‘ผลประโยชน์ของประชาชน’ กลายเป็นแหล่งอ้างอิงของรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งอ้างอิงของประชาชนในการคัดค้านและต่อต้านนโยบายสาธารณะเช่นกัน อันเนื่องมาจากที่ผ่านมานโยบายสาธารณะที่ถูกกำหนดโดยรัฐภายใต้การขาดเสถียรภาพทางการเมืองและความสั่นคลอนของระบอบประชาธิปไตยที่สลับสับเปลี่ยนระหว่างการเลือกตั้งกับรัฐประหารนอกจากทำให้ขาดความต่อเนื่องในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน และการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศแล้ว ยังสร้างความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระหว่างประชาชนด้วยกันเองด้วย
ด้วยด้านหนึ่งความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ไม่เพียงสะท้อนพัฒนาการทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ไม่นำไปสู่โอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงฐานทรัพยากรการเมือง ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ เท่านั้น ทว่ายังแสดงนัยสำคัญของการขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินที่ตั้งขึ้นตามการร้องขอของกระทรวงทบวงกรมมากกว่าความต้องการที่จำเป็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทและจังหวัดศูนย์กลางกับชายขอบ ตลอดจนเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันด้วย โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบประชานิยมที่อ้างความต้องการหรือผลประโยชน์ของประชาชนในการขจัดเสียงตรวจตอบหรือคัดค้าน
การขยายตัวของเศรษฐกิจและการสร้างความเท่าเทียมกันด้านรายได้ของประชาชนจึงเลี่ยงการพัฒนาทางการเมืองไม่ได้ในฐานะปัจจัยและเงื่อนไขในการ ‘เปลี่ยน’ ประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยบริบททางการเมืองมีส่วนสำคัญยิ่งยวดต่อการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการที่ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้เส้นความยากจน (poverty line) ได้มีโอกาสขยับฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการมีการศึกษาและรายได้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาลซึ่งส่วนมากมีระดับการศึกษาต่ำและทำงานในภาคการเกษตรที่มีรายได้ไม่มั่นคงที่ไม่เพียงสิทธิและเสรีภาพถูกละเมิด หากยังถูกละเลยหรือเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคมต่างๆ อย่างการศึกษา การสาธารณสุข การรวมกลุ่ม หรือกระทั่งความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ยุทธศาสตร์หรือยุทธวีธีของรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะจึงต้องไม่ขัดต่อการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจ การกระจายงบประมาณ และการกระจายทรัพยากรที่เป็นทั้ง ‘ตัวแปรและตัวชี้วัด’ ของการปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียม เนื่องด้วยช่องว่างทางสังคมโดยเฉพาะด้านรายได้ที่ถ่างกว้างอย่างมากระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำและระหว่างประชาชนด้วยกันเองจะลดลงได้ก็ด้วยนโยบายกระจายอำนาจ งบประมาณ และทรัพยากร สู่ชุมชนท้องถิ่น ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ชายขอบของนโยบายได้โดยยังคงอยู่ภายใต้กรอบเสรีประชาธิปไตยที่รัฐยังคงมีอำนาจชอบธรรมในการกำหนดนโยบายที่มีเป้าหมายเป็น ‘ประโยชน์ของประชาชน’ เช่นเดิม โดยประชาชนทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งในกระบวนการ ‘ขายคะแนนเสียงกับนโยบาย’ ช่วงเลือกตั้งกับการ ‘เสนอแนะนโยบาย’ ภายหลังเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วแก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกของเสียงข้างมาก (majority) ที่เคารพและรับฟังเสียงข้างน้อย (minority) ในฐานะรัฐบาลที่ต้องบริหารบ้านเมืองเพื่อ ‘ประชาชนทุกคน’
ครั้นข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อทิศทางการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐถูกทอนคุณค่าลงเหลือเพียงเสียงที่ไร้เสียง (voiceless) หรือลดเนื้อหาสาระลงเหลือแค่รูปแบบความขัดแย้งแบบต่อต้านหรือไม่ต่อต้านรัฐบาลหรือล้มล้างหรือไม่ล้มล้างรัฐบาล ก็ทำให้การตรวจสอบนโยบายรัฐด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และระบบที่เกี่ยวข้องในระยะยาวถูกสังคมรับรู้ไปในอีกทาง ไม่ต่างจากการตั้งคำถามถึงผลกระทบของการดำเนินนโยบายและความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของประเทศชาติแบบประชานิยมที่ถึงที่สุดแล้วคนตั้งคำถามหรือตรวจสอบจะถูกผลักไปอีกฝั่งฟาก จาก ‘กัลยาณมิตรจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นอริศัตรู’ ที่เมื่อคู่มากับวาทกรรมผลประโยชน์ของประชาชนที่รัฐใช้ในการสร้างความชอบธรรมในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเสียแล้วก็ยากจะคัดค้านนโยบายรัฐนั้นๆ ได้
นัยสำคัญนี้ทำให้การเคลื่อนไหวของประชาชนต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ควรเปิดกว้างทั้งในแง่มุมของสาระเนื้อหาและผลประโยชน์ที่หลากหลาย และกระบวนการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนทั้งในขั้นตอนของเวลาและเงื่อนไขกลไกในการเอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติการได้จริงถูกละเลยหรือถูกอ้างอิงบ้างก็เพื่อผ่านพ้นคำครหาว่าเป็นเผด็จการทางนโยบายหรือเป็นแต่ผลิตนโยบายประชานิยม ซึ่งถึงที่สุดแล้วนโยบายเหล่านั้นไม่ได้แก้ไขโครงสร้างสังคมที่ท่วมท้นด้วยความอยุติธรรมและเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำให้ ‘นโยบายการกระจายอำนาจ-งบประมาณ-ทรัพยากร’ ที่สัมพันธ์กับการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาและรายได้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามไปด้วย
การถูกผูกขาดและครอบงำทางโยบายสาธารณะจากกลุ่มชนชั้นนำทั้งใหม่และเก่าได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางทรัพย์สินและรายได้ในระหว่างคนจนกับคนรวยขยายตัวไม่หยุด ยิ่งกว่านั้นยังมักกีดกันประชาชนจากการเข้าถึงอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เป็นสองปัจจัยเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค ผ่านกระบวนการกำหนดนโยบายที่ ‘ตั้งเอง ชงเอง กินเอง’ กันในกลุ่มชนชั้นนำที่นอกจากจะใช้คำว่าผลประโยชน์ของประชาชนมากลบทับผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ของตนเองและครอบครัวเพื่อสร้างความชอบธรรมทางนโยบายแล้ว ยังอาศัยการได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมากดทับเสียงตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย
ดังนั้นในการเคลื่อนขบวนของภาคประชาสังคมและการเคลื่อนไหวของประชาชนจึงควรต้องมีพื้นที่สาธารณะหรือเวทีที่เปิดกว้างกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางต่างๆ ในการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอำนาจ งบประมาณ และทรัพยากร ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแต่ก่อนกลุ่มเหล่านี้มักก่อตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) หรือไม่ก็กลุ่มผลักดัน (pressure group) ที่เคลื่อนไหวในประเด็นแคบเฉพาะตนโดยใช้อำนาจเจรจาต่อรอง (negotiation) ไปในทางวิ่งเต้นล็อบบี้หรือรุนแรงถึงขั้นข่มขู่คุกคามความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมากกว่าสร้างความรู้และการหนุนเคลื่อนทางสังคมควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ถูกผูกขาดครอบงำจากกลุ่มเทคโนแครต นักวิชาการ ข้าราชการ และล่าสุดนักการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียวกับทุน
ด้วยเหตุนี้เวทีสาธารณะเช่นสมัชชาปฏิรูปที่พุ่งเข็มทิศไปยัง ‘การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม’ ซึ่งเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจนทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทยที่หลุดพ้นไปจากกรอบคิดวิธีปฏิบัติแบบเดิมๆ ที่เน้นการธำรงสถานภาพสังคม (Status Quo) จะสามารถลดการขยายตัวของช่องว่างทางอำนาจและรายได้ระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำและระหว่างคนยากจนข้นแค้นกับร่ำรวยได้ด้วยไม่เพียงเป็นวิธีการปฏิรูปประเทศไทยที่ไม่สร้างศัตรูรายทางจากการใช้ความรุนแรงกดดันสังคมแล้ว ยังมุ่งเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างสังคมต่างๆ ทั้งระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมือง ระบบราชการ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ และระบบสวัสดิการสังคม ด้วยข้อมูลความรู้และชุดเหตุผลที่ประชาชนคนปลายอ้อปลายแขมได้เข้ามามีส่วนร่วมเสนอแนะท้วงติง
การเข้าร่วมคิดค้นเพื่อค้นพบก่อนกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกันแบบฉันทามติ (Consensus) ในรูปแบบของเวทีสาธารณะที่ได้รับการออกแบบมาให้ทุกคนทุกเสียงที่แตกต่างได้แสดงออกอันเป็นไปตามกระบวนการที่ผนวกรวม (Inclusion) ทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาให้ได้มากที่สุดเพราะมีหลักการพื้นฐานว่าจะต้องไม่มีเสียงใดเสียงหนึ่งถูกตัดออกไปเพียงเพราะไม่เข้าพวกนั้น นอกจากจะทำให้ประชาชนเสียต้นทุนปฏิบัติการน้อยกว่าการออกไปบนท้องถนนหรือพื้นที่สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีต้นทุนปฏิบัติการสูงมากจนบางคราวถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว ยังเป็นกระบวนการลดอำนาจรัฐเพื่อเพิ่มอำนาจประชาชนที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ-งบประมาณ-ทรัพยากร ที่รัฐต้องเร่งกำหนดเป็นนโยบายและนำไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมถ้าปรารถนาจะเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน
ด้วยด้านหนึ่งความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ไม่เพียงสะท้อนพัฒนาการทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ไม่นำไปสู่โอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงฐานทรัพยากรการเมือง ทรัพยากรเศรษฐกิจ ทรัพยากรสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ เท่านั้น ทว่ายังแสดงนัยสำคัญของการขาดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินที่ตั้งขึ้นตามการร้องขอของกระทรวงทบวงกรมมากกว่าความต้องการที่จำเป็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทและจังหวัดศูนย์กลางกับชายขอบ ตลอดจนเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันด้วย โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบประชานิยมที่อ้างความต้องการหรือผลประโยชน์ของประชาชนในการขจัดเสียงตรวจตอบหรือคัดค้าน
การขยายตัวของเศรษฐกิจและการสร้างความเท่าเทียมกันด้านรายได้ของประชาชนจึงเลี่ยงการพัฒนาทางการเมืองไม่ได้ในฐานะปัจจัยและเงื่อนไขในการ ‘เปลี่ยน’ ประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยบริบททางการเมืองมีส่วนสำคัญยิ่งยวดต่อการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคการบริการที่ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้เส้นความยากจน (poverty line) ได้มีโอกาสขยับฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการมีการศึกษาและรายได้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาลซึ่งส่วนมากมีระดับการศึกษาต่ำและทำงานในภาคการเกษตรที่มีรายได้ไม่มั่นคงที่ไม่เพียงสิทธิและเสรีภาพถูกละเมิด หากยังถูกละเลยหรือเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคมต่างๆ อย่างการศึกษา การสาธารณสุข การรวมกลุ่ม หรือกระทั่งความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ยุทธศาสตร์หรือยุทธวีธีของรัฐในการกำหนดนโยบายสาธารณะจึงต้องไม่ขัดต่อการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจ การกระจายงบประมาณ และการกระจายทรัพยากรที่เป็นทั้ง ‘ตัวแปรและตัวชี้วัด’ ของการปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียม เนื่องด้วยช่องว่างทางสังคมโดยเฉพาะด้านรายได้ที่ถ่างกว้างอย่างมากระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำและระหว่างประชาชนด้วยกันเองจะลดลงได้ก็ด้วยนโยบายกระจายอำนาจ งบประมาณ และทรัพยากร สู่ชุมชนท้องถิ่น ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ชายขอบของนโยบายได้โดยยังคงอยู่ภายใต้กรอบเสรีประชาธิปไตยที่รัฐยังคงมีอำนาจชอบธรรมในการกำหนดนโยบายที่มีเป้าหมายเป็น ‘ประโยชน์ของประชาชน’ เช่นเดิม โดยประชาชนทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งในกระบวนการ ‘ขายคะแนนเสียงกับนโยบาย’ ช่วงเลือกตั้งกับการ ‘เสนอแนะนโยบาย’ ภายหลังเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วแก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกของเสียงข้างมาก (majority) ที่เคารพและรับฟังเสียงข้างน้อย (minority) ในฐานะรัฐบาลที่ต้องบริหารบ้านเมืองเพื่อ ‘ประชาชนทุกคน’
ครั้นข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อทิศทางการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐถูกทอนคุณค่าลงเหลือเพียงเสียงที่ไร้เสียง (voiceless) หรือลดเนื้อหาสาระลงเหลือแค่รูปแบบความขัดแย้งแบบต่อต้านหรือไม่ต่อต้านรัฐบาลหรือล้มล้างหรือไม่ล้มล้างรัฐบาล ก็ทำให้การตรวจสอบนโยบายรัฐด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และระบบที่เกี่ยวข้องในระยะยาวถูกสังคมรับรู้ไปในอีกทาง ไม่ต่างจากการตั้งคำถามถึงผลกระทบของการดำเนินนโยบายและความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของประเทศชาติแบบประชานิยมที่ถึงที่สุดแล้วคนตั้งคำถามหรือตรวจสอบจะถูกผลักไปอีกฝั่งฟาก จาก ‘กัลยาณมิตรจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นอริศัตรู’ ที่เมื่อคู่มากับวาทกรรมผลประโยชน์ของประชาชนที่รัฐใช้ในการสร้างความชอบธรรมในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเสียแล้วก็ยากจะคัดค้านนโยบายรัฐนั้นๆ ได้
นัยสำคัญนี้ทำให้การเคลื่อนไหวของประชาชนต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ควรเปิดกว้างทั้งในแง่มุมของสาระเนื้อหาและผลประโยชน์ที่หลากหลาย และกระบวนการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนทั้งในขั้นตอนของเวลาและเงื่อนไขกลไกในการเอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติการได้จริงถูกละเลยหรือถูกอ้างอิงบ้างก็เพื่อผ่านพ้นคำครหาว่าเป็นเผด็จการทางนโยบายหรือเป็นแต่ผลิตนโยบายประชานิยม ซึ่งถึงที่สุดแล้วนโยบายเหล่านั้นไม่ได้แก้ไขโครงสร้างสังคมที่ท่วมท้นด้วยความอยุติธรรมและเหลื่อมล้ำแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำให้ ‘นโยบายการกระจายอำนาจ-งบประมาณ-ทรัพยากร’ ที่สัมพันธ์กับการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาและรายได้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามไปด้วย
