ASTVผู้จัดการรายวัน - "อัษฎา"อัด "ปึ้ง" อย่ากล่อมสมองประชาชนยอมรับไทยพ่ายคดี "เขาพระวิหาร" ทั้งๆ ที่ยังไม่ตัดสิน "ปู"กลัวปัญหาลาม เรียก ผบ.เหล่าทัพ ถกความมั่นคง เล็งตั้งคณะทำงาน ทีมโฆษก แจงปมพระวิหาร ด้านทหารลั่น ไม่ยอมแน่ หากเสียพื้นที่แม้แต่นิดเดียว
นายอัษฎา ชัยนาม อดีตอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาส่งสัญญาณให้ประชาชน เตรียมทำใจ หากผลการตัดสินขอศาลโลกออกมาอย่างไม่คาดคิด และทำให้คนไทยรู้สึกผิดหวัง ว่า ไม่สมควรจะชี้แจงในลักษณะนั้น เพราะในทางการเมือง ปัญหาปราสาทพระวิหาร เริ่มต้นมีปัญหาสมัยพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น นายสุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ยอมให้กระทรวงศึกษาธิการยุติการซ่อมแซมปราสาทตาเมือนธม เพราะเขมรบอกว่า อันนี้น่าจะอยู่ในดินแดนเขมร อันนี้เป็นไปตามเอ็มโอยู 43 แล้วก็ต่อมาที่พักพิงของนักท่องเที่ยว ซึ่งฝ่ายไทยสร้างขึ้นมา และเราก็ว่าอยู่ในเขตไทย เขมรก็บอกให้ยกเลิกไป อันนี้ปัญหามันมาจากอันนั้นก่อน เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นไปได้ เป็นเอ็มโอยู 43 มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ผลปฏิบัติพรรคเพื่อไทย เป็นคนทำขึ้นมา พอมาถึงเวลานี้ โดยประชาธิปัตย์ออกไปแล้ว ทางเพื่อไทยก็พยายามหาแพะ เผื่อแพ้ อันนี้ก็เป็นทางชี้แนวให้ทางศาลโลกเห็นเข้าใจว่ารัฐบาลนี้จะไม่ถือสาอะไรถ้าแพ้ แทนที่จะบอกว่าเราถือว่าเรื่องนี้เราไม่สมควรแพ้ ซึ่งผู้พิพากษาเราก็ได้ทำไปแล้ว แต่มาพูดอย่างนี้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเมืองที่จะทำลายพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามว่า มองว่าเป็นการคาดการณ์ คำชี้แจง เป็นการพูดเกินไปหรือเปล่า นายอัษฎา กล่าวว่า เป็นการพูดหาแพะ ตัวไม่รับผิดชอบ ปัญหาไทยกับเขมรในเรื่องเขตแดนอะไรต่ออะไร อย่างที่บอกมันเริ่มเพื่อไทยหนึ่งหรือไทยรักไทยหนึ่งสมัยโน้น ซึ่งทุกอย่างเราไปยอมเขาหมด แล้วก็มันมีปัญหามา อันนั้นมันเป็นจุดเริ่มต้น มันถึงมีการฟ้องร้องกัน แต่ว่าถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว เรื่องนี้มองลึกกว่านั้นได้ด้วยซ้ำไป เรื่องนี้ในอดีตฝ่าย เขมรเคยขอให้เราเป็นเจ้าของร่วมกัน สมัยจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัตน์) เป็นนายกฯ ถ้าผมจำไม่ผิด แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมตอนนั้น
เมื่อถามว่า ท่าทีของกระทรวงการต่างประเทศของเรา มีท่าทีออกมาเป็นแบบไหนบ้าง นายอัษฎากล่าวว่า ท่าทีก็เป็นข้าราชการประจำ เพราะรัฐบาลให้ข้าราชการประจำออกมาพูด ยิ่งคนที่เป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นามสกุลโพธิสาโร เข้าใจว่ามีญาติเป็นสมาชิกเพื่อไทย พูดออกมาในด้านการเมืองเลย แพะชนะเรายังเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่ หลักการก็ยังไม่ผิดยังเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่ แต่ว่ามาพูดอย่างนี้ให้ยอมรับซะจากนี้ไป คิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกล่อมสมองประชาชนให้ยอมรับในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
