ASTVผู้จัดการรายวัน-"ปู"ยอมรับคุยกับ"แม้ว" เรื่องแก้รธน. เผย มติครม.สั่งก.ยุติธรรม-มหาดไทย ศึกษา 2 แนวทาง "ประชาเสวนา-ประชามติ" ก่อนตัดสินใจโหวต วาระ 3 พรรคร่วมฯ"หนุนครม.ทำประชามติก่อนลุยวาระ 3 "สดศรี"เผยทำประชามติใช้งบ 2,200 ล้าน ด้าน"40 ส.ว." เสนอถอนร่างแก้ไขรธน. เชื่อเป็นทางออก เพื่อยุติปัญหาการลงมติวาระ 3
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ออกมาผลักดันให้โหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุที่ฮ่องกงว่า ได้คุยกับนายกฯ ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว ว่า ท่านได้คุยในเชิงของข้อแนะนำ... เอ่อเรียกว่าไม่ใช่ข้อแนะนำ แต่เป็นข้อเสนอแนะมากกว่า เพราะทั้งหมดนี้จริงๆแล้ว กระบวนการทั้งหมดเราต้องมาตัดสินใจในส่วนของเนื้อหารายละเอียด เช่น เรื่องที่จะพิจารณา และอย่างที่เรียนเป็นเรื่องของรัฐสภา คงจะยืนในหลักการนี้ ในส่วนของฝ่ายบริหารก็ทำหน้าที่ดูแลความสงบ และวันนี้เราได้มีการพูดคุยกัน และมีมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเราได้นำเสนอหลังจากที่สมาชิกรัฐสภา และภาคประชาชนได้นำเสนอต่อรัฐสภาไปแล้ว โดยได้ผ่านวาระ 1 และ วาระ 2 แต่ยังมีหลายท่านที่ยังมีความห่วงใย เรื่องการโหวต วาระ3 ซึ่งถือว่า เป็นส่วนของรัฐสภาที่จะพิจารณา
สำหรับรัฐบาลเราถือเรื่องทีว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศมีทางออก และเรื่องการทำให้เกิดความสงบในประเทศเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งวันนี้เราได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5ธันวาคม โดยดูว่า จะทำอย่างไรให้บ้านเมืองมีความมั่นคง และอยู่รอดไปได้ด้วยความสงบ เราคิดว่าส่วนนี้น่าจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด
นายกฯกล่าวต่อว่า ในที่ประชุมจึงได้มีมติครม. ให้กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย ไปหารือในแนวทางการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีวิธีไหน ซึ่งได้เสนอ 2 แนวทาง คือ การทำประชาเสวนา ซึ่งอยู่ในแผนที่รัฐบาลเสนอแล้ว แต่ตนเองอยากให้เห็นว่า เมื่อทำประชาเสวนาแล้ว จะได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือเปล่า ซึ่งมีอีกแนวทางหนึ่ง คือ การทำประชามติ และการทำประชามติเป็นกระบวนการการมีส่วนร่วม และเป็นกระบวนการสร้างการยอมรับของประชาชน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จึงได้มอบหมายให้ไปศึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และนำกลับมาเสนอให้ครม. พิจารณาโดยเร็วที่สุด
เมื่อถามว่า กำหนดกรอบเวลาการศึกษาไว้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ได้กำหนด แต่ขอให้เร็วที่สุด เพราะเราอยากเสนอทางออกในเชิงการมีส่วนร่วมมากกว่า ส่วนกระบวนการรัฐสภาเป็นเรื่องของรัฐสภาเหมือนเดิม
เมื่อถามว่า ห่วงกระแสคัดค้านหรือไม่ เพราะรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทีไร เหมือนเติมเชื้อไฟความขัดแย้ง นายกฯ กล่าวว่า ต้องเรียนว่า ห่วงกระแสความไม่เข้าใจกันมากกว่า ดังนั้นเราถึงอยากให้มีส่วนร่วม และประชาชนอยากเดินหน้าอย่างไร ตัดสินใจอย่างไร เป็นสิ่งที่ประชาชนจะมาแสดงออกในการที่จะให้ความเห็น ไม่ว่าจะเป็นประชาเสวนา หรือประชามติก็ตาม ว่ากระบวนการไหนเป็นกระบวนการที่เหมาะสม
