แล้ว โดยเบื้องต้นพบว่ามีมากกว่า 100 บริษัท ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงว่าจะมีคนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) เพราะจากการตรวจสอบพบว่าแม้ต่างชาติที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทเหล่านั้นจะมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่เกิน 49.99% ตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อตรวจลึกในรายละเอียดของบริษัทกลับพบว่าคนต่างชาติมีสิทธิ์ในการออกเสียง หรือครอบงำการบริหารกิจการมากถึง 90% หรือมีอำนาจบริหารมากกว่าคนไทยที่มีสัดส่วนหุ้นมากกว่า
ทั้งนี้ ภายในสัปดาห์นี้ จะมีการแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสอบทั้งหมด เพราะถือเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง และหลบเลี่ยงกฎหมายไทย
สำหรับการแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ต้องรอนโยบายจากรัฐบาลก่อน ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เออีซี ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ยังไม่มีการหารือเรื่องปรับปรุงกฎหมายต่างด้าว แต่เชื่อว่าจะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปิดเออีซีแน่นอน และในระหว่างนี้ ก็จะมีการทบทวนการเปิดเสรีตามบัญชีแนบท้าย 3 ของกฎหมายเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สนับสนุนให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อเปิดทางให้นักลงทุนกลุ่มโทรคมนาคมเข้ามาถือหุ้นในไทยสัดส่วน 70% ยืนยันว่า หากไม่มีนโยบายชัดเจนจากรัฐบาลในการแก้ไขกฎหมาย นักลงทุนก็ต้องยึดตามกฎหมายเดิมอย่างเคร่งครัด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีแนวคิดในการจัดทำมาตรฐานแนวทางการตรวจสอบนอมินี เพราะมีชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจ ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มากกว่า 3.2 หมื่นราย และในจำนวนนี้มี 5,000 รายที่มีสัดส่วนการถือหุ้นเกิน 50% แต่ได้ขออนุญาตการประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 2.7 หมื่นรายมีต่างด้าวถือหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 49% ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง