ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงคลังปิดความเสี่ยงเงินกู้นอก 3 แสนล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ หลังพบอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูงหวั่นเป็นภาระในอนาคต เผยวิธีป้องกันมีทั้งการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และการชำระคืนหนี้ล่วงหน้า
แหล่งข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ สบน.มีแผนจะบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันรัฐบาลมีหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศทั้งสิ้น 3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของยอดหนี้สาธารณะที่มีทั้งสิ้น 4.8 ล้านล้านบาท
สำหรับหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศที่มีปัจจุบันส่วนใหญ่ 64% เป็นหนี้สกุลเงินเยน ซึ่งเป็นสกุลที่มีความเสี่ยมากสุดเช่นกัน ที่เหลือเป็นหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 19% สกุลยูโร 16% และสกุลอื่นๆ 13%
ส่วนวิธีการบริหารเพื่อปิดความเสี่ยงดังกล่าวมีทั้งการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เมื่อถึงเวลาชำระหนี้แล้วค่าเงินเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้ต้องมีภาระการชำระคืนสูงขึ้น และการชำระคืนหนี้ล่วงหน้าหากเป็นจำนวนที่เห็นว่าชำระคืนแล้วเกิดประโยชน์ โดยที่ผ่านมาได้ชำระหนี้คืนล่วงหน้าสกุลเงินเยนไปแล้ว ประมาณ 3,910 ล้านบาท ทำให้สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้ประมาณ 410 ล้านบาท
“แม้ว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจะมีเพียง 7% แต่หากไม่มีการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วก็อาจส่งผลให้หนี้ต่างประเทศที่อยู่มีภาระเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตโดยไม่สามารถควบคุมได้ กระทวงการคลังโดยสบน.จึงมีนโยบายที่จะลดความเสี่ยงหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจให้เป็นศูนย์ภายในปีงบประมาณ 2556 นี้” แหล่งข่าวจาก สบน.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนี้สกุลเงินเยนนั้น ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสากิจที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ก่อนหนี้ เช่น องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ที่กู้เงินเยนมาสร้างรถไฟใต้ดิน ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้ป้องกันคามเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ภาระหนี้ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นทุกปี นอกนั้นก็เป็นหนี้ของการไฟฟ้า การประปา ส่วนรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกันเงินกู้และมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศอยู่แล้วอย่าง การบินไทย และบมจ.ปตท. นั้นความเสี่ยงของหนี้สกุลต่างประเทศถือว่าเป็นศูนย์อยู่แล้ว
ก่อนหน้านั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ประกาศนโยบายปี 2556 ว่า แม้ว่าที่ผ่านมาถือว่าอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่มีความกังวลความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ ตนจึงอยากเห็นความมีเสถียรภาพในส่วนนโยบายการเงิน ทั้งในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ต้องไม่มีความผันผวนที่มากจนเกินไป.
แหล่งข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ สบน.มีแผนจะบริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อปิดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันรัฐบาลมีหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศทั้งสิ้น 3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 7% ของยอดหนี้สาธารณะที่มีทั้งสิ้น 4.8 ล้านล้านบาท
สำหรับหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศที่มีปัจจุบันส่วนใหญ่ 64% เป็นหนี้สกุลเงินเยน ซึ่งเป็นสกุลที่มีความเสี่ยมากสุดเช่นกัน ที่เหลือเป็นหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 19% สกุลยูโร 16% และสกุลอื่นๆ 13%
ส่วนวิธีการบริหารเพื่อปิดความเสี่ยงดังกล่าวมีทั้งการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เมื่อถึงเวลาชำระหนี้แล้วค่าเงินเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้ต้องมีภาระการชำระคืนสูงขึ้น และการชำระคืนหนี้ล่วงหน้าหากเป็นจำนวนที่เห็นว่าชำระคืนแล้วเกิดประโยชน์ โดยที่ผ่านมาได้ชำระหนี้คืนล่วงหน้าสกุลเงินเยนไปแล้ว ประมาณ 3,910 ล้านบาท ทำให้สามารถประหยัดดอกเบี้ยได้ประมาณ 410 ล้านบาท
“แม้ว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจะมีเพียง 7% แต่หากไม่มีการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วก็อาจส่งผลให้หนี้ต่างประเทศที่อยู่มีภาระเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตโดยไม่สามารถควบคุมได้ กระทวงการคลังโดยสบน.จึงมีนโยบายที่จะลดความเสี่ยงหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจให้เป็นศูนย์ภายในปีงบประมาณ 2556 นี้” แหล่งข่าวจาก สบน.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหนี้สกุลเงินเยนนั้น ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสากิจที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ก่อนหนี้ เช่น องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ที่กู้เงินเยนมาสร้างรถไฟใต้ดิน ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้ป้องกันคามเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ภาระหนี้ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นทุกปี นอกนั้นก็เป็นหนี้ของการไฟฟ้า การประปา ส่วนรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกันเงินกู้และมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศอยู่แล้วอย่าง การบินไทย และบมจ.ปตท. นั้นความเสี่ยงของหนี้สกุลต่างประเทศถือว่าเป็นศูนย์อยู่แล้ว
ก่อนหน้านั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ประกาศนโยบายปี 2556 ว่า แม้ว่าที่ผ่านมาถือว่าอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่มีความกังวลความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ ตนจึงอยากเห็นความมีเสถียรภาพในส่วนนโยบายการเงิน ทั้งในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ต้องไม่มีความผันผวนที่มากจนเกินไป.