แท้จริงแล้วนายทุนหรือทุนนิยมอยู่คู่โลกมาแต่แรก ตั้งแต่โลกเริ่มคิดสะสมทรัพยากร คาร์ล มาร์กซ์ (1818-1883) รู้สึกว่านายทุนเป็นเจ้าของการผลิต ควบคุมการผลิต ผูกขาดการผลิต ทำการโฆษณาและทำการตลาดเองทุกด้าน แล้วจ่ายค่าแรงให้กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานน้อย เป็นการเอารัดเอาเปรียบกรรมกรผู้ใช้แรงงาน จึงออกแบบเอานายทุนออกจากระบบ โดยให้ส่วนกลางเป็นผู้ควบคุมการผลิต ผูกขาดการผลิตและเป็นเจ้าของการผลิต ทำการตลาดเองทุกขั้นตอน ผลผลิตที่ได้เอาไว้เป็นของส่วนกลาง มีกรรมการกลางเป็นฝ่ายบริหารจัดการระบอบ กรรมกรยังคงอยู่ในระบอบ กรรมกรได้รับผลตอบแทนตามดีกรีการใช้แรงงาน “เป็นรูปแบบของระบอบคอมมิวนิสต์”
ที่มาของกรรมการกลางขึ้นมามีตำแหน่งอย่างไร มีเส้นมีสาย ก็ทำให้เกิดความคลางแคลงใจได้ ขัดกับจิตวิทยาพื้นฐานของปุถุชนคนธรรมดา ที่อยากมี อยากได้ อยากอยู่ อยากเป็น และไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากอยู่ และไม่อยากเป็น ทำให้มีคอร์รัปชันในระดับกรรมการกลางมาก ส่วนชนชั้นกรรมกรก็อยากมีทรัพยากรส่วนตนมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็ทำไม่ได้ ทำให้เกิดความเฉื่อยและไม่กระตือรือร้นในการทำงาน ไม่เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน คุณภาพของผลิตผลต่ำ เป็นที่มาของการเสื่อมและล่มสลายที่ผ่านมาของระบอบคอมมิวนิสต์โลก
แตกต่างจากระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีของพระพุทธเจ้า ที่คนในชุมชน “จะไม่ใช้” แรงกาย แรงใจ แรงความคิด และผลิตผลที่ได้เพื่อตัวเอง แต่ “จะมอบ” แรงกาย แรงใจ แรงความคิด และผลิตผลที่ได้ไว้ “เป็นของส่วนกลาง” แล้วคนในชุมชนก็จะกิน จะอยู่ จะใช้ และจะรักษาโรคจากส่วนกลาง ไม่ต้องการสิ่งใดที่นอกเหนือจากความต้องการของร่างกายตามธรรมดา ตามสัมมามรรค เรียกผู้บริหารว่า “ผู้รับใช้” เห็นได้โดยโปร่งใสว่าไม่ได้เอาทรัพยากรสิ่งใดไปเป็นสมบัติส่วนตน และเรียกขานคนในชุมชนว่า “ญาติธรรม” ทั้งผู้รับใช้และญาติธรรมต่างไม่คิดเอาทรัพยากรสิ่งใดมาเป็นของตน ปรัชญาของพระพุทธเจ้ามีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อม
ทุกวงการย่อมมีปัญหา ปุถุชนคนธรรมดามีอยู่ทุกวงการ เนื่องจากชุมชนบุญนิยมสาธารณโภคีไม่มีการคิดเอาทรัพยากรของระบบมาเป็นของส่วนตน จึงทำให้ไม่มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นหรือบังคับบัญชาไม่ได้ สมาชิกชุมชนจะทำงานตามแบบอิสระ ก็คล้ายกับการกินแรงหรือเอารัดเอาเปรียบอย่างหนึ่งเช่นกัน แต่คนทำงานก็ไม่คิดอะไร เนื่องจากคิดที่จะให้อยู่แล้ว “ให้” คนนอกชุมชนยังให้ได้ แล้วทำไมจะ “ให้”คนในชุมชนด้วยกันไม่ได้
ระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ไม่คล้ายกัน ไม่คล้ายกันในแง่ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตใจตน ไม่คล้ายกันในแง่การเกิดขึ้นของชุมชน
ระบอบคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นโดยการบังคับให้เป็นไปตามความเชื่อที่ตั้งไว้ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงก็ไม่ได้ จะออกจากระบอบก็ทำไม่ได้ ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน แต่สำหรับระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีผู้คนจะเข้ามาด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ เข้ามาแล้วรู้สึกอยู่ยาก ก็สามารถออกจากระบอบไปได้
ระบอบคอมมิวนิสต์สามารถทำให้เกิดขึ้นของมวลชนขนาดใหญ่ทั้งประเทศได้ แต่เป็นเรื่องยากที่ระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีจะทำให้เกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีกิเลสโลภโกรธหลงเป็นเจ้าเรือนตน หาก “ผู้ระดับบริหารเป็นผู้รับใช้ 100 เปอร์เซ็นต์ คนในระบอบเป็นแบบญาติธรรมประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของระบอบ” ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายที่สูงของสัมมาทิฐิได้ ทุกวันนี้คนในชุมชนสาธารณสาธารณโภคีมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรประเทศไทย
ทุนนิยมสามานย์คือทุนนิยมที่มีตลาดหุ้นเป็นองค์ประกอบ เริ่มต้นมาประมาณกว่า 300 ปีมาแล้ว เริ่มต้นทางประเทศทางยุโรป น่าจะเทียบได้กับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการร่วมหุ้นกับเรือที่ออกทำการปล้นสะดมทางทะเล ปล้นมาแล้ว นำทรัพย์สินมาแบ่งกันตามสัดส่วนหุ้นที่ลงทุน และหุ้นนั้นก็มีราคาขึ้นลงตามความสามารถของการปล้น (โสภณ สุภาพงษ์)
คาร์ล มาร์กซ์ จากโลกไปเป็นเวลา129 ปีแล้ว หากคาร์ล มาร์กซ์อยู่ถึงทุกวันนี้ จะทราบว่าทุนนิยมทุกวันนี้เป็นนิยมสามานย์ ซึ่งเป็นทุนนิยมที่ชั่วร้ายและโหดร้ายกว่ายุคของคาร์ล มาร์กซ์มาก ไม่ใช่เป็นทุนนิยมตามธรรมดาที่เคยเป็นมาในอดีต ทุนนิยมในอดีตว่ามีการเอารัดเอาเปรียบระบบมากอยู่แล้ว ทุนนิยมสามานย์ในยุคหลังยิ่งมีการเอารัดเอาเปรียบและโหดร้ายทารุณกว่าในอดีตมาก
ทุนนิยมสามานย์เกิดมาก่อนยุคคาร์ล มาร์กซ์แล้ว เพียงแต่ยังไม่ก้าวหน้า ยังไม่เข้มข้นเหมือนทุกวันนี้ คล้ายกับการเริ่มก่อตัวของพายุทอร์นาโด แต่ความร้ายแรงจะมากกว่าทอร์นาโดแบบเทียบกันไม่ได้ ร้ายแรงกว่าปรมาณูหลายๆ ลูกรวมกัน ทุกวันนี้ตลาดหุ้นสามารถทำลายโลกทั้งโลกลงได้ในระยะเวลาอันสั้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กพังทลายลงในปี 1929 หรือหลังการเสียชีวิตของคาร์ล มาร์กซ์ 46 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาตกต่ำอย่างรุนแรง (Great Depression)
เท่านั้นยังไม่พอ
ต่อมาอีก 71 ปี คือในปี 2000 ได้เกิดการพังทลายรุนแรงของตลาดหุ้น NASDAQ เป็นที่มาของความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกทุกวันนี้ เกิดความเสียหายมากกว่าการพังทลายของตลาดหุ้นนิวยอร์กในปี 1929 อย่างมาก เนื่องรังสีของความเสียหายดังกล่าวกระจายไปทั่วโลกด้วย
ตลาด NASDAQ เป็นตลาดเปิดใหม่ เป็นตลาดหุ้นแห่งที่ 2 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ความใหญ่ของตลาดเป็นรองตลาดนิวยอร์ก เปิดทำการซื้อขายหุ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1971 เป็นตลาดหุ้นอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของโลก (the world's first electronic stock market) แต่ผู้ซื้อและผู้ขายซื้อหุ้นยังไม่สามารถซื้อขายโดยตรงได้ ยังต้องสั่งซื้อสั่งขายผ่านตัวแทนหรือโบรกเกอร์อยู่ ทุกวันนี้ตลาดหุ้นได้พัฒนาไปอย่างมาก ผู้ซื้อผู้ขายหลักทรัพย์สามารถออนไลน์สั่งซื้อสั่งขายทางคอมพิวเตอร์จากที่บ้านหรือจากที่ใดๆ ในโลกที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้
ตลาดหุ้นมีการพัฒนาทั้งทางแนวดิ่งเช่นเทคโนโลยีของการซื้อขาย และทางแนวราบเช่นการออกผลิตภัณฑ์มาให้ซื้อขาย แต่ยิ่งพัฒนามากเท่าใด ก็ยิ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบมากเท่านั้น เช่นการพัฒนาเอาตัวเลขอ้างอิงมาทำการซื้อขาย (Derivatives) ทำให้ตลาดแกว่งตัวรุนแรงมากขึ้น ขึ้นก็แรงตกก็แรง นำความเสียหายนำความเสื่อมมาสู่โลกมากกว่าจะนำความเจริญมาสู่โลก
ไม่มีตลาดหุ้นใดไม่ถูกปั่นหรือถูกสวมรอยปั่น เมื่อตลาดหุ้นขึ้นก็สวมรอยให้ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้นแรง เมื่อตลาดหุ้นตกก็สวมรอยให้ตลาดหุ้นตกแรงลงไปอีก ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องของระบบผิดปกติอย่างมาก เมื่อตลาดหุ้นขึ้นสภาพคล่องจะสูงมาก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวแรงและเร็ว แต่เมื่อตลาดหุ้นพังทลายลง สภาพคล่องของระบบก็พังทลายลงด้วย ทำให้ธุรกรรมทั้งระบบขาดสภาพคล่องและล้มลง ทำให้คนคนตกงาน รวมทั้งเกิดหนี้เสียท่วมระบบ
ประเทศไทยเคยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจจากการพังทลายของตลาดหุ้นอย่างรุนแรงมาแล้วถึง 2 ครั้ง คือการพังทลายของตลาดหุ้นไทยในปี 2521 (1978) และปี 2537 (1994) ทำให้ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มาแล้วทั้ง 2 ครั้ง ตั้งแต่ก่อนไม่มีตลาดหุ้น ประเทศไทยไม่เคยประสบภาวะอย่างนี้มาก่อนเลย
การพังทลายทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาของยุโรปหรือของโลกมีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ เงินเหรียญสหรัฐก็มีส่วนแบ่งของสกุลเงินสูงที่สุดของโลก เมื่อเศรษฐกิจและค่าเงินเหรียญของสหรัฐอเมริกามีปัญหา จึงส่งผลให้เศรษฐกิจของทั้งโลกมีปัญหา
คือดัชนีตลาดหุ้น NASDAQ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มพังทลายลงในปี 2000 และตกไปต่ำสุดในปี 2002 ตกลง 78 เปอร์เซ็นต์
ค่าเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับเงินยูโร (EUR) แสดงให้เห็นว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐได้พังทลายลงตามการพังทลายของตลาด NASDAQ และตกลงไปต่ำสุดในปี 2008 ตกลง 48 เปอร์เซ็นต์
ภาพค่าเงินยูโร(INVERT SCALE USD) แสดงให้เห็นว่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ค่าเงินยูโรขึ้นไปสูงสุดในปี 2008 ขึ้นสูงถึง 89 เปอร์เซ็นต์
(B) และ (C) เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เป็นแต่เพียง (B) เป็นภาพของค่าเงินเหรียญสหรัฐ แต่ (C) เป็นภาพของค่าเงินยูโร
เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย นักลงทุนก็ทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ หรือเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐไปเป็นเงินสกุลอื่น และสินทรัพย์ในเงินสกุลอื่น ยกตัวอย่างเช่นไปซื้อเงิน EURO (C) ทำให้เงิน EURO แข็งค่าขึ้น เข้าไปซื้อสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก ก็ทำให้ค่าสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลกสูงขึ้น
เข้าไปไล่ซื้อหุ้นในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้ตลาดหุ้นโลกสูงขึ้น ภาพ (D) แสดงให้เห็นว่าดัชนีหุ้นโลกหรือ G92 index สูงขึ้น แล้วตลาดหุ้นโลกก็ตกลงในปี 2008 รู้กันในชื่อ Hamburger Crisis
