“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมก่อหนี้ แม้การก่อหนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนก่อหนี้แล้ว ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามที่กำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกเขาทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว แม้การถูกตามตัวก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม ด้วยประการฉะนี้ นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 892 ในหมวดฉกนิบาต อังคุตตรนิกาย
จากพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าความจนเป็นความทุกข์ และเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อื่นๆ อันเนื่องจากความจนอีก 5 ประการ มีการกู้หนี้ เป็นต้น และความทุกข์ทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เป็นความทุกข์ที่โลกียชนคนทั่วไปได้ประสบมาแล้วในสังคมยุคพุทธกาล และจะยังเป็นความจริงหรือสัจธรรมปรากฏให้เห็น แม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนจนที่กู้หนี้นอกระบบถูกขูดรีดดอกเบี้ยแพง และครั้นไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ก็ถูกตามขู่ฆ่าจนเป็นทุกข์ทรมานไม่เป็นอันทำมาหากิน และในบางรายได้ถูกเจ้าหนี้โหดฆ่าตายเพราะไม่มีเงินจ่ายดอก ก็ปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว
ถึงแม้ว่าการก่อหนี้จะเป็นทุกข์ แต่ผู้คนไม่น้อยในสังคมไทยปัจจุบันก็หนีไม่พ้นการก่อหนี้ ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนี้ที่เจ้าหนี้มีกลยุทธ์ชักชวนให้ก่อหนี้อันได้แก่หนี้บัตรเครดิตที่กำลังระบาดอยู่ในหมู่มนุษย์เงินเดือนในระดับกลางที่มีเงินเดือนอยู่ในเงื่อนไขที่จะทำบัตรเครดิตได้ และการก่อหนี้ในหมู่ประชาชนเพิ่มขึ้นนี้เองคือจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องจากภาครัฐให้ช่วยเหลือในการปลดหนี้ หรือผ่อนผันการใช้หนี้เกิดขึ้น และเป็นที่มาของนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองนำมาเป็นเหยื่อล่อให้เกิดความนิยมชมชอบ และตกเป็นทาสทางการเมืองโดยไม่ยอมปลดปล่อยตัวเองอยู่ในขณะนี้
อะไรคือมูลเหตุให้คนจนซึ่งเป็นทุกข์จากความจน และการเป็นหนี้ตกเป็นทาสทางการเมืองโดยผ่านทางนโยบายประชานิยมในรูปแบบต่างๆ
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านลองถามตนเองว่า ถ้าท่านเป็นคนจนสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการหาเงินเพื่อมาซื้อของกินของใช้เพื่อการดำรงชีพ และการที่คนจนจะได้เงินมาง่ายๆ ก็มีวิธีเดียวก็คือ การก่อหนี้โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ครั้นถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ย และท่านยังไม่มีเงินก็จะต้องกู้หนี้มาใช้หนี้ดอกเบี้ย ทำให้มีมูลหนี้หรือเงินต้นเพิ่มขึ้น และต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นสองทาง และต้องกู้หนี้มาใช้หนี้เรื่อยๆ ในที่สุดท่านก็จะกู้หนี้อีกไม่ได้เพราะไม่มีใครเชื่อถือท่านอีกแล้ว เมื่อถึงตอนนี้ท่านก็จะร้องแรกแหกกระเชอเพื่อให้รัฐบาลช่วยโดยผ่านทางผู้แทนในเขตที่ท่านเลือกตั้ง
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นทาสหรือลูกหนี้ทางการเมือง และเป็นมูลเหตุหรือที่มาของนโยบายประชานิยมที่ถูกพรรคการเมืองนำมาเป็นเหยื่อล่อเพื่อแลกกับความนิยมทางการเมือง โดยนำรายได้อันเกิดจากการเก็บภาษีของคนทั้งประเทศมาเอาใจคนจนในเขตเลือกตั้งที่พรรคของตนได้รับเลือก รวมไปถึงในเขตที่วางแผนเพื่อช่วงชิงพื้นที่เลือกตั้งในอนาคตด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่า นโยบายประชานิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของพรรคเพื่อไทยในหลายๆ รูปแบบ จะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือเพื่อเอาใจคนจนเฉพาะหน้าด้วยการนำรายได้ของประเทศ หรือแม้กระทั่งเงินกู้ที่คนไทยทุกคนต้องรับในฐานะเป็นหนี้สาธารณะมาจ่ายเพื่อผลทางการเมืองระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงฐานะทางการเงินการคลังของประเทศว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต จะเห็นได้ชัดเจนเรื่องนโยบายรับจำนำข้าวที่กำลังเป็นข่าวใหญ่โตทางสื่อเกือบทุกวันอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. จากหลักฐานที่ฝ่ายค้านอภิปรายในสภาฯ ก็ดี จากที่สื่อต่างๆ นำเสนอโดยอ้างอิงถึงความเห็นนักวิชาการ รวมไปถึงผู้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการค้าก็ดี ทำให้เชื่อได้ว่าโครงการนี้เป็นที่น่าสงสัยและเคลือบแคลง หรือเรียกได้ว่ามีเลศนัยแฝงเร้นว่าจะมีการทุจริตควบคู่ไปกับความอ่อนด้อยประสบการณ์ในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้
