ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ศาลสั่งจำคุกไพร่แดงขอนแก่น 3 ปีไม่รอลงอาญา คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-เผาสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีขอนแก่นเมื่อ 19 พ.ค. 53 ทนายไม่ยื่นอุทธรณ์ ปล่อยนอนคุกต่อ ด้านคดีแกนนำนปช.ก่อการร้าย เลื่อนสืบพยานโจทก์ไป 14 ธ.ค เหตุ "ณัฐวุฒิ" อ้างติดตาม"ปู"ลงใต้ ศาลกำชับทนายพาจำเลยมาศาล ไม่เช่นนั้นจะพิจารณาออกหมายจับ
วานนี้ (13 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาตัดสินคดีความ ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ นายอุดม คำมูล จำเลย คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้ บุกรุก ความผิดต่อ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยโจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จำเลยกับพวกร่วมกันมั่วสุม และกระทำการอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ณ บริเวณที่ทำการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
โดยจำเลยกับพวกใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ด้วยการจุดไฟเผากองยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ ใช้กำลังผลักดันเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ และบุกรุกเข้าไปในอาคารที่ทำการสำนักงานประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น ตระเตรียมเพื่อวางเพลิงอาคารและทรัพย์สิน มูลค่า 222,552,600 บาท ซึ่งต่อมามีคนร้ายวางเพลิงสถานที่ดังกล่าวจนได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 , 83 , 91 , 215 , 217 , 218 , 219 , 362 , 364 , 365 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 5 , 9 , 11 , 18 ขอให้ริบของกลาง แต่จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ และจำเลยแล้ว มีข้อวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยร่วมกันมั่วสุม กระทำการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง บุกรุกเข้าไปในที่ทำการสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น และมีเหตุการณ์ตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่าพยานโจทก์เบิกความยืนยันอย่างสอดคล้องต้องกัน ประกอบกับมีพยานหลักฐานอื่น เช่น ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ส่วนจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างในข้อนี้ จึงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด
ส่วนข้อวินิจฉัยประการที่สองที่จำเลยร่วมกันตระเตรียมเพื่อวางเพลิงเผาอาคารสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น ตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าพยานโจทก์ไม่เบิกความยืนยันว่ารู้เห็นถึงการกระทำของจำเลย และมีเหตุสงสัยตามสมควรที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหานี้หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
พิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามข้อวินิจฉัยประการแรก โดยข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นบทความผิดที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ลงโทษจำคุก 2 ปี ข้อหาร่วมกันบุกรุกลงโทษจำคุก 1 ปี รวมสองกระทงจำคุก 3 ปี แต่กรณีมีเหตุบรรเทาโทษจากคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และคำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์ จึงลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงลงโทษจำคุก 2 ปี พิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฏหมายบ้านเมืองในภาวะที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกแยก และเพื่อมิให้บุคคลอื่นถือเป็นเยี่ยงอย่าง จึงไม่รอการลงโทษ
นายประยง แก้วฝ่ายนอก ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ภาคอีสาน กล่าวว่า คดีนี้คงจะไม่ยื่นอุธรณ์ เพราะต้องต่อสู้ทางคดีอีกนาน คงให้ต้องโทษในเรือนจำต่อ เพราะถูกจำคุกในคดีนี้มาแล้ว 1 ปี 2 เดือน อีกไม่ถึงปีก็น่าจะทำเรื่องลาพักโทษได้
เวลา 11.00 น.วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในคดีหมายเลขดำที่ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย แกนนำนปช.กับพวกรวม 24 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันทำให้ปรากฏกับประชาชนด้วยวาจา มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันชุมนุม หรือมั่วสุม ฝ่าฝืนพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553
เมื่อถึงเวลา ทนายความนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่า ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ติดภารกิจติดตามน.ส.ยิงลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปประชุมและติดตามการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จ.ยะลา ต้องร่วมเดินทางเพื่อติดตามการปฎิบัติงานของสมาชิกกองทุนพัฒนาสตรีและกลุ่มมวลชนในพื้นที่ และเปิดสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ จึงขอเลื่อนคดีออกไปสักนัดหนึ่ง