ตลาดหุ้นยุโรป คือภูมิภาคหนึ่งของตลาดหุ้นโลก ก็ถูกไล่ซื้อให้สูงขึ้นในทำนองเดียวกัน ในเวลาเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก และพังทลายลงในปี 2008 ตลาดหุ้นยุโรปถูกสวมรอยปั่นให้ตกแรงที่สุดในโลก คือตกลงถึง 71 เปอร์เซ็นต์ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า Hamburger crisis ที่นำความเสียหายมาสู่ยุโรปอย่างทารุณ ตามที่ได้ยินได้ฟังตามข่าวเกี่ยวกับวิกฤตของยุโรปที่ผ่านมานั่นเอง
เป็นไปตามที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ข้างต้น วิกฤตเศรษฐกิจของทั่วโลกมีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ฯลฯ เกิดจากการพังทลายของตลาดหุ้น ให้สังเกตช่วงเวลาของการเกิดปัญหา การพังทลายของเศรษฐกิจอเมริกาเกิดจากการพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2000 แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นยุโรปก็เริ่มสูงขึ้นหลังปี 2000 เล็กน้อย ใช้เวลา 6-7 ปีในการไต่ระดับสูงขึ้น หรือขึ้นสูงสุดในช่วงปลายปี 2007 แล้วก็พังทลายลงในปี 2008 นั่นคือ (A) (B) (C) (D) (E) มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
เงินเฟ้อโลก สกุลเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินใหญ่ การพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ นอกจากทำให้ค่าเงินสกุลเงินของประเทศต่างๆ สูงขึ้น ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ก็สูงขึ้นด้วย ราคาทองคำ ปี 2001 อยู่ที่ระดับ 260 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ต้นปี 2008 ขึ้นไปสูงถึง 1,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ปี 2011 ขึ้นไปถึง 1,900 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ราคาน้ำมัน(Brent) ปี 2001 อยู่ที่ระดับ 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปี 2008 ขึ้นไปสูงถึง 145 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แสดงว่าเงินเฟ้อโลกหลังปี 2000 พุ่งสูงขึ้น ประชาชนหลายประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงเนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น
กลไกการเกิดปัญหา อธิบายได้ไม่ยาก “เมื่อตลาดหุ้นใดพังทลาย ทำให้ค่าสกุลเงินของประเทศนั้นพังทลายด้วย สกุลเงินนั้นไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้คนไม่ถือสกุลเงินนั้น ทำให้เปลี่ยนเงินนั้นไปถือเงินสกุลอื่นและสินทรัพย์ของเงินสกุลอื่น หรือทำให้เงินสกุลนั้นไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ทำให้ธุรกรรมของระบบนั้นล้มลง ทำให้คนตกงาน ทางการต้องเข้าไปช่วยเหลืออุดหนุนการล้มลงและล้มละลายของเอกชน ทำให้เกิดหนี้เสียท่วมระบบ และทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น”
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในปี 2000 หลังการพังทลายของตลาดหุ้น NASDAQ วิกฤตเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปหรือยูโรโซนเกิดขึ้นในปี 2008 หลังการพังทลายของตลาดหุ้นภูมิภาคยุโรป จะเห็นว่าคนของประเทศอเมริกาและคนของประเทศยุโรปออกมาเดินขบวน จลาจล เพราะเดือดร้อน เพราะตกงานกันเป็นจำนวนมาก
ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประเทศสหรัฐฯ เอกชนทั้งภาคการผลิตจริงและภาคการเงินล้มลงทั้งระบบ เช่น การล้มลงของเอกชนขนาดใหญ่ Enron, World, Subprime, Bear Stern Bank, Fannie Mae, Freddie Mac, Lehman Brother, AIG
เพดานหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2000 เพดานหนี้ของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับ 5.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2012 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 16.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึง 10.44
สภาพคล่องเสียหายอย่างหนัก ยังมีการพิมพ์เงินออกมาใช้อีกด้วย (Quantitative Easing) ปี 2008 พิมพ์เงินออกมา 1.725 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2010 พิมพ์เงินออกมาอีก 0.767 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปลายปี 2012 จะเริ่มมีการพิมพ์เงินออกมาอีกเดือนละ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจะพิมพ์เงินออกมาเรื่อยๆ จนกว่าอัตราการว่างงานของประเทศจะดีขึ้น
ปี 2010 อัตราการว่างงานของประเทศสหรัฐอเมริกาสูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์
ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจของยุโรป มี “รูปแบบเดียวกัน” กับที่เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นเหตุเกิดจากเรื่องเดียวกัน ความเสียหายของระบบก็เป็นแบบเดียวกัน เริ่มที่ตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินยูโรเสียหาย สภาพคล่องเสียหาย เอกชนล้มลง คนตกงานมาก ตัวเลขคนตกงานของกลุ่มยูโรโชนสูงถึง 10-20 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะวัยรุ่นตกงาน 40-50 เปอร์เซ็นต์ เกิดหนี้เสียสูงมาก หลายประเทศหนี้สาธารณะสูงกว่า 100 -200 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี สภาพคล่องของระบบลดลงถูกซ้ำเติมด้วยการคอร์รัปชัน ทำให้งบประมาณถูกใช้ไปอย่างไม่มีคุณภาพ รวมทั้งหว่านโครงการประชานิยมมาก ทำให้งบประมาณไม่พอใช้ คิดเอาโรงพยาบาลออกนอกระบบ คล้ายกับไทยที่คิดเอาสถานศึกษาออกจากระบบ
