รมว. คลัง เผย ไตรมาส 3 เบี้ยประกันโตเพิ่มอีก 19.08% หรือ 4.6 แสนล้าน เชื่อธุรกิจประกันภัยโตต่อ ด้านคปภ.ชี้เร่งประชุมนายทะเบียนอาเซียน หวังปรับพรบ.ประกันภัยรถ 10 ประเทศให้ตรงกัน และขยายคุ้มครองประกันภัยข้ามแดนให้สอดคล้องกัน
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดการประชุมประจำปีนายทะเบียนประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 15 เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันภัย ขยายตัวดีขึ้นตามไปด้วยจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ หลังจากในปีนี้มีการขยายตัวได้ 6%
โดยไตรมาสที่ 3 มีอัตราการขยายตัว 19.08% หรือมีเบี้ยรับประกันรวมกว่า 406,000 ล้านบาท เชื่อว่า หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว คาดว่าประกันภัยในอาเซียนจะต้องรวมกลุ่มกัน เพื่อดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าให้มากขึ้น โดยทางคปภ. จะมีการเร่งประสานงานกับ บริษัทประกันในอาเซียน เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ในส่วนของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ปี 2556 มีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% โดยมองว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศแถบตะวันตกจะมีความเข้มงวดและการดำเนินงานนโยบายทางการคลังมากขึ้น
ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 15 นี้ คปภ.ของแต่ละประเทศในอาเซียน จะพิจารณาด้านกฎหมายเพื่อเตรียมปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกันทั้งอาเซียน ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การขยายการประกันข้ามแดนได้โดยจะให้ความช่วยเหลือประเทศที่ยังมีความล้าหลังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เช่น ประเทศพม่า ที่กำลังมีการเปิดประเทศ และยังไม่มีการทำประกันภัย แต่ต้องให้ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และปัจจุบันอุตสาหกรรมในเอาเซียนมีการพัฒนาการที่ดี จีดีพีในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เป็น 3 เท่าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ในส่วนของการประชุมดังกล่าวมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาอันดับแรกคือ การขับรถข้ามแดนที่แต่ละประเทศ ยังมีประกันภาคบังคับที่แตกต่างกัน จึงจะต้องมีการแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ ภาคเอกชน จะมีการหารือถึงการประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อร่วมกันให้บริการเอาประกันภัยในอาเซียนได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
"แนวทางการพัฒนาร่วมกันและทำความเข้าใจเพื่อลดการข้ามแดน เมื่อมาเมืองไทยต้องมีการทำประกันภาคบังคับของแต่ละประเทศของบุคคลที่ 3 และทรัพย์สินบุคคลที่ 3 จึงต้องมีการประชุม ดังนั้นต้องนำเอากฎเกณฑ์มาดูด้วยว่าตรงกับพรบ. ประกันภัยในการสอบผู้ประเมินดูว่ามีสิ่งใหม่ที่เหมือนกันและต่างกันใน 10 ประเทศ เพื่อนำมาปรับใหม่เพื่อให้มีการคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น"
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดการประชุมประจำปีนายทะเบียนประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 15 เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันภัย ขยายตัวดีขึ้นตามไปด้วยจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ หลังจากในปีนี้มีการขยายตัวได้ 6%
โดยไตรมาสที่ 3 มีอัตราการขยายตัว 19.08% หรือมีเบี้ยรับประกันรวมกว่า 406,000 ล้านบาท เชื่อว่า หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว คาดว่าประกันภัยในอาเซียนจะต้องรวมกลุ่มกัน เพื่อดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าให้มากขึ้น โดยทางคปภ. จะมีการเร่งประสานงานกับ บริษัทประกันในอาเซียน เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ในส่วนของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ปี 2556 มีการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% โดยมองว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศแถบตะวันตกจะมีความเข้มงวดและการดำเนินงานนโยบายทางการคลังมากขึ้น
ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมนายทะเบียนประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 15 นี้ คปภ.ของแต่ละประเทศในอาเซียน จะพิจารณาด้านกฎหมายเพื่อเตรียมปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกันทั้งอาเซียน ซึ่งจะสามารถนำไปสู่การขยายการประกันข้ามแดนได้โดยจะให้ความช่วยเหลือประเทศที่ยังมีความล้าหลังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เช่น ประเทศพม่า ที่กำลังมีการเปิดประเทศ และยังไม่มีการทำประกันภัย แต่ต้องให้ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และปัจจุบันอุตสาหกรรมในเอาเซียนมีการพัฒนาการที่ดี จีดีพีในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เป็น 3 เท่าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้ในส่วนของการประชุมดังกล่าวมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาอันดับแรกคือ การขับรถข้ามแดนที่แต่ละประเทศ ยังมีประกันภาคบังคับที่แตกต่างกัน จึงจะต้องมีการแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ ภาคเอกชน จะมีการหารือถึงการประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อร่วมกันให้บริการเอาประกันภัยในอาเซียนได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
"แนวทางการพัฒนาร่วมกันและทำความเข้าใจเพื่อลดการข้ามแดน เมื่อมาเมืองไทยต้องมีการทำประกันภาคบังคับของแต่ละประเทศของบุคคลที่ 3 และทรัพย์สินบุคคลที่ 3 จึงต้องมีการประชุม ดังนั้นต้องนำเอากฎเกณฑ์มาดูด้วยว่าตรงกับพรบ. ประกันภัยในการสอบผู้ประเมินดูว่ามีสิ่งใหม่ที่เหมือนกันและต่างกันใน 10 ประเทศ เพื่อนำมาปรับใหม่เพื่อให้มีการคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น"