ปตท.ลุ้นไทยเป็น “ไบโอพลาสติก ฮับ”ในปี 58 กล่อมเนเชอร์เวิร์คส์ตั้งโรงงานผลิตPLA แห่งที่ 2 ในไทย หลังครม.ส่งสัญญาณสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าว สั่งคลังหาช่องจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับการลงทุนด้านไบโอพลาสติก
วานนี้ (24 ม.ค.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) และ กลุ่ม ปตท. จัดประชุมสัมมนา
และงานแสดงนิทรรศการนานาชาติด้านพลาสติกชีวภาพ: InnoBioPlast 2013 โดยมี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน เพื่อแลกเปลี่ยน
ความรู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มปตท.ตั้งเป้าหมายผลักดันให้ไทยจะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (ไบ
โอพลาสติก ฮับ) ในปลายปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPBS และโรงงานพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก
แต่ก็ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมจากภาครัฐด้วย เนื่องจากขณะนี้ทางเนเชอร์เวิร์คส์ ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPLA ของสหรัฐฯ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าเลือกตั้งโรงงานผลิต
พลาสติกชีวภาพชนิด PLA ที่ไทยหรืประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หลังจากมาเลเซียมีนโยบายอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง และวัตถุดิบ คือน้ำตาล เป็นเวลา 3ปี และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 10ปี แต่ไทยก็มี
จุดแข็งที่สำคัญทั้งด้านวัตถุดิบ คือน้ำตาล ที่ไทยกำลังการผลิตเพียงพอและส่งออกถึงปีละ 5-6 ล้านตัน และบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ก็เป็นผู้ถือหุ้นในเนเชอร์เวิร์คส์ 50% ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.)ได้มีการเสนอมาตรการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าวในไทยอย่างเร่งด่วน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติให้กระทรวง
พลังงานเป็นเจ้าภาพในการหารือร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง พาณิชย์ เกษตร และอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและภาพรวม มอบหมายให้คลังออกมาตรการช่วยเหลือตามข้อเสนอของ
ภาคเอกชนที่ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำประมาณ 2%ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทยเป็นเวลาต่อเนื่อง 8 ปีหรือคิดเป็นวงเงิน 8 พันล้านบาท เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้นได้โดยยืนยันว่านโยบายเงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำนี้จะให้กับทุกบริษัทที่สนใจลงทุนไบโอพลาสติก รวมทั้งไปโครงการต่อเนื่องด้วย ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มปตท. ขณะเดียวกันได้เจรจากับบีโอไอเพื่อให้คงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี 8ปีกับอุตสาหกรรมไบโอพลาสติก
ด้วย
ทั้งนี้ ปตท.ได้ร่วมทุนกับมิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ตั้งบริษัทร่วมทุนพีทีที เอ็มซีซี เพื่อโรงงานผลิต PBS กำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปีในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จ.ระยอง ใช้เงินลงทุน 230 ล้านเหรียญสหรัฐคาด
ว่าจะแล้วเสร็จใน 2ปีข้างหน้า ขณะเดียวกัน PTTGCเข้าไปถือหุ้นในเนเชอร์เวิร์คส์ ที่สหรัฐฯ และมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตPLA แห่งที่ 2 ในไทย กำลังผลิตเฟสแรก 7.5 หมื่นตัน ใช้เงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท แต่
ทั้งนี้รัฐบาลไทยจะต้องมีมาตรการส่งเสริมด้วยเพื่อดึงดูดไม่ให้โครงการนี้ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า นับเป็นก้าวย่างสำคัญของไทยในการผลักดันการใช้พืชอาหารไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอพลาสติก ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
ปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาขยะ โดยภาคธุรกิจต้องการความนโยบายที่ชัดเจนหรือวิสัยทัศน์จากภาครัฐเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ไบโอพลาสติกในประเทศ และความมั่นคงด้านวัตถุดิบที่ประกันได้ว่ามีเพียงพอต่อเนื่องและราคาไม่ผันผวน ส่วนความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