อีกด้าน นายเทพมนตรี ลิมปพะยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ โพตส์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว Thepmontri Limpaphayom ว่า หลังปีใหม่ ผมจะดำเนินการ 2 เรื่องในต่างประเทศและในประเทศไทยครับ 1.คือเรื่องยูเนสโกที่ต้องสานต่อ 2.ศาลโลกที่ต้องดำเนินการ แต่จะเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันอีกครั้งหนึ่ง เพราะศาลโลกเรียกให้การปากเปล่าเดือนเม.ย. ประชุมมรดกโลกที่เขมร ประมาณปลายมิ.ย.2556 แม้ข้อมูลที่ได้รับมาจะสันนิษฐานว่าเมื่อศาลได้รับฟังคู่กรณีแล้ว จะมีคำพิพากษาอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ตาม แต่เพื่อความไม่ประมาทต้องจัดการก่อนล่วงหน้าก่อน เพราะศาลโลกมันเป็นศาลล๊อบบี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ เผลอๆ มีบางประเทศแอบเขียนคำพิพากษาไว้แล้ว และมีแนวโน้มว่าไทยต้องแพ้ สูญเสียดินแดนให้เขมรอีก โดยเฉพาะถ้าใช้แผนที่เก๊ทุกระวางมาเป็นหลักฐานในการตัดสิน มีหวังเขมรได้ดินแดนไทยตลอดแนว ณ วันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวของไม่ฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 51 ที่บอกว่าดินแดนโดยรอบเป็นของไทยและตัวปราสาทเราได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เรียกคือตัวปราสาทไว้ (เนื่องจากคำแถลงการณ์ร่วมจะทำให้ไทยเสียสิทธิ์ตามข้อสงวนสิทธิ์) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกหน่วยงานและองค์กรของรัฐ
แต่ที่ผ่านมาพวกมันฝ่าฝืนคำวินิจฉัยของศาลตลอดเวลา บอกตามตรงว่าอย่าหวังกับหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบเลย เพราะบางหน่วยงานยอมเขมรตั้งแต่ต้น เสมือนเป็นสถานทูตเขมรประจำประเทศไทย เป็นปากเป็นเสียงแทนฮุนเซน รวมทั้งกลุ่มครูบาอาจารย์ของผมก็ยัดเยียดแผนที่เก๊ว่าเป็นแผนที่ถูกต้อง แถมมาอ้างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าไปขอแผนที่มาใช้ราชการ โดยหลงลืมว่าสมเด็จฯ ท่านไม่มีสิทธิ์ตัดสิน เพราะไม่ได้เป็นประธานคณะกรรมการปักปันฯ การรู้เห็นเป็นใจแบบนี้ก็ไม่ต่างกับที่ประเทศของเรามีคนไม่รู้สึกรู้สาต่อการสูญเสียดินแดน ต่างวิ่งที่จะเข้าไปฉลองขัยชนะร่วมกับเขมร โดยอ้างว่าเดี๋ยวจะเข้าอาเซียนด้วยกัน เป็นเพื่อนบ้านกันอย่าคิดมาก อะไรทำนองนี้ ผมคิดว่าอาจต้องมีการเคลื่อนมวลชน ไม่รู้จะได้เท่าไร แต่ก็ไม่กังวลครับ มีสัก20-30คน ก็ใช้ได้แล้วสำหรับการดำเนินการในประเทศไทย
ทางด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่แปลกที่นายสุรพงษ์จะพยายามทำเช่นนั้น เพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาของพรรคพวกนายสุรพงษ์ ไล่ตั้งแต่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ สมัยพรรคพลังประชาชน ที่เซ็นลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยินยอมให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มของเรื่องราวทั้งหมด และในปีนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังปล่อยให้กัมพูชาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมมรดกโลกแต่เพียงผู้เดียวทั้งที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านมาตลอดอีกด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงทั้งหมดสามารถยืนยันได้ว่าใครมีพฤติกรรมอย่างไร และได้ร่วมปกป้องผลประโยชน์ขนาดไหน
"หากมีการพาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ และอ้างข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง พรรคพร้อมจะตอบโต้และชี้แจงทุกกรณี โดยเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจ เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่ารัฐบาลใดยึดผลประเทศชาติ รัฐบาลใดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว"
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของรัฐบาล พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณฑัต รมว.กลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ว่า ส่วนใหญ่เป็นการรายงานสถานการณ์ความมั่นคง และสถานการณ์ทั่วไป ทั้งกรณีความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน รวมถึงกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ศาลโลกนัดไต่สวนคดีตามที่ประเทศกัมพูชาร้องให้ชี้พื้นที่ทับซ้อนโดยรอบปราสาทพระวิหารในเดือนเม.ย.นี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการรายงานในที่ประชุม แต่ยังไม่ได้ลงในรายละเอียด เพราะอยู่ในกระบวนการของศาลโลก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับทางทหารโดยตรง
ที่กองทัพอากาศ เมื่อเวลา 17.00 น. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานความมั่นคงหารือ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้หน่วยงานความมั่นคงเดินหน้าไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น และให้ประชาชนได้เข้าใจเพื่อสนับสนุนงานความมั่นคง ซึ่งได้มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะจะมีคณะทำงานที่จะคอยติดตามความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย รวมถึงชายแดนด้านเขาพระวิหารด้วย โดยให้ความสำคัญทุกด้าน เพราะแม้แต่เพียงนิดเดียวของพื้นที่ความมั่นคงที่รับผิดชอบ ก็ยอมไม่ได้
ส่วนการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพและกระทรวงการต่างประเทศกรณีปราสาทเขาพระวิหารที่ยังรอคำพิพากษาของศาลโลกนั้น นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทาง โดยการจัดคณะทำงานพูดคุยกันแบบเป็นทีมเวิร์ค โดยจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเชิญผู้สื่อข่าวไปรับทราบด้วย ซึ่งท่านนายกฯ ไม่ต้องการให้แต่ละคนยึดถือบทบาทหน้าที่ของตัวเองเพียงอย่างเดียว ต้องนำมาแชร์กัน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานทำ Strategy Map เรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เห็นพัฒนาการที่เราทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านกับการคลี่คลายในแต่ละจุดที่มีปัญหาความมั่นคง โดยฝ่ายบริหารจะเป็นคนกำหนด ส่วนเรื่องรายละเอียดจะมีหน่วยงานที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการออกมาให้ข้อมูล โดยทางฝ่ายบริหารจะมีการตั้งโฆษกฯ ขึ้นมา เพื่อชี้แจงในมิติความมั่นคงนี้คนเดียว ซึ่งรัฐบาลเป็นห่วงความรู้สึกประชาชน
"ต่อจากนี้กรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร จะเป็นลักษณะของการแถลงข่าว หรือออกเป็นเอกสารข่าว เพราะไม่อยากให้คิดไปเอง อยากให้คิดทางบวก และอยากให้ทราบถึงข้อเท็จจริง ขอยืนยันว่า กองทัพอากาศ จะทำทุกอย่าง เพื่อให้บทบาทการทำหน้าที่ด้านความมั่นคงสมบูรณ์ และจะทำเต็มขีดความสามารถเพื่อให้รัฐบาลพัฒนาประเทศ และดูแลประชาชนได้"
อย่างไรก็ตาม การหารือครั้งนี้ไม่ได้มีการประเมินการคำพิพากษาของศาลโลกที่จะออกมาว่าไทยจะเสียเปรียบหรือไม่ ซึ่งมีคณะทำงานที่ดูแลเรื่องคดีโดยเฉพาะอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ รมว.ต่างประเทศ ออกมาระบุว่าไทยเสียเปรียบและไม่มีทางชนะในศาลโลกนั้น ตนก็ฟังแค่เพียงสั้นๆ และเข้าใจว่าเป็นการเกริ่นให้รู้ว่าต่อไปว่าเราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ซึ่งท่านไม่ได้พูดชัดเจนว่าจะเสียเปรียบในประเด็นอะไร
นายอัษฎา ชัยนาม อดีตอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาส่งสัญญาณให้ประชาชน เตรียมทำใจ หากผลการตัดสินขอศาลโลกออกมาอย่างไม่คาดคิด และทำให้คนไทยรู้สึกผิดหวัง ว่า ไม่สมควรจะชี้แจงในลักษณะนั้น เพราะในทางการเมือง ปัญหาปราสาทพระวิหาร เริ่มต้นมีปัญหาสมัยพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น นายสุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ยอมให้กระทรวงศึกษาธิการยุติการซ่อมแซมปราสาทตาเมือนธม เพราะเขมรบอกว่า อันนี้น่าจะอยู่ในดินแดนเขมร อันนี้เป็นไปตามเอ็มโอยู 43 แล้วก็ต่อมาที่พักพิงของนักท่องเที่ยว ซึ่งฝ่ายไทยสร้างขึ้นมา และเราก็ว่าอยู่ในเขตไทย เขมรก็บอกให้ยกเลิกไป อันนี้ปัญหามันมาจากอันนั้นก่อน เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นไปได้ เป็นเอ็มโอยู 43 มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ผลปฏิบัติพรรคเพื่อไทย เป็นคนทำขึ้นมา พอมาถึงเวลานี้ โดยประชาธิปัตย์ออกไปแล้ว ทางเพื่อไทยก็พยายามหาแพะ เผื่อแพ้ อันนี้ก็เป็นทางชี้แนวให้ทางศาลโลกเห็นเข้าใจว่ารัฐบาลนี้จะไม่ถือสาอะไรถ้าแพ้ แทนที่จะบอกว่าเราถือว่าเรื่องนี้เราไม่สมควรแพ้ ซึ่งผู้พิพากษาเราก็ได้ทำไปแล้ว แต่มาพูดอย่างนี้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเมืองที่จะทำลายพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อถามว่า มองว่าเป็นการคาดการณ์ คำชี้แจง เป็นการพูดเกินไปหรือเปล่า นายอัษฎา กล่าวว่า เป็นการพูดหาแพะ ตัวไม่รับผิดชอบ ปัญหาไทยกับเขมรในเรื่องเขตแดนอะไรต่ออะไร อย่างที่บอกมันเริ่มเพื่อไทยหนึ่งหรือไทยรักไทยหนึ่งสมัยโน้น ซึ่งทุกอย่างเราไปยอมเขาหมด แล้วก็มันมีปัญหามา อันนั้นมันเป็นจุดเริ่มต้น มันถึงมีการฟ้องร้องกัน แต่ว่าถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว เรื่องนี้มองลึกกว่านั้นได้ด้วยซ้ำไป เรื่องนี้ในอดีตฝ่าย เขมรเคยขอให้เราเป็นเจ้าของร่วมกัน สมัยจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัตน์) เป็นนายกฯ ถ้าผมจำไม่ผิด แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมตอนนั้น
เมื่อถามว่า ท่าทีของกระทรวงการต่างประเทศของเรา มีท่าทีออกมาเป็นแบบไหนบ้าง นายอัษฎากล่าวว่า ท่าทีก็เป็นข้าราชการประจำ เพราะรัฐบาลให้ข้าราชการประจำออกมาพูด ยิ่งคนที่เป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นามสกุลโพธิสาโร เข้าใจว่ามีญาติเป็นสมาชิกเพื่อไทย พูดออกมาในด้านการเมืองเลย แพะชนะเรายังเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่ หลักการก็ยังไม่ผิดยังเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่ แต่ว่ามาพูดอย่างนี้ให้ยอมรับซะจากนี้ไป คิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะกล่อมสมองประชาชนให้ยอมรับในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
อีกด้าน นายเทพมนตรี ลิมปพะยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ โพตส์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว Thepmontri Limpaphayom ว่า หลังปีใหม่ ผมจะดำเนินการ 2 เรื่องในต่างประเทศและในประเทศไทยครับ 1.คือเรื่องยูเนสโกที่ต้องสานต่อ 2.ศาลโลกที่ต้องดำเนินการ แต่จะเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันอีกครั้งหนึ่ง เพราะศาลโลกเรียกให้การปากเปล่าเดือนเม.ย. ประชุมมรดกโลกที่เขมร ประมาณปลายมิ.ย.2556 แม้ข้อมูลที่ได้รับมาจะสันนิษฐานว่าเมื่อศาลได้รับฟังคู่กรณีแล้ว จะมีคำพิพากษาอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ตาม แต่เพื่อความไม่ประมาทต้องจัดการก่อนล่วงหน้าก่อน เพราะศาลโลกมันเป็นศาลล๊อบบี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ เผลอๆ มีบางประเทศแอบเขียนคำพิพากษาไว้แล้ว และมีแนวโน้มว่าไทยต้องแพ้ สูญเสียดินแดนให้เขมรอีก โดยเฉพาะถ้าใช้แผนที่เก๊ทุกระวางมาเป็นหลักฐานในการตัดสิน มีหวังเขมรได้ดินแดนไทยตลอดแนว ณ วันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวของไม่ฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 51 ที่บอกว่าดินแดนโดยรอบเป็นของไทยและตัวปราสาทเราได้ตั้งข้อสงวนสิทธิ์เรียกคือตัวปราสาทไว้ (เนื่องจากคำแถลงการณ์ร่วมจะทำให้ไทยเสียสิทธิ์ตามข้อสงวนสิทธิ์) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกหน่วยงานและองค์กรของรัฐ
แต่ที่ผ่านมาพวกมันฝ่าฝืนคำวินิจฉัยของศาลตลอดเวลา บอกตามตรงว่าอย่าหวังกับหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบเลย เพราะบางหน่วยงานยอมเขมรตั้งแต่ต้น เสมือนเป็นสถานทูตเขมรประจำประเทศไทย เป็นปากเป็นเสียงแทนฮุนเซน รวมทั้งกลุ่มครูบาอาจารย์ของผมก็ยัดเยียดแผนที่เก๊ว่าเป็นแผนที่ถูกต้อง แถมมาอ้างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าไปขอแผนที่มาใช้ราชการ โดยหลงลืมว่าสมเด็จฯ ท่านไม่มีสิทธิ์ตัดสิน เพราะไม่ได้เป็นประธานคณะกรรมการปักปันฯ การรู้เห็นเป็นใจแบบนี้ก็ไม่ต่างกับที่ประเทศของเรามีคนไม่รู้สึกรู้สาต่อการสูญเสียดินแดน ต่างวิ่งที่จะเข้าไปฉลองขัยชนะร่วมกับเขมร โดยอ้างว่าเดี๋ยวจะเข้าอาเซียนด้วยกัน เป็นเพื่อนบ้านกันอย่าคิดมาก อะไรทำนองนี้ ผมคิดว่าอาจต้องมีการเคลื่อนมวลชน ไม่รู้จะได้เท่าไร แต่ก็ไม่กังวลครับ มีสัก20-30คน ก็ใช้ได้แล้วสำหรับการดำเนินการในประเทศไทย
ทางด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่แปลกที่นายสุรพงษ์จะพยายามทำเช่นนั้น เพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาของพรรคพวกนายสุรพงษ์ ไล่ตั้งแต่นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ สมัยพรรคพลังประชาชน ที่เซ็นลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ยินยอมให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มของเรื่องราวทั้งหมด และในปีนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังปล่อยให้กัมพูชาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมมรดกโลกแต่เพียงผู้เดียวทั้งที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านมาตลอดอีกด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงทั้งหมดสามารถยืนยันได้ว่าใครมีพฤติกรรมอย่างไร และได้ร่วมปกป้องผลประโยชน์ขนาดไหน
"หากมีการพาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ และอ้างข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง พรรคพร้อมจะตอบโต้และชี้แจงทุกกรณี โดยเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจ เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งบอกชัดเจนอยู่แล้วว่ารัฐบาลใดยึดผลประเทศชาติ รัฐบาลใดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว"
