พรรคการเมืองเป็นสถาบันหลักทางการเมือง มีบทบาทสำคัญในการระดมเสียงสนับสนุน และทุนที่ต้องใช้ในการเลือกตั้ง นอกจากพรรคการเมืองแล้ว ยังมีกลุ่มผลประโยชน์อีกจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรม แต่ในสังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผลทางการเมือง และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทน เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ต่างกับกลุ่มซึ่งสมาชิกมีผลประโยชน์คล้ายกัน แต่ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์นั้น สายสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละคนเป็นเรื่องเฉพาะ ดังนั้นความรู้สึกร่วมของกลุ่มจึงไม่มี แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันเพราะมีผลประโยชน์เฉพาะ พรรคการเมืองที่เกิดจากพื้นฐานทางสังคมแบบนี้ จึงขาดความผูกพันเพราะบุคคลแต่ละคนต่างแสวงหาผลประโยชน์ของตนเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมืองไทยยอมให้มีการเลือกตั้งก่อน แต่ไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง นักการเมืองแต่ละคนจึงอาศัยกำลังทรัพยากรส่วนบุคคลเป็นฐานสำคัญในการเลือกตั้ง และทำการจัดการการเลือกตั้งด้วยตนเองโดยไม่มีองค์กร ทรัพยากรส่วนบุคคลนั้นนอกจากเงินทุนแล้วก็อาศัยชื่อเสียง และบารมีที่สั่งสมมานาน ในสมัยก่อนเงินยังมีความสำคัญไม่มากนัก เราจึงเห็นทนายความ และครูซึ่งมีคนรู้จัก และเคยให้ความช่วยเหลือคนจำนวนมากได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรหลายคน
เมื่อเกิดพรรคการเมืองขึ้น แต่เดิมผู้สนใจทางการเมืองซึ่งได้แก่สมาชิกคณะราษฎร และผู้มีความรู้ก็เข้ามาร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ กลุ่มแรกๆ ที่จัดตั้งพรรคการเมืองได้แก่ผู้จัดตั้งคณะชาติ มีข้าราชการคือพระยาโทณวณิกมนตรี และหลวงวิจิตรวาทการเป็นกำลังสำคัญ
เมื่อมีพรรคการเมือง ไม่นานก็เกิดการแบ่งแยกออกเป็นฝักฝ่าย แม้พรรคทั้งสองอาจสนับสนุนบุคคลเดียวกันอย่างพรรคสหชีพ และพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังแยกเป็นสองพรรค สำหรับพรรครัฐบาล เช่น พรรคสหประชาไทย ก็มักประกอบด้วยฝักฝ่าย (Faction) คือพวกข้าราชการ และนักการเมืองซึ่งเป็นผู้แทนราษฎร ฝักฝ่ายนี้บางทีก็เรียกกันว่า “มุ้ง” เป็นมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ คือมารวมกัน แต่มีผู้นำคนละคน และไม่มีการยอมรับการนำของหัวหน้าพรรคอย่างเด็ดขาด พรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยุคแรกๆ ก็มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเช่นกัน และด้วยเหตุนี้ จึงมีความขัดแย้งกันเอง เป็นเหตุให้เกิดความไม่มั่นคง และทำให้พรรคฝ่ายค้านสามารถสร้างพันธมิตรกับบางฝักฝ่ายในการโค่นล้มรัฐบาลได้
สำหรับพรรคสหประชาไทยนั้น เป็นแนวร่วมของข้าราชการทหาร ซึ่งมีทั้งผู้สนับสนุนจอมพลถนอม จอมพลประภาส พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ และพล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ผู้นำที่มารวมตัวกันนี้เป็นคณะรัฐประหาร เมื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองก็จำเป็นต้องมี ส.ส.สนับสนุน เพราะต้องทำหน้าที่รัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตรงข้ามจึงมักอาศัยมือของ ส.ส.ในการตั้งกระทู้บ้าง ในการอภิปรายบ้าง และในการพิจารณางบประมาณบ้าง
ฝักฝ่ายเช่นนี้เป็นช่องว่างที่ทำให้พรรคฝ่ายค้านสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ และทำให้พรรคการเมืองมีความอ่อนแอ ในที่สุดก็ต้องสลายตัวไป เพราะขาดพื้นฐานของมวลชน
