ก้าวสำคัญของการปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในส่วนบนที่เป็นภาคการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ หรือเทคโนแครต หากอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในตัวประชาชนที่เป็นฐานการเคลื่อนไหวในการสถาปนาความเป็นธรรมและเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมต่างหาก เหตุนี้การแสวงหาทางออกจากความอยุติธรรมและเหลื่อมล้ำในสังคมท่ามกลางบรรยากาศเปลี่ยนผ่านด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อันมีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นตัวกระตุ้นความรุนแรงนั้น จึงเรียกร้องกระบวนการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางของประชาชนในการรังสรรค์พื้นที่สาธารณะร่วมกันเพื่อจะขับเคลื่อนความปรารถนาของตนเองในฐานะประชาชนคนหนึ่งให้เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ การเปลี่ยนประเทศไทยที่ทวีคูณความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นขัดแย้งอยู่ร่วมกันไม่ได้นั้นคงจะทำไม่ได้ในระดับของการสร้างเอกภาพเหมือนแต่ก่อนที่มีความพยายามผสานความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว (diversity in unity) ในนามของความสมัครสมานสามัคคีหรือสมานฉันท์ปรองดอง ด้วยเพราะแนวทางการเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมอย่างยั่งยืนคือการเปิดโอกาสให้ความแตกต่างหลากหลายด้านผลประโยชน์ อุดมการณ์ และทัศนะได้แสดงออกผ่านกระบวนการพูดคุย อภิปราย ปรึกษาหารือ และเจรจาต่อรองผลประโยชน์ร่วมกันบนพื้นที่สาธารณะ (public sphere) มากกว่า เพราะนอกจากจะลดความรุนแรงในการออกมาเคลื่อนพลบนท้องถนนของผู้คนที่ถูกกระทบจากการดำเนินนโยบายสาธารณะเพื่อเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม-ธรรมชาติได้แล้ว ยังเป็นปฏิบัติการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับทุกเสียง (voice) นอกเหนือไปจากช่วงเวลาการเลือกตั้งด้วย
การร่วมมือกันปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมผ่านการกำหนดนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนนั้น นอกจากจะทำให้อำนาจผูกขาดในการกำหนดนโยบายของกลุ่มกุมอำนาจตามตำแหน่งลดลงแล้ว ยังทำให้ประชาชนไม่ต้องสยบยอมอยู่ใต้อำนาจอยุติธรรมเชิงโครงสร้างซึ่งถูกกุมกลไกโดยกลุ่มชนชั้นนำ (elite) ที่ตกลงแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างคึกคักบนความสูญเสียของประชาชนจนเกิดความเหลื่อมล้ำทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจนยากจะยอมรับได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนจนและเปราะบางทางสังคมที่ถูกความอยุติธรรมทำร้ายและเอารัดอาเปรียบเรื่อยมาผ่านการตรากฎหมายและนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของพวกเขา กลายเป็นหลักฐาน (evidence-based) มากมายเกินกว่าจัดเก็บไหว และไม่ว่าจะศึกษาด้วยทฤษฎีใดหรือทำซ้ำ (replicable) ด้วยวิธีการใดก็จะได้ผลไม่ต่างกันคือจะพบว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างคนรวยกับจน
ข้อมูลหลักฐานด้านความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมจากการศึกษาของสถาบันต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และองค์กรสาธารณประโยชน์ ตลอดจนประชาชนที่เข้าร่วมในเวทีปฏิรูปประเทศไทยทั้งในระดับชาติและพื้นที่ รวมถึงการสัมผัสได้ด้วยตนเองจากการเห็นสายตาของประชาชนผู้ทุกข์ยากอันเนื่องมาจากการพัฒนาแบบสุดโต่งที่ไม่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นป้ายบอกทางหรือสัญญาณเตือนภัยว่าประเทศไทยจะไปถึงความเท่าเทียมและเป็นธรรมไม่ได้ตราบใดไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างสังคมโดยการปรับสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ใหม่ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองของประชาชนโดยการก้าวสู่ตลาดนโยบายสาธารณะเพื่อเป็น ‘พลังพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย’ ที่จะใช้ความปรารถนาของตนเองมาขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมด้วย