การถูกผูกขาดและครอบงำทางโยบายสาธารณะจากกลุ่มชนชั้นนำทั้งใหม่และเก่าได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางทรัพย์สินและรายได้ในระหว่างคนจนกับคนรวยขยายตัวไม่หยุด ยิ่งกว่านั้นยังมักกีดกันประชาชนจากการเข้าถึงอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่เป็นสองปัจจัยเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค ผ่านกระบวนการกำหนดนโยบายที่ ‘ตั้งเอง ชงเอง กินเอง’ กันในกลุ่มชนชั้นนำที่นอกจากจะใช้คำว่าผลประโยชน์ของประชาชนมากลบทับผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) ของตนเองและครอบครัวเพื่อสร้างความชอบธรรมทางนโยบายแล้ว ยังอาศัยการได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมากดทับเสียงตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย
ดังนั้นในการเคลื่อนขบวนของภาคประชาสังคมและการเคลื่อนไหวของประชาชนจึงควรต้องมีพื้นที่สาธารณะหรือเวทีที่เปิดกว้างกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางต่างๆ ในการสร้างความเป็นธรรมทางสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอำนาจ งบประมาณ และทรัพยากร ที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแต่ก่อนกลุ่มเหล่านี้มักก่อตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) หรือไม่ก็กลุ่มผลักดัน (pressure group) ที่เคลื่อนไหวในประเด็นแคบเฉพาะตนโดยใช้อำนาจเจรจาต่อรอง (negotiation) ไปในทางวิ่งเต้นล็อบบี้หรือรุนแรงถึงขั้นข่มขู่คุกคามความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมากกว่าสร้างความรู้และการหนุนเคลื่อนทางสังคมควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ถูกผูกขาดครอบงำจากกลุ่มเทคโนแครต นักวิชาการ ข้าราชการ และล่าสุดนักการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียวกับทุน
ด้วยเหตุนี้เวทีสาธารณะเช่นสมัชชาปฏิรูปที่พุ่งเข็มทิศไปยัง ‘การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม’ ซึ่งเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจนทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทยที่หลุดพ้นไปจากกรอบคิดวิธีปฏิบัติแบบเดิมๆ ที่เน้นการธำรงสถานภาพสังคม (Status Quo) จะสามารถลดการขยายตัวของช่องว่างทางอำนาจและรายได้ระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำและระหว่างคนยากจนข้นแค้นกับร่ำรวยได้ด้วยไม่เพียงเป็นวิธีการปฏิรูปประเทศไทยที่ไม่สร้างศัตรูรายทางจากการใช้ความรุนแรงกดดันสังคมแล้ว ยังมุ่งเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างสังคมต่างๆ ทั้งระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมือง ระบบราชการ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ และระบบสวัสดิการสังคม ด้วยข้อมูลความรู้และชุดเหตุผลที่ประชาชนคนปลายอ้อปลายแขมได้เข้ามามีส่วนร่วมเสนอแนะท้วงติง
การเข้าร่วมคิดค้นเพื่อค้นพบก่อนกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกันแบบฉันทามติ (Consensus) ในรูปแบบของเวทีสาธารณะที่ได้รับการออกแบบมาให้ทุกคนทุกเสียงที่แตกต่างได้แสดงออกอันเป็นไปตามกระบวนการที่ผนวกรวม (Inclusion) ทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาให้ได้มากที่สุดเพราะมีหลักการพื้นฐานว่าจะต้องไม่มีเสียงใดเสียงหนึ่งถูกตัดออกไปเพียงเพราะไม่เข้าพวกนั้น นอกจากจะทำให้ประชาชนเสียต้นทุนปฏิบัติการน้อยกว่าการออกไปบนท้องถนนหรือพื้นที่สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีต้นทุนปฏิบัติการสูงมากจนบางคราวถึงขั้นเสียชีวิตแล้ว ยังเป็นกระบวนการลดอำนาจรัฐเพื่อเพิ่มอำนาจประชาชนที่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ-งบประมาณ-ทรัพยากร ที่รัฐต้องเร่งกำหนดเป็นนโยบายและนำไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมถ้าปรารถนาจะเปลี่ยนประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียมเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน