ดร.ศิรดล ศิริธร
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีประยุกต์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หลายวันก่อนผมนั่งดูโฆษณาตัวหนึ่งทางโทรทัศน์ด้วยความขัดใจ โฆษณาชิ้นนี้เป็นโฆษณาแก๊สโซฮอล์ E20 ของ ปตท. ซึ่งใช้รถอเนกประสงค์ หรือ SUV ยี่ห้อหรูมาเป็นตัวเดินเรื่อง จุดขายอยู่ที่การบอกผู้บริโภคว่าแม้จะใช้ E20 ก็ยังเครื่องแรง กำลังไม่ตก พอเติมน้ำมันเรียบร้อยแล้วชายหนุ่มก็กระทืบคันเร่งพาเพื่อนสลาลมฝ่ากระแสจราจรในเมืองด้วยความเร็วปานอยู่บนมอเตอร์เวย์จนถึงที่หมายด้วยความโชคดีอย่างยิ่ง แนวความคิดของ PTT Blue Innovation กลายเป็นเรื่องที่สวนทางกับภาพพจน์ของน้ำมันผสมเอธิลแอลกอฮอล์ที่ผมเข้าใจว่าน่าจะจุดขายที่ความประหยัด และความคุ้มค่าเหมือนรถกระบะหลายยี่ห้อที่แข่งกันทดสอบ "ประสิทธิภาพ" ด้วยการขับจากเหนือไปใต้ตลอดความยาวทั้งประเทศด้วยน้ำมันเพียงหนึ่งถัง ความประหยัดเป็นสาระที่สำคัญที่ปตท. น่าจะสื่อสารแทนที่จะบอกผู้บริโภคทางอ้อมว่า คุณเติมน้ำมันราคาถูกแล้ว ไม่ต้องตั้งใจขับประหยัดน้ำมันมากก็ได้ เดี๋ยวพอน้ำมันหมดจะได้กลับมาเติมน้ำมันราคาถูกอีกไวๆ
...
การเดินทางในชีวิตประจำวันมีค่าใช้จ่ายทั้งในด้านเงิน เวลา รวมทั้งความไม่พึงพอใจในรูปแบบอื่นๆ ถ้าเรามองค่าใช้จ่ายด้านตัวเงินเป็นหลัก ทุกวันนี้เราเติมน้ำมันกันเกือบจะสองลิตรร้อยบาท ราคาน้ำมันขยับขึ้นจากบาร์เรลละ 20 เหรียญในช่วงทศวรรษที่ 90 เป็นบาร์เรลละ 100 เหรียญในปัจจุบัน แม้เราจะเชื่อกันว่าราคาน้ำมันที่พุ่งพรวดพราดไปกว่าบาร์เรลละ 140 เหรียญในปี 2551 เป็นเพียงแค่ผลพวงแห่งการเก็งกำไรและบิดเบือนสถานการณ์ แต่เมื่อสถานการณ์ปรับตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติในปัจจุบัน ราคาน้ำมันก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ความช้าของมันนี่เองทำให้เราไม่ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา ตราบใดที่ราคาน้ำมันค่อยๆ ขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่ละคนก็จะมีกลยุทธ์ในการอยู่รอดที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ลดการกินข้าวนอกบ้าน บ้างก็ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย บ้างก็ลดการดูหนังฟังเพลง หรือลดการเที่ยวกลางคืน แต่น้อยคนนักที่จะลดการขับรถ ถ้าจะมีโอกาสงดใช้รถยนต์อยู่บ้างก็เนื่องมาจากผลพวงของการลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น การไม่ไปรับประทานข้าวนอกบ้านเป็นการลดการเดินทางและลดการบริโภคเชื้อเพลิงทางอ้อม
เรามักกังวลว่าวันหนึ่งน้ำมันจะหมดไปจากโลก แต่ในความเป็นจริงมนุษย์จะไม่มีวันใช้น้ำมันจนหมดโลกได้ เพราะแหล่งน้ำมันที่เหลืออยู่เป็นแหล่งที่ขุดเอาน้ำมันมาใช้ยากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการขุดเจาะน้ำมันมีค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่มีต้นทุนสูงกว่าน้ำมันที่สามารถขุดเจาะออกมาได้ ย้อนหลังไปกว่าร้อยปีที่แล้ว แผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเป็นแหล่งน้ำมันคุณภาพดีที่สามารถขุดเอามาใช้ได้ในระดับความลึกไม่กี่สิบเมตรจากพื้นดิน ภาพตัวการ์ตูนที่ขุดดินลงไปแล้วเจอน้ำมันพุ่งออกมานั่นเป็นเรื่องที่ไม่เกินความจริงมากนัก คนที่มีที่ดินอยู่ในบริเวณที่มีบ่อน้ำมันสามารถขุดน้ำมันออกมาขายกันโดยแทบจะไม่มีต้นทุนในการขุดเจาะจนกระทั่งบ่อแห้ง ปัจจุบันบ่อน้ำมันตื้นๆ ที่ขุดเจาะกันง่ายขนาดนี้ไม่มีอีกแล้ว แหล่งน้ำมันใหญ่ของประเทศในตะวันออกกลางที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นพิภพและในทะเลโดยเฉลี่ยจะต้องลงทุนใช้น้ำมันหนึ่งส่วนสำหรับให้พลังงานเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อขุดเอาน้ำมันขึ้นมาได้สิบส่วน หรือค่าพลังงานที่ได้ต่อพลังงานที่ลงทุน (Energy Return on Energy Invested - EROEI) เท่ากับ 10 และตัวเลขนี้จะน้อยลงเรื่อยๆ1 จนกระทั่งถึงวันหนึ่งที่เราไม่สามารถดึงน้ำมันออกมาใช้ได้ด้วยราคาที่คุ้มค่าเหนื่อยอีกต่อไป เมื่อถึงวันนั้นมันจะไม่สำคัญอีกต่อไปว่าเราจะพร้อมซื้อน้ำมันด้วยเงินมหาศาลไว้ขนาดไหน เพราะเงินที่เป็นตัวกลางไม่มีความหมายอีกต่อไป น้ำมันใหม่ที่เราจะได้มาจะต้องเอาน้ำมันที่เรามีอยู่ไปแลกแบบ barter trade โดยมีพื้นโลกเป็นคู่ค้าสำคัญเท่านั้น
...
ปีค.ศ. 1967 ไม่กี่ปีหลังจากอเมริกาดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ด้วยการปูพรมโครงข่ายทางหลวงขนาดยักษ์ที่เรารู้จักกันในนาม Interstate Highway สำเร็จ ในอีกซีกโลกหนึ่ง ประธานาธิบดีลีกวนยูแห่งสิงคโปร์เลือกที่จะวางระบบรางเพื่อการขนส่งสาธารณะแทนที่ระบบรถประจำทางที่มีแต่จะถูกรถยนต์ส่วนตัวเบียดแย่งพื้นที่ถนนที่มีอยู่น้อยนิด รัฐบาลส่งเสริมให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมหนาแน่นเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของการขนส่งระบบราง แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมด้านการเงินการลงทุนที่ดูเหมือนจะไม่มีวันคืนกำไร ปัจจุบัน Singapore Mass Transit Authority มีกำไรกว่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 72 แต่ผลประโยชน์ที่ยิ่งไปกว่านั้นมาจากการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนหลักของรัฐบาล ทำให้การพัฒนาวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนสิงคโปร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คนสิงคโปร์มีอากาศบริสุทธิ์ได้หายใจ ไม่ต้องติดอยู่ในกระแสจราจรวันละสองสามชั่วโมง และมีเวลาเหลือในการทำกิจกรรมและสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจในรูปแบบอื่น ปัจจุบันอเมริกาเปลี่ยนแนวทางมาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอย่างจริงจัง ทั้งทางราง คือรถไฟฟ้าขนาดต่างๆ และทางถนนด้วยรถประจำทางด่วนพิเศษ โดยที่พยายามไม่ผลักดันการลงทุนเพื่ออำนวยความสะดวกให้รถยนต์ส่วนตัวอีกต่อไป