เมื่อทุนเข้ามามีบทบาททางการเมือง ผู้มีทุนมากก็จะอาศัยการระดมทุนจากผู้อื่นด้วย ในกรณีของพรรคไทยรักไทยมีหุ้นส่วนทางธุรกิจประมาณ 10 คนเข้ามาร่วมลงขัน และเป็นแหล่งทุนของนักการเมืองที่เป็นนักการเมืองอาชีพ ดังนั้นฝักฝ่ายจึงเกิดขึ้น และนำไปสู่การแบ่งโควตาตำแหน่งทางการเมือง ตราบเท่าที่มีนายทุนใหญ่อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ การแบ่งสันปันส่วนตำแหน่ง และผลประโยชน์จึงเป็นไปได้โดยง่าย ด้วยการอาศัยการผลิตนโยบายประชานิยมควบคู่ไปกับการให้การสนับสนุนธุรกิจรายใหญ่เข้ามาทำโครงการมหึมาประเภทต่างๆ ฝักฝ่ายในพรรคไทยรักไทย แม้จะมีมาก แต่ก็สามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้ลงตัว
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีความแตกต่างกันเพราะไม่มีนายทุนใหญ่ แต่ก็มีฝักฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ซึ่งมีจำนวนมาก แต่ก็มีกลุ่ม ส.ส.กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากเช่นกัน ในสมัยก่อนที่นายเล็ก นานา ยังมีชีวิตอยู่ก็มีกลุ่มมุสลิมเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นฝักฝ่ายที่มีความแปลกแยกออกไปแต่อย่างใด
พรรคที่มีฝักฝ่ายรวมกันอยู่ได้มารวมตัวเป็นพันธมิตรเป็นพรรคไทยรักไทย ก็มีพรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคของกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ฝักฝ่ายเหล่านี้มีอำนาจการต่อรองด้วย เพราะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จในการเลือกตั้ง
ฝักฝ่ายในพรรคการเมืองไทยต่างจากฝักฝ่ายในพรรคการเมืองต่างประเทศ ตรงที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าความแตกต่างด้านอุดมการณ์ นโยบาย ศาสนา หรือเชื้อชาติ ในมาเลเซียพรรค UMNO เป็นการรวมตัวกันระหว่างนักการเมืองเชื้อสายจีน มาเลย์ และอินเดีย ส่วนฝักฝ่ายในพรรคการเมืองของญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันคือ ระหว่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม
พรรคที่มีผู้นำเข้มแข็งมีทุนมาก และได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากอย่างพรรคไทยรักไทย แม้จะมีฝักฝ่ายมากแต่ก็ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีผลประโยชน์มากพอที่จะแบ่งสรรกันได้ คือ มีทั้งผลประโยชน์ที่มาจากทุนของหัวหน้าพรรค และที่มาจากงบประมาณจากโครงการต่างๆ แม้จะมีแรงกระเพื่อมบ้างในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีแต่ก็จัดการได้ เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดต่างๆ เป็นระยะๆ
ฝักฝ่ายเป็นธรรมดาของพรรคการเมือง แต่ที่พิเศษออกไปก็คือ กระบวนการจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมืองไทยยอมให้มีการเลือกตั้งก่อน แต่ไม่ยอมให้มีพรรคการเมือง นักการเมืองแต่ละคนจึงอาศัยกำลังทรัพยากรส่วนบุคคลเป็นฐานสำคัญในการเลือกตั้ง และทำการจัดการการเลือกตั้งด้วยตนเองโดยไม่มีองค์กร ทรัพยากรส่วนบุคคลนั้นนอกจากเงินทุนแล้วก็อาศัยชื่อเสียง และบารมีที่สั่งสมมานาน ในสมัยก่อนเงินยังมีความสำคัญไม่มากนัก เราจึงเห็นทนายความ และครูซึ่งมีคนรู้จัก และเคยให้ความช่วยเหลือคนจำนวนมากได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรหลายคน
เมื่อเกิดพรรคการเมืองขึ้น แต่เดิมผู้สนใจทางการเมืองซึ่งได้แก่สมาชิกคณะราษฎร และผู้มีความรู้ก็เข้ามาร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ กลุ่มแรกๆ ที่จัดตั้งพรรคการเมืองได้แก่ผู้จัดตั้งคณะชาติ มีข้าราชการคือพระยาโทณวณิกมนตรี และหลวงวิจิตรวาทการเป็นกำลังสำคัญ
เมื่อมีพรรคการเมือง ไม่นานก็เกิดการแบ่งแยกออกเป็นฝักฝ่าย แม้พรรคทั้งสองอาจสนับสนุนบุคคลเดียวกันอย่างพรรคสหชีพ และพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังแยกเป็นสองพรรค สำหรับพรรครัฐบาล เช่น พรรคสหประชาไทย ก็มักประกอบด้วยฝักฝ่าย (Faction) คือพวกข้าราชการ และนักการเมืองซึ่งเป็นผู้แทนราษฎร ฝักฝ่ายนี้บางทีก็เรียกกันว่า “มุ้ง” เป็นมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ คือมารวมกัน แต่มีผู้นำคนละคน และไม่มีการยอมรับการนำของหัวหน้าพรรคอย่างเด็ดขาด พรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลยุคแรกๆ ก็มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเช่นกัน และด้วยเหตุนี้ จึงมีความขัดแย้งกันเอง เป็นเหตุให้เกิดความไม่มั่นคง และทำให้พรรคฝ่ายค้านสามารถสร้างพันธมิตรกับบางฝักฝ่ายในการโค่นล้มรัฐบาลได้