ใครได้ใครเสีย ตลาดทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ ยิ่งพัฒนาตลาดหุ้นมากขึ้นเท่าใด จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบมากเท่านั้น จะทำให้มีการเอารัดเอาเปรียบระบบมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ระบบเสื่อมมากขึ้น มีความเป็นอบายมุขมากขึ้น มีคนเสียก็มีคนได้ คนท้องถิ่นเป็นฝ่ายเสียหาย แต่ Hedge Funds เป็นฝ่ายที่ได้ คนท้องถิ่นเสียหาย 1 หน่วยจะทำให้ Hedge Funds สามานย์ได้มากถึง 5-20 หน่วยได้ ยกตัวอย่างเช่นตลาด Derivatives (หรือตลาดซื้อขายตัวเลขอ้างอิง)
ในอดีต พบแต่ภาวะสงครามที่ทำให้ค่าเงินเสียหายมาก ราคาทองคำ ราคาน้ำมันเพิ่มสูงสูงมาก เงินเฟ้อสูงมาก แต่ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจโลกหลังปี 2000 เสียหายหนักกว่าที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 “แต่ว่าสิ่งนี้ยังไม่ยุติลง ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา” อย่าไปเรียกว่าเป็นสงครามเศรษฐกิจ เรียกว่าเป็นกิเลสของ Hedge Funds หรือของคนกลุ่มเล็กๆ จะตรงกับความหมายมากกว่า เป็นอวิชชาแห่งโลก “เป็นระบบเศรษฐกิจอุบาทว์โลก”
คนของท้องถิ่นเสียหาย มีเพียง Hedge Funds ที่เป็นเพียงคน 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบเท่านั้นที่มีกำไรมหาศาล ทุนสำรองที่อยู่ตามธนาคารกลางต่างๆ ไม่ใช่เป็นของประเทศใดทั้งสิ้น แต่เป็นของ Hedge Funds นำมาฝากไว้ เขาจะเคลื่อนย้ายไปที่ไหนเวลาใดเขาก็ทำได้ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศตามกราฟที่แสดงไว้ แสดงให้ทราบว่าเงินท่วมโลก เงินท่วมโลกแต่โลกยากจนลง Hedge Funds มั่งคั่งท่วมโลก แต่คนในโลกยากจนลง
แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมหรือระบบทุนนิยมสามานย์เป็นระบบที่ทำให้โลกยากจนลง
ความมั่งคั่ง ความมั่งคั่งไม่ได้พิจารณาจากคนส่วนน้อยของระบบ แต่ต้องพิจารณาที่คนส่วนใหญ่ของระบบ หากคนส่วนใหญ่ของระบบมีกินมีใช้ ไม่ต้องซื้อหาสินค้าและบริการ หรือหากซื้อหาสินค้าและบริการ สินค้าและบริการนั้น ราคาจะต่ำจะไม่แพง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความเอื้ออาทรต่อกัน จึงจะเรียกว่าระบบนั้นมีความมั่งคั่ง มั่นคง
ระบบทุนนิยมหรือทุนนิยมสามานย์ เป็นระบบที่ยากจน โดยคนส่วนน้อยประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบจะมั่งคั่งเหลือกินเหลือใช้ เนื่องจากไปกอบโกยทรัพยากรจากระบบมาเป็นของส่วนตน ทำให้ทรัพยากรของระบบร่อยหรอลง ทำให้คน 99 เปอร์เซ็นต์ของระบบไม่มีกินไม่มีใช้ หรือหากมีกินมีใช้ก็ราคาแพงมาก สินค้าและบริการนั้นต้องซื้อหามาจากคนส่วนน้อยของระบบ (จากนายทุนหรือนายทุนนิยมสามานย์) คนส่วนน้อยนั้นมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก ไม่ว่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าการเดินทาง ที่คนส่วนใหญ่ต้องจ่ายให้คนส่วนน้อย เงินจะอ่อนค่ามากและอ่อนค่าลงตลอดเวลา ทำให้ค่าครองชีพและค่าความเป็นอยู่สูงขึ้นตลอดเวลา
จะเห็นว่าความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในระบบจะเดือดร้อนวุ่นวาย เดินขบวน จลาจล เผาบ้านเผาเมือง ค่าใช้จ่ายด้านความยุติธรรมสูง ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านตำรวจ ด้านอัยการและด้านศาลสูงมาก
ระบบบุญนิยมสาธารณโภคี จะเป็นระบบที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง เนื่องจากทรัพยากรของระบบไม่ได้ตกไปเป็นของใคร ทรัพยากรของระบบเป็นของส่วนกลาง หรือเป็นของคนส่วนใหญ่ของระบบ มีอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค ไม่ขาดแคลน ไม่แพง สกุลเงินของระบบแข็งค่าและมีความมั่นคง ความเป็นอยู่ของคนในระบบจะอบอุ่น เอื้อเฟื้อ เอื้ออารีต่อกัน ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านความยุติธรรม หรือหากจะมีก็ไม่มาก ไม่ว่าด้านตำรวจ ด้านอัยการ และด้านศาล ตำรวจอาจจะมีไว้ไล่วัวไล่ควายที่เข้ามากินผักผลไม้ชาวบ้าน หรือเข้ามาเกะกะทางจราจรชาวบ้าน
เครื่องมือที่ทำให้สังคมหรือคนส่วนใหญ่เจริญเป็นเครื่องมือที่ดี เครื่องมือที่ทำให้สังคมหรือคนส่วนใหญ่เสื่อมเสียหายเป็นเครื่องมือที่ไม่ดี ข้อมูลที่นำเสนอข้างต้นแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นเป็นเครื่องมือที่ผิดปกติในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเสียหาย ก็ต้องหาทางเอาออกจากระบบ แล้วหาทางคืนสู่ความเป็นสามัญ
บางประเทศในยุโรปมีตำแหน่งทางราชการมากและเงินเดือนสูง ก็ต้องหาทางลดอัตรากำลังให้น้อยลง ปรับเงินเดือนให้ต่ำลง ภาษีวีเอทีบางประเทศสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหาเงินไปคอร์รัปชันและไปเลี้ยงข้าราชการ หากไม่มีคอร์รัปชัน ตำแหน่งราชการไม่เฟ้อ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากแต่อย่างใด
