ธุรกิจเจ๊งเดือน ธ.ค.พุ่ง 3,838 ราย เพิ่มขึ้น 118% ทำให้ทั้งปีเจ๊งรวม 1.69 หมื่นราย เพิ่ม 20% “เต้น” ปัดไม่เกี่ยวกับต้นทุนค่าแรง 300 บาท แต่สั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตรียมศึกษาข้อมูลเชิงลึกในเดือนต่อๆ ไป หากมีบริษัทเจ๊งเพิ่มต้องรู้เจ๊งเพราะอะไร
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศเดือน ธ.ค. 2555 มีจำนวน 3,838 ราย เพิ่มขึ้น 118% เทียบกับ พ.ย. 2555 และเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2554 โดยมีทุนนิติบุคคลเลิกมูลค่า 1.31 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% เทียบกับ พ.ย. 2555 แต่ลดลง 62% เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2554 ส่งผลให้การจดทะเบียนเลิกทั้งปี 2555 (ม.ค.-ธ.ค.) มีจำนวน 1.69 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2554 รวมทุนจดทะเบียนนิติบุคคลเลิกทั้งปี 6.39 หมื่นล้านบาท ลดลง 28% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2554
สาเหตุที่ธุรกิจปิดกิจการในเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาท เพราะนโยบายนี้เพิ่งเริ่มต้นครบทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา และถือเป็นปกติของทุกปีที่ช่วงเดือน ธ.ค.จะมีธุรกิจเลิกกิจการจำนวนมาก เพราะหากไปปิดกิจการเดือน ม.ค.จะทำให้ธุรกิจยังต้องส่งงบการเงินอีก ส่วนใหญ่จึงเร่งปิดกิจการให้ทันในเดือน ธ.ค.
อย่างไรก็ตาม ผลจากการตรวจสอบเชิงลึกพบว่า ในจำนวน 3,838 ราย สัดส่วน 58% ประสบปัญหาประกอบธุรกิจขาดทุนคิดเป็นจำนวน 2,229 ราย และในจำนวนนี้เป็นบริษัทที่ส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1,726 ราย มีผลประกอบการขาดทุน 1,034 ราย และมีผลประกอบการกำไร 692 ราย ซึ่งเป็นการดูจากการส่งงบประมาณปี 2554 ยังไม่มีเรื่องผลกระทบค่าแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนอีก 37% เป็นการปิดกิจการจากไม่ได้รับงานตามที่กำหนด และอีก 5% มีปัญหาขัดแย้งภายในองค์กร
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตรียมศึกษาผลของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทในเดือนต่อๆ ไปว่ามีผลกระทบต่อการปิดกิจการจริงหรือไม่ โดยให้ร่วมมือกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ได้ตรวจสอบบริษัทหรือโรงงานที่ปิดกิจการอยู่แล้ว โดยจะนำข้อมูลมาตรวจสอบย้อนหลัง 5 ปีเพื่อให้ทราบชัดเจนว่านิติบุคคลที่ปิดกิจการมาจากสาเหตุใด และจะประสานไปยังสำนักงานประกันสังคมเพื่อตรวจสอบพนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีอยู่จำนวนเท่าไร จากนั้นจะรายงานให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง รับทราบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน และจะได้มีมาตรการช่วยเหลือได้ถูกต้อง รวมทั้งจะชี้แจงให้ประชาชนรับทราบด้วย
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกทั่วประเทศเดือน ธ.ค. 2555 มีจำนวน 3,838 ราย เพิ่มขึ้น 118% เทียบกับ พ.ย. 2555 และเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2554 โดยมีทุนนิติบุคคลเลิกมูลค่า 1.31 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 55% เทียบกับ พ.ย. 2555 แต่ลดลง 62% เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2554 ส่งผลให้การจดทะเบียนเลิกทั้งปี 2555 (ม.ค.-ธ.ค.) มีจำนวน 1.69 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2554 รวมทุนจดทะเบียนนิติบุคคลเลิกทั้งปี 6.39 หมื่นล้านบาท ลดลง 28% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2554
สาเหตุที่ธุรกิจปิดกิจการในเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาท เพราะนโยบายนี้เพิ่งเริ่มต้นครบทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา และถือเป็นปกติของทุกปีที่ช่วงเดือน ธ.ค.จะมีธุรกิจเลิกกิจการจำนวนมาก เพราะหากไปปิดกิจการเดือน ม.ค.จะทำให้ธุรกิจยังต้องส่งงบการเงินอีก ส่วนใหญ่จึงเร่งปิดกิจการให้ทันในเดือน ธ.ค.
อย่างไรก็ตาม ผลจากการตรวจสอบเชิงลึกพบว่า ในจำนวน 3,838 ราย สัดส่วน 58% ประสบปัญหาประกอบธุรกิจขาดทุนคิดเป็นจำนวน 2,229 ราย และในจำนวนนี้เป็นบริษัทที่ส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1,726 ราย มีผลประกอบการขาดทุน 1,034 ราย และมีผลประกอบการกำไร 692 ราย ซึ่งเป็นการดูจากการส่งงบประมาณปี 2554 ยังไม่มีเรื่องผลกระทบค่าแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนอีก 37% เป็นการปิดกิจการจากไม่ได้รับงานตามที่กำหนด และอีก 5% มีปัญหาขัดแย้งภายในองค์กร
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตรียมศึกษาผลของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทในเดือนต่อๆ ไปว่ามีผลกระทบต่อการปิดกิจการจริงหรือไม่ โดยให้ร่วมมือกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ได้ตรวจสอบบริษัทหรือโรงงานที่ปิดกิจการอยู่แล้ว โดยจะนำข้อมูลมาตรวจสอบย้อนหลัง 5 ปีเพื่อให้ทราบชัดเจนว่านิติบุคคลที่ปิดกิจการมาจากสาเหตุใด และจะประสานไปยังสำนักงานประกันสังคมเพื่อตรวจสอบพนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีอยู่จำนวนเท่าไร จากนั้นจะรายงานให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง รับทราบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน และจะได้มีมาตรการช่วยเหลือได้ถูกต้อง รวมทั้งจะชี้แจงให้ประชาชนรับทราบด้วย