สำหรับพรรคสหประชาไทยนั้น เป็นแนวร่วมของข้าราชการทหาร ซึ่งมีทั้งผู้สนับสนุนจอมพลถนอม จอมพลประภาส พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ และพล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ผู้นำที่มารวมตัวกันนี้เป็นคณะรัฐประหาร เมื่อเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองก็จำเป็นต้องมี ส.ส.สนับสนุน เพราะต้องทำหน้าที่รัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตรงข้ามจึงมักอาศัยมือของ ส.ส.ในการตั้งกระทู้บ้าง ในการอภิปรายบ้าง และในการพิจารณางบประมาณบ้าง
ฝักฝ่ายเช่นนี้เป็นช่องว่างที่ทำให้พรรคฝ่ายค้านสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ และทำให้พรรคการเมืองมีความอ่อนแอ ในที่สุดก็ต้องสลายตัวไป เพราะขาดพื้นฐานของมวลชน
เมื่อทุนเข้ามามีบทบาททางการเมือง ผู้มีทุนมากก็จะอาศัยการระดมทุนจากผู้อื่นด้วย ในกรณีของพรรคไทยรักไทยมีหุ้นส่วนทางธุรกิจประมาณ 10 คนเข้ามาร่วมลงขัน และเป็นแหล่งทุนของนักการเมืองที่เป็นนักการเมืองอาชีพ ดังนั้นฝักฝ่ายจึงเกิดขึ้น และนำไปสู่การแบ่งโควตาตำแหน่งทางการเมือง ตราบเท่าที่มีนายทุนใหญ่อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ การแบ่งสันปันส่วนตำแหน่ง และผลประโยชน์จึงเป็นไปได้โดยง่าย ด้วยการอาศัยการผลิตนโยบายประชานิยมควบคู่ไปกับการให้การสนับสนุนธุรกิจรายใหญ่เข้ามาทำโครงการมหึมาประเภทต่างๆ ฝักฝ่ายในพรรคไทยรักไทย แม้จะมีมาก แต่ก็สามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้ลงตัว
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีความแตกต่างกันเพราะไม่มีนายทุนใหญ่ แต่ก็มีฝักฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ซึ่งมีจำนวนมาก แต่ก็มีกลุ่ม ส.ส.กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากเช่นกัน ในสมัยก่อนที่นายเล็ก นานา ยังมีชีวิตอยู่ก็มีกลุ่มมุสลิมเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นฝักฝ่ายที่มีความแปลกแยกออกไปแต่อย่างใด
พรรคที่มีฝักฝ่ายรวมกันอยู่ได้มารวมตัวเป็นพันธมิตรเป็นพรรคไทยรักไทย ก็มีพรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคของกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ฝักฝ่ายเหล่านี้มีอำนาจการต่อรองด้วย เพราะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จในการเลือกตั้ง
ฝักฝ่ายในพรรคการเมืองไทยต่างจากฝักฝ่ายในพรรคการเมืองต่างประเทศ ตรงที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าความแตกต่างด้านอุดมการณ์ นโยบาย ศาสนา หรือเชื้อชาติ ในมาเลเซียพรรค UMNO เป็นการรวมตัวกันระหว่างนักการเมืองเชื้อสายจีน มาเลย์ และอินเดีย ส่วนฝักฝ่ายในพรรคการเมืองของญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันคือ ระหว่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม
พรรคที่มีผู้นำเข้มแข็งมีทุนมาก และได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากอย่างพรรคไทยรักไทย แม้จะมีฝักฝ่ายมากแต่ก็ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีผลประโยชน์มากพอที่จะแบ่งสรรกันได้ คือ มีทั้งผลประโยชน์ที่มาจากทุนของหัวหน้าพรรค และที่มาจากงบประมาณจากโครงการต่างๆ แม้จะมีแรงกระเพื่อมบ้างในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีแต่ก็จัดการได้ เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดต่างๆ เป็นระยะๆ
ฝักฝ่ายเป็นธรรมดาของพรรคการเมือง แต่ที่พิเศษออกไปก็คือ กระบวนการจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป