ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มขึ้นหลังเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในปลายปี 2554 และทวีความรุนแรงหนักขึ้นในช่วงปี 2555 โดยเฉพาะในภาคธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงงานขาดแคลน คือ 1.การกลับคืนสู่ภาคเกษตรกรรมของแรงงานตามช่วงฤดูกาลเพาะปลูก และฤดูกาลเก็บเกี่ยว กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานไทย 2. การดูดซับแรงงานจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ 3.การย้ายถิ่นฐานกลับภูมิลำเนาเดิมของแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย เนื่งจากประเทศเพื่อนบ้านขยายการลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคและโครงข่ายคมนาคมอย่างมาก เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ทั้งนี้ ตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2555 มีมติเห็นชอบให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศพร้อมกันในวันที่ 1 ม.ค. 2556 ซึ่งแน่นอน เป็นการทำตามที่รัฐบาลเพื่อไทยได้หาเสียง และเป็นหนึ่งในหลายๆประชานิยมที่รัฐบาลจัดทำขึ้นมา แต่นโยบายค่าแรง 300 บาท เปรียบเสมือนเหรียญ2ด้าน ที่ส่งทั้งผลดีและมีผลลบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อมองในด้านบวกนั้น จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานในระบบที่มีรายได้น้อยกว่า 5 ล้านคน แรงงานเหล่านี้จะมีเงินเพิ่มขึ้นรวมปีละ 100,000-150,000 ล้านบาท และหากเกิดการจับจ่ายใช้สอย เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้หลายรอบ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจโตได้ 1.0-1.4%
ขณะที่ผลกระทบที่ต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น หากมองเฉพาะ 3 ด้านสำคัญ คือ 1.การปรับตัวของต้นทุนอุตสาหกรรมต่างๆ 2.การปรับตัวของเงินเฟ้อ และ3.การปิดตัวและปรับตัวของภาคธุรขนาดกลาง-เล็กแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าส่งผลในวงกว้างอย่างมาก โดยในส่วนของผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจและต้นทุนการก่อสร้างในภาคธุรกิจก่อสร้าง
โดยในส่วนของธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) กระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมาก และกว่า 40-50% ไม่ได้เข้าระบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลลดภาษีจาก 30% เหลือ 20% ในปีนี้ ขณะที่ยังมีภาระที่จะต้องเสียภาษีอื่นๆ อีก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีบุคคลธรรมดา รวมถึงยังมีภาระเพิ่มขึ้นจากการจ่ายเงินค่าจ้างเพิ่มเป็น 300 บาท
“ในปี 56 ภาคอสังหาฯยังประสบปัญหาในเรื่องของแรงงานขาดแคลนต่อเนื่องจากปี 55 อีกทั้งค่าแรงยังมีแนวโน้มปรับขึ้นโดยคาดว่าค่าแรงต่อหัวจะปรับขึ้นอีก 40-50% ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นทุนวัสดุในช่วงที่ผ่านมายังมีแนวโน้มทรงตัวโดยเฉพาะ เหล็กและปูน จึงทำให้ในภาพรวมต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้นเพียง 5-10% เท่านั้น โดยจะทำให้ราคาบ้านปรับขึ้น 5-10% เช่นกัน "
ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA กล่าวว่า ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาบ้านขึ้นตามต้นทุนได้ทุกรายหรือทุกทำเล ขึ้นอยู่กับการแข่งขัน ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในตลาดและความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกดดันให้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ดีที่สุด เพื่อลดต้นทุนไม่ให้เพิ่มขึ้น
ขณะที่ นายวสันต์ เคียงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า ปี56 ยังต้องเจอเรื่องปัญหาแรงงานอยู่ และเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 56
"จะเห็นได้ว่า ในปี 55 งานก่อสร้างบ้านของธารารมณ์ ล่าช้าออกไป ไม่สามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้ทันเวลาในบางส่วน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการส่งมอบบ้านล่าช้า และการรับรู้รายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ธาราณมณ์ฯ จึงให้น้ำหนักกับการพัฒนาบ้านพร้อมอยู่สูงถึง70% ขณะเดียวกันก็ยังคงสัดส่วนบ้านดาวน์ไว้ที่ 30% เพื่อรองรับความต้องการลูกค้าและยังเป็นการลดภาระการขอสินเชื่อให้แก่ลูกค้าด้วย ”