ใช้หลักอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้า ยุติเศรษฐกิจอุบาทว์ หลักอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้าช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่องได้อย่างดี ตอนนี้รู้แล้วว่า “ตลาดหุ้น” เป็นต้นเหตุทำให้ค่าเงินเสียหาย ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ทำให้เอกชนล้มลง ทำให้คนตกงาน ทำให้ระบบเกิดหนี้เสีย ทำให้ค่าครองชีพสูง หรือทำให้เกิดทุกข์ การที่จะยุติความทุกข์ของระบบได้คือต้องไม่ให้มีตลาดหุ้นนั่นเอง ต่อไปก็ต้องหาว่า จะหาทางยุติตลาดหุ้นกันได้แบบไหนและอย่างไร จะทำให้ความมั่งคั่งมั่นคงกลับคืนสู่ระบบได้
ที่มาของกรรมการกลางขึ้นมามีตำแหน่งอย่างไร มีเส้นมีสาย ก็ทำให้เกิดความคลางแคลงใจได้ ขัดกับจิตวิทยาพื้นฐานของปุถุชนคนธรรมดา ที่อยากมี อยากได้ อยากอยู่ อยากเป็น และไม่อยากมี ไม่อยากได้ ไม่อยากอยู่ และไม่อยากเป็น ทำให้มีคอร์รัปชันในระดับกรรมการกลางมาก ส่วนชนชั้นกรรมกรก็อยากมีทรัพยากรส่วนตนมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็ทำไม่ได้ ทำให้เกิดความเฉื่อยและไม่กระตือรือร้นในการทำงาน ไม่เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน คุณภาพของผลิตผลต่ำ เป็นที่มาของการเสื่อมและล่มสลายที่ผ่านมาของระบอบคอมมิวนิสต์โลก
แตกต่างจากระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีของพระพุทธเจ้า ที่คนในชุมชน “จะไม่ใช้” แรงกาย แรงใจ แรงความคิด และผลิตผลที่ได้เพื่อตัวเอง แต่ “จะมอบ” แรงกาย แรงใจ แรงความคิด และผลิตผลที่ได้ไว้ “เป็นของส่วนกลาง” แล้วคนในชุมชนก็จะกิน จะอยู่ จะใช้ และจะรักษาโรคจากส่วนกลาง ไม่ต้องการสิ่งใดที่นอกเหนือจากความต้องการของร่างกายตามธรรมดา ตามสัมมามรรค เรียกผู้บริหารว่า “ผู้รับใช้” เห็นได้โดยโปร่งใสว่าไม่ได้เอาทรัพยากรสิ่งใดไปเป็นสมบัติส่วนตน และเรียกขานคนในชุมชนว่า “ญาติธรรม” ทั้งผู้รับใช้และญาติธรรมต่างไม่คิดเอาทรัพยากรสิ่งใดมาเป็นของตน ปรัชญาของพระพุทธเจ้ามีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อม
ทุกวงการย่อมมีปัญหา ปุถุชนคนธรรมดามีอยู่ทุกวงการ เนื่องจากชุมชนบุญนิยมสาธารณโภคีไม่มีการคิดเอาทรัพยากรของระบบมาเป็นของส่วนตน จึงทำให้ไม่มีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นหรือบังคับบัญชาไม่ได้ สมาชิกชุมชนจะทำงานตามแบบอิสระ ก็คล้ายกับการกินแรงหรือเอารัดเอาเปรียบอย่างหนึ่งเช่นกัน แต่คนทำงานก็ไม่คิดอะไร เนื่องจากคิดที่จะให้อยู่แล้ว “ให้” คนนอกชุมชนยังให้ได้ แล้วทำไมจะ “ให้”คนในชุมชนด้วยกันไม่ได้
ระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่ไม่คล้ายกัน ไม่คล้ายกันในแง่ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในจิตใจตน ไม่คล้ายกันในแง่การเกิดขึ้นของชุมชน
ระบอบคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นโดยการบังคับให้เป็นไปตามความเชื่อที่ตั้งไว้ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงก็ไม่ได้ จะออกจากระบอบก็ทำไม่ได้ ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน แต่สำหรับระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีผู้คนจะเข้ามาด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ เข้ามาแล้วรู้สึกอยู่ยาก ก็สามารถออกจากระบอบไปได้
ระบอบคอมมิวนิสต์สามารถทำให้เกิดขึ้นของมวลชนขนาดใหญ่ทั้งประเทศได้ แต่เป็นเรื่องยากที่ระบอบบุญนิยมสาธารณโภคีจะทำให้เกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีกิเลสโลภโกรธหลงเป็นเจ้าเรือนตน หาก “ผู้ระดับบริหารเป็นผู้รับใช้ 100 เปอร์เซ็นต์ คนในระบอบเป็นแบบญาติธรรมประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของระบอบ” ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายที่สูงของสัมมาทิฐิได้ ทุกวันนี้คนในชุมชนสาธารณสาธารณโภคีมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรประเทศไทย
ทุนนิยมสามานย์คือทุนนิยมที่มีตลาดหุ้นเป็นองค์ประกอบ เริ่มต้นมาประมาณกว่า 300 ปีมาแล้ว เริ่มต้นทางประเทศทางยุโรป น่าจะเทียบได้กับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการร่วมหุ้นกับเรือที่ออกทำการปล้นสะดมทางทะเล ปล้นมาแล้ว นำทรัพย์สินมาแบ่งกันตามสัดส่วนหุ้นที่ลงทุน และหุ้นนั้นก็มีราคาขึ้นลงตามความสามารถของการปล้น (โสภณ สุภาพงษ์)
คาร์ล มาร์กซ์ จากโลกไปเป็นเวลา129 ปีแล้ว หากคาร์ล มาร์กซ์อยู่ถึงทุกวันนี้ จะทราบว่าทุนนิยมทุกวันนี้เป็นนิยมสามานย์ ซึ่งเป็นทุนนิยมที่ชั่วร้ายและโหดร้ายกว่ายุคของคาร์ล มาร์กซ์มาก ไม่ใช่เป็นทุนนิยมตามธรรมดาที่เคยเป็นมาในอดีต ทุนนิยมในอดีตว่ามีการเอารัดเอาเปรียบระบบมากอยู่แล้ว ทุนนิยมสามานย์ในยุคหลังยิ่งมีการเอารัดเอาเปรียบและโหดร้ายทารุณกว่าในอดีตมาก
ทุนนิยมสามานย์เกิดมาก่อนยุคคาร์ล มาร์กซ์แล้ว เพียงแต่ยังไม่ก้าวหน้า ยังไม่เข้มข้นเหมือนทุกวันนี้ คล้ายกับการเริ่มก่อตัวของพายุทอร์นาโด แต่ความร้ายแรงจะมากกว่าทอร์นาโดแบบเทียบกันไม่ได้ ร้ายแรงกว่าปรมาณูหลายๆ ลูกรวมกัน ทุกวันนี้ตลาดหุ้นสามารถทำลายโลกทั้งโลกลงได้ในระยะเวลาอันสั้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กพังทลายลงในปี 1929 หรือหลังการเสียชีวิตของคาร์ล มาร์กซ์ 46 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาตกต่ำอย่างรุนแรง (Great Depression)
