ASTVผู้จัดการรายวัน-สภาธุรกิจตลาดทุนไทย วอนกระทรวงการคลัง-รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการตามกฎหมายสหรัฐฯ “ FATCA”ก่อนมีผลบังคับใช้ต้นปี57 หลังยังนิ่งเฉย ชี้หากไม่เร่งดำเนินการสถาบันการเงินไทย จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย30%ของรายได้ที่มาจากสหรัฐฯ พร้อมแนะรัฐบาลไทยควรทำสัญญากับรัฐบาลสหรัฐโดยตรง(G to G )เหตุ มีอำนาจต่อรองมากกว่าให้สถาบันการเงินไทยไปทำสัญญาเอง อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่าย คาดกลุ่มธนาคารพาณิชย์กระทบหนักสุด
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (สธท.) เปิดเผยว่า จากการที่สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA )ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเลี่ยงการจ่ายภาษีของชาวอเมริกันด้วยการทำธุรกิจกรรมทางการเงินนอกประเทศ โดยที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้สถาบันการเงินต่างชาติทุกแห่งนอกสหรัฐฯต้องรายงานข้อมูลบัญชีของลูกค้าชาวอเมริกันที่มีรายการในสถาบันการเงินประเทศนั้นๆให้แก่สรรพากรของสหรัฐ (IRS)โดยถ้าสถาบันการเงินประเทศต่างๆไม่ยินยอมเข้าร่วมปฏิบัติตามกฎหมาย (FATCA) หรือ ลูกค้าสถาบันการเงินไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลให้แก่สรรพากรของสหรัฐฯ จะถูก สรรพากรสหรัฐฯ หักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) 30% ของรายได้ที่มีแหล่งที่มาจากสหรัฐ โดยกฎหมาย FATCAจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2557
สำหรับแนวทางในการทำสัญญาดังกล่าวนั้นมี 2 แนวทาง คือ 1.ให้สถาบันการเงินมีการทำสัญญากับทางสหรัฐอเมริกาเอง และ 2. การทำสัญญาในระดับรัฐบาลกับรัฐบาล(G to G) โดยทางสภาธุรกิจตลาดทุนฯได้มีการหารือร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.)สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคม ธนาคารไทย ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและ รวบรวมข้อเสนอต่อกระทรวงการคลังในฐานะผู้ดูแลภาพรวมด้านเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว
ทั้งนี้ทางก.ล.ต.และสภาธุรกิจตลาดทุนไทยได้การทำหนังสือถึงข้อเสนอแนะเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงการคลังคือ1. สถาบันการเงินที่เข้าข่ายตามตาม FATCA หมายความรวมถึงธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจกองทุนรวม ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกัน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมารองรับจึงควรเป็นกฎหมายกลางสำหรับธุรกิจทุกประเภท และกฎหมายดังกล่าวควรจะกำหนดให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่ในการรวบรวมและนำส่งเงินที่ได้จากการหัก Withholding Tax และ การส่งรายงานให้ IRS เพื่อรองรับกรณีที่อาจต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายตาม FATCA ในอนาคต ซึ่งจะมีความสะดวกและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากรณีกำหนดให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งดำเนินการเอง
2..หากไม่มีกฎหมายไทยออกมารองรับเป็นการเฉพาะ สถาบันการเงินไทยอาจไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตาม FATCA ได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของสถาบันการเงินในการหัก Withholding Tax รวมทั้งการรายงานข้อมูลบัญชีของลูกค้าซึ่งเป็นข้อมูลลับส่วนบุคคลให้IRS จึงมีความจำเป็นต้องมีการออกฎหมายรองรับการดำเนินการดังกล่าว และ3.ในการทำสัญญากับIRS เพื่อยินยอมเข้าร่วมปฏิบัติตาม FATCA ประเทศไทยควรพิจารณาทำสัญญาในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G ) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของโดยรวม ทั้งในการจัดทำระบบมารองรับ และการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เนื่องจาก การทำสัญญาในระดับรับบาลกับรัฐบาลจะทำให้เจรจาต่อรองกับสหรัฐได้มากกว่า ซึ่งเรื่องนี้มีหลายประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว จะทำให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องดำเนินการบางอย่าง
อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักของเศรษฐกิจไทย ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย และที่สำคัญคือ กระบวนการหัก Withholding Tax และการรายงานข้อมูลให้ IRS ตาม FATCA นั้น จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2557 ดังนั้นประเทศไทย จึงต้องเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จภายในปี 2556 โดยส่วนตัวหวังว่ากระทรวงการคลังและรัฐบาลจะเห็นความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจไทยโดยรวม และหยิบยกเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเร่งด่วนของประเทศ
“ก่อนหน้านี้ทางก.ล.ต. และทางสมาคมฯได้มีการทำหนังสือไปยังกระทรวงการคลังไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือตอบจากทางกระทรวงการคลังเลย หวังว่าทางการจะเร่งดำเนินการดังกล่าวให้แล้วภายในกรอบเวลาที่กำหนด โดยในการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ ก็จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งเพราะประธานในการประชุมนั้นคือรมว.คลังเพื่อรับทราบข้อมูลอีกครั้ง โดยปกติหากสถาบันการเงินไทยมีการไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว15%สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับมาประเทศไทย หากเราไม่ทำตามกำหนดหมายของIRS ก็จะถูกหักเพิ่มอีก30% รวมแล้วจะถูกหัก 45% โดยแบงก์จะถูกกระทบมากสุดเพราะมีการนำเงินไปลงทุนสหรัฐจำนวนมาก ”นายไพบูลย์ กล่าว