***หวั่นวิกฤตแรงงานขาดตลาด
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวด้วยความเป็นห่วงเช่นกันว่า ในปี 56 ปัญหาแรงงานจะทวีความรุนแรง โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนแรงงาน ผู้จ้างเหมาก่อสร้าง จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งยังเรียกค่าจ้างสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัญหาแรงงานมีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการได้ปรับตัวด้วยการหันมาใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูป หรือพรีแฟ็บ เพื่อให้การก่อสร้างเร็วขึ้นลดการใช้แรงงาน ซึ่งเป็นทางออกที่ดีมาก สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ระบบสำเร็จรูปเกือบจะทั้งหลัง ทั้งเสา คาน ผนัง หลังคา ก็จะสร้างบ้านได้ในระยะเวลา 1-2 เดือน
สำหรับกลุ่มบริษัท กานดาฯ ได้นำระบบพรีแฟ็บมาช้าตั้งแต่ปี 47 อาทิ เสา คาน หลังคา ส่วนวัสดุอื่นก็เลือกใช้ที่ผลิตมาเพื่อให้ติดตั้งง่าย ยกเว้นผนังที่ยังใช้แบบปกติ ทำให้การก่อสร้างบ้าน 1 หลังใช้เวลาเพียง 4 เดือน จากการก่อสร้างแบบเดิมใช้เวลา 8 เดือน ในขณะที่ใช้แรงงานลดลงถึง 50%
ปัจจุบันผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหันมาผลิตวัสดุที่มีการติดตั้งง่าย รวดเร็ว ใช้แรงงานน้อย เช่น วงกบหน้าต่าง ประตู ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมนำมาติดตั้งได้เลย จากเดิมที่ต้องประกอบทีละด้าน แผ่นพื้นสำเร็จรูป หลังคาสำเร็จรูป ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวรับด้วยการออกแบบบ้านให้สามารถใช้กับวัสดุต่างเหล่านี้ได้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ปรับตัวไปแล้วในระดับหนึ่ง ยกเว้นบริษัทที่ยังมีผู้รับเหมาที่แข็งแกร่ง และบางส่วนผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมซึ่งประการหลังจะมีปัญหาในการส่งมอบบ้านไม่ทันตามกำหนด
**รายใหญ่แย่งแรงงานรายเล็ก
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ด้วยปริมาณงานโครงการที่แต่ละบริษัทต่างประเคนการเปิดตัวโครงการอย่างมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์การแย่งชิงแรงงานในตลาดเกิดขึ้น เช่น การปรับขึ้นค่าแรงงานของบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อดึงแรงงานจากบริษัทรับเหมาขนาดกลางและเล็กเข้าสู่ไซต์งานก่อสร้างของตนเอง หรือ การจัดรถรับ-ส่งแรงงานจากแคมป์คนงานก่อสร้างและไซต์งาน เพื่อป้องกันหักหัวคิวจัดหาแรงงานเข้ามาแย่งชิงแรงงานจากแคมป์คนงานก่อสร้าง โดยการเสนอค่าแรงที่สูงกว่าเพื่อดึงแรงงานก่อสร้างของแต่ละบริษัท
"จะเห็นได้ว่า มีแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทะลักเข้ามาในเมืองไทย ส่วนสำคัญมาจากรัฐบาลประกาศใช้ 300 บาทต่อวัน "
***เปิดเสรีขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายยกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (THCA) กล่าว่า ภาครัฐไม่ได้เข้ามาให้การแก้ไขอย่างจริงจัง และยังไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพปัญหาโดยรวมของการขาดแรงงานก่อสร้างยิ่งทรุดหนักกว่าเดิม
ทั้งนี้ ในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศไทยมีจำนวน1.4ล้านราย ขณะที่การสำรวจพบว่ามีแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในระบบมีจำนวนสูงถึง 1.6 ล้านรายหรืออาจมากกว่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้าง แต่ภาครัฐกลับไม่ดำเนินแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
“ในทางกลับกันหากรัฐบาลควรยอมรับความจริงว่าในระบบแรงงานของประเทศ ในขณะนี้มีแรงงานผิดกฎหมายหรือแรงงานเถื่อนที่เข้าเมืองมาทำงานอยู่ในประเทศมีจำนวนสูงกว่าแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอยู่จริง รัฐควรเข้ามาเปิดเสรีให้มีการขึ้นทะเบียนการจ้างแรงงานต่างด้าวได้โดยอิสระ แทนการจำกัดการเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานในแต่ละปี ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้อย่างมาก”
** แนะดึงเทคโนโลยีแก้แรงงานขาด
จากการสำรวจผลกระทบและพื้นที่ที่เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปี2254-2555 พบว่าพื้นที่ที่มีความรุนแรงานของการขาดแคลนแรงงานรุนแรงมากที่สุดคือ พื้นที่ในกทม.และปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเรียกได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤต ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นภาคใต้นับว่ามีความรุนแรงมากแต่ยังน้อยกว่ากทม.และปริมณฑล ส่วนในจังหวัดภาคอีสานการขาดแคลนแรงงานนั้นเป็นไปตามฤดูกาล เนื่องจากมีแรงงานในพื้นที่จำนวนมาก แต่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวแรงงานจะหายไปจากตลาด ขณะที่ภาคเหนือถือว่าได้รับผลกระทบน้อยสุดเพราะมีแรงงานต่างด้าวไหลเข้าออกอยู่ตลาดเวลา
ทั้งนี้ สมาคมฯพยายามหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มสมาชิก ด้วยการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหาและทดแทนแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยอมรับการว่านำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหานั้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสมาชิกให้เพิ่มสูงขึ้นอย่ามาก
“หากสภาพปัญหายังคงไม่เปลี่ยนแปลงเชื่อว่าในอนาคต หากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ก่อสร้างและบริษัทขนาดเล็ก เช่น SME มากขึ้นในขณะที่ผู้ที่จะได้เปรียบคือบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งจะเข้ามากลืนรายเล็กให้หมดไปเนื่องจากมีศักยภาพด้านการเงินที่มากกว่า ขณะที่รายเล็กขาดแคลนแหล่งเงินที่จะซื้อเทโนโลยีเข้ามาใช้แข่งขันได้” นายสิทธิพรกล่าว
ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่ยังรุนแรงอยู่ขณะนี้ย่อมส่งผลต่อการปรับตัวของต้นทุนการก่อสร้างของผู้ประกอบการอสังหาฯอย่างหนักในปีนี้ และหากปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าจะส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเบื้องต้นนั้นผู้ประกอบการต่างคาดการว่าจะมีผลต่อราคาบ้านให้ปรับตัวขึ้นอีก5-10% แน่นอนว่าในที่สุดต้นทุนที่เกิดขึ้นนั้นจะตกอยู่ที่ผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรผู้ประกอบการจะไม่ยอมแบกรับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดไว้ที่ตนเองแน่นอน.
ทั้งนี้ ตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2555 มีมติเห็นชอบให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศพร้อมกันในวันที่ 1 ม.ค. 2556 ซึ่งแน่นอน เป็นการทำตามที่รัฐบาลเพื่อไทยได้หาเสียง และเป็นหนึ่งในหลายๆประชานิยมที่รัฐบาลจัดทำขึ้นมา แต่นโยบายค่าแรง 300 บาท เปรียบเสมือนเหรียญ2ด้าน ที่ส่งทั้งผลดีและมีผลลบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อมองในด้านบวกนั้น จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานในระบบที่มีรายได้น้อยกว่า 5 ล้านคน แรงงานเหล่านี้จะมีเงินเพิ่มขึ้นรวมปีละ 100,000-150,000 ล้านบาท และหากเกิดการจับจ่ายใช้สอย เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้หลายรอบ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจโตได้ 1.0-1.4%
ขณะที่ผลกระทบที่ต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น หากมองเฉพาะ 3 ด้านสำคัญ คือ 1.การปรับตัวของต้นทุนอุตสาหกรรมต่างๆ 2.การปรับตัวของเงินเฟ้อ และ3.การปิดตัวและปรับตัวของภาคธุรขนาดกลาง-เล็กแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าส่งผลในวงกว้างอย่างมาก โดยในส่วนของผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจและต้นทุนการก่อสร้างในภาคธุรกิจก่อสร้าง
โดยในส่วนของธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) กระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมาก และกว่า 40-50% ไม่ได้เข้าระบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลลดภาษีจาก 30% เหลือ 20% ในปีนี้ ขณะที่ยังมีภาระที่จะต้องเสียภาษีอื่นๆ อีก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีบุคคลธรรมดา รวมถึงยังมีภาระเพิ่มขึ้นจากการจ่ายเงินค่าจ้างเพิ่มเป็น 300 บาท