แต่ทุกอย่างจะชัดเจนว่าโครงการนี้มีเลศนัย และมีการทุจริตแฝงเร้นหรือไม่ ก็คงจะต้องรอผลการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อันเป็นความหวังของประชาชนรองจากสถาบันตุลาการก่อน
2. ในระหว่างรอผลการสอบของ ป.ป.ช.ประชาชนก็สามารถติดตามข่าวทางสื่อ และหาเหตุผลในทางตรรกศาสตร์ ก็พอจะมองเห็นและอนุมานประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานของรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการแถลงข่าวจากฝ่ายรัฐบาลเกี่ยวกับการรับจำนำข้าว เกี่ยวกับการระบายข้าวออกไปเพื่อนำเงินกลับมาเป็นทุนในการรับจำนำข้าวในฤดูใหม่ และรวมไปถึงการชดเชยเงินที่ขาดทุนในกรณีที่การขายข้าวได้ต่ำกว่าราคารับจำนำไว้ ก็จะพบว่ามีบางประเด็นไม่น่าเชื่อถือ เช่น ในกรณีของการขายข้าวจีทูจีกับประเทศจีน ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลจีนได้ออกข่าวในลักษณะถึงกับปฏิเสธมาแล้วว่า ประเทศจีนมิได้ทำสัญญาซื้อข้าวจีทูจีกับประเทศไทย แต่ได้ดำเนินการประสานให้เอกชนเป็นผู้ซื้อ เพียงแค่นี้ภาษาการทูตก็พอฟังได้ว่าคือการปฏิเสธเพียงแต่ไม่โดยตรงแบบไม่มีเยื่อใยเท่านั้นเอง
จากเหตุผลในเชิงตรรกะ 2 ประการนี้ก็พออนุมานการดำเนินงานของรัฐบาลได้ว่าไม่โปร่งใส และมีเลศนัยแฝงเร้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนว่าจะมีการแฝงเร้นด้วยการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ ถึงขั้นนี้ปัญญาชนก็พอจะได้คำตอบในใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร เพียงแต่ถ้าให้ชัดควรรอการสอบสวน และชี้มูลความผิดจาก ป.ป.ช.ก่อนเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนแห่งการแสวงหาความจริงเท่านั้นเอง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมก่อหนี้ แม้การก่อหนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนก่อหนี้แล้ว ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามที่กำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกเขาทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว แม้การถูกตามตัวก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม ด้วยประการฉะนี้ นี่คือพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 หน้า 892 ในหมวดฉกนิบาต อังคุตตรนิกาย
จากพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าความจนเป็นความทุกข์ และเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อื่นๆ อันเนื่องจากความจนอีก 5 ประการ มีการกู้หนี้ เป็นต้น และความทุกข์ทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เป็นความทุกข์ที่โลกียชนคนทั่วไปได้ประสบมาแล้วในสังคมยุคพุทธกาล และจะยังเป็นความจริงหรือสัจธรรมปรากฏให้เห็น แม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนจนที่กู้หนี้นอกระบบถูกขูดรีดดอกเบี้ยแพง และครั้นไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ ก็ถูกตามขู่ฆ่าจนเป็นทุกข์ทรมานไม่เป็นอันทำมาหากิน และในบางรายได้ถูกเจ้าหนี้โหดฆ่าตายเพราะไม่มีเงินจ่ายดอก ก็ปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว
ถึงแม้ว่าการก่อหนี้จะเป็นทุกข์ แต่ผู้คนไม่น้อยในสังคมไทยปัจจุบันก็หนีไม่พ้นการก่อหนี้ ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนี้ที่เจ้าหนี้มีกลยุทธ์ชักชวนให้ก่อหนี้อันได้แก่หนี้บัตรเครดิตที่กำลังระบาดอยู่ในหมู่มนุษย์เงินเดือนในระดับกลางที่มีเงินเดือนอยู่ในเงื่อนไขที่จะทำบัตรเครดิตได้ และการก่อหนี้ในหมู่ประชาชนเพิ่มขึ้นนี้เองคือจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องจากภาครัฐให้ช่วยเหลือในการปลดหนี้ หรือผ่อนผันการใช้หนี้เกิดขึ้น และเป็นที่มาของนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองนำมาเป็นเหยื่อล่อให้เกิดความนิยมชมชอบ และตกเป็นทาสทางการเมืองโดยไม่ยอมปลดปล่อยตัวเองอยู่ในขณะนี้
