ASTVผู้จัดการรายวัน - บสย.เตรียมวงเงิน 2.4 แสนล้านบาท รองรับค้ำประกันเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบ จากการปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ เผยระยะเวลา 3 ปี แต่สามารถเบิกเงินกู้ได้ภายในระยะเวลา 7 ปี เงื่อนไขผ่อนปรนให้เอสเอ็มอีเป็นการทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ ให้กู้ต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยค้ำประกันแค่ 1.75%
นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 มกราคม มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) พร้อมอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 2.4 แสนล้านบาทให้ บสย. เพื่อใช้ในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี เป็นเวลา 3 ปี จากปี 2556-2558 แต่สามารถเบิกเงินกู้ได้ภายในระยะเวลา 7 ปี
สำหรับเงื่อนไขในการค้ำประกันสินเชื่อจะมีความผ่อนปรนค่อนข้างมาก และให้เอสเอ็มอีเป็นการทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ และไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน โดยให้กู้ต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน 1.75% โดยหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อ ขอเพียงให้เป็นเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจใดก็ได้ และยังขยายวัตถุประสงค์ใหม่ในการขอสินเชื่อ เพื่อไปใช้ในการขยายกิจการในต่างประเทศ เพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิต และการวมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนระหว่างกันด้วย
“มาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว คาดว่าจะทำให้มีเงินหมุนเวียนไปสู่เอสเอ็มอีประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แต่ในส่วนของต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการจะต้องรับภาวะจะอยู่ที่ประมาณ 7% ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดการจากการค้ำประกัน 1.75% และต้นทุนดอกเบี้ยเงินเงินกู้จากสถาบันการเงิน โดยคาดว่าจะช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลายหมื่นราย” นายวัลลภกล่าว
สำหรับเอสเอ็มอีที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 จนทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน น่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธุรกิจเกษตรพืชไร่ พืชสวน เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ดังนั้นการที่มาตรการในการค้ำประกันสินเชื่อจะช่วยลดผลกระทบและแก้ปัญหาเงินทุนหมุนเวียนขาดแคลน และกลุ่มเอสเอ็มอีเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการการค้ำประกันดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากการค้ำประกันสินเชื่อได้รับความสนใจมากกว่า วงเงินที่เตรียมไว้ก็สามารถที่จะนำเรื่องเสนอครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติในลำดับต่อไปได้ แต่เท่าที่มีการประเมินร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่า จะมีเอสเอ็มอีเข้ามาขอใช้วงเงินปีแรก 6 หมื่นล้านบาท และปีที่ 2 จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท และปีสุดท้าย 1 แสนล้านบาท ตามความต้องการใช้วงเงินในการปรับตัวของเอสเอ็มอี
นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บสย. กล่าวว่า แผนงานปีปี 2556 บสย.มีเป้าหมายจะค้ำประกันเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไป ไม่ต่ำกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงจะให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยตามนโยบายรัฐบาลผ่านกองทุนตั้งตัวได้ หลังจากที่ปี 2255 สามารถคำประกันสินเชื่อได้รวม 8.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นผู้ประกอบการ 2.4 หมื่นราย และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 3.7% ลดลงจากสิ้นปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 4.7% โดยที่บสย.ได้ตั้งสำรองเอ็นพีแอลครบ 100% ตามเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีใหม่แล้ว.
นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 มกราคม มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) พร้อมอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 2.4 แสนล้านบาทให้ บสย. เพื่อใช้ในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี เป็นเวลา 3 ปี จากปี 2556-2558 แต่สามารถเบิกเงินกู้ได้ภายในระยะเวลา 7 ปี
สำหรับเงื่อนไขในการค้ำประกันสินเชื่อจะมีความผ่อนปรนค่อนข้างมาก และให้เอสเอ็มอีเป็นการทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ และไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน โดยให้กู้ต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน 1.75% โดยหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อ ขอเพียงให้เป็นเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจใดก็ได้ และยังขยายวัตถุประสงค์ใหม่ในการขอสินเชื่อ เพื่อไปใช้ในการขยายกิจการในต่างประเทศ เพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิต และการวมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนระหว่างกันด้วย
“มาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว คาดว่าจะทำให้มีเงินหมุนเวียนไปสู่เอสเอ็มอีประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แต่ในส่วนของต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการจะต้องรับภาวะจะอยู่ที่ประมาณ 7% ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดการจากการค้ำประกัน 1.75% และต้นทุนดอกเบี้ยเงินเงินกู้จากสถาบันการเงิน โดยคาดว่าจะช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลายหมื่นราย” นายวัลลภกล่าว
สำหรับเอสเอ็มอีที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 จนทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน น่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธุรกิจเกษตรพืชไร่ พืชสวน เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก ดังนั้นการที่มาตรการในการค้ำประกันสินเชื่อจะช่วยลดผลกระทบและแก้ปัญหาเงินทุนหมุนเวียนขาดแคลน และกลุ่มเอสเอ็มอีเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการการค้ำประกันดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากการค้ำประกันสินเชื่อได้รับความสนใจมากกว่า วงเงินที่เตรียมไว้ก็สามารถที่จะนำเรื่องเสนอครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติในลำดับต่อไปได้ แต่เท่าที่มีการประเมินร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่า จะมีเอสเอ็มอีเข้ามาขอใช้วงเงินปีแรก 6 หมื่นล้านบาท และปีที่ 2 จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท และปีสุดท้าย 1 แสนล้านบาท ตามความต้องการใช้วงเงินในการปรับตัวของเอสเอ็มอี
นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บสย. กล่าวว่า แผนงานปีปี 2556 บสย.มีเป้าหมายจะค้ำประกันเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไป ไม่ต่ำกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงจะให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยตามนโยบายรัฐบาลผ่านกองทุนตั้งตัวได้ หลังจากที่ปี 2255 สามารถคำประกันสินเชื่อได้รวม 8.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นผู้ประกอบการ 2.4 หมื่นราย และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 3.7% ลดลงจากสิ้นปี 2554 ที่อยู่ที่ระดับ 4.7% โดยที่บสย.ได้ตั้งสำรองเอ็นพีแอลครบ 100% ตามเกณฑ์มาตรฐานทางบัญชีใหม่แล้ว.