“ในปี 56 ภาคอสังหาฯยังประสบปัญหาในเรื่องของแรงงานขาดแคลนต่อเนื่องจากปี 55 อีกทั้งค่าแรงยังมีแนวโน้มปรับขึ้นโดยคาดว่าค่าแรงต่อหัวจะปรับขึ้นอีก 40-50% ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้นทุนวัสดุในช่วงที่ผ่านมายังมีแนวโน้มทรงตัวโดยเฉพาะ เหล็กและปูน จึงทำให้ในภาพรวมต้นทุนค่าก่อสร้างปรับขึ้นเพียง 5-10% เท่านั้น โดยจะทำให้ราคาบ้านปรับขึ้น 5-10% เช่นกัน "
ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA กล่าวว่า ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาบ้านขึ้นตามต้นทุนได้ทุกรายหรือทุกทำเล ขึ้นอยู่กับการแข่งขัน ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในตลาดและความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกดดันให้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ดีที่สุด เพื่อลดต้นทุนไม่ให้เพิ่มขึ้น
ขณะที่ นายวสันต์ เคียงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า ปี56 ยังต้องเจอเรื่องปัญหาแรงงานอยู่ และเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 56
"จะเห็นได้ว่า ในปี 55 งานก่อสร้างบ้านของธารารมณ์ ล่าช้าออกไป ไม่สามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้ทันเวลาในบางส่วน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการส่งมอบบ้านล่าช้า และการรับรู้รายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ธาราณมณ์ฯ จึงให้น้ำหนักกับการพัฒนาบ้านพร้อมอยู่สูงถึง70% ขณะเดียวกันก็ยังคงสัดส่วนบ้านดาวน์ไว้ที่ 30% เพื่อรองรับความต้องการลูกค้าและยังเป็นการลดภาระการขอสินเชื่อให้แก่ลูกค้าด้วย ”
***หวั่นวิกฤตแรงงานขาดตลาด
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวด้วยความเป็นห่วงเช่นกันว่า ในปี 56 ปัญหาแรงงานจะทวีความรุนแรง โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนแรงงาน ผู้จ้างเหมาก่อสร้าง จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งยังเรียกค่าจ้างสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัญหาแรงงานมีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการได้ปรับตัวด้วยการหันมาใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูป หรือพรีแฟ็บ เพื่อให้การก่อสร้างเร็วขึ้นลดการใช้แรงงาน ซึ่งเป็นทางออกที่ดีมาก สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ระบบสำเร็จรูปเกือบจะทั้งหลัง ทั้งเสา คาน ผนัง หลังคา ก็จะสร้างบ้านได้ในระยะเวลา 1-2 เดือน
สำหรับกลุ่มบริษัท กานดาฯ ได้นำระบบพรีแฟ็บมาช้าตั้งแต่ปี 47 อาทิ เสา คาน หลังคา ส่วนวัสดุอื่นก็เลือกใช้ที่ผลิตมาเพื่อให้ติดตั้งง่าย ยกเว้นผนังที่ยังใช้แบบปกติ ทำให้การก่อสร้างบ้าน 1 หลังใช้เวลาเพียง 4 เดือน จากการก่อสร้างแบบเดิมใช้เวลา 8 เดือน ในขณะที่ใช้แรงงานลดลงถึง 50%
ปัจจุบันผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างหันมาผลิตวัสดุที่มีการติดตั้งง่าย รวดเร็ว ใช้แรงงานน้อย เช่น วงกบหน้าต่าง ประตู ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมนำมาติดตั้งได้เลย จากเดิมที่ต้องประกอบทีละด้าน แผ่นพื้นสำเร็จรูป หลังคาสำเร็จรูป ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวรับด้วยการออกแบบบ้านให้สามารถใช้กับวัสดุต่างเหล่านี้ได้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ปรับตัวไปแล้วในระดับหนึ่ง ยกเว้นบริษัทที่ยังมีผู้รับเหมาที่แข็งแกร่ง และบางส่วนผู้ประกอบการยังไม่มีความพร้อมซึ่งประการหลังจะมีปัญหาในการส่งมอบบ้านไม่ทันตามกำหนด
**รายใหญ่แย่งแรงงานรายเล็ก
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ด้วยปริมาณงานโครงการที่แต่ละบริษัทต่างประเคนการเปิดตัวโครงการอย่างมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์การแย่งชิงแรงงานในตลาดเกิดขึ้น เช่น การปรับขึ้นค่าแรงงานของบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อดึงแรงงานจากบริษัทรับเหมาขนาดกลางและเล็กเข้าสู่ไซต์งานก่อสร้างของตนเอง หรือ การจัดรถรับ-ส่งแรงงานจากแคมป์คนงานก่อสร้างและไซต์งาน เพื่อป้องกันหักหัวคิวจัดหาแรงงานเข้ามาแย่งชิงแรงงานจากแคมป์คนงานก่อสร้าง โดยการเสนอค่าแรงที่สูงกว่าเพื่อดึงแรงงานก่อสร้างของแต่ละบริษัท
