นักธุรกิจ นักการตลาด ยังผวาปัจจัยลบทั้งเก่าละใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นหลอกหลอนในปี 2556 นี้อีก หลายฝ่ายชี้ ปัญหาค่าแรง 300 บาท ยังเป็นปัญหาใหญ่ กระทบต้นทุนธุรกิจแน่นอน ส่วนปัญหาภัยธรรมชาติคาดเดาได้ยาก เช่นเดียวกับปัญหาการเมืองที่เอาแน่นเอานอนไม่ได้
แม้จะผ่านพ้นการบริหารประเทศของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว เกือบปีกว่า ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2556 วงการธุรกิจและนักการตลาดของไทย ยังคงไม่อาจจะวางใจได้ว่า ปี 2556 นี้ จะเป็นปีที่สดใสของการทำธุรกิจหรือไม่ เพราะต่างก็ยังคงมีความหวาดเกรงต่อปัจจัยลบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยลบเดิมๆที่เคยเกิดมาแล้ว หรือปัจจัยลบใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องกระทบกับการดำเนินธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้
“เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” ฉายภาพผ่านบรรดานักการตลาด นักธุรกิจ หลายรายที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วและมองถึงปัจจัยลบในปี 2556 ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในปี 2556 ปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการทำธุรกิจมากที่สุดคือ ปัญหาบุคลากร เป็นผลกระทบมากจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศซึ่งมีผลบังคับใช้ปี 2556 ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น และการหาแรงงานก็ยากขึ้นด้วยเพราะแรงงานก็คงตัดสินใจทำงานในถิ่นฐานของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงานจากต่างประเทศที่จะทะลักเข้ามาแย่งงานแรงงานไทยอีกด้วย ซึ่งจะเห็นชัดขึ้นตั้งแต่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558
นางวรรณิภา ภักดีบุตร รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ความงาม บริษัท ยูนิ ลีเวอร์ ไทยเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวถึงอุปสรรคต่อการทำธุรกิจปี 2556 ว่า ความไม่แน่นอนในปี 2556 ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจเท่าที่ประเมินไว้มี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ หนึ่ง แนวโน้มการปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยีที่พัฒนาใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สอง แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผกผันตามเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจจากทางยุโรป อเมริกา และจีน รวมทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ทำให้การประเมินสถานการณ์ทำได้ยากมากขึ้น และสาม การเกิดภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่นปลายปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย
ส่วนเรื่องค่าแรง 300 บาทนั้น แม้จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะรากกหญ้า ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเพิ่มขึ้น แต่ในมุมกลับกันต้นทุนของผู้ประกอบการก็ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีความระมัดระวังอย่างสูงในการลงทุนด้วย
***อุตฯโฆษณาห่วงปัญหาการเมือง
นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีจีส มีเดีย (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร กล่าวว่า ในปี 2556 สำหรับอุตสาหกรรมโฆษณา เชื่อว่าจะยังคงเติบโตมาก แต่ปัจจัยลบคาดว่าจะมีเรื่องเดียวที่สำคัญคือเรื่องปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย วิเคราะห์ถึงปัจจัยลบที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 ในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอีว่า ปี 2555 มีกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท ปิดกิจการไปแล้วมากว่า 100 ราย ซึ่งในปี2556 คาดว่า เรื่องค่าแรงที่ขึ้น 300บาททั่วประเทศสำหรับผู้ประกอบการในต่างจังหวัดจะส่งผลให้ธุรกิจไลฟ์สไตล์ปิดกิจการอีกร่วม 100 ราย เช่นกัน และหากภาครัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ คาดว่าปีหน้าการส่งออกอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์จะติดลบ 3% ล่าสุดสมาพันธ์ฯ ได้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่า ปี 2556 ปัจจัยลบคงจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วค่อนข้างที่จะส่งผลเสียหายอย่างรุนแรง
“อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ปี 2556 คาดว่าจะแข่งขันรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่ม ทั้งจากกลุ่มลอว์สันที่มีกระแสข่าวว่าอยู่ระหว่างการร่วมทุนกับทางเครือสหพัฒน์ผ่านทางร้าน108ชอป รวมทั้งกลุ่มเซ็นทรัลที่เข้าซื้อไลเซ่นส์ร้านแฟมิลี่มาร์ทในไทยและคาดว่าในปี 2556 คงพร้อมที่จะรุกตลาดหลังจากได้ทำการปรับเปลี่ยนธุรกิจแล้ว นอกจากนั้นในส่วนของเซเว่นอีเลฟเว่นเองก็พร้อมที่จะลงทุนขยายสาขาต่อเนื่องด้วย ไม่ต่ำกว่า 500 สาขา ยิ่งจะส่งผลให้ปี2556 คอนวีเนียร์สโตร์จะมีการขยายสาขารวมไม่ต่ำกว่า 1,000 สาขา จากปกติ 700-800 สาขาต่อปี
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุกริจร้านอาหารในปี 2556 คาดว่าคงจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกี่ยวกับการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารในต่างจังหวัด เพราะเดิมทีค่าแรงรวมกันต่อเดือนจะประมาณ 5,000 กว่าบาทเท่านั้นต่อคน แต่เมื่อปรับค่าแรงขึ้น จะทำให้ค่าแรงงานต่อเดือนเพิ่มเป็นประมาณ 9,000 กว่าบาท เท่ากับเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาทก่อนหน้านี้