ขณะที่ทนายความของนายจรัญหรือยักษ์ ลอยพูล อดีตลูกน้องพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และการ์ดนปช. จำเลยที่ 13 แถลงว่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายจรัญถูกตำรวจจับกุมในคดีพยายามฆ่าผู้อื่น และพ.ร.บ.อาวุธปืน ขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำหลักฐานภาพข่าวจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วย จึงขอเลื่อนคดีออกไปนัดหนึ่งเช่นกัน ศาลสอบถามพนักงานอัยการโจทก์แถลงไม่คัดค้าน และแถลงเพิ่มเติมว่าพ.ต.อ.คณิศรชัย มหินทรเทพ ผกก.สส.บก.น.1 พยานโจทก์มีอาการปวดหลัง แพทย์มีความเห็นให้พักผ่อนและห้ามเคลื่อนไหวร่างกายจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม โจทก์จึงไม่มีพยานมาศาลในวันนี้ โดยวันที่ 14 ธันวาคม โจทก์จะนำพ.อ.ธนากร โชติพงษ์ เจ้าหน้าที่ทหารมาเบิกความต่อศาล เพื่อประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในคดีนี้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในส่วนของนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 3 ที่ขอเลื่อนคดีนั้น แม้ภารกิจของนายกรัฐมนตรีจะเป็นงานสำคัญของฝ่ายบริหาร แต่ไม่ปรากฏว่านายณัฐวุฒิมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องติดตามไป และในนัดสืบพยานครั้งที่แล้ว นพ.เหวงจำเลยที่ 4 ได้แถลงขอเลื่อนคดี โดยอ้างว่าเป็นประธานกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ขอเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ โดยขอยกเลิกวันนัดสืบพยานโจทก์ และศาลก็ได้กำชับจำเลยที่เป็นส.ส.ว่า เนื่องจากสามารถนัดพิจารณาคดีนี้ได้ปีละไม่กี่นัดเท่านั้น จึงให้ทุกคนมาศาลตามกำหนดนัด อย่าเลื่อนคดีอีก เพราะกระบวนการพิจารณาคดีของศาลซึ่งเป็นอำนาจตุลาการก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับฝ่ายบริหาร นายณัฐวุฒิจำเลยที่ 3 จึงสมควรที่จะมาศาลตามนัดทุกนัด แต่เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้าน และโจทก์ไม่มีพยานมาศาล กรณีจึงไม่สามารถสืบพยานโจทก์ได้ ประกอบกับทนายความนายจรัญ จำเลยที่ 13 ขอเลื่อนคดี และโจทก์ไม่คัดค้าน โดยเชื่อว่าถูกจับกุมจริง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไป โดยนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 ธันวาคม เวลา 09.00 น. พร้อมกำชับทนายความจำเลยที่ 3 ให้แจ้งนายณัฐวุฒิทราบ และเดินทางมาในวันนัด หากไม่มาอีกจะพิจารณาออกหมายจับ นอกจากนี้ให้มีหนังสือเบิกตัวนายจรัญจากเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มาศาลตามนัดด้วย
วานนี้ (13 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาตัดสินคดีความ ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ นายอุดม คำมูล จำเลย คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้ บุกรุก ความผิดต่อ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยโจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จำเลยกับพวกร่วมกันมั่วสุม และกระทำการอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ณ บริเวณที่ทำการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และข้อกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
โดยจำเลยกับพวกใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ด้วยการจุดไฟเผากองยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ ใช้กำลังผลักดันเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ และบุกรุกเข้าไปในอาคารที่ทำการสำนักงานประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น ตระเตรียมเพื่อวางเพลิงอาคารและทรัพย์สิน มูลค่า 222,552,600 บาท ซึ่งต่อมามีคนร้ายวางเพลิงสถานที่ดังกล่าวจนได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 , 83 , 91 , 215 , 217 , 218 , 219 , 362 , 364 , 365 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 5 , 9 , 11 , 18 ขอให้ริบของกลาง แต่จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ และจำเลยแล้ว มีข้อวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยร่วมกันมั่วสุม กระทำการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง บุกรุกเข้าไปในที่ทำการสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น และมีเหตุการณ์ตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่าพยานโจทก์เบิกความยืนยันอย่างสอดคล้องต้องกัน ประกอบกับมีพยานหลักฐานอื่น เช่น ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ส่วนจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างในข้อนี้ จึงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด
ส่วนข้อวินิจฉัยประการที่สองที่จำเลยร่วมกันตระเตรียมเพื่อวางเพลิงเผาอาคารสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น ตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าพยานโจทก์ไม่เบิกความยืนยันว่ารู้เห็นถึงการกระทำของจำเลย และมีเหตุสงสัยตามสมควรที่จำเลยกระทำความผิดในข้อหานี้หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
พิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามข้อวินิจฉัยประการแรก โดยข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นบทความผิดที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ลงโทษจำคุก 2 ปี ข้อหาร่วมกันบุกรุกลงโทษจำคุก 1 ปี รวมสองกระทงจำคุก 3 ปี แต่กรณีมีเหตุบรรเทาโทษจากคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และคำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์ จึงลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงลงโทษจำคุก 2 ปี พิเคราะห์พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฏหมายบ้านเมืองในภาวะที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกแยก และเพื่อมิให้บุคคลอื่นถือเป็นเยี่ยงอย่าง จึงไม่รอการลงโทษ
นายประยง แก้วฝ่ายนอก ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ภาคอีสาน กล่าวว่า คดีนี้คงจะไม่ยื่นอุธรณ์ เพราะต้องต่อสู้ทางคดีอีกนาน คงให้ต้องโทษในเรือนจำต่อ เพราะถูกจำคุกในคดีนี้มาแล้ว 1 ปี 2 เดือน อีกไม่ถึงปีก็น่าจะทำเรื่องลาพักโทษได้
เวลา 11.00 น.วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในคดีหมายเลขดำที่ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย แกนนำนปช.กับพวกรวม 24 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันทำให้ปรากฏกับประชาชนด้วยวาจา มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันชุมนุม หรือมั่วสุม ฝ่าฝืนพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553
เมื่อถึงเวลา ทนายความนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่า ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ติดภารกิจติดตามน.ส.ยิงลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปประชุมและติดตามการปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จ.ยะลา ต้องร่วมเดินทางเพื่อติดตามการปฎิบัติงานของสมาชิกกองทุนพัฒนาสตรีและกลุ่มมวลชนในพื้นที่ และเปิดสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ จึงขอเลื่อนคดีออกไปสักนัดหนึ่ง
ขณะที่ทนายความของนายจรัญหรือยักษ์ ลอยพูล อดีตลูกน้องพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก และการ์ดนปช. จำเลยที่ 13 แถลงว่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายจรัญถูกตำรวจจับกุมในคดีพยายามฆ่าผู้อื่น และพ.ร.บ.อาวุธปืน ขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำหลักฐานภาพข่าวจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วย จึงขอเลื่อนคดีออกไปนัดหนึ่งเช่นกัน ศาลสอบถามพนักงานอัยการโจทก์แถลงไม่คัดค้าน และแถลงเพิ่มเติมว่าพ.ต.อ.คณิศรชัย มหินทรเทพ ผกก.สส.บก.น.1 พยานโจทก์มีอาการปวดหลัง แพทย์มีความเห็นให้พักผ่อนและห้ามเคลื่อนไหวร่างกายจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม โจทก์จึงไม่มีพยานมาศาลในวันนี้ โดยวันที่ 14 ธันวาคม โจทก์จะนำพ.อ.ธนากร โชติพงษ์ เจ้าหน้าที่ทหารมาเบิกความต่อศาล เพื่อประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในคดีนี้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในส่วนของนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 3 ที่ขอเลื่อนคดีนั้น แม้ภารกิจของนายกรัฐมนตรีจะเป็นงานสำคัญของฝ่ายบริหาร แต่ไม่ปรากฏว่านายณัฐวุฒิมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องติดตามไป และในนัดสืบพยานครั้งที่แล้ว นพ.เหวงจำเลยที่ 4 ได้แถลงขอเลื่อนคดี โดยอ้างว่าเป็นประธานกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร ขอเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ โดยขอยกเลิกวันนัดสืบพยานโจทก์ และศาลก็ได้กำชับจำเลยที่เป็นส.ส.ว่า เนื่องจากสามารถนัดพิจารณาคดีนี้ได้ปีละไม่กี่นัดเท่านั้น จึงให้ทุกคนมาศาลตามกำหนดนัด อย่าเลื่อนคดีอีก เพราะกระบวนการพิจารณาคดีของศาลซึ่งเป็นอำนาจตุลาการก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับฝ่ายบริหาร นายณัฐวุฒิจำเลยที่ 3 จึงสมควรที่จะมาศาลตามนัดทุกนัด แต่เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่คัดค้าน และโจทก์ไม่มีพยานมาศาล กรณีจึงไม่สามารถสืบพยานโจทก์ได้ ประกอบกับทนายความนายจรัญ จำเลยที่ 13 ขอเลื่อนคดี และโจทก์ไม่คัดค้าน โดยเชื่อว่าถูกจับกุมจริง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีออกไป โดยนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 14 ธันวาคม เวลา 09.00 น. พร้อมกำชับทนายความจำเลยที่ 3 ให้แจ้งนายณัฐวุฒิทราบ และเดินทางมาในวันนัด หากไม่มาอีกจะพิจารณาออกหมายจับ นอกจากนี้ให้มีหนังสือเบิกตัวนายจรัญจากเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มาศาลตามนัดด้วย