ASTVผู้จัดการรายวัน-นักศึกษาและอาจารย์ม.เกษตร 1,000 คนตบเท้ายื่นหนังสือคัดค้าน กทพ.สร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N1 “วิเชียร”รับหนังสือพร้อมรับข้อเสนอไปพิจารณา เผยบอร์ดกทพ.ตั้งคณะทำงานร่วมกับม.เกษตร หาทางออก ใน 6 เดือน เชื่อคุยกันได้ ส่วนข้อเสนอย้ายแนวขยับไปคลองบางบัว เจอชุมชนและแนวเส้นทางโค้งอ้อม
วานนี้ ( 17 ม.ค.) คณาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมพิธีสงฆ์พร้อมกับบวชต้นนนทรี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์คัดค้านการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงN 1 (แยกบางใหญ่-แยกเกษตรศาสตร์ ) ระยะทาง 19.2 กม.ซึ่งมีตอม่อขนาดใหญ่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ด้านที่ติดกับถนนงามวงศ์วาน
จากนั้น บรรดานิสิตและคณาจารย์ประมาณ 1,000 คน ได้เดินทางไปทวงถามความชัดเจน ที่สำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อยื่นหนังสือคัดค้าน โดยระบุว่าหากยังไม่มีการเปลี่ยนเส้นทาง จะยกระดับการเคลื่อนไหวต่อไป เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเด็กจะต้องเรียนในตึกเรียน ซึ่งอยู่ใต้ทางด่วน หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถตกลงมาจากทางด่วน เด็กอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะคณะกรรมการ กทพ.เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดกทพ.เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและพิจารณาหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน โดยมีนายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าฯกทพ.เป็นประธาน มีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะจะสามารถหาทางออกร่วมกันได้เช่นการปรับรูปแบบก่อสร้างเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และการเพิ่มทางขึ้นลงที่ม.เกษตร ส่วนการย้ายแนวผ่านไปที่คลองบางบัวนั้นพบว่า จะทำให้แนวทางด่วนไม่ตรงทั้งโค้งและอ้อมแล้วยังกระทบต่อชุมชนบางบัวที่มีเป็นจำนวนมาก
“ผมได้รับหนังสือร้องเรียนด้วยตัวเอง และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับคณาจารย์และนิสิตแล้วว่า บอร์ดกทพ.มีมติอย่างไรซึ่งทางเกษตรพอใจและสลายตัว ส่วนที่มหาวิทยาลัยฯมองว่า กทพ.มุ่งหวังรายได้ กำไรอย่างเดียวไม่คำนึงถึงผลกระทบสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ชี้แจงว่า กทพ.ตั้งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางด่วน เพื่อช่วยยกระดับชีวิตแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและลดค่าใช้จ่ายให้ประชาขนโดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยอยากให้เข้าใจตรงนี้และที่ผ่านมาช่วงเทศกาลหรือเกิดน้ำท่วม กทพ.ได้ยกเว้นค่าผ่านทางเป็นเงินหลายร้อยล้านบาทเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน”พล.ต.อ.วิเชียรกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวทางด่วนขั้นที่ N1,2,3 จากบางใหญ่-ถนนงามวงศ์วาน - มอเตอร์เวย์ ช่วงศรีนครินทร์นั้น เดิมจะก่อสร้างตอม่อกลางถนนงามวงศ์วาน แต่เมื่อปรับให้ยกระดับสูงขึ้น เสาเข็มต้องลึกมากซึ่งมีปัญหาเพราะมีอุโมงค์ระบายน้ำของกทม.อยู่ จะเบี่ยงมาด้านใต้ของถนนจะมีอาคารพาณิชย์ชุมชนจำนวนมาก จึงต้องขยับไปด้านเหนือของถนน โดยจะเข้าไปในแนวรั้วม.เกษตรประมาณ 2-4 เมตร
นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนากายภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แนวเส้นทางของทางด่วน N1 ต้องตัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ ม.เกษตรฯ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ขณะนี้เขตทางยังไม่ชัดเจน แต่พบว่ารูปแบบจากแยกเกษตร ถนนพหลโยธิน ถึง ประตู 1 เป็นเสาตอม่อเดี่ยวขนาด4 เมตร ลงคูระบายน้ำ โดยไม่มีทางเท้า และจากประตู1 ถึงถนนวิภาวดี เป็นเสาตอม่อรูปยูคว่ำ ปกลงทั้งสองฝั่งถนนงามวงศ์วาน ขนาด 3 เมตร ส่งผลกระทบอีกเพราะไม่มีทางเท้า ความสูงเสาตอม่อ ประมาณ 28 เมตร เท่ากับตึก 10ชั้น ย่อมไม่ปลอดภัยต่อประชาชนอย่างแน่นอน นอกจากยังสร้างด่านเก็บเงิน และแลมป์ทางขึ้นลง โดยใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนสาธิตเกษตร จึงเสนอให้เปลี่ยนแนวตอม่อใหม่จากถนนงามวงศ์วานไปใช้คลองบางบัว หรือ บางเขน
ซึ่งเป็นคลองสาธารณะไม่กระทบกับประชาชน หรือ ปรับรูปแบบจากเสาตอม่อเป็นอุโมงค์ทางลอดถนนงามวงศ์วานแทน ซึ่งประธานบอร์ด แจ้งว่า รับข้อเสนอไว้และจะพิจารณาให้กระทบกับเกษตร และชาวบ้านน้อยที่สุด ขณะนี้รอฟังคำตอบจาก กทพ.ว่าจะพิจารณาอย่างไร หากไม่เปลี่ยนแนวคงจะต้องเดินหน้าคัดค้านกันต่อไป
วานนี้ ( 17 ม.ค.) คณาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมพิธีสงฆ์พร้อมกับบวชต้นนนทรี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์คัดค้านการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วงN 1 (แยกบางใหญ่-แยกเกษตรศาสตร์ ) ระยะทาง 19.2 กม.ซึ่งมีตอม่อขนาดใหญ่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ด้านที่ติดกับถนนงามวงศ์วาน
จากนั้น บรรดานิสิตและคณาจารย์ประมาณ 1,000 คน ได้เดินทางไปทวงถามความชัดเจน ที่สำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อยื่นหนังสือคัดค้าน โดยระบุว่าหากยังไม่มีการเปลี่ยนเส้นทาง จะยกระดับการเคลื่อนไหวต่อไป เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเด็กจะต้องเรียนในตึกเรียน ซึ่งอยู่ใต้ทางด่วน หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถตกลงมาจากทางด่วน เด็กอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะคณะกรรมการ กทพ.เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดกทพ.เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและพิจารณาหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน โดยมีนายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าฯกทพ.เป็นประธาน มีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะจะสามารถหาทางออกร่วมกันได้เช่นการปรับรูปแบบก่อสร้างเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และการเพิ่มทางขึ้นลงที่ม.เกษตร ส่วนการย้ายแนวผ่านไปที่คลองบางบัวนั้นพบว่า จะทำให้แนวทางด่วนไม่ตรงทั้งโค้งและอ้อมแล้วยังกระทบต่อชุมชนบางบัวที่มีเป็นจำนวนมาก
“ผมได้รับหนังสือร้องเรียนด้วยตัวเอง และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับคณาจารย์และนิสิตแล้วว่า บอร์ดกทพ.มีมติอย่างไรซึ่งทางเกษตรพอใจและสลายตัว ส่วนที่มหาวิทยาลัยฯมองว่า กทพ.มุ่งหวังรายได้ กำไรอย่างเดียวไม่คำนึงถึงผลกระทบสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ชี้แจงว่า กทพ.ตั้งขึ้นเพื่อก่อสร้างทางด่วน เพื่อช่วยยกระดับชีวิตแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและลดค่าใช้จ่ายให้ประชาขนโดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยอยากให้เข้าใจตรงนี้และที่ผ่านมาช่วงเทศกาลหรือเกิดน้ำท่วม กทพ.ได้ยกเว้นค่าผ่านทางเป็นเงินหลายร้อยล้านบาทเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน”พล.ต.อ.วิเชียรกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวทางด่วนขั้นที่ N1,2,3 จากบางใหญ่-ถนนงามวงศ์วาน - มอเตอร์เวย์ ช่วงศรีนครินทร์นั้น เดิมจะก่อสร้างตอม่อกลางถนนงามวงศ์วาน แต่เมื่อปรับให้ยกระดับสูงขึ้น เสาเข็มต้องลึกมากซึ่งมีปัญหาเพราะมีอุโมงค์ระบายน้ำของกทม.อยู่ จะเบี่ยงมาด้านใต้ของถนนจะมีอาคารพาณิชย์ชุมชนจำนวนมาก จึงต้องขยับไปด้านเหนือของถนน โดยจะเข้าไปในแนวรั้วม.เกษตรประมาณ 2-4 เมตร
นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนากายภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แนวเส้นทางของทางด่วน N1 ต้องตัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ ม.เกษตรฯ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ขณะนี้เขตทางยังไม่ชัดเจน แต่พบว่ารูปแบบจากแยกเกษตร ถนนพหลโยธิน ถึง ประตู 1 เป็นเสาตอม่อเดี่ยวขนาด4 เมตร ลงคูระบายน้ำ โดยไม่มีทางเท้า และจากประตู1 ถึงถนนวิภาวดี เป็นเสาตอม่อรูปยูคว่ำ ปกลงทั้งสองฝั่งถนนงามวงศ์วาน ขนาด 3 เมตร ส่งผลกระทบอีกเพราะไม่มีทางเท้า ความสูงเสาตอม่อ ประมาณ 28 เมตร เท่ากับตึก 10ชั้น ย่อมไม่ปลอดภัยต่อประชาชนอย่างแน่นอน นอกจากยังสร้างด่านเก็บเงิน และแลมป์ทางขึ้นลง โดยใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนสาธิตเกษตร จึงเสนอให้เปลี่ยนแนวตอม่อใหม่จากถนนงามวงศ์วานไปใช้คลองบางบัว หรือ บางเขน
ซึ่งเป็นคลองสาธารณะไม่กระทบกับประชาชน หรือ ปรับรูปแบบจากเสาตอม่อเป็นอุโมงค์ทางลอดถนนงามวงศ์วานแทน ซึ่งประธานบอร์ด แจ้งว่า รับข้อเสนอไว้และจะพิจารณาให้กระทบกับเกษตร และชาวบ้านน้อยที่สุด ขณะนี้รอฟังคำตอบจาก กทพ.ว่าจะพิจารณาอย่างไร หากไม่เปลี่ยนแนวคงจะต้องเดินหน้าคัดค้านกันต่อไป