เท่านั้นยังไม่พอ
ต่อมาอีก 71 ปี คือในปี 2000 ได้เกิดการพังทลายรุนแรงของตลาดหุ้น NASDAQ เป็นที่มาของความเสียหายทางเศรษฐกิจทั่วโลกทุกวันนี้ เกิดความเสียหายมากกว่าการพังทลายของตลาดหุ้นนิวยอร์กในปี 1929 อย่างมาก เนื่องรังสีของความเสียหายดังกล่าวกระจายไปทั่วโลกด้วย
ตลาด NASDAQ เป็นตลาดเปิดใหม่ เป็นตลาดหุ้นแห่งที่ 2 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ความใหญ่ของตลาดเป็นรองตลาดนิวยอร์ก เปิดทำการซื้อขายหุ้นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1971 เป็นตลาดหุ้นอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของโลก (the world's first electronic stock market) แต่ผู้ซื้อและผู้ขายซื้อหุ้นยังไม่สามารถซื้อขายโดยตรงได้ ยังต้องสั่งซื้อสั่งขายผ่านตัวแทนหรือโบรกเกอร์อยู่ ทุกวันนี้ตลาดหุ้นได้พัฒนาไปอย่างมาก ผู้ซื้อผู้ขายหลักทรัพย์สามารถออนไลน์สั่งซื้อสั่งขายทางคอมพิวเตอร์จากที่บ้านหรือจากที่ใดๆ ในโลกที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้
ตลาดหุ้นมีการพัฒนาทั้งทางแนวดิ่งเช่นเทคโนโลยีของการซื้อขาย และทางแนวราบเช่นการออกผลิตภัณฑ์มาให้ซื้อขาย แต่ยิ่งพัฒนามากเท่าใด ก็ยิ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบมากเท่านั้น เช่นการพัฒนาเอาตัวเลขอ้างอิงมาทำการซื้อขาย (Derivatives) ทำให้ตลาดแกว่งตัวรุนแรงมากขึ้น ขึ้นก็แรงตกก็แรง นำความเสียหายนำความเสื่อมมาสู่โลกมากกว่าจะนำความเจริญมาสู่โลก
ไม่มีตลาดหุ้นใดไม่ถูกปั่นหรือถูกสวมรอยปั่น เมื่อตลาดหุ้นขึ้นก็สวมรอยให้ตลาดหุ้นพุ่งสูงขึ้นแรง เมื่อตลาดหุ้นตกก็สวมรอยให้ตลาดหุ้นตกแรงลงไปอีก ซึ่งส่งผลให้สภาพคล่องของระบบผิดปกติอย่างมาก เมื่อตลาดหุ้นขึ้นสภาพคล่องจะสูงมาก ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวแรงและเร็ว แต่เมื่อตลาดหุ้นพังทลายลง สภาพคล่องของระบบก็พังทลายลงด้วย ทำให้ธุรกรรมทั้งระบบขาดสภาพคล่องและล้มลง ทำให้คนคนตกงาน รวมทั้งเกิดหนี้เสียท่วมระบบ
ประเทศไทยเคยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจจากการพังทลายของตลาดหุ้นอย่างรุนแรงมาแล้วถึง 2 ครั้ง คือการพังทลายของตลาดหุ้นไทยในปี 2521 (1978) และปี 2537 (1994) ทำให้ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มาแล้วทั้ง 2 ครั้ง ตั้งแต่ก่อนไม่มีตลาดหุ้น ประเทศไทยไม่เคยประสบภาวะอย่างนี้มาก่อนเลย
การพังทลายทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาของยุโรปหรือของโลกมีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่ เงินเหรียญสหรัฐก็มีส่วนแบ่งของสกุลเงินสูงที่สุดของโลก เมื่อเศรษฐกิจและค่าเงินเหรียญของสหรัฐอเมริกามีปัญหา จึงส่งผลให้เศรษฐกิจของทั้งโลกมีปัญหา
คือดัชนีตลาดหุ้น NASDAQ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มพังทลายลงในปี 2000 และตกไปต่ำสุดในปี 2002 ตกลง 78 เปอร์เซ็นต์
ค่าเงินเหรียญสหรัฐเทียบกับเงินยูโร (EUR) แสดงให้เห็นว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐได้พังทลายลงตามการพังทลายของตลาด NASDAQ และตกลงไปต่ำสุดในปี 2008 ตกลง 48 เปอร์เซ็นต์
ภาพค่าเงินยูโร(INVERT SCALE USD) แสดงให้เห็นว่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น ค่าเงินยูโรขึ้นไปสูงสุดในปี 2008 ขึ้นสูงถึง 89 เปอร์เซ็นต์
(B) และ (C) เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เป็นแต่เพียง (B) เป็นภาพของค่าเงินเหรียญสหรัฐ แต่ (C) เป็นภาพของค่าเงินยูโร
เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย นักลงทุนก็ทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ หรือเปลี่ยนเงินเหรียญสหรัฐไปเป็นเงินสกุลอื่น และสินทรัพย์ในเงินสกุลอื่น ยกตัวอย่างเช่นไปซื้อเงิน EURO (C) ทำให้เงิน EURO แข็งค่าขึ้น เข้าไปซื้อสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลก ก็ทำให้ค่าสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลกสูงขึ้น
เข้าไปไล่ซื้อหุ้นในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้ตลาดหุ้นโลกสูงขึ้น ภาพ (D) แสดงให้เห็นว่าดัชนีหุ้นโลกหรือ G92 index สูงขึ้น แล้วตลาดหุ้นโลกก็ตกลงในปี 2008 รู้กันในชื่อ Hamburger Crisis
ตลาดหุ้นยุโรป คือภูมิภาคหนึ่งของตลาดหุ้นโลก ก็ถูกไล่ซื้อให้สูงขึ้นในทำนองเดียวกัน ในเวลาเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก และพังทลายลงในปี 2008 ตลาดหุ้นยุโรปถูกสวมรอยปั่นให้ตกแรงที่สุดในโลก คือตกลงถึง 71 เปอร์เซ็นต์ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า Hamburger crisis ที่นำความเสียหายมาสู่ยุโรปอย่างทารุณ ตามที่ได้ยินได้ฟังตามข่าวเกี่ยวกับวิกฤตของยุโรปที่ผ่านมานั่นเอง
