xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มกรีนยื่นกมธ.วุฒิฯ สอบ กสทช.ปล่อยผีไทยคม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้(21 ม.ค.56) ที่รัฐสภา นายจาตุรันต์ บุญเบญจรัตน์ ผู้ช่วยประสานงานกลุ่มกรีน เดินทางมายื่นหนังสือกับ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เพื่อเรียกร้องให้กรรมาธิการตรวจสอบกรณีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้กับ บริษัทไทยคม (จำกัด) ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ฯงกรณีคณะกรรมการกำกับกิจการกระสายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) โดยบอร์ดฝ่าย กทค. หรือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ออกใบอนุญาตประกิจการดาวเทียมให้กับบริษัท ไทยคม (จำกัด) มีข้อน่าเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ เช่น ไม่มีการประมูล โดย กทค.อ้างว่าดาวเทียมเป็นวัตถุที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าเกินกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าโคจรอยู่นอกเหนือเขตอธิปไตยของไทย และถือเป็นหน้าที่ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ในการกำกับดูแลกฎระเบียบเกี่ยวกับดาวเทียม ด้วยเหตุนี้จึงไม่เข้าลักษณะตามความมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
ประเด็นปัญหาคือ ถ้า กทค. ตีความว่าดาวเทียมโคจรอยู่นอกเหนืออธิปไตยของชาติใดชาติหนึ่งและทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในประเทศนั้นๆ ได้ ก็เท่ากับว่าจะไม่มีชาติใดมีสิทธิมีอำนาจในการกำกับดูแลการให้บริการดาวเทียมของตนได้เลย ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริงยืนยันว่าสหรัฐฯ และบราซิลก็เคยมีการเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียม ฉะนั้น ถือว่าตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็นวงโคจร 120 หรือ 50.5องศาตะวันออก ถือเป็นสิทธิของประเทศไทยที่ได้รับการจัดสรรจาก ITU จึงถือเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยที่จะจัดการกับวงโคจรดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ การตีความของ กทค.แบบนี้เปิดช่องให้กิจการดาวเทียมของชาติตกไปอยู่ในมือเอกชนหรือกลุ่มทุน จนล่อแหลมต่อความมั่นคงของประเทศในระยะยาวด้วย เพราะกิจการดาวเทียมสำคัญต่อปัญหาความมั่นคงและปัญหาทรัพยากรของโลกด้วย
นอกจากนี้ การบอกใบอนูญาตครั้งนี้ทำแบบรวบรัดตัดตอน ลุกลี้ลุกลนผิดปกติ ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นกับองค์กรอย่าง กสทช. เพราะที่ประชุมบอร์ดฝ่าย กทค.ออกใบอนุญาตให้กับบริษัทไทยคม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 255 ได้อนุมัติออกใบอณุญาตให้กับบริษัทไทยคม ทั้งที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมยังอยู่ในขั้นตอนการยกร่างเท่านั้น ทำให้กิจการดาวเทียมของชาติเกิดการผูกขาดไปอีกอย่างน้อย 20 ปี ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ต่างจากกรณีการเปิดประมูล 3G ที่ยังคาราคาซังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ หรืออาจจะเลวร้ายกว่าด้วยซ้ำเพราะไม่มีการประมูลเป็นการประเคนใบอนุญาติให้บริษัท ไทยคม (จำกัด) ไปแบบง่ายๆ
ทั้งนี้ ทางกลุ่มกรีนกำลังรวบรวมเอกสารและปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เพื่อยื่นร้องให้คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล ของวฺฒิสภา เรียก กสทช.มาชี้แจง หากไม่มีความชัดเจนจะร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้พิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากิจการดาวเทียมเป็นกิจการที่ใช้คลื่นความถี่หรือไม่ เพราะถ้าเป็นคลื่นความถี่ต้องจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต นอกจากนี้หากพบพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น
ด้านน.ส.สุมล กล่าวว่า กทค.ยังมีกรณีการเปิดประมูล 3G ที่ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ และยังมีกรณีนี้เกิดขึ้นอีก หากดูจากข้อมูลที่ทางกลุ่มกรีนได้ยื่นมาแต่ยังไม่ได้ตรวจสอบก็จะพบว่า เหตุใดทาง กทค.จึงไม่มีเปิดประมูล เพราะดาวเทียมเป็นวัตถุที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าเกินกว่า 100 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าโคจรอยู่นอกเหนือเขตอธิปไตยของไทย แต่ทำไมถึงสามารถออกใบอนุญาตประกิจการดาวเทียมให้กับบริษัท ไทยคม (จำกัด)ได้ จึงจะต้องมีการเชิญ กทค.เข้ามาชี้แจงเรื่องนี้อย่างแน่นอน
ด้านน.ส.รสนา กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวจะมีการตรวจสอบต่อไป เพราะมีประเด็นคือ 1. ไม่มีการเปิดประมูลอย่างเท่าเทียม และ อายุสัญญา 20 ปี ที่ให้แก่ บริษัท ไทยคม (จำกัด)นั้นเป็นอายุเวลาที่อาจจะก่อให้เกิดการผู้ขาดได้ เพราะอายุสัญญาของดาวเทียมปกติจะอยู่ที่ 15 ปีเท่านั้น
กำลังโหลดความคิดเห็น