เมื่อถามว่านายกฯ คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าสำเร็จประเทศจะสงบตามมาอย่างนั้น ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อย่างที่เรียนวันนี้เรายังไม่ได้คำตอบคำตอบนี้ วาระ3 ยังค้างอยู่ แต่สิ่งที่เราต้องสร้างคือ กระบวนการในการมีส่วนร่วม ถ้ากระบวนการมีส่วนร่วมประชาชนอยากเห็นอะไร เราก็ต้องรับแบบนั้น โดยที่ประชาชนแสดงความเห็นสิ่งที่จะชัดเจนมากที่สุดคือ ผ่านกระบวนการประชาเสวนา หรือการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการให้สัมภาษณ์ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลจะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อน จากนั้นค่อยไปตัดสินใจโหวต วาระ3
** "ปู"สั่งแจงเสื้อแดงทำไม่แก้รธน.ช้า
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรี ปรารภต่อที่ประชุม ถึงการแก้ไขรธน.ว่า ตอนนี้มีประเด็นการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 อยู่ในที่ประชุมรัฐสภา จึงควรหาทางออกกับเรื่องนี้ โดยขอให้นายวราเทพ รัตนากร รมต.สำนักนายกฯ ไปหารือกับประธานสภา และประธานวุฒิสภา ถึงระบบการลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ว่าด้วยการลงประชามติ จะใช้ระบบไหน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และให้รีบกลับมารายงานครม.โดยเร็วที่สุด อยากให้ไปทำความเข้าใจ ขอโทษพี่น้องประชาชนด้วย ที่สงสัยว่าทำไมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความล่าช้า แต่เพื่อความรอบคอบ เราอาจต้องทำประชามติ เพื่อลดแรงเสียดทานจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
จากนั้น นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจ้งที่ประชุม ครม.ว่า นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ขอถอนวาระ การพิจารณาขอเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น จำนวน 168,232,200 บาท ในโครงการจัดเวทีประชาเสวนา หาทางออกประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินงานภายใน 120 วัน พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 108 จุด
**พรรคร่วมฯเปิดช่องทำประชามติ
นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงผลการจัดทำรายงานที่เตรียมนำเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล โดยล่าสุดทางคณะทำงานฯ มีมติ 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระ 3
2. คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ตระหนักดีว่าสังคมไทยยังมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ดังนั้นการลงมติในวาระ 3 ควรพิจารณาใช้ช่วงจังหวะเวลาให้รอบคอบ และก่อนลงมติ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลควรรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรม ยึดมั่นในหลักนิติธรรม เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
3.สำหรับการจัดทำประชามตินั้น เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างพิจารณาในวาระ 3 ได้มีการบัญญัติถึงเรื่องการลงประชามติไว้แล้วว่า เป็นการลงประชามติก่อนจะร่างเป็นกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ย่อมต้องจัดทำประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่ ถ้าประชาชนเห็นชอบ และทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็จะเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป เช่นเดียวกับการลงประชามติเห็นชอบในร่าง รัฐธรรมนูญปี 50 ถ้าประชาชนไม่เห็นชอบ ก็ตกไป ดังนั้นการทำประชามติ เมื่อรัฐธรรมนูญร่างเสร็จแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และสอดคล้องกับคำแนะนะของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ในกรณีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประสงค์มิให้เกิดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวง ครม. อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความปรารถนาดี ไม่ใช่ประเด็นให้มาเรียกร้องความรับผิดชอบของครม. หากประชามติไม่ผ่าน หรือ สมาชิกรัฐสภาอาจเสนอให้มีกฎหมายเฉพาะให้ออกเสียงประชามติในเรื่องนี้ หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เพิ่มเติมการทำประชามติกรณีมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป แต่ต้องทำความเข้าใจต่อสังคมเช่นเดียวกัน ทั้งต้องอธิบายให้ชัดเจนด้วยว่า ไม่ใช่การถ่วงเวลา แต่เป็นความรอบคอบ โดยจะเร่งรัดดำเนินการไปพร้อมๆ กับการรณรงค์ทำความเข้าใจ