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของรัฐบาล พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณฑัต รมว.กลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง ว่า ส่วนใหญ่เป็นการรายงานสถานการณ์ความมั่นคง และสถานการณ์ทั่วไป ทั้งกรณีความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน รวมถึงกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ศาลโลกนัดไต่สวนคดีตามที่ประเทศกัมพูชาร้องให้ชี้พื้นที่ทับซ้อนโดยรอบปราสาทพระวิหารในเดือนเม.ย.นี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการรายงานในที่ประชุม แต่ยังไม่ได้ลงในรายละเอียด เพราะอยู่ในกระบวนการของศาลโลก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับทางทหารโดยตรง
ที่กองทัพอากาศ เมื่อเวลา 17.00 น. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานความมั่นคงหารือ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้หน่วยงานความมั่นคงเดินหน้าไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น และให้ประชาชนได้เข้าใจเพื่อสนับสนุนงานความมั่นคง ซึ่งได้มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะจะมีคณะทำงานที่จะคอยติดตามความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย รวมถึงชายแดนด้านเขาพระวิหารด้วย โดยให้ความสำคัญทุกด้าน เพราะแม้แต่เพียงนิดเดียวของพื้นที่ความมั่นคงที่รับผิดชอบ ก็ยอมไม่ได้
ส่วนการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพและกระทรวงการต่างประเทศกรณีปราสาทเขาพระวิหารที่ยังรอคำพิพากษาของศาลโลกนั้น นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทาง โดยการจัดคณะทำงานพูดคุยกันแบบเป็นทีมเวิร์ค โดยจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเชิญผู้สื่อข่าวไปรับทราบด้วย ซึ่งท่านนายกฯ ไม่ต้องการให้แต่ละคนยึดถือบทบาทหน้าที่ของตัวเองเพียงอย่างเดียว ต้องนำมาแชร์กัน
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานทำ Strategy Map เรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้เห็นพัฒนาการที่เราทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านกับการคลี่คลายในแต่ละจุดที่มีปัญหาความมั่นคง โดยฝ่ายบริหารจะเป็นคนกำหนด ส่วนเรื่องรายละเอียดจะมีหน่วยงานที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการออกมาให้ข้อมูล โดยทางฝ่ายบริหารจะมีการตั้งโฆษกฯ ขึ้นมา เพื่อชี้แจงในมิติความมั่นคงนี้คนเดียว ซึ่งรัฐบาลเป็นห่วงความรู้สึกประชาชน
"ต่อจากนี้กรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร จะเป็นลักษณะของการแถลงข่าว หรือออกเป็นเอกสารข่าว เพราะไม่อยากให้คิดไปเอง อยากให้คิดทางบวก และอยากให้ทราบถึงข้อเท็จจริง ขอยืนยันว่า กองทัพอากาศ จะทำทุกอย่าง เพื่อให้บทบาทการทำหน้าที่ด้านความมั่นคงสมบูรณ์ และจะทำเต็มขีดความสามารถเพื่อให้รัฐบาลพัฒนาประเทศ และดูแลประชาชนได้"
อย่างไรก็ตาม การหารือครั้งนี้ไม่ได้มีการประเมินการคำพิพากษาของศาลโลกที่จะออกมาว่าไทยจะเสียเปรียบหรือไม่ ซึ่งมีคณะทำงานที่ดูแลเรื่องคดีโดยเฉพาะอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ รมว.ต่างประเทศ ออกมาระบุว่าไทยเสียเปรียบและไม่มีทางชนะในศาลโลกนั้น ตนก็ฟังแค่เพียงสั้นๆ และเข้าใจว่าเป็นการเกริ่นให้รู้ว่าต่อไปว่าเราต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ซึ่งท่านไม่ได้พูดชัดเจนว่าจะเสียเปรียบในประเด็นอะไร