สี่สิบห้าปีหลังจากลีกวนยูวางยุทธศาสตร์อันชาญฉลาดให้กับประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลไทยกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีจูงใจให้ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของรถ อีกเกือบหนึ่งปีให้หลังทุกคนยอมรับว่าผลกระทบเชิงลบจากนโยบายนี้บดบังประโยชน์ที่คาดว่าจะได้เสียหมดสิ้น บนเฟซบุ๊คตลอดสองเดือนที่ผ่านมาผมเห็นข้อความระบายความหงุดหงิดจากสภาพการจราจรแทบทุกวัน จะมีเว้นบ้างก็เพียงวันอาทิตย์และวันหยุดบางวันเท่านั้น รวมทั้งมีการคาดการณ์ถึงสภาพจราจรที่แสนสาหัสของปีหน้าเมื่อรถที่สั่งซื้อในปีนี้ได้ฤกษ์ออกมาอวดโฉมพร้อมๆ กัน ท่ามกลางเสียงบ่นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเฟซบุ๊ค ก็มีคำคมของเปโตร กุสตาโว นายกเทศมนตรีเมืองโบโกต้า จากหนังสารคดีเรื่อง Urbanized แปะไว้ให้ชวนคิดว่า "ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ใช่ที่ที่คนจนมีรถขับ แต่เป็นที่ที่คนรวยเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ" (A developed country is not a place where the poor have cars. It's where the rich use public transportation.) น่าเสียดายที่บางคนไม่ได้อ่านเสียก่อน
โธมัส เชลลิ่ง นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดอธิบายสถานการณ์ที่เขาเรียกว่า "ปัญหาส่วนร่วม" หรือ Commons Problem ว่าเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนพยายามสร้างผลประโยชน์ให้ตัวเองโดยไม่สนใจผลกระทบข้างเคียง ถ้าทุกคนพร้อมใจกันไม่ทำให้เกิดผลกระทบ ส่วนรวมก็จะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ปัญหาก็คือการที่คนเดียวพยายามจะลดผลกระทบนั้นไม่ทำให้คนนั้นได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เชลลิ่งเปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับหมู่บ้านที่มีทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน เมื่อชาวบ้านนำแกะมากินหญ้ามากขึ้น ปริมาณหญ้าที่แกะแต่ละตัวได้กินก็มีน้อยลง ชาวบ้านทุกคนเข้าใจเหตุและผลข้อนี้ แต่ตราบใดที่ชาวบ้านแต่ละคนยังรู้สึกว่าการนำแกะเข้ามาเพิ่มหนึ่งตัวทำให้ได้ตนเองประโยชน์ และไม่ได้ทำให้แกะตัวอื่นของตนเองมีหญ้ากินน้อยลงซักเท่าไหร่เขาก็จะไม่ลังเลที่จะเอาแกะเข้ามาเพิ่ม จนกระทั่งถึงจุดวิกฤติที่มาถึงโดยไม่รู้ตัว เมื่อแกะทุกตัวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ตัวเลขจำนวนรถจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ มีเพิ่มจากปีก่อนสามล้านคัน เป็นสามล้านสามแสนคันในปีที่แล้วเมื่อนับถึงเดือนพฤศจิกายน หรือเพิ่มเพียง สิบเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมองลึกลงไปอีกหน่อยจะเห็นผลพวงจากนโยบายรถคนแรก สถิติจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากห้าแสนสี่หมื่นคันเป็นแปดแสนคันจนถึงเดือนพฤศจิกายน และเชื่อว่าน่าจะเฉียดหลักล้านคันเมื่อจบปี หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ขณะที่รถจักรยานยนต์มีจำนวนจดทะเบียนลดลงบ้างเนื่องจากกลุ่มผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ส่วนหนึ่งหันมาซื้อรถขนาดเล็กแทน การที่เราเอารถยนต์หนึ่งล้านคันนี้มาวิ่งอยู่บนถนนอันมีอยู่จำกัด ก็เหมือนเรากำลังเอาแกะหนึ่งล้านตัวลงมากินหญ้าในทุ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์เหลือน้อยเต็มที เพียงเพราะบังเอิญมีคนมาเสนอขายแกะราคาถูกๆ ให้ คนส่วนหนึ่งที่ไม่เคยคิดจะเลี้ยงแกะก็หันมาเลี้ยงแกะ ในที่สุดปีนี้หลายคนก็คงจะรับรู้ว่าแกะที่ไปซื้อมาถูกๆ นี่มันกินจุขนาดไหน