4. ในระหว่างนี้หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราควบคู่กันไปด้วย ก็สามารถกระทำได้ โดยสมควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันก่อน เช่น มาตรา 237 และมาตราอื่นๆ ที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม
5. ส่วนกรณีที่ว่าหากมีการลงมติในวาระ 3 แล้ว และยังคงมีการฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ หรือจะมีกระบวนการต่อต้านในรูปแบบต่างๆ อีกหรือไม่ เห็นว่า โดยบริบทของสังคมปัจจุบันซึ่งยังคงมีความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่ คงไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะไม่มีเหตุเช่นนั้น แต่รัฐสภาและรัฐบาลต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขต่อไป
นายโภคิน กล่าวทิ้งท้ายว่า คาดว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ความยาวประมาณ 50 หน้า ให้เเก่พรรคร่วมรัฐบาล ได้ในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ หลังจากตรวจเเก้เเล้วเสร็จ เเละจะจัดทำเป็นรูปเล่มเผยเเพร่เป็นทางการในสัปดาห์หน้า
**ทำประชามติใช้งบ2,200ล้านบาท
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีแนวทางที่จะทำประชามติ หรือ การจัดประชาเสวนาว่า ตนเห็นว่าควรที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพราะทั้งสองแนวทางนี้ เป็นคนละอย่างกัน แต่สามารถนำมาประกอบกันได้ เพราะการจัดประชาเสวนา คือการขอความเห็นจากประชาชน แต่การทำระชามติ คือ กระบวนการการออกเสียงของประชาชน ว่าจะรับหรือไม่รับในประเด็นนั้นๆ เช่น การทำประชามติแก้ไข้รัฐธรรมนูญปี 50
การทำประชามติ นั้น กกต.ก็พร้อมที่จะดำเนินการ ซึ่งเราได้มีการประเมินงบประมาณไว้ 2,200 ล้านบาท โดย กกต. จะใช้เวลาในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่ระบุไว้ต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน อย่างไรก็ตามหากจะให้ กกต. ทำประชามติ ทางรัฐบาลจะต้องเป็นผู้กำหนดประเด็นมาให้ และต้องเป็นประเด็นที่ประชาชนเข้าใจได้ง่าย และชัดเจน ทั้งนี้ตนคิดว่าการที่จะมีการแก้ไข้รัฐธรรมนูญ ควรที่จะมีการออกเสียงประชามติก่อนเดินหน้าลงมติวาระ 3 น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า เพราะหากเดินหน้าลงวาระ 3 อาจจะมีคนไม่เห็นด้วย แล้วความขัดแย้งจะตามมา
** ยุรัฐบาลลุยแก้รธน. ไม่ฟังเสียงค้าน
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และ แกนนำนปช. กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ว่า รัฐธรรมนูญจะเดินหน้า หรือถอยหลัง จะแก้ไข หรือไม่แก้ไข ความเคลื่อนไหวที่จะโค่นล้มรัฐบาลก็ยังอยู่ และจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกที
ส่วนประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะฝ่ายตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย หยิบมาเป็นข้ออ้าง เพื่อจะเคลื่อนไหวเท่านั้น แม้จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีความเคลื่อนไหวอยู่แล้ว