แม้จะผ่านพ้นการบริหารประเทศของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว เกือบปีกว่า ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2556 วงการธุรกิจและนักการตลาดของไทย ยังคงไม่อาจจะวางใจได้ว่า ปี 2556 นี้ จะเป็นปีที่สดใสของการทำธุรกิจหรือไม่ เพราะต่างก็ยังคงมีความหวาดเกรงต่อปัจจัยลบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยลบเดิมๆที่เคยเกิดมาแล้ว หรือปัจจัยลบใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องกระทบกับการดำเนินธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้
“เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” ฉายภาพผ่านบรรดานักการตลาด นักธุรกิจ หลายรายที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วและมองถึงปัจจัยลบในปี 2556 ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในปี 2556 ปัญหาที่น่าเป็นห่วงต่อการทำธุรกิจมากที่สุดคือ ปัญหาบุคลากร เป็นผลกระทบมากจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศซึ่งมีผลบังคับใช้ปี 2556 ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น และการหาแรงงานก็ยากขึ้นด้วยเพราะแรงงานก็คงตัดสินใจทำงานในถิ่นฐานของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงานจากต่างประเทศที่จะทะลักเข้ามาแย่งงานแรงงานไทยอีกด้วย ซึ่งจะเห็นชัดขึ้นตั้งแต่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558
นางวรรณิภา ภักดีบุตร รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ความงาม บริษัท ยูนิ ลีเวอร์ ไทยเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวถึงอุปสรรคต่อการทำธุรกิจปี 2556 ว่า ความไม่แน่นอนในปี 2556 ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจเท่าที่ประเมินไว้มี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ หนึ่ง แนวโน้มการปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยีที่พัฒนาใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สอง แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผกผันตามเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจจากทางยุโรป อเมริกา และจีน รวมทั้งการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ทำให้การประเมินสถานการณ์ทำได้ยากมากขึ้น และสาม การเกิดภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่นปลายปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย
ส่วนเรื่องค่าแรง 300 บาทนั้น แม้จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะรากกหญ้า ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเพิ่มขึ้น แต่ในมุมกลับกันต้นทุนของผู้ประกอบการก็ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีความระมัดระวังอย่างสูงในการลงทุนด้วย
***อุตฯโฆษณาห่วงปัญหาการเมือง
นายวิชัย สุภาสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีจีส มีเดีย (ไทยแลนด์) จำกัด กลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร กล่าวว่า ในปี 2556 สำหรับอุตสาหกรรมโฆษณา เชื่อว่าจะยังคงเติบโตมาก แต่ปัจจัยลบคาดว่าจะมีเรื่องเดียวที่สำคัญคือเรื่องปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย วิเคราะห์ถึงปัจจัยลบที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 ในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอีว่า ปี 2555 มีกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท ปิดกิจการไปแล้วมากว่า 100 ราย ซึ่งในปี2556 คาดว่า เรื่องค่าแรงที่ขึ้น 300บาททั่วประเทศสำหรับผู้ประกอบการในต่างจังหวัดจะส่งผลให้ธุรกิจไลฟ์สไตล์ปิดกิจการอีกร่วม 100 ราย เช่นกัน และหากภาครัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ คาดว่าปีหน้าการส่งออกอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์จะติดลบ 3% ล่าสุดสมาพันธ์ฯ ได้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว นายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่า ปี 2556 ปัจจัยลบคงจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วค่อนข้างที่จะส่งผลเสียหายอย่างรุนแรง
“อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ปี 2556 คาดว่าจะแข่งขันรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่ม ทั้งจากกลุ่มลอว์สันที่มีกระแสข่าวว่าอยู่ระหว่างการร่วมทุนกับทางเครือสหพัฒน์ผ่านทางร้าน108ชอป รวมทั้งกลุ่มเซ็นทรัลที่เข้าซื้อไลเซ่นส์ร้านแฟมิลี่มาร์ทในไทยและคาดว่าในปี 2556 คงพร้อมที่จะรุกตลาดหลังจากได้ทำการปรับเปลี่ยนธุรกิจแล้ว นอกจากนั้นในส่วนของเซเว่นอีเลฟเว่นเองก็พร้อมที่จะลงทุนขยายสาขาต่อเนื่องด้วย ไม่ต่ำกว่า 500 สาขา ยิ่งจะส่งผลให้ปี2556 คอนวีเนียร์สโตร์จะมีการขยายสาขารวมไม่ต่ำกว่า 1,000 สาขา จากปกติ 700-800 สาขาต่อปี
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุกริจร้านอาหารในปี 2556 คาดว่าคงจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกี่ยวกับการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหารในต่างจังหวัด เพราะเดิมทีค่าแรงรวมกันต่อเดือนจะประมาณ 5,000 กว่าบาทเท่านั้นต่อคน แต่เมื่อปรับค่าแรงขึ้น จะทำให้ค่าแรงงานต่อเดือนเพิ่มเป็นประมาณ 9,000 กว่าบาท เท่ากับเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาทก่อนหน้านี้