สำหรับสถาบันการเงินที่เข้าข่าย ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกัน โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ กองบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (สธท.) เปิดเผยว่า จากการที่สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA )ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเลี่ยงการจ่ายภาษีของชาวอเมริกันด้วยการทำธุรกิจกรรมทางการเงินนอกประเทศ โดยที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้สถาบันการเงินต่างชาติทุกแห่งนอกสหรัฐฯต้องรายงานข้อมูลบัญชีของลูกค้าชาวอเมริกันที่มีรายการในสถาบันการเงินประเทศนั้นๆให้แก่สรรพากรของสหรัฐ (IRS)โดยถ้าสถาบันการเงินประเทศต่างๆไม่ยินยอมเข้าร่วมปฏิบัติตามกฎหมาย (FATCA) หรือ ลูกค้าสถาบันการเงินไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลให้แก่สรรพากรของสหรัฐฯ จะถูก สรรพากรสหรัฐฯ หักภาษี ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) 30% ของรายได้ที่มีแหล่งที่มาจากสหรัฐ โดยกฎหมาย FATCAจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2557
สำหรับแนวทางในการทำสัญญาดังกล่าวนั้นมี 2 แนวทาง คือ 1.ให้สถาบันการเงินมีการทำสัญญากับทางสหรัฐอเมริกาเอง และ 2. การทำสัญญาในระดับรัฐบาลกับรัฐบาล(G to G) โดยทางสภาธุรกิจตลาดทุนฯได้มีการหารือร่วมกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.)สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคม ธนาคารไทย ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและ รวบรวมข้อเสนอต่อกระทรวงการคลังในฐานะผู้ดูแลภาพรวมด้านเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว
ทั้งนี้ทางก.ล.ต.และสภาธุรกิจตลาดทุนไทยได้การทำหนังสือถึงข้อเสนอแนะเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงการคลังคือ1. สถาบันการเงินที่เข้าข่ายตามตาม FATCA หมายความรวมถึงธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจกองทุนรวม ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกัน ดังนั้น กฎหมายที่ออกมารองรับจึงควรเป็นกฎหมายกลางสำหรับธุรกิจทุกประเภท และกฎหมายดังกล่าวควรจะกำหนดให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่ในการรวบรวมและนำส่งเงินที่ได้จากการหัก Withholding Tax และ การส่งรายงานให้ IRS เพื่อรองรับกรณีที่อาจต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายตาม FATCA ในอนาคต ซึ่งจะมีความสะดวกและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากรณีกำหนดให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งดำเนินการเอง
2..หากไม่มีกฎหมายไทยออกมารองรับเป็นการเฉพาะ สถาบันการเงินไทยอาจไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตาม FATCA ได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของสถาบันการเงินในการหัก Withholding Tax รวมทั้งการรายงานข้อมูลบัญชีของลูกค้าซึ่งเป็นข้อมูลลับส่วนบุคคลให้IRS จึงมีความจำเป็นต้องมีการออกฎหมายรองรับการดำเนินการดังกล่าว และ3.ในการทำสัญญากับIRS เพื่อยินยอมเข้าร่วมปฏิบัติตาม FATCA ประเทศไทยควรพิจารณาทำสัญญาในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G ) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของโดยรวม ทั้งในการจัดทำระบบมารองรับ และการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมายของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เนื่องจาก การทำสัญญาในระดับรับบาลกับรัฐบาลจะทำให้เจรจาต่อรองกับสหรัฐได้มากกว่า ซึ่งเรื่องนี้มีหลายประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว จะทำให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องดำเนินการบางอย่าง
อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักของเศรษฐกิจไทย ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย และที่สำคัญคือ กระบวนการหัก Withholding Tax และการรายงานข้อมูลให้ IRS ตาม FATCA นั้น จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2557 ดังนั้นประเทศไทย จึงต้องเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จภายในปี 2556 โดยส่วนตัวหวังว่ากระทรวงการคลังและรัฐบาลจะเห็นความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจไทยโดยรวม และหยิบยกเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเร่งด่วนของประเทศ
“ก่อนหน้านี้ทางก.ล.ต. และทางสมาคมฯได้มีการทำหนังสือไปยังกระทรวงการคลังไปแล้วตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือตอบจากทางกระทรวงการคลังเลย หวังว่าทางการจะเร่งดำเนินการดังกล่าวให้แล้วภายในกรอบเวลาที่กำหนด โดยในการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ ก็จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งเพราะประธานในการประชุมนั้นคือรมว.คลังเพื่อรับทราบข้อมูลอีกครั้ง โดยปกติหากสถาบันการเงินไทยมีการไปลงทุนในสหรัฐอเมริกาจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว15%สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับมาประเทศไทย หากเราไม่ทำตามกำหนดหมายของIRS ก็จะถูกหักเพิ่มอีก30% รวมแล้วจะถูกหัก 45% โดยแบงก์จะถูกกระทบมากสุดเพราะมีการนำเงินไปลงทุนสหรัฐจำนวนมาก ”นายไพบูลย์ กล่าว
สำหรับสถาบันการเงินที่เข้าข่าย ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกัน โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ กองบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)