หลักเกณฑ์ข้อแรกในการเลือกคนเข้าทำงานก็คือ เอาลักษณะงานมาตั้ง และเอาคุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกมาเทียบ และหากพบบุคคลใดมีคุณสมบัติสอดคล้องกับลักษณะงานมากที่สุด บุคคลนั้นก็จะได้รับเลือกเพื่อบรรจุเข้าทำงาน และหลักเกณฑ์ที่ว่านี้จะสอดคล้องกับของฝรั่งที่ว่า วางคนให้ถูกกับงาน (Put the right man on the right job) นั่นเอง
การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยยึดหลักเกณฑ์นี้เรียกว่า ระบบคุณธรรม ซึ่งยึดถือปฏิบัติทั่วไปในนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เจริญแล้ว ส่วนในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยด้วย ถึงแม้การคัดเลือกบุคคลจะใช้ระบบคุณธรรมในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัยก็ยังมีเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวก ฝากฝังกันเข้ามา หรือที่เรียกว่าระบบอุปถัมภ์ และระบบนี้ก็คือ เอาคนมาตั้ง และหางานให้ทำเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคคล ทำให้องค์กรไม่ได้บุคลากรที่ตรงกับลักษณะงาน หรือตรงกับลักษณะงาน แต่อาจมีความรู้ความสามารถด้อยกว่างาน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาคนล้นงาน ทั้งล้นงานจริงคือคนมากกว่างาน หรือล้นงานแอบแฝง คือคนมิได้มากกว่างานแต่ความสามารถด้อยกว่าลักษณะงาน จึงทำให้ใช้คนจำนวนมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่ก็ใช้เวลามากกว่าปกติที่ควรจะเป็น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยผลิตสูงกว่าความเป็นจริง และปัญหาคนล้นงานจะพบในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน
ดังนั้น ถ้าจะเลือกคนเข้าทำงานให้ได้ผลมากที่สุด ก็ควรจะยึดหลักระบบคุณธรรมคือเอางานมาวาง แล้วเอาคุณสมบัติของบุคคลมาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกันมากที่สุดแล้วค่อยเลือก
ในเดือนมีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้ ชาว กทม.จะต้องทำหน้าที่เลือกคนที่จะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง และในครั้งนี้คงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างดุเดือดระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หรืออาจยิ่งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเพิ่งจะลาออกเพื่อวางแผนลงสู้ศึกในครั้งนี้อย่างเต็มที่ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ และ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย โดยมี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส เป็นตัวสอดแทรกตัดคะแนนเสียงจากผู้แข่งขันจากทั้งสองพรรคการเมือง และรายหลังนี้คงจะมีโอกาสชนะบ้าง มองในแง่ของการมีคะแนนจัดตั้งของพรรคการเมืองเป็นคะแนนรองรับอยู่ในมือแล้วส่วนหนึ่งดังเช่นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง เว้นไว้แต่จะมีผู้มาลงคะแนนเกิน 70% ขึ้นไป และมีพลังเงียบออกมามากกว่าคะแนนจัดตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอิสระ เช่น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ จึงจะมีโอกาส
แต่ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยกว่า 50% ผู้ชนะก็คงหนีไม่พ้นผู้ที่มีคะแนนจัดตั้งนั่นเอง เพราะจะต้องไม่ลืมว่าคะแนนจัดตั้งคือคะแนนที่แน่นอน และเมื่อบวกกับคะแนนจากกลุ่มอิสระหรือคะแนนจากพลังเงียบในจำนวนหนึ่งแล้ว โอกาสชี้ขาดว่าผู้ใดจะชนะก็ดูได้จากจำนวนคะแนนจัดตั้ง อันมีฐานมาจากเสียงสนับสนุน ส.ก. และ ส.ข.ของพรรคนั่นเอง
แต่ไม่ว่าใครจะสมัครในนามพรรคการเมืองหรือลงสมัครอิสระ คน กทม.ก็ควรจะเลือกโดยใช้หลักสรรหาบุคคลมาทำงานดังกล่าวแล้วข้างต้น ด้วยการนำปัญหาของ กทม.มาเป็นข้อกำหนดหรือเป็นเงื่อนไขในการเลือก จึงจะได้ผู้ว่าฯ กทม.ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานรับใช้ชาว กทม.ได้อย่างเป็นรูปธรรม
อะไรคือปัญหาที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ชาว กทม. และควรจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นปัญหาของ กทม.ได้อย่างถูกต้อง และตรงไปตรงมา ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจลักษณะของสังคมเมืองใหญ่อย่างเช่น กทม.มีลักษณะการก่อปัญหาอย่างไร และด้านใดบ้าง
กทม.เป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีคนอาศัยอยู่ประมาณ 10 ล้านคน และมีลักษณะเป็นสังคมทุติยภูมิ คือเป็นที่รวมของคนจากที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีเหตุจูงใจเข้ามาพักอาศัยชั่วระยะหนึ่ง เพื่อเรียนหนังสือหรือหางานทำนอกฤดูกาลทำไร่ทำนา ไปจนถึงอยู่อาศัยถาวรด้วยการลงหลักปักฐานทำมาหากิน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน
ดังนั้น เมืองใหญ่แห่งนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนานัปการ แต่ที่เห็นว่าสำคัญและน่าจะถือเป็นเงื่อนไขในการเลือกผู้ว่าฯ กทม.พอสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาจราจรแออัด
ปัญหานี้นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปีตราบเท่าที่ยังมีปริมาณยวดยานเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่การจราจรเพิ่มขึ้น และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งสองระบบที่มีอยู่ยังรองรับการเดินทางของคน กทม.ไม่มากพอที่จะทดแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วถึง ปัญหานี้ก็ยังคงเป็นปัญหาของเมืองใหญ่แห่งนี้อยู่ต่อไป
ทางแก้ที่พอบรรเทาปัญหานี้ลงได้ก็คือ จะต้องกำหนดมาตรการมารองรับไปพร้อมๆ กับเพิ่มขยายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และจะต้องมีแผนการย้ายสถานศึกษา และสถานที่ทำการของทางราชการที่ให้บริการประชาชนออกไปอยู่นอกเมือง พร้อมกันนี้จะต้องลดจำนวนรถรับจ้างลง และจะต้องกำหนดเส้นทางให้ชัดเจนหรือจอดอยู่กับที่ รวมไปถึงการเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายโดยการห้ามรถจอดในที่ห้ามจอดด้วย
2. ปัญหาน้ำท่วมขัง และขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ในปัจจุบันถึงแม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ กทม.จะปลอดภัยจากน้ำท่วมขังแล้ว แต่ยังมีอยู่ไม่น้อยที่มีน้ำขังแรมเดือนเมื่อมีฝนตกลงมาเนื่องจากไม่มีท่อระบายน้ำ หรือมีแต่ไม่มีศักยภาพในการระบายน้ำเนื่องจากท่ออยู่ในระดับเดียวกับแม่น้ำคูคลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่เอกชน จึงต้องมีเทศบัญญัติเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยบังคับให้เจ้าของดำเนินการแก้ไขหรือยอมยกให้รัฐเพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไข
3. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหานี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นทุกวัน จะเห็นได้จากข่าวการจี้ปล้นชิงทรัพย์มีขึ้นเกือบทุกวัน นั่นก็แปลว่าคน กทม.ยุคนี้มีความปลอดภัยน้อยลงเมื่อเทียบกับยุคก่อน และที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปัญหาการติดยาเสพติดมีมากขึ้น และการพนันขันต่อก็มีมากขึ้นด้วย และทั้งยาเสพติด ทั้งการพนันล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดของการปล้นจี้ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะเลือกผู้ว่าฯ กทม.ก็ควรดูภูมิหลังหรือความเป็นมาของผู้สมัครว่าเคยมีผลงานในด้านเหล่านี้หรือไม่ รวมไปถึงนโยบายและความเป็นไปในการนำนโยบายมาปฏิบัติซึ่งดูได้จากทีมงานของผู้สมัครนั่นเอง
การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยยึดหลักเกณฑ์นี้เรียกว่า ระบบคุณธรรม ซึ่งยึดถือปฏิบัติทั่วไปในนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เจริญแล้ว ส่วนในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือแม้กระทั่งประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยด้วย ถึงแม้การคัดเลือกบุคคลจะใช้ระบบคุณธรรมในทางนิตินัย แต่ในทางพฤตินัยก็ยังมีเส้นสาย เล่นพรรคเล่นพวก ฝากฝังกันเข้ามา หรือที่เรียกว่าระบบอุปถัมภ์ และระบบนี้ก็คือ เอาคนมาตั้ง และหางานให้ทำเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคคล ทำให้องค์กรไม่ได้บุคลากรที่ตรงกับลักษณะงาน หรือตรงกับลักษณะงาน แต่อาจมีความรู้ความสามารถด้อยกว่างาน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาคนล้นงาน ทั้งล้นงานจริงคือคนมากกว่างาน หรือล้นงานแอบแฝง คือคนมิได้มากกว่างานแต่ความสามารถด้อยกว่าลักษณะงาน จึงทำให้ใช้คนจำนวนมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่ก็ใช้เวลามากกว่าปกติที่ควรจะเป็น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยผลิตสูงกว่าความเป็นจริง และปัญหาคนล้นงานจะพบในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน
ดังนั้น ถ้าจะเลือกคนเข้าทำงานให้ได้ผลมากที่สุด ก็ควรจะยึดหลักระบบคุณธรรมคือเอางานมาวาง แล้วเอาคุณสมบัติของบุคคลมาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกันมากที่สุดแล้วค่อยเลือก
ในเดือนมีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้ ชาว กทม.จะต้องทำหน้าที่เลือกคนที่จะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง และในครั้งนี้คงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างดุเดือดระหว่างผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หรืออาจยิ่งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเพิ่งจะลาออกเพื่อวางแผนลงสู้ศึกในครั้งนี้อย่างเต็มที่ในนามของพรรคประชาธิปัตย์ และ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย โดยมี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส เป็นตัวสอดแทรกตัดคะแนนเสียงจากผู้แข่งขันจากทั้งสองพรรคการเมือง และรายหลังนี้คงจะมีโอกาสชนะบ้าง มองในแง่ของการมีคะแนนจัดตั้งของพรรคการเมืองเป็นคะแนนรองรับอยู่ในมือแล้วส่วนหนึ่งดังเช่นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง เว้นไว้แต่จะมีผู้มาลงคะแนนเกิน 70% ขึ้นไป และมีพลังเงียบออกมามากกว่าคะแนนจัดตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งอิสระ เช่น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ จึงจะมีโอกาส
แต่ถ้ามีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยกว่า 50% ผู้ชนะก็คงหนีไม่พ้นผู้ที่มีคะแนนจัดตั้งนั่นเอง เพราะจะต้องไม่ลืมว่าคะแนนจัดตั้งคือคะแนนที่แน่นอน และเมื่อบวกกับคะแนนจากกลุ่มอิสระหรือคะแนนจากพลังเงียบในจำนวนหนึ่งแล้ว โอกาสชี้ขาดว่าผู้ใดจะชนะก็ดูได้จากจำนวนคะแนนจัดตั้ง อันมีฐานมาจากเสียงสนับสนุน ส.ก. และ ส.ข.ของพรรคนั่นเอง
แต่ไม่ว่าใครจะสมัครในนามพรรคการเมืองหรือลงสมัครอิสระ คน กทม.ก็ควรจะเลือกโดยใช้หลักสรรหาบุคคลมาทำงานดังกล่าวแล้วข้างต้น ด้วยการนำปัญหาของ กทม.มาเป็นข้อกำหนดหรือเป็นเงื่อนไขในการเลือก จึงจะได้ผู้ว่าฯ กทม.ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานรับใช้ชาว กทม.ได้อย่างเป็นรูปธรรม
อะไรคือปัญหาที่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ชาว กทม. และควรจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นปัญหาของ กทม.ได้อย่างถูกต้อง และตรงไปตรงมา ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจลักษณะของสังคมเมืองใหญ่อย่างเช่น กทม.มีลักษณะการก่อปัญหาอย่างไร และด้านใดบ้าง
กทม.เป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีคนอาศัยอยู่ประมาณ 10 ล้านคน และมีลักษณะเป็นสังคมทุติยภูมิ คือเป็นที่รวมของคนจากที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีเหตุจูงใจเข้ามาพักอาศัยชั่วระยะหนึ่ง เพื่อเรียนหนังสือหรือหางานทำนอกฤดูกาลทำไร่ทำนา ไปจนถึงอยู่อาศัยถาวรด้วยการลงหลักปักฐานทำมาหากิน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่เข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน
ดังนั้น เมืองใหญ่แห่งนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนานัปการ แต่ที่เห็นว่าสำคัญและน่าจะถือเป็นเงื่อนไขในการเลือกผู้ว่าฯ กทม.พอสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาจราจรแออัด
ปัญหานี้นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปีตราบเท่าที่ยังมีปริมาณยวดยานเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่การจราจรเพิ่มขึ้น และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งสองระบบที่มีอยู่ยังรองรับการเดินทางของคน กทม.ไม่มากพอที่จะทดแทนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วถึง ปัญหานี้ก็ยังคงเป็นปัญหาของเมืองใหญ่แห่งนี้อยู่ต่อไป
ทางแก้ที่พอบรรเทาปัญหานี้ลงได้ก็คือ จะต้องกำหนดมาตรการมารองรับไปพร้อมๆ กับเพิ่มขยายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และจะต้องมีแผนการย้ายสถานศึกษา และสถานที่ทำการของทางราชการที่ให้บริการประชาชนออกไปอยู่นอกเมือง พร้อมกันนี้จะต้องลดจำนวนรถรับจ้างลง และจะต้องกำหนดเส้นทางให้ชัดเจนหรือจอดอยู่กับที่ รวมไปถึงการเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายโดยการห้ามรถจอดในที่ห้ามจอดด้วย
2. ปัญหาน้ำท่วมขัง และขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ในปัจจุบันถึงแม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ กทม.จะปลอดภัยจากน้ำท่วมขังแล้ว แต่ยังมีอยู่ไม่น้อยที่มีน้ำขังแรมเดือนเมื่อมีฝนตกลงมาเนื่องจากไม่มีท่อระบายน้ำ หรือมีแต่ไม่มีศักยภาพในการระบายน้ำเนื่องจากท่ออยู่ในระดับเดียวกับแม่น้ำคูคลอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่เอกชน จึงต้องมีเทศบัญญัติเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยบังคับให้เจ้าของดำเนินการแก้ไขหรือยอมยกให้รัฐเพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไข
3. ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ปัญหานี้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงขึ้นทุกวัน จะเห็นได้จากข่าวการจี้ปล้นชิงทรัพย์มีขึ้นเกือบทุกวัน นั่นก็แปลว่าคน กทม.ยุคนี้มีความปลอดภัยน้อยลงเมื่อเทียบกับยุคก่อน และที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากปัญหาการติดยาเสพติดมีมากขึ้น และการพนันขันต่อก็มีมากขึ้นด้วย และทั้งยาเสพติด ทั้งการพนันล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดของการปล้นจี้ทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะเลือกผู้ว่าฯ กทม.ก็ควรดูภูมิหลังหรือความเป็นมาของผู้สมัครว่าเคยมีผลงานในด้านเหล่านี้หรือไม่ รวมไปถึงนโยบายและความเป็นไปในการนำนโยบายมาปฏิบัติซึ่งดูได้จากทีมงานของผู้สมัครนั่นเอง