วานนี้(8 ม.ค.56) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.... พร้อมนำความเห็นของกระทรวงการคลังที่ปรับลดค่าวงเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประธาน กสทช. และรองประธาน กสทช. ตามที่ กสทช.เสนอขอค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือนของประธาน กสทช. รวมทั้งสิ้น 398,297.50 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังปรับลดลงเหลือ 335,850 บาท ส่วนค่าตอบแทนเหมาจ่ายของรองประธาน กสทช. ทาง กสทช.เสนอมารวมทั้งสิ้น 394,181.66 บาท ซึ่งกระทรวงการคลังปรับลดลงเหลือ 269,000บาท
นพ.ทศพร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว แต่ให้เทียบเคียงกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทั้งอัตราค่าตอบแทนแบบเหมาจ่ายรายเดือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ การพ้นตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเต็มเวลาเช่นเดียวกัน อีกทั้งค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็มีอัตราใกล้เคียงกัน ที่ประชุมจึงเห็นว่าทาง กสทช. เสนอวงเงินมาในราคาที่สูงมาก ดังนั้นจึงให้กระทรวงการคลังปรับลดลงพร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำไปตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว สำนักงาน กสทช.ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุม ครม.พิจารณามาแล้ว 3 ครั้ง แต่ที่ประชุม ครม.ส่งเรื่องต่อไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เนื่องจากการนำเสนอเพื่อขออนุมัติค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของกรรมการสูงเกินไป โดยเป็นการกำหนดโดยใช้อำนาจประธานเพียงลำพัง เช่น กำหนดให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ สามารถเบิกค่าเดินทางโดยเครื่องบินชั้นหนึ่ง แต่หากใช้บริการชั้นประหยัดก็สามารถเบิกชั้นหนึ่งได้ นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. เห็นว่า กสทช.ไม่ควรกำหนดค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่เทียบเท่านายกรัฐมนตรี แต่ควรเทียบเท่ากับ กกพ. เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่คุณสมบัติ การพ้นจากตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเต็มเวลาเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ กสทช.นำเสนอรวมค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน ประธาน กสทช. ได้รับ 398,300 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นเงินเดือน 64,890 บาท เงินประจำตำแหน่ง 45,500 บาท ค่าตอบแทนพิเศษจากผลการปฏิบัติงาน 280,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายจริงหรือการประกันสุขภาพ 30,000 บาท บำเหน็จตอบแทน บำเหน็จตอบแทนคำนวณจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันสิ้นสุดจากการปฏิบัติหน้าที่คูณด้วยอัตราเงินเดือน 64,890/12 เท่ากับ 5,407 บาท และให้ได้รับค่าเดินทางอัตราเดียวกับนายกรัฐมนตรี ในขณะที่กระทรวงการคลัง เห็นว่าค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน ควรอยู่ที่ 335,850 บาท แบ่งเป็นเงินเดือน 250,000 บาท ผลประโยชน์อื่น 62,500 บาท ค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท และบำเหน็จตอบแทนคำนวณจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันสิ้นสุดจากการปฏิบัติหน้าที่คูณด้วยอัตราเงินเดือน 250,000 บาท/12 เท่ากับ 20,833 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ใช้เวลาการหารือในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างนาน โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ แสดงความไม่พอใจและให้ความเห็นว่า ตัวเลขค่าตอบแทนของประธานกรรมการกสทช.ที่ให้เบิกจ่ายนั้นสูงเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจสูงสุดของประเทศ คือ อำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่ง กสทช.เป็นเพียงองค์กรอิสระ แต่กลับตั้งค่าตอบแทนไว้สูงเทียบเท่านายกฯ
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์หลักเกณฑ์ดังกล่าวมาตลอดที่มีการพิจารณาวาระนี้ใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็ได้แสดงความคิดเห็นในครั้งนี้เช่นกันโดยระบุว่า ในส่วนของรองประธาน กสทช.เอง ได้มีการตั้งงบเบิกจ่ายเท่ากับของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งที่ควรจะอยู่ในระดับเดียวกับปลัดหรือรองปลัดเท่านั้น ทำให้ ครม.ลงความเห็นว่าควรให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ กพพ.
นพ.ทศพร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว แต่ให้เทียบเคียงกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทั้งอัตราค่าตอบแทนแบบเหมาจ่ายรายเดือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ คุณสมบัติ การพ้นตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเต็มเวลาเช่นเดียวกัน อีกทั้งค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับก็มีอัตราใกล้เคียงกัน ที่ประชุมจึงเห็นว่าทาง กสทช. เสนอวงเงินมาในราคาที่สูงมาก ดังนั้นจึงให้กระทรวงการคลังปรับลดลงพร้อมให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำไปตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว สำนักงาน กสทช.ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุม ครม.พิจารณามาแล้ว 3 ครั้ง แต่ที่ประชุม ครม.ส่งเรื่องต่อไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เนื่องจากการนำเสนอเพื่อขออนุมัติค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของกรรมการสูงเกินไป โดยเป็นการกำหนดโดยใช้อำนาจประธานเพียงลำพัง เช่น กำหนดให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ สามารถเบิกค่าเดินทางโดยเครื่องบินชั้นหนึ่ง แต่หากใช้บริการชั้นประหยัดก็สามารถเบิกชั้นหนึ่งได้ นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. เห็นว่า กสทช.ไม่ควรกำหนดค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่เทียบเท่านายกรัฐมนตรี แต่ควรเทียบเท่ากับ กกพ. เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่คุณสมบัติ การพ้นจากตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเต็มเวลาเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ กสทช.นำเสนอรวมค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน ประธาน กสทช. ได้รับ 398,300 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นเงินเดือน 64,890 บาท เงินประจำตำแหน่ง 45,500 บาท ค่าตอบแทนพิเศษจากผลการปฏิบัติงาน 280,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายจริงหรือการประกันสุขภาพ 30,000 บาท บำเหน็จตอบแทน บำเหน็จตอบแทนคำนวณจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันสิ้นสุดจากการปฏิบัติหน้าที่คูณด้วยอัตราเงินเดือน 64,890/12 เท่ากับ 5,407 บาท และให้ได้รับค่าเดินทางอัตราเดียวกับนายกรัฐมนตรี ในขณะที่กระทรวงการคลัง เห็นว่าค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน ควรอยู่ที่ 335,850 บาท แบ่งเป็นเงินเดือน 250,000 บาท ผลประโยชน์อื่น 62,500 บาท ค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท และบำเหน็จตอบแทนคำนวณจากระยะเวลาดำรงตำแหน่งจนถึงวันสิ้นสุดจากการปฏิบัติหน้าที่คูณด้วยอัตราเงินเดือน 250,000 บาท/12 เท่ากับ 20,833 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ใช้เวลาการหารือในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างนาน โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ แสดงความไม่พอใจและให้ความเห็นว่า ตัวเลขค่าตอบแทนของประธานกรรมการกสทช.ที่ให้เบิกจ่ายนั้นสูงเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจสูงสุดของประเทศ คือ อำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่ง กสทช.เป็นเพียงองค์กรอิสระ แต่กลับตั้งค่าตอบแทนไว้สูงเทียบเท่านายกฯ
นอกจากนี้ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเคยตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์หลักเกณฑ์ดังกล่าวมาตลอดที่มีการพิจารณาวาระนี้ใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ก็ได้แสดงความคิดเห็นในครั้งนี้เช่นกันโดยระบุว่า ในส่วนของรองประธาน กสทช.เอง ได้มีการตั้งงบเบิกจ่ายเท่ากับของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ทั้งที่ควรจะอยู่ในระดับเดียวกับปลัดหรือรองปลัดเท่านั้น ทำให้ ครม.ลงความเห็นว่าควรให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ กพพ.