อะไรคือมูลเหตุให้คนจนซึ่งเป็นทุกข์จากความจน และการเป็นหนี้ตกเป็นทาสทางการเมืองโดยผ่านทางนโยบายประชานิยมในรูปแบบต่างๆ
ก่อนที่จะตอบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอให้ท่านผู้อ่านลองถามตนเองว่า ถ้าท่านเป็นคนจนสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือการหาเงินเพื่อมาซื้อของกินของใช้เพื่อการดำรงชีพ และการที่คนจนจะได้เงินมาง่ายๆ ก็มีวิธีเดียวก็คือ การก่อหนี้โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ครั้นถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ย และท่านยังไม่มีเงินก็จะต้องกู้หนี้มาใช้หนี้ดอกเบี้ย ทำให้มีมูลหนี้หรือเงินต้นเพิ่มขึ้น และต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นสองทาง และต้องกู้หนี้มาใช้หนี้เรื่อยๆ ในที่สุดท่านก็จะกู้หนี้อีกไม่ได้เพราะไม่มีใครเชื่อถือท่านอีกแล้ว เมื่อถึงตอนนี้ท่านก็จะร้องแรกแหกกระเชอเพื่อให้รัฐบาลช่วยโดยผ่านทางผู้แทนในเขตที่ท่านเลือกตั้ง
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นทาสหรือลูกหนี้ทางการเมือง และเป็นมูลเหตุหรือที่มาของนโยบายประชานิยมที่ถูกพรรคการเมืองนำมาเป็นเหยื่อล่อเพื่อแลกกับความนิยมทางการเมือง โดยนำรายได้อันเกิดจากการเก็บภาษีของคนทั้งประเทศมาเอาใจคนจนในเขตเลือกตั้งที่พรรคของตนได้รับเลือก รวมไปถึงในเขตที่วางแผนเพื่อช่วงชิงพื้นที่เลือกตั้งในอนาคตด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่า นโยบายประชานิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของพรรคเพื่อไทยในหลายๆ รูปแบบ จะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือเพื่อเอาใจคนจนเฉพาะหน้าด้วยการนำรายได้ของประเทศ หรือแม้กระทั่งเงินกู้ที่คนไทยทุกคนต้องรับในฐานะเป็นหนี้สาธารณะมาจ่ายเพื่อผลทางการเมืองระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงฐานะทางการเงินการคลังของประเทศว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต จะเห็นได้ชัดเจนเรื่องนโยบายรับจำนำข้าวที่กำลังเป็นข่าวใหญ่โตทางสื่อเกือบทุกวันอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. จากหลักฐานที่ฝ่ายค้านอภิปรายในสภาฯ ก็ดี จากที่สื่อต่างๆ นำเสนอโดยอ้างอิงถึงความเห็นนักวิชาการ รวมไปถึงผู้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการค้าก็ดี ทำให้เชื่อได้ว่าโครงการนี้เป็นที่น่าสงสัยและเคลือบแคลง หรือเรียกได้ว่ามีเลศนัยแฝงเร้นว่าจะมีการทุจริตควบคู่ไปกับความอ่อนด้อยประสบการณ์ในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้
แต่ทุกอย่างจะชัดเจนว่าโครงการนี้มีเลศนัย และมีการทุจริตแฝงเร้นหรือไม่ ก็คงจะต้องรอผลการสอบสวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อันเป็นความหวังของประชาชนรองจากสถาบันตุลาการก่อน
2. ในระหว่างรอผลการสอบของ ป.ป.ช.ประชาชนก็สามารถติดตามข่าวทางสื่อ และหาเหตุผลในทางตรรกศาสตร์ ก็พอจะมองเห็นและอนุมานประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานของรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการแถลงข่าวจากฝ่ายรัฐบาลเกี่ยวกับการรับจำนำข้าว เกี่ยวกับการระบายข้าวออกไปเพื่อนำเงินกลับมาเป็นทุนในการรับจำนำข้าวในฤดูใหม่ และรวมไปถึงการชดเชยเงินที่ขาดทุนในกรณีที่การขายข้าวได้ต่ำกว่าราคารับจำนำไว้ ก็จะพบว่ามีบางประเด็นไม่น่าเชื่อถือ เช่น ในกรณีของการขายข้าวจีทูจีกับประเทศจีน ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลจีนได้ออกข่าวในลักษณะถึงกับปฏิเสธมาแล้วว่า ประเทศจีนมิได้ทำสัญญาซื้อข้าวจีทูจีกับประเทศไทย แต่ได้ดำเนินการประสานให้เอกชนเป็นผู้ซื้อ เพียงแค่นี้ภาษาการทูตก็พอฟังได้ว่าคือการปฏิเสธเพียงแต่ไม่โดยตรงแบบไม่มีเยื่อใยเท่านั้นเอง
จากเหตุผลในเชิงตรรกะ 2 ประการนี้ก็พออนุมานการดำเนินงานของรัฐบาลได้ว่าไม่โปร่งใส และมีเลศนัยแฝงเร้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนว่าจะมีการแฝงเร้นด้วยการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ ถึงขั้นนี้ปัญญาชนก็พอจะได้คำตอบในใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร เพียงแต่ถ้าให้ชัดควรรอการสอบสวน และชี้มูลความผิดจาก ป.ป.ช.ก่อนเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนแห่งการแสวงหาความจริงเท่านั้นเอง