วานนี้ (24 ม.ค.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) และ กลุ่ม ปตท. จัดประชุมสัมมนา
และงานแสดงนิทรรศการนานาชาติด้านพลาสติกชีวภาพ: InnoBioPlast 2013 โดยมี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน เพื่อแลกเปลี่ยน
ความรู้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มปตท.ตั้งเป้าหมายผลักดันให้ไทยจะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (ไบ
โอพลาสติก ฮับ) ในปลายปี 2558 เนื่องจากเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีทั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPBS และโรงงานพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติก
แต่ก็ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมจากภาครัฐด้วย เนื่องจากขณะนี้ทางเนเชอร์เวิร์คส์ ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพชนิดPLA ของสหรัฐฯ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าเลือกตั้งโรงงานผลิต
พลาสติกชีวภาพชนิด PLA ที่ไทยหรืประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หลังจากมาเลเซียมีนโยบายอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง และวัตถุดิบ คือน้ำตาล เป็นเวลา 3ปี และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 10ปี แต่ไทยก็มี
จุดแข็งที่สำคัญทั้งด้านวัตถุดิบ คือน้ำตาล ที่ไทยกำลังการผลิตเพียงพอและส่งออกถึงปีละ 5-6 ล้านตัน และบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ก็เป็นผู้ถือหุ้นในเนเชอร์เวิร์คส์ 50% ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.)ได้มีการเสนอมาตรการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าวในไทยอย่างเร่งด่วน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติให้กระทรวง
พลังงานเป็นเจ้าภาพในการหารือร่วมกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการคลัง พาณิชย์ เกษตร และอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและภาพรวม มอบหมายให้คลังออกมาตรการช่วยเหลือตามข้อเสนอของ
ภาคเอกชนที่ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำประมาณ 2%ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในไทยเป็นเวลาต่อเนื่อง 8 ปีหรือคิดเป็นวงเงิน 8 พันล้านบาท เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้นได้โดยยืนยันว่านโยบายเงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำนี้จะให้กับทุกบริษัทที่สนใจลงทุนไบโอพลาสติก รวมทั้งไปโครงการต่อเนื่องด้วย ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มปตท. ขณะเดียวกันได้เจรจากับบีโอไอเพื่อให้คงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี 8ปีกับอุตสาหกรรมไบโอพลาสติก
ด้วย
ทั้งนี้ ปตท.ได้ร่วมทุนกับมิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ตั้งบริษัทร่วมทุนพีทีที เอ็มซีซี เพื่อโรงงานผลิต PBS กำลังการผลิต 2 หมื่นตัน/ปีในนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จ.ระยอง ใช้เงินลงทุน 230 ล้านเหรียญสหรัฐคาด
ว่าจะแล้วเสร็จใน 2ปีข้างหน้า ขณะเดียวกัน PTTGCเข้าไปถือหุ้นในเนเชอร์เวิร์คส์ ที่สหรัฐฯ และมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตPLA แห่งที่ 2 ในไทย กำลังผลิตเฟสแรก 7.5 หมื่นตัน ใช้เงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท แต่
ทั้งนี้รัฐบาลไทยจะต้องมีมาตรการส่งเสริมด้วยเพื่อดึงดูดไม่ให้โครงการนี้ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า นับเป็นก้าวย่างสำคัญของไทยในการผลักดันการใช้พืชอาหารไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอพลาสติก ทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
ปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาขยะ โดยภาคธุรกิจต้องการความนโยบายที่ชัดเจนหรือวิสัยทัศน์จากภาครัฐเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ไบโอพลาสติกในประเทศ และความมั่นคงด้านวัตถุดิบที่ประกันได้ว่ามีเพียงพอต่อเนื่องและราคาไม่ผันผวน ส่วนความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนการผลิตนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น