**"40 ส.ว."เสนอถอนร่างแก้ไขรธน.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขอให้พรรคร่วมรัฐบาล และสังคมส่วนรวม ศึกษาประวัติศาสตร์ของการพิจารณา ร่างแก้ไข รธน. วาระ 3 ในการจัดตั้ง ส.ส.ร.1 ในวันที่ 14 ก.ย. 39 นั้น รัฐสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแก้ รธน. เพื่อยกร่างรธน.ทั้งฉบับ มีเสียงที่เห็นชอบในรัฐสภา 604 เสียง ไม่มีเสียงไม่เห็นชอบเลย สะท้อนให้เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะยกเลิกฉบับเดิม เพื่อยกร่างฉบับใหม่ สังคมจำเป็นเห็นพ้องต้องกัน ทั้งในสมาชิกรัฐสภา และสังคม เห็นเป็นเอกฉันท์ ถึงจะดำเนินการได้ ถ้าเปรียบเทียบกับ ส.ส.ร. 3 ที่จัดตั้ง จะเห็นความแตกต่าง ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษาผลการลงวาระ 3 เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ให้ประกาศใช้ รธน. 27 ก.ย. 40 รัฐสภามีมติเห็นชอบ 578 เสียง มีไม่เห็นชอบ 16 เสียง จะเห็นว่าการเริ่มต้น และที่มาของการตั้ง ส.ส.ร. 1 นั้น มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นอยากจะเตือนไว้ว่า หากดึงดันจะลงมติรธน.วาระ 3 โดยใช้เสียงข้างมาก ปกติเฉพาะแค่เสียงของพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่าจะเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ส่วนตัวเชื่อว่าแม้ลงมติ รธน.วาระ 3 ได้ ก็ประกาศใช้ไม่ได้
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ตนเสนอแนะให้พรรคร่วมรัฐบาล ลองศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกวิธี คือ เสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา 29 เพื่อให้มีญัตติขอให้ที่ประชุมรัฐสภา ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป เสมือนไม่เคยมีการพิจารณามาก่อน เชื่อว่าจะทำได้ ส่วนตัวเห็นว่าถ้าที่ประชุมมีมติ จะเป็นทางออกของการยุติการลงมติรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ได้ จะไม่ทำให้ประเทศชาติเสี่ยงกับความเสียหาย เป็นการตัดไฟแต่ต้นล้ม รักษาน้ำใจของทุกฝ่าย รวมถึงฝ่ายผู้ยื่นญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการถอนออก ไม่ใช่โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย ออกมาผลักดันให้โหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุที่ฮ่องกงว่า ได้คุยกับนายกฯ ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว ว่า ท่านได้คุยในเชิงของข้อแนะนำ... เอ่อเรียกว่าไม่ใช่ข้อแนะนำ แต่เป็นข้อเสนอแนะมากกว่า เพราะทั้งหมดนี้จริงๆแล้ว กระบวนการทั้งหมดเราต้องมาตัดสินใจในส่วนของเนื้อหารายละเอียด เช่น เรื่องที่จะพิจารณา และอย่างที่เรียนเป็นเรื่องของรัฐสภา คงจะยืนในหลักการนี้ ในส่วนของฝ่ายบริหารก็ทำหน้าที่ดูแลความสงบ และวันนี้เราได้มีการพูดคุยกัน และมีมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเราได้นำเสนอหลังจากที่สมาชิกรัฐสภา และภาคประชาชนได้นำเสนอต่อรัฐสภาไปแล้ว โดยได้ผ่านวาระ 1 และ วาระ 2 แต่ยังมีหลายท่านที่ยังมีความห่วงใย เรื่องการโหวต วาระ3 ซึ่งถือว่า เป็นส่วนของรัฐสภาที่จะพิจารณา
สำหรับรัฐบาลเราถือเรื่องทีว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศมีทางออก และเรื่องการทำให้เกิดความสงบในประเทศเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งวันนี้เราได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5ธันวาคม โดยดูว่า จะทำอย่างไรให้บ้านเมืองมีความมั่นคง และอยู่รอดไปได้ด้วยความสงบ เราคิดว่าส่วนนี้น่าจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด
นายกฯกล่าวต่อว่า ในที่ประชุมจึงได้มีมติครม. ให้กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย ไปหารือในแนวทางการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีวิธีไหน ซึ่งได้เสนอ 2 แนวทาง คือ การทำประชาเสวนา ซึ่งอยู่ในแผนที่รัฐบาลเสนอแล้ว แต่ตนเองอยากให้เห็นว่า เมื่อทำประชาเสวนาแล้ว จะได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือเปล่า ซึ่งมีอีกแนวทางหนึ่ง คือ การทำประชามติ และการทำประชามติเป็นกระบวนการการมีส่วนร่วม และเป็นกระบวนการสร้างการยอมรับของประชาชน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จึงได้มอบหมายให้ไปศึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และนำกลับมาเสนอให้ครม. พิจารณาโดยเร็วที่สุด
เมื่อถามว่า กำหนดกรอบเวลาการศึกษาไว้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ได้กำหนด แต่ขอให้เร็วที่สุด เพราะเราอยากเสนอทางออกในเชิงการมีส่วนร่วมมากกว่า ส่วนกระบวนการรัฐสภาเป็นเรื่องของรัฐสภาเหมือนเดิม
เมื่อถามว่า ห่วงกระแสคัดค้านหรือไม่ เพราะรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทีไร เหมือนเติมเชื้อไฟความขัดแย้ง นายกฯ กล่าวว่า ต้องเรียนว่า ห่วงกระแสความไม่เข้าใจกันมากกว่า ดังนั้นเราถึงอยากให้มีส่วนร่วม และประชาชนอยากเดินหน้าอย่างไร ตัดสินใจอย่างไร เป็นสิ่งที่ประชาชนจะมาแสดงออกในการที่จะให้ความเห็น ไม่ว่าจะเป็นประชาเสวนา หรือประชามติก็ตาม ว่ากระบวนการไหนเป็นกระบวนการที่เหมาะสม
เมื่อถามว่านายกฯ คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าสำเร็จประเทศจะสงบตามมาอย่างนั้น ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า อย่างที่เรียนวันนี้เรายังไม่ได้คำตอบคำตอบนี้ วาระ3 ยังค้างอยู่ แต่สิ่งที่เราต้องสร้างคือ กระบวนการในการมีส่วนร่วม ถ้ากระบวนการมีส่วนร่วมประชาชนอยากเห็นอะไร เราก็ต้องรับแบบนั้น โดยที่ประชาชนแสดงความเห็นสิ่งที่จะชัดเจนมากที่สุดคือ ผ่านกระบวนการประชาเสวนา หรือการทำประชามติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการให้สัมภาษณ์ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลจะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อน จากนั้นค่อยไปตัดสินใจโหวต วาระ3
** "ปู"สั่งแจงเสื้อแดงทำไม่แก้รธน.ช้า
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรี ปรารภต่อที่ประชุม ถึงการแก้ไขรธน.ว่า ตอนนี้มีประเด็นการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 อยู่ในที่ประชุมรัฐสภา จึงควรหาทางออกกับเรื่องนี้ โดยขอให้นายวราเทพ รัตนากร รมต.สำนักนายกฯ ไปหารือกับประธานสภา และประธานวุฒิสภา ถึงระบบการลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ว่าด้วยการลงประชามติ จะใช้ระบบไหน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร และให้รีบกลับมารายงานครม.โดยเร็วที่สุด อยากให้ไปทำความเข้าใจ ขอโทษพี่น้องประชาชนด้วย ที่สงสัยว่าทำไมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความล่าช้า แต่เพื่อความรอบคอบ เราอาจต้องทำประชามติ เพื่อลดแรงเสียดทานจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
จากนั้น นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจ้งที่ประชุม ครม.ว่า นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ขอถอนวาระ การพิจารณาขอเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น จำนวน 168,232,200 บาท ในโครงการจัดเวทีประชาเสวนา หาทางออกประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินงานภายใน 120 วัน พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 108 จุด
**พรรคร่วมฯเปิดช่องทำประชามติ
นายโภคิน พลกุล ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงผลการจัดทำรายงานที่เตรียมนำเสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาล โดยล่าสุดทางคณะทำงานฯ มีมติ 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระ 3
2. คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ตระหนักดีว่าสังคมไทยยังมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ดังนั้นการลงมติในวาระ 3 ควรพิจารณาใช้ช่วงจังหวะเวลาให้รอบคอบ และก่อนลงมติ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลควรรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรม ยึดมั่นในหลักนิติธรรม เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
3.สำหรับการจัดทำประชามตินั้น เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างพิจารณาในวาระ 3 ได้มีการบัญญัติถึงเรื่องการลงประชามติไว้แล้วว่า เป็นการลงประชามติก่อนจะร่างเป็นกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ย่อมต้องจัดทำประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่ ถ้าประชาชนเห็นชอบ และทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็จะเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป เช่นเดียวกับการลงประชามติเห็นชอบในร่าง รัฐธรรมนูญปี 50 ถ้าประชาชนไม่เห็นชอบ ก็ตกไป ดังนั้นการทำประชามติ เมื่อรัฐธรรมนูญร่างเสร็จแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และสอดคล้องกับคำแนะนะของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ในกรณีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประสงค์มิให้เกิดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวง ครม. อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และความปรารถนาดี ไม่ใช่ประเด็นให้มาเรียกร้องความรับผิดชอบของครม. หากประชามติไม่ผ่าน หรือ สมาชิกรัฐสภาอาจเสนอให้มีกฎหมายเฉพาะให้ออกเสียงประชามติในเรื่องนี้ หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เพิ่มเติมการทำประชามติกรณีมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป แต่ต้องทำความเข้าใจต่อสังคมเช่นเดียวกัน ทั้งต้องอธิบายให้ชัดเจนด้วยว่า ไม่ใช่การถ่วงเวลา แต่เป็นความรอบคอบ โดยจะเร่งรัดดำเนินการไปพร้อมๆ กับการรณรงค์ทำความเข้าใจ
4. ในระหว่างนี้หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราควบคู่กันไปด้วย ก็สามารถกระทำได้ โดยสมควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันก่อน เช่น มาตรา 237 และมาตราอื่นๆ ที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม
5. ส่วนกรณีที่ว่าหากมีการลงมติในวาระ 3 แล้ว และยังคงมีการฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ หรือจะมีกระบวนการต่อต้านในรูปแบบต่างๆ อีกหรือไม่ เห็นว่า โดยบริบทของสังคมปัจจุบันซึ่งยังคงมีความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่ คงไม่มีหลักประกันใดๆว่าจะไม่มีเหตุเช่นนั้น แต่รัฐสภาและรัฐบาลต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขต่อไป
นายโภคิน กล่าวทิ้งท้ายว่า คาดว่าจะสามารถส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ความยาวประมาณ 50 หน้า ให้เเก่พรรคร่วมรัฐบาล ได้ในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ หลังจากตรวจเเก้เเล้วเสร็จ เเละจะจัดทำเป็นรูปเล่มเผยเเพร่เป็นทางการในสัปดาห์หน้า
**ทำประชามติใช้งบ2,200ล้านบาท
นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีแนวทางที่จะทำประชามติ หรือ การจัดประชาเสวนาว่า ตนเห็นว่าควรที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป เพราะทั้งสองแนวทางนี้ เป็นคนละอย่างกัน แต่สามารถนำมาประกอบกันได้ เพราะการจัดประชาเสวนา คือการขอความเห็นจากประชาชน แต่การทำระชามติ คือ กระบวนการการออกเสียงของประชาชน ว่าจะรับหรือไม่รับในประเด็นนั้นๆ เช่น การทำประชามติแก้ไข้รัฐธรรมนูญปี 50