ทวิลักษณ์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของโครงสร้างสังคมที่มีต่อมนุษย์ (structure) กับเจตจำนงหรือความปรารถนาของมนุษย์ในฐานะของผู้กระทำการ (agency) จึงเป็น ‘ความท้าทาย’ ของสังคมไทยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการช่วงชิงอำนาจนำทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเก่ากับใหม่เช่นนี้ ซึ่งถึงที่สุดเพื่อผ่านพ้นห้วงยามวิกฤตการณ์นี้ไปได้โดยสันติก็มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่จะต้องคลี่คลายตนเองออกจากเงื่อนไขแวดล้อมที่จำกัดศักยภาพตัวเองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการถอนตัวตนออกจากสังกัดพรรคการเมืองหรือขบวนการทางการเมืองที่ตีค่าชีวิตประชาชนเป็นแค่เครื่องมือเข้าสู่อำนาจหรือเพียงไพร่พลในสมรภูมิแย่งชิงอำนาจที่ถูกวาดภาพด้านบวกว่าเป็นอำนาจใหม่ ในขณะที่อีกด้านก็ต้องต่อต้านทัศนะและอุดมการณ์ที่ลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนที่ถูกเหมารวมว่าคืออำนาจเก่าด้วย
ด้วยประชาชนมีศักยภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมตามความปรารถนาของตนเอง เพียงแต่ต้องลงมือปฏิบัติการ (practice) และคิดอย่างวิพากษ์ (critical thinking) เพื่อที่จะสามารถสลัดมายาคติต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยโดยเฉพาะผลพวงของนโยบายประชานิยม (populism) ที่กำลังกร่อนโครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบันนี้ เพราะด้านหนึ่งถึงได้ใจประชาชนแต่ทว่าก็มีอีกกลุ่มไม่พึงพอใจและบางส่วนเสนอให้แก้ไขเพื่อจะได้คลี่คลายปัญหาเชิงโครงสร้างได้ แม้ว่าในท้ายสุดจะถูกผลักไปอยู่อีกข้างทางการเมืองเนื่องจากมองเป็นความขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม
การเปลี่ยนประเทศไทยจึงมาจากความปรารถนาหรือเจตจำนงของประชาชนมากกว่าเจตจำนงทางการเมือง (political will) ของกลุ่มอำนาจ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าย่อมมีความแตกต่างตามมา ทว่าภายใต้ความหลากหลายแตกต่างที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานของมุมมองส่วนตัว (subjective) และกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) นั้นก็มี ‘ความเท่าเทียมเป็นธรรม’ เป็นหมุดยึดโยงความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้นเข้าด้วยกันได้ ดังเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติสองครั้งที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึงในกลางปีนี้ที่ได้หลอมรวมผู้คนที่แตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกันโดยใช้ ‘หมุดความเท่าเทียมและเป็นธรรม’ ยึดโยงอย่างแนบแน่น เปรียบประดุจแม่น้ำสายหลักที่แตกแขนงแยกย่อยสายธารความเป็นธรรมออกไปอีกมากมาย
ภายในการประชุมปีแรก 2554 ได้แตกแขนงสายธารด้าน 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม 5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ
6) การสร้างสังคมไทยที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม
ปีที่สอง 2555 กับการขยายสายธารความเป็นธรรมและเท่าเทียมที่กว้างขวางมากขึ้นด้าน 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ: การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : ความมั่นคงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ
และปีที่สาม 2556 นี้อย่างน้อยก็แยกย่อยเป็นสายธารการปฏิรูปประเทศไทยในด้าน 1) ธรรมนูญภาคประชาชน 2) การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 3) การปฏิรูประบบพลังงานหมุนเวียน : ความเป็นธรรม สิทธิ และการเข้าถึง 4) การปฏิรูปสื่อ 5) การพัฒนาศักยภาพ : กลไกการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย และ 6) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
สายธารการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมทั้งสองปีที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายนนี้ จะเป็นทางออกของสังคมไทยที่ถูกวิกฤตความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมถั่งโถมได้ โดยลำธารแต่ละสายก็มีทางเดินและทำนบอุปสรรคข้อจำกัดแตกต่างกันไป แต่ที่ไม่ต่างกันก็คือต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางและเข้มข้นของภาคประชาชนเหมือนๆ กัน
การสืบสานสายธารการปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืนจึงขึ้นกับปฏิบัติการของประชาชนในการเปลี่ยนตนเองด้วยแนวคิดแบบวิพากษ์เป็นอย่างน้อย โดยระหว่างนั้นก็ต้องเชื่อมร้อยตนเองเข้ากับการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมในเวทีสาธารณะต่างๆ ด้วย เพราะประชาชนเป็นพลังทั้งทางสังคมและการเมืองในการเปลี่ยนประเทศไทยที่แท้จริง เนื่องจากไม่มีวันที่ต้นธารการเปลี่ยนแปลงจะเกิดในส่วนบนหรือต้นน้ำที่เป็นภาคการเมือง ข้าราชการ หรือกระทั่งเทคโนแครตและนักวิชาการ เพราะ ‘น้ำไม่ไหลจากต่ำไปสูงฉันใด กลุ่มกุมอำนาจและทรัพยากรก็ไม่คายอำนาจและทรัพยากรฉันนั้น’
