xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

รื้อใหญ่เงินเดือนข้าราชการ “องค์กรอิสระ”โดยถ้วนหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -การประชุม สภาผู้แทนราษฎร วันก่อนมีการพิจารณาเพื่อเร่งผลักดันกฎหมายสำคัญๆ ให้ออกมาบังคับใช้ ในยุคนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่..)พ.ศ.....

ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ

โดยมีวสาระ สำคัญคือโดยปกติแล้วข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจ ในระดับชั้นยศเดียวกันจะได้รับเงินเดือนในระดับและอัตราเดียวกันแต่เมื่อพระ ราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้ ทำให้ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจบางชั้นยศมีระดับเงินเดือนที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เพื่อให้ข้าราชการทหารและข้าราชการตำรวจในระดับชั้นยศเดียวกันได้รับเงินเดือนที่ไม่เหลื่อมล้ำกัน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังกล่าว เพื่อให้นายทหารประทวนชั้นยศจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือนจ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอกพิเศษ และนายทหารสัญญาบัตรชั้นยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ถึงร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น

นายทหารประทวน จึงมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น

อีกด้าน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่สัญจรไป จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เตรียมเรื่องเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทั้งหมด ให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า หรือวันที่ 29 ม.ค.นี้

ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก ก.พ.ร. ได้เสนอเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชน เพื่อเสนอต่อ ครม. เมื่อวันที่ 21 ม.ค. และขอเสนอให้ ครม.พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานรัฐทั้งหมด

ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อทำให้โครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 2.72 ล้านคน เกิดความสมดุลและเท่าเทียม และแก้ไขปัญหาการลักลั่นอันเนื่องมาจากองค์กรอิสระขอปรับขึ้นเงินเดือนตัวเอง จึงเห็นควรตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นมา

โดยให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รมว.คลัง เป็นรองประธาน กรรมการอื่นประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน จำนวน 6 คน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนของหน่วยงานภาครัฐในภาพรวม ทั้งส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐในสังกัดฝ่ายบริหาร สังกัดฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ เพื่อให้อัตราค่าตอบแทนมีความเสมอภาค เป็นธรรมและเหมาะสมเทียบเท่ามาตรฐานการครองชีพ และให้สอดคล้องกับระบบการบริหารงานสมัยใหม่

นอกจากนี้ ยังให้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงและขั้นต่ำของผู้บริหารภาครัฐที่เป็นมาตรฐานกลางหรือบัญชีกลาง เพื่อ ครม.จะได้ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารต่อไป รวมทั้งเปรียบเทียบค่าตอบแทนกับภาคเอกชนด้วย

พิจารณาดูค่าตอบแทนล่าสุด!

หากมีการทบทวน อย่างเงินเดือนประจําของ “ผู้อํานวยการองค์การมหาชน” ที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงขั้นโจมตีถึงการทำงานกับเนื้องาน ที่มีรายได้มหาศาลมากกว่าเนื้องาน มีการแบ่ง เป็นกลุ่ม 1 ระดับ 100,000-300,000 บาท กลุ่ม 2 ระดับ 100,000-250,000 บาท และ กลุ่ม 3 ระดับ 100,000-200,000 บาทก็จะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันการจัดตั้งองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 36 แห่ง

เมื่อพิจารณาตามหลักการของมติครม. 21 ม.ค.ที่ ให้ ก.พ.ร. ไปพิจารณาตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานรัฐทั้งหมดแล้ว ก็ไม่ถือว่าแปลกใหม่

แต่ส่วนหนึ่ง ที่ระบุว่า แก้ไขปัญหาการลักลั่นอันเนื่องมาจากองค์กรอิสระขอปรับขึ้นเงินเดือนตัวเอง

เน้น! ผู้บริหารองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่หลายองค์กรมีบทบาท ค้าน!ความเห็นของรัฐบาลในหลายๆเรื่อง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณธกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ดูจากที่สภาผู้แทนราษฎร ผ่านร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่น ขององค์กรอิสระ ล่าสุด!!

โดย ส.ส.เกือบทั้งหมด เห็นชอบให้ผ่านมีผลให้ องค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้รับเงินเดือนขึ้นพุ่งทะยานจากปี 2541 โดยในบัญชี 5 ได้กำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง

ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 75,590+50,000 บาท = 125,590 บาท (เพิ่มขึ้น 11,590 บาท)

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 73,240+42,500 บาท = 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 11,240 บาท)

ประธาน กกต. 74,420+45,500 = 119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 11,420 บาท) กกต. 73,240+42,500 = 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 11,240 บาท)

ประธาน ป.ป.ช. 74,420+45,500 = 119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 11,420 บาท) กรรมการ ป.ป.ช. 73,240+42,500 = 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 11,240 บาท)

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เงินเดือน 74,420+45,500 =119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 15,420 บาท) ผู้ตรวจการแผ่นดิน 73,240+42,500 =115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 11,240 บาท)

ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 74,420+45,500 =119,920 บาท (เพิ่มขึ้น 15,420 บาท)

กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 73,240+42,500 = 115,740 บาท (เพิ่มขึ้น 13,240 บาท)

แม้ ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ยังไม่ฝ่าด่าน "วุฒิสภา" ก็ตาม

อย่างไรในการประชุม คณะรัฐมนตรีสัญจร ไม่ระบุว่า จะให้มีการทบทวน เงินประจำตำแหน่งต่อเดือนของนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับจำนวน 125,590 บาท ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับจำนวน 125,590 บาท ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับจำนวน 115,740 บาท ด้วยหรือไม่

จับตาดูว่า วันที่ 29 ม.ค.นี้ คณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทั้งหมด ที่เสนอประชุม ครม.จะมีใครบ้าง และหลักการจะเป็นอย่างไร

กำลังโหลดความคิดเห็น