เป็นไปตามที่ผู้เขียนนำเสนอไว้ข้างต้น วิกฤตเศรษฐกิจของทั่วโลกมีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ฯลฯ เกิดจากการพังทลายของตลาดหุ้น ให้สังเกตช่วงเวลาของการเกิดปัญหา การพังทลายของเศรษฐกิจอเมริกาเกิดจากการพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2000 แล้วตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งตลาดหุ้นยุโรปก็เริ่มสูงขึ้นหลังปี 2000 เล็กน้อย ใช้เวลา 6-7 ปีในการไต่ระดับสูงขึ้น หรือขึ้นสูงสุดในช่วงปลายปี 2007 แล้วก็พังทลายลงในปี 2008 นั่นคือ (A) (B) (C) (D) (E) มีต้นเหตุมาจากเรื่องเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
เงินเฟ้อโลก สกุลเงินเหรียญสหรัฐเป็นสกุลเงินใหญ่ การพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ นอกจากทำให้ค่าเงินสกุลเงินของประเทศต่างๆ สูงขึ้น ตลาดหุ้นประเทศต่างๆ สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ก็สูงขึ้นด้วย ราคาทองคำ ปี 2001 อยู่ที่ระดับ 260 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ต้นปี 2008 ขึ้นไปสูงถึง 1,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ปี 2011 ขึ้นไปถึง 1,900 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ราคาน้ำมัน(Brent) ปี 2001 อยู่ที่ระดับ 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปี 2008 ขึ้นไปสูงถึง 145 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แสดงว่าเงินเฟ้อโลกหลังปี 2000 พุ่งสูงขึ้น ประชาชนหลายประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงเนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น
กลไกการเกิดปัญหา อธิบายได้ไม่ยาก “เมื่อตลาดหุ้นใดพังทลาย ทำให้ค่าสกุลเงินของประเทศนั้นพังทลายด้วย สกุลเงินนั้นไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้คนไม่ถือสกุลเงินนั้น ทำให้เปลี่ยนเงินนั้นไปถือเงินสกุลอื่นและสินทรัพย์ของเงินสกุลอื่น หรือทำให้เงินสกุลนั้นไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ทำให้ธุรกรรมของระบบนั้นล้มลง ทำให้คนตกงาน ทางการต้องเข้าไปช่วยเหลืออุดหนุนการล้มลงและล้มละลายของเอกชน ทำให้เกิดหนี้เสียท่วมระบบ และทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น”
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในปี 2000 หลังการพังทลายของตลาดหุ้น NASDAQ วิกฤตเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปหรือยูโรโซนเกิดขึ้นในปี 2008 หลังการพังทลายของตลาดหุ้นภูมิภาคยุโรป จะเห็นว่าคนของประเทศอเมริกาและคนของประเทศยุโรปออกมาเดินขบวน จลาจล เพราะเดือดร้อน เพราะตกงานกันเป็นจำนวนมาก
ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประเทศสหรัฐฯ เอกชนทั้งภาคการผลิตจริงและภาคการเงินล้มลงทั้งระบบ เช่น การล้มลงของเอกชนขนาดใหญ่ Enron, World, Subprime, Bear Stern Bank, Fannie Mae, Freddie Mac, Lehman Brother, AIG
เพดานหนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2000 เพดานหนี้ของประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับ 5.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2012 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 16.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึง 10.44
สภาพคล่องเสียหายอย่างหนัก ยังมีการพิมพ์เงินออกมาใช้อีกด้วย (Quantitative Easing) ปี 2008 พิมพ์เงินออกมา 1.725 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2010 พิมพ์เงินออกมาอีก 0.767 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปลายปี 2012 จะเริ่มมีการพิมพ์เงินออกมาอีกเดือนละ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจะพิมพ์เงินออกมาเรื่อยๆ จนกว่าอัตราการว่างงานของประเทศจะดีขึ้น
ปี 2010 อัตราการว่างงานของประเทศสหรัฐอเมริกาสูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์
ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจของยุโรป มี “รูปแบบเดียวกัน” กับที่เกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นเหตุเกิดจากเรื่องเดียวกัน ความเสียหายของระบบก็เป็นแบบเดียวกัน เริ่มที่ตลาดหุ้นพังทลาย ค่าเงินยูโรเสียหาย สภาพคล่องเสียหาย เอกชนล้มลง คนตกงานมาก ตัวเลขคนตกงานของกลุ่มยูโรโชนสูงถึง 10-20 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะวัยรุ่นตกงาน 40-50 เปอร์เซ็นต์ เกิดหนี้เสียสูงมาก หลายประเทศหนี้สาธารณะสูงกว่า 100 -200 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี สภาพคล่องของระบบลดลงถูกซ้ำเติมด้วยการคอร์รัปชัน ทำให้งบประมาณถูกใช้ไปอย่างไม่มีคุณภาพ รวมทั้งหว่านโครงการประชานิยมมาก ทำให้งบประมาณไม่พอใช้ คิดเอาโรงพยาบาลออกนอกระบบ คล้ายกับไทยที่คิดเอาสถานศึกษาออกจากระบบ
ใครได้ใครเสีย ตลาดทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ ยิ่งพัฒนาตลาดหุ้นมากขึ้นเท่าใด จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบมากเท่านั้น จะทำให้มีการเอารัดเอาเปรียบระบบมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ระบบเสื่อมมากขึ้น มีความเป็นอบายมุขมากขึ้น มีคนเสียก็มีคนได้ คนท้องถิ่นเป็นฝ่ายเสียหาย แต่ Hedge Funds เป็นฝ่ายที่ได้ คนท้องถิ่นเสียหาย 1 หน่วยจะทำให้ Hedge Funds สามานย์ได้มากถึง 5-20 หน่วยได้ ยกตัวอย่างเช่นตลาด Derivatives (หรือตลาดซื้อขายตัวเลขอ้างอิง)