การทำประชามติ นั้น กกต.ก็พร้อมที่จะดำเนินการ ซึ่งเราได้มีการประเมินงบประมาณไว้ 2,200 ล้านบาท โดย กกต. จะใช้เวลาในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่ระบุไว้ต้องดำเนินการไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 120 วัน อย่างไรก็ตามหากจะให้ กกต. ทำประชามติ ทางรัฐบาลจะต้องเป็นผู้กำหนดประเด็นมาให้ และต้องเป็นประเด็นที่ประชาชนเข้าใจได้ง่าย และชัดเจน ทั้งนี้ตนคิดว่าการที่จะมีการแก้ไข้รัฐธรรมนูญ ควรที่จะมีการออกเสียงประชามติก่อนเดินหน้าลงมติวาระ 3 น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า เพราะหากเดินหน้าลงวาระ 3 อาจจะมีคนไม่เห็นด้วย แล้วความขัดแย้งจะตามมา
** ยุรัฐบาลลุยแก้รธน. ไม่ฟังเสียงค้าน
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และ แกนนำนปช. กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ว่า รัฐธรรมนูญจะเดินหน้า หรือถอยหลัง จะแก้ไข หรือไม่แก้ไข ความเคลื่อนไหวที่จะโค่นล้มรัฐบาลก็ยังอยู่ และจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกที
ส่วนประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะฝ่ายตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย หยิบมาเป็นข้ออ้าง เพื่อจะเคลื่อนไหวเท่านั้น แม้จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีความเคลื่อนไหวอยู่แล้ว
**"40 ส.ว."เสนอถอนร่างแก้ไขรธน.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขอให้พรรคร่วมรัฐบาล และสังคมส่วนรวม ศึกษาประวัติศาสตร์ของการพิจารณา ร่างแก้ไข รธน. วาระ 3 ในการจัดตั้ง ส.ส.ร.1 ในวันที่ 14 ก.ย. 39 นั้น รัฐสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบแก้ รธน. เพื่อยกร่างรธน.ทั้งฉบับ มีเสียงที่เห็นชอบในรัฐสภา 604 เสียง ไม่มีเสียงไม่เห็นชอบเลย สะท้อนให้เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะยกเลิกฉบับเดิม เพื่อยกร่างฉบับใหม่ สังคมจำเป็นเห็นพ้องต้องกัน ทั้งในสมาชิกรัฐสภา และสังคม เห็นเป็นเอกฉันท์ ถึงจะดำเนินการได้ ถ้าเปรียบเทียบกับ ส.ส.ร. 3 ที่จัดตั้ง จะเห็นความแตกต่าง ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษาผลการลงวาระ 3 เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ให้ประกาศใช้ รธน. 27 ก.ย. 40 รัฐสภามีมติเห็นชอบ 578 เสียง มีไม่เห็นชอบ 16 เสียง จะเห็นว่าการเริ่มต้น และที่มาของการตั้ง ส.ส.ร. 1 นั้น มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นอยากจะเตือนไว้ว่า หากดึงดันจะลงมติรธน.วาระ 3 โดยใช้เสียงข้างมาก ปกติเฉพาะแค่เสียงของพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่าจะเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ส่วนตัวเชื่อว่าแม้ลงมติ รธน.วาระ 3 ได้ ก็ประกาศใช้ไม่ได้
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ตนเสนอแนะให้พรรคร่วมรัฐบาล ลองศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกวิธี คือ เสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา 29 เพื่อให้มีญัตติขอให้ที่ประชุมรัฐสภา ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป เสมือนไม่เคยมีการพิจารณามาก่อน เชื่อว่าจะทำได้ ส่วนตัวเห็นว่าถ้าที่ประชุมมีมติ จะเป็นทางออกของการยุติการลงมติรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ได้ จะไม่ทำให้ประเทศชาติเสี่ยงกับความเสียหาย เป็นการตัดไฟแต่ต้นล้ม รักษาน้ำใจของทุกฝ่าย รวมถึงฝ่ายผู้ยื่นญัตติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการถอนออก ไม่ใช่โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