เชือด “วิบูลย์” เอ็มดีบสย.ซ้ำรอยดีดีบินไทย ถูกเลิกจ้างก่อนครบสัญญาเกือบปี โทษฐานมีปัญหาในการสื่อสาร เจ้าตัวรับสภาพไปแบบไร้มลทิน ไม่ฟ้องร้องแต่หวั่นไม่มีคนสานต่องาน. แนะจับตาเงินลงทุน 6 พันล้านถูกถลุงใช้ไม่เกิดประโยชน์
นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า กรณีที่คณะกรรมการบสย.มีมติ 7 ต่อ1 ให้เลิกสัญญาว่าจ้างก่อนครบกำหนดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น มติดังกล่าวจะมีผลวันที่ 7 มกราคม 2556 เพราะตามระเบียบต้องบอกเลิกจ้างก่อน 30 วัน ซึ่งถือเป็นการเลิกจ้างก่อนที่จะครบตามสัญญาเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งตนพร้อมจะทำตามมติหากบอร์ดเห็นว่าไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะเป็นอำนาจของบอร์ดและตนคงไม่ฟ้องร้องอะไร
“การพ้นจากหน้าที่ก่อนครบสัญญาว่าจ้างของผมก็คล้ายๆกับกรณีของการบินไทยโดยเป็นการพ้นจากหน้าที่โดยไม่มีเหตุหรือความผิดใดๆ เพราะการประเมินผลงานผมก็ผ่านทุกครั้ง บอร์ดเพียงระบุว่าผมมีปัญหาในการสื่อสาร และอ้างว่าผมทำให้ถูกตัดคะแนนประเมินเคพีไอโดยสคร.ทั้งๆ ที่ผมส่งเร็วกว่าทีผ่านๆมารวมถึงการส่งแผนงานที่ส่งตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาแล้ว” นายวิบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตามระหว่างที่ยังทำงานอยู่นี้ยอมรับว่าคงไม่มีอำนาจในการอนุมัติอะไร คงเป็นเรื่องของบอร์ดบริหารจะดำเนินการแทน และหลังจากนี้ทางบอร์ดเก่าคงจะรักษาการไปจนกว่าจำมีบอร์ดชุดใหม่ต้นปีหน้า แต่หากกระทรวงการคลังไม่ส่งชุดใหม่ไปก็น่าจะรักษาการยาวมีอำนาจเบ็ดเสร็จรวมถึงการไม่เร่งสรรหาคนมาแทนที่ตนด้วย เพราะเท่าที่ดูขณะนี้ไม่น่านจะมีผู้ที่อยากอาสามาทำงานบสย. ซึ่งเป็นองค์กรที่ไมได้แสวงหากำไรอะไรและคนที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอสเอ็มอีก็ยังมีไม่มากนัก รวมทั้งเป็นหวงว่างานที่วางแผนไว้ระยะ 3 ปีข้างหน้าอาจจะสะดุดได้ ทั้งที่บสย.ถือมีความสำคัญกับภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้สิ่งที่น่าจับตาคือการบริหารเงินลงทุนในพอร์ตที่ประมาณ 6 พันบ้านบาท ที่ผ่านมาตนว่าจ้างสถาบันการเงินเข้ามาบริหารจำนวน 4 แห่งโดยคัดเลือกผ่านคณะกรรมการและมีผลตอบแทนประมาณ 6% ทำให้ฐานะของบสย.ล่าสุดปรับตัวดีขึ้นพลิกจากขาดทุนเป็นเสมอตัว หากต่อไปมีการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบสย.เช่นซื้อที่ดิน เร่งขยายสาขา หรือทำการโฆษณาที่ไม่เกิดประโยชน์ก็อาจจะกระทบฐานะของบสย.ได้ในอนาคต
รายงานข่าวระบุว่า การเลิกจ้างนายวิบูลย์นั้นถือเป็นการดำเนินการแบบรวบรัดและไม่มีกระแสข่าวออกมาก่อน โดยบอร์ดนัดประชุมและลงมติกันเอง มีเพียงเสียงเดียวที่คัดค้าน ซึ่งมูลเหตุน่าจะเป็นเพราะนายวิบูลย์ไม่สนองนโยบายคณะกรรมการบางคน และที่สำคัญเรื่องดังกล่าวทางกระทรวงการคลังโดยเฉพาะนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเองก็ไม่ทราบเรื่อง รมทั้งมีการปล่อยข่าวทางเสียหายว่านายวิบูลย์กระทำความผิดจึงถูกปลดจากตำแหน่งด้วย.
นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า กรณีที่คณะกรรมการบสย.มีมติ 7 ต่อ1 ให้เลิกสัญญาว่าจ้างก่อนครบกำหนดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น มติดังกล่าวจะมีผลวันที่ 7 มกราคม 2556 เพราะตามระเบียบต้องบอกเลิกจ้างก่อน 30 วัน ซึ่งถือเป็นการเลิกจ้างก่อนที่จะครบตามสัญญาเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งตนพร้อมจะทำตามมติหากบอร์ดเห็นว่าไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะเป็นอำนาจของบอร์ดและตนคงไม่ฟ้องร้องอะไร
“การพ้นจากหน้าที่ก่อนครบสัญญาว่าจ้างของผมก็คล้ายๆกับกรณีของการบินไทยโดยเป็นการพ้นจากหน้าที่โดยไม่มีเหตุหรือความผิดใดๆ เพราะการประเมินผลงานผมก็ผ่านทุกครั้ง บอร์ดเพียงระบุว่าผมมีปัญหาในการสื่อสาร และอ้างว่าผมทำให้ถูกตัดคะแนนประเมินเคพีไอโดยสคร.ทั้งๆ ที่ผมส่งเร็วกว่าทีผ่านๆมารวมถึงการส่งแผนงานที่ส่งตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาแล้ว” นายวิบูลย์ กล่าว
อย่างไรก็ตามระหว่างที่ยังทำงานอยู่นี้ยอมรับว่าคงไม่มีอำนาจในการอนุมัติอะไร คงเป็นเรื่องของบอร์ดบริหารจะดำเนินการแทน และหลังจากนี้ทางบอร์ดเก่าคงจะรักษาการไปจนกว่าจำมีบอร์ดชุดใหม่ต้นปีหน้า แต่หากกระทรวงการคลังไม่ส่งชุดใหม่ไปก็น่าจะรักษาการยาวมีอำนาจเบ็ดเสร็จรวมถึงการไม่เร่งสรรหาคนมาแทนที่ตนด้วย เพราะเท่าที่ดูขณะนี้ไม่น่านจะมีผู้ที่อยากอาสามาทำงานบสย. ซึ่งเป็นองค์กรที่ไมได้แสวงหากำไรอะไรและคนที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเอสเอ็มอีก็ยังมีไม่มากนัก รวมทั้งเป็นหวงว่างานที่วางแผนไว้ระยะ 3 ปีข้างหน้าอาจจะสะดุดได้ ทั้งที่บสย.ถือมีความสำคัญกับภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ
นอกจากนี้สิ่งที่น่าจับตาคือการบริหารเงินลงทุนในพอร์ตที่ประมาณ 6 พันบ้านบาท ที่ผ่านมาตนว่าจ้างสถาบันการเงินเข้ามาบริหารจำนวน 4 แห่งโดยคัดเลือกผ่านคณะกรรมการและมีผลตอบแทนประมาณ 6% ทำให้ฐานะของบสย.ล่าสุดปรับตัวดีขึ้นพลิกจากขาดทุนเป็นเสมอตัว หากต่อไปมีการนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบสย.เช่นซื้อที่ดิน เร่งขยายสาขา หรือทำการโฆษณาที่ไม่เกิดประโยชน์ก็อาจจะกระทบฐานะของบสย.ได้ในอนาคต
รายงานข่าวระบุว่า การเลิกจ้างนายวิบูลย์นั้นถือเป็นการดำเนินการแบบรวบรัดและไม่มีกระแสข่าวออกมาก่อน โดยบอร์ดนัดประชุมและลงมติกันเอง มีเพียงเสียงเดียวที่คัดค้าน ซึ่งมูลเหตุน่าจะเป็นเพราะนายวิบูลย์ไม่สนองนโยบายคณะกรรมการบางคน และที่สำคัญเรื่องดังกล่าวทางกระทรวงการคลังโดยเฉพาะนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเองก็ไม่ทราบเรื่อง รมทั้งมีการปล่อยข่าวทางเสียหายว่านายวิบูลย์กระทำความผิดจึงถูกปลดจากตำแหน่งด้วย.