โทษผู้อื่นแลเห็นเป็นภูเขา โทษของเราแลไม่เห็นเท่าเส้นขน ในบทความนี้ผมจึงไม่อยากจะโทษปตท. ไม่โทษคนคิดโฆษณาสนับสนุนการเผาผลาญน้ำมัน หรือ แม้กระทั่งนโยบายขายรถของรัฐบาล เพราะทั้งหมดทั้งปวงก็ไม่มีใครฝ่ายไหนบังคับให้เราต้องซื้อรถ ต้องเติมน้ำมัน หรือต้องเสียเงินกับอะไร สิ่งที่มันเกิดขึ้นมันสะท้อนถึงภูมิคุ้มกันสิ่งล่อใจของคนไทยที่อยู่ในระดับต่ำจนน่าเป็นห่วง เราเสพติดสิทธิเสรีภาพที่จะรับของฟรีของถูกจนกลายเป็นความเคยชิน ในวันนี้ที่ดูเหมือนจะไม่มีใครจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่ชีวิตคนไทยได้อย่างจริงใจ เราคงต้องพัฒนาภูมิคุ้มกันของตัวเองให้แข็งแรง ปีหน้าเมื่อรถออกมากันครบ เราคงต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล การมีรถจอดไว้ทุกๆ บ้านไม่ได้เป็นเรื่องเลงร้ายอะไรนัก เพียงแค่เราพิจารณาใช้รถในสถานการณ์จำเป็น คำนวณรายรับรายจ่ายและค่าเสียโอกาส วางแผนการเดินทางและการทำกิจกรรมในแต่ละวัน เรียนรู้ที่จะขับรถอย่างประหยัดและปลอดภัย และเรียนรู้ที่จะเดินทางด้วยรูปแบบอื่นๆ แทนการใช้รถยนต์ เช่นระบบขนส่งมวลชน จักรยาน หรือแม้แต่เดินมากขึ้นบ้าง ผมเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้ในระยะยาวเราจะค่อยๆ ปรับตัวกันไปได้ เพราะสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
--------------------------------------------------------------
1Owen, David. Green Metropolis: Why Living Smaller, Living Closer, and Driving Less are the Keys to Sustainability., Riverhead Books, New York, 2009.
2http://www.smrt.com.sg/investors/historical_financial_highlights.asp
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีประยุกต์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
หลายวันก่อนผมนั่งดูโฆษณาตัวหนึ่งทางโทรทัศน์ด้วยความขัดใจ โฆษณาชิ้นนี้เป็นโฆษณาแก๊สโซฮอล์ E20 ของ ปตท. ซึ่งใช้รถอเนกประสงค์ หรือ SUV ยี่ห้อหรูมาเป็นตัวเดินเรื่อง จุดขายอยู่ที่การบอกผู้บริโภคว่าแม้จะใช้ E20 ก็ยังเครื่องแรง กำลังไม่ตก พอเติมน้ำมันเรียบร้อยแล้วชายหนุ่มก็กระทืบคันเร่งพาเพื่อนสลาลมฝ่ากระแสจราจรในเมืองด้วยความเร็วปานอยู่บนมอเตอร์เวย์จนถึงที่หมายด้วยความโชคดีอย่างยิ่ง แนวความคิดของ PTT Blue Innovation กลายเป็นเรื่องที่สวนทางกับภาพพจน์ของน้ำมันผสมเอธิลแอลกอฮอล์ที่ผมเข้าใจว่าน่าจะจุดขายที่ความประหยัด และความคุ้มค่าเหมือนรถกระบะหลายยี่ห้อที่แข่งกันทดสอบ "ประสิทธิภาพ" ด้วยการขับจากเหนือไปใต้ตลอดความยาวทั้งประเทศด้วยน้ำมันเพียงหนึ่งถัง ความประหยัดเป็นสาระที่สำคัญที่ปตท. น่าจะสื่อสารแทนที่จะบอกผู้บริโภคทางอ้อมว่า คุณเติมน้ำมันราคาถูกแล้ว ไม่ต้องตั้งใจขับประหยัดน้ำมันมากก็ได้ เดี๋ยวพอน้ำมันหมดจะได้กลับมาเติมน้ำมันราคาถูกอีกไวๆ
...