"จะเห็นได้ว่า มีแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทะลักเข้ามาในเมืองไทย ส่วนสำคัญมาจากรัฐบาลประกาศใช้ 300 บาทต่อวัน "
***เปิดเสรีขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายยกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (THCA) กล่าว่า ภาครัฐไม่ได้เข้ามาให้การแก้ไขอย่างจริงจัง และยังไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้น ทำให้สภาพปัญหาโดยรวมของการขาดแรงงานก่อสร้างยิ่งทรุดหนักกว่าเดิม
ทั้งนี้ ในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องในประเทศไทยมีจำนวน1.4ล้านราย ขณะที่การสำรวจพบว่ามีแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในระบบมีจำนวนสูงถึง 1.6 ล้านรายหรืออาจมากกว่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้าง แต่ภาครัฐกลับไม่ดำเนินแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
“ในทางกลับกันหากรัฐบาลควรยอมรับความจริงว่าในระบบแรงงานของประเทศ ในขณะนี้มีแรงงานผิดกฎหมายหรือแรงงานเถื่อนที่เข้าเมืองมาทำงานอยู่ในประเทศมีจำนวนสูงกว่าแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายอยู่จริง รัฐควรเข้ามาเปิดเสรีให้มีการขึ้นทะเบียนการจ้างแรงงานต่างด้าวได้โดยอิสระ แทนการจำกัดการเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานในแต่ละปี ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้อย่างมาก”
** แนะดึงเทคโนโลยีแก้แรงงานขาด
จากการสำรวจผลกระทบและพื้นที่ที่เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปี2254-2555 พบว่าพื้นที่ที่มีความรุนแรงานของการขาดแคลนแรงงานรุนแรงมากที่สุดคือ พื้นที่ในกทม.และปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเรียกได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤต ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นภาคใต้นับว่ามีความรุนแรงมากแต่ยังน้อยกว่ากทม.และปริมณฑล ส่วนในจังหวัดภาคอีสานการขาดแคลนแรงงานนั้นเป็นไปตามฤดูกาล เนื่องจากมีแรงงานในพื้นที่จำนวนมาก แต่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวแรงงานจะหายไปจากตลาด ขณะที่ภาคเหนือถือว่าได้รับผลกระทบน้อยสุดเพราะมีแรงงานต่างด้าวไหลเข้าออกอยู่ตลาดเวลา
ทั้งนี้ สมาคมฯพยายามหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มสมาชิก ด้วยการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหาและทดแทนแรงงานที่มีแนวโน้มลดลงในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยอมรับการว่านำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหานั้นจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสมาชิกให้เพิ่มสูงขึ้นอย่ามาก
“หากสภาพปัญหายังคงไม่เปลี่ยนแปลงเชื่อว่าในอนาคต หากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ก่อสร้างและบริษัทขนาดเล็ก เช่น SME มากขึ้นในขณะที่ผู้ที่จะได้เปรียบคือบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งจะเข้ามากลืนรายเล็กให้หมดไปเนื่องจากมีศักยภาพด้านการเงินที่มากกว่า ขณะที่รายเล็กขาดแคลนแหล่งเงินที่จะซื้อเทโนโลยีเข้ามาใช้แข่งขันได้” นายสิทธิพรกล่าว
ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่ยังรุนแรงอยู่ขณะนี้ย่อมส่งผลต่อการปรับตัวของต้นทุนการก่อสร้างของผู้ประกอบการอสังหาฯอย่างหนักในปีนี้ และหากปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ไข เชื่อว่าจะส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเบื้องต้นนั้นผู้ประกอบการต่างคาดการว่าจะมีผลต่อราคาบ้านให้ปรับตัวขึ้นอีก5-10% แน่นอนว่าในที่สุดต้นทุนที่เกิดขึ้นนั้นจะตกอยู่ที่ผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ว่าอย่างไรผู้ประกอบการจะไม่ยอมแบกรับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดไว้ที่ตนเองแน่นอน.