ในอดีต พบแต่ภาวะสงครามที่ทำให้ค่าเงินเสียหายมาก ราคาทองคำ ราคาน้ำมันเพิ่มสูงสูงมาก เงินเฟ้อสูงมาก แต่ความเสียหายของระบบเศรษฐกิจโลกหลังปี 2000 เสียหายหนักกว่าที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 “แต่ว่าสิ่งนี้ยังไม่ยุติลง ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา” อย่าไปเรียกว่าเป็นสงครามเศรษฐกิจ เรียกว่าเป็นกิเลสของ Hedge Funds หรือของคนกลุ่มเล็กๆ จะตรงกับความหมายมากกว่า เป็นอวิชชาแห่งโลก “เป็นระบบเศรษฐกิจอุบาทว์โลก”
คนของท้องถิ่นเสียหาย มีเพียง Hedge Funds ที่เป็นเพียงคน 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบเท่านั้นที่มีกำไรมหาศาล ทุนสำรองที่อยู่ตามธนาคารกลางต่างๆ ไม่ใช่เป็นของประเทศใดทั้งสิ้น แต่เป็นของ Hedge Funds นำมาฝากไว้ เขาจะเคลื่อนย้ายไปที่ไหนเวลาใดเขาก็ทำได้ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศตามกราฟที่แสดงไว้ แสดงให้ทราบว่าเงินท่วมโลก เงินท่วมโลกแต่โลกยากจนลง Hedge Funds มั่งคั่งท่วมโลก แต่คนในโลกยากจนลง
แท้จริงแล้วระบบทุนนิยมหรือระบบทุนนิยมสามานย์เป็นระบบที่ทำให้โลกยากจนลง
ความมั่งคั่ง ความมั่งคั่งไม่ได้พิจารณาจากคนส่วนน้อยของระบบ แต่ต้องพิจารณาที่คนส่วนใหญ่ของระบบ หากคนส่วนใหญ่ของระบบมีกินมีใช้ ไม่ต้องซื้อหาสินค้าและบริการ หรือหากซื้อหาสินค้าและบริการ สินค้าและบริการนั้น ราคาจะต่ำจะไม่แพง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข มีความเอื้ออาทรต่อกัน จึงจะเรียกว่าระบบนั้นมีความมั่งคั่ง มั่นคง
ระบบทุนนิยมหรือทุนนิยมสามานย์ เป็นระบบที่ยากจน โดยคนส่วนน้อยประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของระบบจะมั่งคั่งเหลือกินเหลือใช้ เนื่องจากไปกอบโกยทรัพยากรจากระบบมาเป็นของส่วนตน ทำให้ทรัพยากรของระบบร่อยหรอลง ทำให้คน 99 เปอร์เซ็นต์ของระบบไม่มีกินไม่มีใช้ หรือหากมีกินมีใช้ก็ราคาแพงมาก สินค้าและบริการนั้นต้องซื้อหามาจากคนส่วนน้อยของระบบ (จากนายทุนหรือนายทุนนิยมสามานย์) คนส่วนน้อยนั้นมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก ไม่ว่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าการเดินทาง ที่คนส่วนใหญ่ต้องจ่ายให้คนส่วนน้อย เงินจะอ่อนค่ามากและอ่อนค่าลงตลอดเวลา ทำให้ค่าครองชีพและค่าความเป็นอยู่สูงขึ้นตลอดเวลา
จะเห็นว่าความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในระบบจะเดือดร้อนวุ่นวาย เดินขบวน จลาจล เผาบ้านเผาเมือง ค่าใช้จ่ายด้านความยุติธรรมสูง ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านตำรวจ ด้านอัยการและด้านศาลสูงมาก
ระบบบุญนิยมสาธารณโภคี จะเป็นระบบที่ก่อให้เกิดความมั่งคั่ง เนื่องจากทรัพยากรของระบบไม่ได้ตกไปเป็นของใคร ทรัพยากรของระบบเป็นของส่วนกลาง หรือเป็นของคนส่วนใหญ่ของระบบ มีอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค ไม่ขาดแคลน ไม่แพง สกุลเงินของระบบแข็งค่าและมีความมั่นคง ความเป็นอยู่ของคนในระบบจะอบอุ่น เอื้อเฟื้อ เอื้ออารีต่อกัน ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านความยุติธรรม หรือหากจะมีก็ไม่มาก ไม่ว่าด้านตำรวจ ด้านอัยการ และด้านศาล ตำรวจอาจจะมีไว้ไล่วัวไล่ควายที่เข้ามากินผักผลไม้ชาวบ้าน หรือเข้ามาเกะกะทางจราจรชาวบ้าน
เครื่องมือที่ทำให้สังคมหรือคนส่วนใหญ่เจริญเป็นเครื่องมือที่ดี เครื่องมือที่ทำให้สังคมหรือคนส่วนใหญ่เสื่อมเสียหายเป็นเครื่องมือที่ไม่ดี ข้อมูลที่นำเสนอข้างต้นแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นเป็นเครื่องมือที่ผิดปกติในระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเสียหาย ก็ต้องหาทางเอาออกจากระบบ แล้วหาทางคืนสู่ความเป็นสามัญ
บางประเทศในยุโรปมีตำแหน่งทางราชการมากและเงินเดือนสูง ก็ต้องหาทางลดอัตรากำลังให้น้อยลง ปรับเงินเดือนให้ต่ำลง ภาษีวีเอทีบางประเทศสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหาเงินไปคอร์รัปชันและไปเลี้ยงข้าราชการ หากไม่มีคอร์รัปชัน ตำแหน่งราชการไม่เฟ้อ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากแต่อย่างใด
ใช้หลักอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้า ยุติเศรษฐกิจอุบาทว์ หลักอริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้าช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่องได้อย่างดี ตอนนี้รู้แล้วว่า “ตลาดหุ้น” เป็นต้นเหตุทำให้ค่าเงินเสียหาย ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ทำให้เอกชนล้มลง ทำให้คนตกงาน ทำให้ระบบเกิดหนี้เสีย ทำให้ค่าครองชีพสูง หรือทำให้เกิดทุกข์ การที่จะยุติความทุกข์ของระบบได้คือต้องไม่ให้มีตลาดหุ้นนั่นเอง ต่อไปก็ต้องหาว่า จะหาทางยุติตลาดหุ้นกันได้แบบไหนและอย่างไร จะทำให้ความมั่งคั่งมั่นคงกลับคืนสู่ระบบได้