การเดินทางในชีวิตประจำวันมีค่าใช้จ่ายทั้งในด้านเงิน เวลา รวมทั้งความไม่พึงพอใจในรูปแบบอื่นๆ ถ้าเรามองค่าใช้จ่ายด้านตัวเงินเป็นหลัก ทุกวันนี้เราเติมน้ำมันกันเกือบจะสองลิตรร้อยบาท ราคาน้ำมันขยับขึ้นจากบาร์เรลละ 20 เหรียญในช่วงทศวรรษที่ 90 เป็นบาร์เรลละ 100 เหรียญในปัจจุบัน แม้เราจะเชื่อกันว่าราคาน้ำมันที่พุ่งพรวดพราดไปกว่าบาร์เรลละ 140 เหรียญในปี 2551 เป็นเพียงแค่ผลพวงแห่งการเก็งกำไรและบิดเบือนสถานการณ์ แต่เมื่อสถานการณ์ปรับตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติในปัจจุบัน ราคาน้ำมันก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ความช้าของมันนี่เองทำให้เราไม่ได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา ตราบใดที่ราคาน้ำมันค่อยๆ ขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่ละคนก็จะมีกลยุทธ์ในการอยู่รอดที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ลดการกินข้าวนอกบ้าน บ้างก็ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย บ้างก็ลดการดูหนังฟังเพลง หรือลดการเที่ยวกลางคืน แต่น้อยคนนักที่จะลดการขับรถ ถ้าจะมีโอกาสงดใช้รถยนต์อยู่บ้างก็เนื่องมาจากผลพวงของการลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น การไม่ไปรับประทานข้าวนอกบ้านเป็นการลดการเดินทางและลดการบริโภคเชื้อเพลิงทางอ้อม
เรามักกังวลว่าวันหนึ่งน้ำมันจะหมดไปจากโลก แต่ในความเป็นจริงมนุษย์จะไม่มีวันใช้น้ำมันจนหมดโลกได้ เพราะแหล่งน้ำมันที่เหลืออยู่เป็นแหล่งที่ขุดเอาน้ำมันมาใช้ยากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการขุดเจาะน้ำมันมีค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่มีต้นทุนสูงกว่าน้ำมันที่สามารถขุดเจาะออกมาได้ ย้อนหลังไปกว่าร้อยปีที่แล้ว แผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเป็นแหล่งน้ำมันคุณภาพดีที่สามารถขุดเอามาใช้ได้ในระดับความลึกไม่กี่สิบเมตรจากพื้นดิน ภาพตัวการ์ตูนที่ขุดดินลงไปแล้วเจอน้ำมันพุ่งออกมานั่นเป็นเรื่องที่ไม่เกินความจริงมากนัก คนที่มีที่ดินอยู่ในบริเวณที่มีบ่อน้ำมันสามารถขุดน้ำมันออกมาขายกันโดยแทบจะไม่มีต้นทุนในการขุดเจาะจนกระทั่งบ่อแห้ง ปัจจุบันบ่อน้ำมันตื้นๆ ที่ขุดเจาะกันง่ายขนาดนี้ไม่มีอีกแล้ว แหล่งน้ำมันใหญ่ของประเทศในตะวันออกกลางที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นพิภพและในทะเลโดยเฉลี่ยจะต้องลงทุนใช้น้ำมันหนึ่งส่วนสำหรับให้พลังงานเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อขุดเอาน้ำมันขึ้นมาได้สิบส่วน หรือค่าพลังงานที่ได้ต่อพลังงานที่ลงทุน (Energy Return on Energy Invested - EROEI) เท่ากับ 10 และตัวเลขนี้จะน้อยลงเรื่อยๆ1 จนกระทั่งถึงวันหนึ่งที่เราไม่สามารถดึงน้ำมันออกมาใช้ได้ด้วยราคาที่คุ้มค่าเหนื่อยอีกต่อไป เมื่อถึงวันนั้นมันจะไม่สำคัญอีกต่อไปว่าเราจะพร้อมซื้อน้ำมันด้วยเงินมหาศาลไว้ขนาดไหน เพราะเงินที่เป็นตัวกลางไม่มีความหมายอีกต่อไป น้ำมันใหม่ที่เราจะได้มาจะต้องเอาน้ำมันที่เรามีอยู่ไปแลกแบบ barter trade โดยมีพื้นโลกเป็นคู่ค้าสำคัญเท่านั้น
...