ทั้งนี้ การเปลี่ยนประเทศไทยที่ทวีคูณความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นขัดแย้งอยู่ร่วมกันไม่ได้นั้นคงจะทำไม่ได้ในระดับของการสร้างเอกภาพเหมือนแต่ก่อนที่มีความพยายามผสานความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว (diversity in unity) ในนามของความสมัครสมานสามัคคีหรือสมานฉันท์ปรองดอง ด้วยเพราะแนวทางการเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมอย่างยั่งยืนคือการเปิดโอกาสให้ความแตกต่างหลากหลายด้านผลประโยชน์ อุดมการณ์ และทัศนะได้แสดงออกผ่านกระบวนการพูดคุย อภิปราย ปรึกษาหารือ และเจรจาต่อรองผลประโยชน์ร่วมกันบนพื้นที่สาธารณะ (public sphere) มากกว่า เพราะนอกจากจะลดความรุนแรงในการออกมาเคลื่อนพลบนท้องถนนของผู้คนที่ถูกกระทบจากการดำเนินนโยบายสาธารณะเพื่อเรียกร้องสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม-ธรรมชาติได้แล้ว ยังเป็นปฏิบัติการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับทุกเสียง (voice) นอกเหนือไปจากช่วงเวลาการเลือกตั้งด้วย
การร่วมมือกันปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมผ่านการกำหนดนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนนั้น นอกจากจะทำให้อำนาจผูกขาดในการกำหนดนโยบายของกลุ่มกุมอำนาจตามตำแหน่งลดลงแล้ว ยังทำให้ประชาชนไม่ต้องสยบยอมอยู่ใต้อำนาจอยุติธรรมเชิงโครงสร้างซึ่งถูกกุมกลไกโดยกลุ่มชนชั้นนำ (elite) ที่ตกลงแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างคึกคักบนความสูญเสียของประชาชนจนเกิดความเหลื่อมล้ำทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจนยากจะยอมรับได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนจนและเปราะบางทางสังคมที่ถูกความอยุติธรรมทำร้ายและเอารัดอาเปรียบเรื่อยมาผ่านการตรากฎหมายและนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ละเมิดและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของพวกเขา กลายเป็นหลักฐาน (evidence-based) มากมายเกินกว่าจัดเก็บไหว และไม่ว่าจะศึกษาด้วยทฤษฎีใดหรือทำซ้ำ (replicable) ด้วยวิธีการใดก็จะได้ผลไม่ต่างกันคือจะพบว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างคนรวยกับจน
ข้อมูลหลักฐานด้านความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมจากการศึกษาของสถาบันต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และองค์กรสาธารณประโยชน์ ตลอดจนประชาชนที่เข้าร่วมในเวทีปฏิรูปประเทศไทยทั้งในระดับชาติและพื้นที่ รวมถึงการสัมผัสได้ด้วยตนเองจากการเห็นสายตาของประชาชนผู้ทุกข์ยากอันเนื่องมาจากการพัฒนาแบบสุดโต่งที่ไม่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นป้ายบอกทางหรือสัญญาณเตือนภัยว่าประเทศไทยจะไปถึงความเท่าเทียมและเป็นธรรมไม่ได้ตราบใดไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างสังคมโดยการปรับสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ใหม่ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองของประชาชนโดยการก้าวสู่ตลาดนโยบายสาธารณะเพื่อเป็น ‘พลังพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย’ ที่จะใช้ความปรารถนาของตนเองมาขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมด้วย
ทวิลักษณ์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของโครงสร้างสังคมที่มีต่อมนุษย์ (structure) กับเจตจำนงหรือความปรารถนาของมนุษย์ในฐานะของผู้กระทำการ (agency) จึงเป็น ‘ความท้าทาย’ ของสังคมไทยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการช่วงชิงอำนาจนำทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเก่ากับใหม่เช่นนี้ ซึ่งถึงที่สุดเพื่อผ่านพ้นห้วงยามวิกฤตการณ์นี้ไปได้โดยสันติก็มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่จะต้องคลี่คลายตนเองออกจากเงื่อนไขแวดล้อมที่จำกัดศักยภาพตัวเองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการถอนตัวตนออกจากสังกัดพรรคการเมืองหรือขบวนการทางการเมืองที่ตีค่าชีวิตประชาชนเป็นแค่เครื่องมือเข้าสู่อำนาจหรือเพียงไพร่พลในสมรภูมิแย่งชิงอำนาจที่ถูกวาดภาพด้านบวกว่าเป็นอำนาจใหม่ ในขณะที่อีกด้านก็ต้องต่อต้านทัศนะและอุดมการณ์ที่ลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนที่ถูกเหมารวมว่าคืออำนาจเก่าด้วย
ด้วยประชาชนมีศักยภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมตามความปรารถนาของตนเอง เพียงแต่ต้องลงมือปฏิบัติการ (practice) และคิดอย่างวิพากษ์ (critical thinking) เพื่อที่จะสามารถสลัดมายาคติต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยโดยเฉพาะผลพวงของนโยบายประชานิยม (populism) ที่กำลังกร่อนโครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบันนี้ เพราะด้านหนึ่งถึงได้ใจประชาชนแต่ทว่าก็มีอีกกลุ่มไม่พึงพอใจและบางส่วนเสนอให้แก้ไขเพื่อจะได้คลี่คลายปัญหาเชิงโครงสร้างได้ แม้ว่าในท้ายสุดจะถูกผลักไปอยู่อีกข้างทางการเมืองเนื่องจากมองเป็นความขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม
การเปลี่ยนประเทศไทยจึงมาจากความปรารถนาหรือเจตจำนงของประชาชนมากกว่าเจตจำนงทางการเมือง (political will) ของกลุ่มอำนาจ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าย่อมมีความแตกต่างตามมา ทว่าภายใต้ความหลากหลายแตกต่างที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานของมุมมองส่วนตัว (subjective) และกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) นั้นก็มี ‘ความเท่าเทียมเป็นธรรม’ เป็นหมุดยึดโยงความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้นเข้าด้วยกันได้ ดังเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติสองครั้งที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึงในกลางปีนี้ที่ได้หลอมรวมผู้คนที่แตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกันโดยใช้ ‘หมุดความเท่าเทียมและเป็นธรรม’ ยึดโยงอย่างแนบแน่น เปรียบประดุจแม่น้ำสายหลักที่แตกแขนงแยกย่อยสายธารความเป็นธรรมออกไปอีกมากมาย
ภายในการประชุมปีแรก 2554 ได้แตกแขนงสายธารด้าน 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม 5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ
6) การสร้างสังคมไทยที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม
ปีที่สอง 2555 กับการขยายสายธารความเป็นธรรมและเท่าเทียมที่กว้างขวางมากขึ้นด้าน 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ: การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้างและการคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกลางกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : ความมั่นคงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตเกษตรกร 4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ
และปีที่สาม 2556 นี้อย่างน้อยก็แยกย่อยเป็นสายธารการปฏิรูปประเทศไทยในด้าน 1) ธรรมนูญภาคประชาชน 2) การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 3) การปฏิรูประบบพลังงานหมุนเวียน : ความเป็นธรรม สิทธิ และการเข้าถึง 4) การปฏิรูปสื่อ 5) การพัฒนาศักยภาพ : กลไกการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคมไทย และ 6) การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบมีส่วนร่วมและบูรณาการ
สายธารการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมทั้งสองปีที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายนนี้ จะเป็นทางออกของสังคมไทยที่ถูกวิกฤตความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมถั่งโถมได้ โดยลำธารแต่ละสายก็มีทางเดินและทำนบอุปสรรคข้อจำกัดแตกต่างกันไป แต่ที่ไม่ต่างกันก็คือต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางและเข้มข้นของภาคประชาชนเหมือนๆ กัน
การสืบสานสายธารการปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืนจึงขึ้นกับปฏิบัติการของประชาชนในการเปลี่ยนตนเองด้วยแนวคิดแบบวิพากษ์เป็นอย่างน้อย โดยระหว่างนั้นก็ต้องเชื่อมร้อยตนเองเข้ากับการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมในเวทีสาธารณะต่างๆ ด้วย เพราะประชาชนเป็นพลังทั้งทางสังคมและการเมืองในการเปลี่ยนประเทศไทยที่แท้จริง เนื่องจากไม่มีวันที่ต้นธารการเปลี่ยนแปลงจะเกิดในส่วนบนหรือต้นน้ำที่เป็นภาคการเมือง ข้าราชการ หรือกระทั่งเทคโนแครตและนักวิชาการ เพราะ ‘น้ำไม่ไหลจากต่ำไปสูงฉันใด กลุ่มกุมอำนาจและทรัพยากรก็ไม่คายอำนาจและทรัพยากรฉันนั้น’