คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอนุมัติคนต่างชาติลงทุนในไทยเดือน พ.ย.เพิ่ม 27 ราย หอบเงินลงทุนเข้ามาเกือบ 2,000 ล้านบาท
นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 27 ราย มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 1,970 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 1,245 คน
ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว ได้แก่
1. ธุรกิจบริการ จำนวน 18 ราย (คิดเป็นร้อยละ 66 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 1,896 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่มเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน บริการทางบัญชี และรับค้ำประกันหนี้ รองลงมาเป็นบริการให้เช่าสินค้าต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม เป็นต้น ประเทศที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ ญี่ปุ่น เบอร์มิวดา สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ออสเตรีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา
2. ธุรกิจสำนักงานผู้แทนจำนวน 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 19 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 17 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้าในประเทศไทย และรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การจำหน่าย การลงทุน การตลาด ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ สเปน และญี่ปุ่น
3. ธุรกิจนายหน้าตัวแทนจำนวน 2 ราย (คิดเป็นร้อยละ 7 ของธุรกิจที่ได้อนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 12 ล้านบาท ได้แก่ การเป็นนายหน้าตัวแทนในการจัดหาตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
4. ธุรกิจค้าส่งจำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 4 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 3 ล้านบาท ได้แก่ การค้าส่งชิ้นส่วนและส่วนประกอบของเครื่องยนต์ดีเซลให้แก่บริษัทในเครือ และตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทในเครือ ประเทศที่เข้ามาลงทุนคือญี่ปุ่น
5. คู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 4 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 42 ล้านบาท ได้แก่ บริการจัดหาอุปกรณ์ระบบเรดาร์ทุติยภูมิ (SSR MODE S) พร้อมก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และสายอากาศสำหรับใช้งานที่ศูนย์ควบคุมการบินให้แก่บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ประเทศที่เข้ามาลงทุนคืออิตาลี
ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2555 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17 โดยในปี 2555 (มกราคม-พฤศจิกายน 2555) คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 301 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 14,714 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่าจำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44
นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2555 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 27 ราย มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 1,970 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 1,245 คน
ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว ได้แก่
1. ธุรกิจบริการ จำนวน 18 ราย (คิดเป็นร้อยละ 66 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 1,896 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่มเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงิน บริการทางบัญชี และรับค้ำประกันหนี้ รองลงมาเป็นบริการให้เช่าสินค้าต่างๆ เช่น แม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม เป็นต้น ประเทศที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ ญี่ปุ่น เบอร์มิวดา สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ออสเตรีย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา
2. ธุรกิจสำนักงานผู้แทนจำนวน 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 19 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 17 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้าในประเทศไทย และรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การจำหน่าย การลงทุน การตลาด ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ ในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ สเปน และญี่ปุ่น
3. ธุรกิจนายหน้าตัวแทนจำนวน 2 ราย (คิดเป็นร้อยละ 7 ของธุรกิจที่ได้อนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 12 ล้านบาท ได้แก่ การเป็นนายหน้าตัวแทนในการจัดหาตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือ ประเทศที่เข้ามาลงทุนได้แก่ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น
4. ธุรกิจค้าส่งจำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 4 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 3 ล้านบาท ได้แก่ การค้าส่งชิ้นส่วนและส่วนประกอบของเครื่องยนต์ดีเซลให้แก่บริษัทในเครือ และตัวแทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทในเครือ ประเทศที่เข้ามาลงทุนคือญี่ปุ่น
5. คู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ราย (คิดเป็นร้อยละ 4 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต) มีเงินลงทุนจำนวน 42 ล้านบาท ได้แก่ บริการจัดหาอุปกรณ์ระบบเรดาร์ทุติยภูมิ (SSR MODE S) พร้อมก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งอุปกรณ์และสายอากาศสำหรับใช้งานที่ศูนย์ควบคุมการบินให้แก่บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ประเทศที่เข้ามาลงทุนคืออิตาลี
ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2555 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 17 โดยในปี 2555 (มกราคม-พฤศจิกายน 2555) คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 301 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 14,714 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่าจำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44