ปีค.ศ. 1967 ไม่กี่ปีหลังจากอเมริกาดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้รถยนต์ด้วยการปูพรมโครงข่ายทางหลวงขนาดยักษ์ที่เรารู้จักกันในนาม Interstate Highway สำเร็จ ในอีกซีกโลกหนึ่ง ประธานาธิบดีลีกวนยูแห่งสิงคโปร์เลือกที่จะวางระบบรางเพื่อการขนส่งสาธารณะแทนที่ระบบรถประจำทางที่มีแต่จะถูกรถยนต์ส่วนตัวเบียดแย่งพื้นที่ถนนที่มีอยู่น้อยนิด รัฐบาลส่งเสริมให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมหนาแน่นเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของการขนส่งระบบราง แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมด้านการเงินการลงทุนที่ดูเหมือนจะไม่มีวันคืนกำไร ปัจจุบัน Singapore Mass Transit Authority มีกำไรกว่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 72 แต่ผลประโยชน์ที่ยิ่งไปกว่านั้นมาจากการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนหลักของรัฐบาล ทำให้การพัฒนาวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนสิงคโปร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คนสิงคโปร์มีอากาศบริสุทธิ์ได้หายใจ ไม่ต้องติดอยู่ในกระแสจราจรวันละสองสามชั่วโมง และมีเวลาเหลือในการทำกิจกรรมและสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจในรูปแบบอื่น ปัจจุบันอเมริกาเปลี่ยนแนวทางมาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอย่างจริงจัง ทั้งทางราง คือรถไฟฟ้าขนาดต่างๆ และทางถนนด้วยรถประจำทางด่วนพิเศษ โดยที่พยายามไม่ผลักดันการลงทุนเพื่ออำนวยความสะดวกให้รถยนต์ส่วนตัวอีกต่อไป
สี่สิบห้าปีหลังจากลีกวนยูวางยุทธศาสตร์อันชาญฉลาดให้กับประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลไทยกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีจูงใจให้ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของรถ อีกเกือบหนึ่งปีให้หลังทุกคนยอมรับว่าผลกระทบเชิงลบจากนโยบายนี้บดบังประโยชน์ที่คาดว่าจะได้เสียหมดสิ้น บนเฟซบุ๊คตลอดสองเดือนที่ผ่านมาผมเห็นข้อความระบายความหงุดหงิดจากสภาพการจราจรแทบทุกวัน จะมีเว้นบ้างก็เพียงวันอาทิตย์และวันหยุดบางวันเท่านั้น รวมทั้งมีการคาดการณ์ถึงสภาพจราจรที่แสนสาหัสของปีหน้าเมื่อรถที่สั่งซื้อในปีนี้ได้ฤกษ์ออกมาอวดโฉมพร้อมๆ กัน ท่ามกลางเสียงบ่นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเฟซบุ๊ค ก็มีคำคมของเปโตร กุสตาโว นายกเทศมนตรีเมืองโบโกต้า จากหนังสารคดีเรื่อง Urbanized แปะไว้ให้ชวนคิดว่า "ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ใช่ที่ที่คนจนมีรถขับ แต่เป็นที่ที่คนรวยเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ" (A developed country is not a place where the poor have cars. It's where the rich use public transportation.) น่าเสียดายที่บางคนไม่ได้อ่านเสียก่อน
โธมัส เชลลิ่ง นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดอธิบายสถานการณ์ที่เขาเรียกว่า "ปัญหาส่วนร่วม" หรือ Commons Problem ว่าเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนพยายามสร้างผลประโยชน์ให้ตัวเองโดยไม่สนใจผลกระทบข้างเคียง ถ้าทุกคนพร้อมใจกันไม่ทำให้เกิดผลกระทบ ส่วนรวมก็จะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ปัญหาก็คือการที่คนเดียวพยายามจะลดผลกระทบนั้นไม่ทำให้คนนั้นได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เชลลิ่งเปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับหมู่บ้านที่มีทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน เมื่อชาวบ้านนำแกะมากินหญ้ามากขึ้น ปริมาณหญ้าที่แกะแต่ละตัวได้กินก็มีน้อยลง ชาวบ้านทุกคนเข้าใจเหตุและผลข้อนี้ แต่ตราบใดที่ชาวบ้านแต่ละคนยังรู้สึกว่าการนำแกะเข้ามาเพิ่มหนึ่งตัวทำให้ได้ตนเองประโยชน์ และไม่ได้ทำให้แกะตัวอื่นของตนเองมีหญ้ากินน้อยลงซักเท่าไหร่เขาก็จะไม่ลังเลที่จะเอาแกะเข้ามาเพิ่ม จนกระทั่งถึงจุดวิกฤติที่มาถึงโดยไม่รู้ตัว เมื่อแกะทุกตัวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
ตัวเลขจำนวนรถจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ มีเพิ่มจากปีก่อนสามล้านคัน เป็นสามล้านสามแสนคันในปีที่แล้วเมื่อนับถึงเดือนพฤศจิกายน หรือเพิ่มเพียง สิบเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมองลึกลงไปอีกหน่อยจะเห็นผลพวงจากนโยบายรถคนแรก สถิติจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากห้าแสนสี่หมื่นคันเป็นแปดแสนคันจนถึงเดือนพฤศจิกายน และเชื่อว่าน่าจะเฉียดหลักล้านคันเมื่อจบปี หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ขณะที่รถจักรยานยนต์มีจำนวนจดทะเบียนลดลงบ้างเนื่องจากกลุ่มผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ส่วนหนึ่งหันมาซื้อรถขนาดเล็กแทน การที่เราเอารถยนต์หนึ่งล้านคันนี้มาวิ่งอยู่บนถนนอันมีอยู่จำกัด ก็เหมือนเรากำลังเอาแกะหนึ่งล้านตัวลงมากินหญ้าในทุ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์เหลือน้อยเต็มที เพียงเพราะบังเอิญมีคนมาเสนอขายแกะราคาถูกๆ ให้ คนส่วนหนึ่งที่ไม่เคยคิดจะเลี้ยงแกะก็หันมาเลี้ยงแกะ ในที่สุดปีนี้หลายคนก็คงจะรับรู้ว่าแกะที่ไปซื้อมาถูกๆ นี่มันกินจุขนาดไหน
โทษผู้อื่นแลเห็นเป็นภูเขา โทษของเราแลไม่เห็นเท่าเส้นขน ในบทความนี้ผมจึงไม่อยากจะโทษปตท. ไม่โทษคนคิดโฆษณาสนับสนุนการเผาผลาญน้ำมัน หรือ แม้กระทั่งนโยบายขายรถของรัฐบาล เพราะทั้งหมดทั้งปวงก็ไม่มีใครฝ่ายไหนบังคับให้เราต้องซื้อรถ ต้องเติมน้ำมัน หรือต้องเสียเงินกับอะไร สิ่งที่มันเกิดขึ้นมันสะท้อนถึงภูมิคุ้มกันสิ่งล่อใจของคนไทยที่อยู่ในระดับต่ำจนน่าเป็นห่วง เราเสพติดสิทธิเสรีภาพที่จะรับของฟรีของถูกจนกลายเป็นความเคยชิน ในวันนี้ที่ดูเหมือนจะไม่มีใครจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่ชีวิตคนไทยได้อย่างจริงใจ เราคงต้องพัฒนาภูมิคุ้มกันของตัวเองให้แข็งแรง ปีหน้าเมื่อรถออกมากันครบ เราคงต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล การมีรถจอดไว้ทุกๆ บ้านไม่ได้เป็นเรื่องเลงร้ายอะไรนัก เพียงแค่เราพิจารณาใช้รถในสถานการณ์จำเป็น คำนวณรายรับรายจ่ายและค่าเสียโอกาส วางแผนการเดินทางและการทำกิจกรรมในแต่ละวัน เรียนรู้ที่จะขับรถอย่างประหยัดและปลอดภัย และเรียนรู้ที่จะเดินทางด้วยรูปแบบอื่นๆ แทนการใช้รถยนต์ เช่นระบบขนส่งมวลชน จักรยาน หรือแม้แต่เดินมากขึ้นบ้าง ผมเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้ในระยะยาวเราจะค่อยๆ ปรับตัวกันไปได้ เพราะสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
--------------------------------------------------------------
1Owen, David. Green Metropolis: Why Living Smaller, Living Closer, and Driving Less are the Keys to Sustainability., Riverhead Books, New York, 2009.
2http://www.smrt.com.sg/investors/historical_financial_highlights.asp