สวนดุสิตโพลเผยความเห็นประชาชนหลังไทยติดอันดับคอร์รัปชันโลก ส่วนใหญ่ชี้น่าอาย จี้เร่งแก้ไข ระบุนักการเมืองแชมป์โกงกิน เหตุลุแก่อำนาจเพื่อโกง และมีคนยุ แนะควรปลูกฝังเด็กอย่าเอาอย่าง และใช้กม.จัดการขั้นเด็ดขาด ด้านป.ป.ช.เดินหน้าสอบขายข้าวในยุค"ยิ่งลักษณ์-มาร์ค "
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ตามที่องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ จัดอันดับระดับปัญหาคอร์รัปชันใน 176 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีความโปร่งใสปลอดคอร์รัปชันมากที่สุดในโลก คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ คว้าอันดับ 1 ร่วมกัน ด้านประเทศในอาเซียน สิงคโปร์ได้อันดับดีที่สุด ส่วนไทยรั้งอันดับ 88 ด้วยคะแนนความโปร่งใสเพียง 37 เต็ม 100 ซึ่งคะแนนยิ่งน้อย ยิ่งทำให้เห็นว่าประเทศนั้นๆ มีปัญหาการคอร์รัปชันมาก เพื่อเป็นการสะท้อนปัญหาคอร์รัปชันในประเทศที่น่าเป็นห่วง และจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,289 คน ระหว่างวันที่ 6-8 ธ.ค.55 สรุปผลดังนี้
เมื่อถามว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร กรณีไทยติดอันดับ 88 ประเทศคอร์รัปชัน ประชาชนส่วนใหญ่ 33.25 % รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสื่อมเสีย ส่วนอีก 28.06 % เห็นว่า เป็นปัญหาสำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะรัฐบาลต้องรีบดำเนินการอย่างจริงจัง ขณะที่ 22.96 % รู้สึกเป็นห่วงและสงสารประเทศไทย คนไทยทุจริตคอร์รัปชันกันมากขึ้น โดยเฉพาะนักการเมือง และ 15.73 % เห็นว่า มาตรการบทลงโทษต่างๆ ยังไม่เด็ดขาดพอ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนคำถามที่ว่าอาชีพที่ประชาชนคิดว่ามีการคอร์รัปชันมากที่สุด ปรากฏว่า 45.39 % ตอบว่า เป็นนักการเมือง/นักการเมืองท้องถิ่น 30.24 % ข้าราชการ 12.86 % ตำรวจ/ทหาร และ 11.51 % นักธุรกิจ /นักลงทุน
ส่วนสาเหตุของการคอร์รัปชันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 37.96 % ตอบว่า การใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด เห็นช่องทางที่จะได้เงิน/มีคนยุ คนเสนอ 24.49 % กฎหมายหย่อนยาน บทลงโทษไม่เด็ดขาด เจ้าหน้าที่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ รับสินบน 20.67 % เกิดจากพฤติกรรม นิสัยส่วนตัว/ความโลภ ความอยากได้ไม่รู้จักพอ และ 16.88 % สภาพสังคม เศรษฐกิจที่แย่ลง/ฐานะทางครอบครัวยากลำบาก/มีแบบอย่างที่ผิดๆ ให้เห็น
เมื่อถามว่าวิธีแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ที่ประชาชนคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นรูปธรรมมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 43.08 % เห็นว่าควรปลูกฝัง อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรหลานตั้งแต่วัยเยาว์ อีก 29.21% เห็นว่า กฎหมาย บทลงโทษต้องเด็ดขาด/เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้มงวดกวดขันเอาจริงเอาจัง ไม่ละเลยในหน้าที่ อีก 15.57% เห็นว่าทุกคนต้องร่วมมือกัน ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเจอการทุจริต ควรรีบแจ้งทันที ไม่ควรนิ่งเฉยหรือละเลย และ 12.14% เห็นว่า ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยหยุดการทุจริตคอร์รัปชัน/มีแบบอย่างที่ดี
**เยาวชนเข้าใจผิด รับได้นักการเมืองโกง
วานนี้ (9ธ.ค.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวเปิดงานนิทรรศการศิลปะคอร์รัปชั่นในตัวเรา ภายใต้แนวคิด "คอร์รัป "ฉัน" ไม่ขอรับ" ในวันที่ 11-16 ธันวาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรงกับวันต่อต้านการทุจริตสากลว่า ปัญหาในการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นทุกประเทศ เป็นเหมือนอาชญากรรมข้ามชาติที่นับวันจะขยายตัวส่งผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างมาก โดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ขณะที่ประเทศไทย ก็ได้มีการทำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยการร่วมมือกับนานาชาติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันตั้งแต่ปี 2546
ด้านนายเทพ วงษ์วานิช รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวด้วยว่า จากผลสำรวจร้อยละ 60 พบว่า นักศึกษา เยาวชน ยอมรับได้ หากนักการเมืองโกง แต่ทำให้ประเทศเจริญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะความจริงเศรษฐกิจโตได้ เพราะภาคเอกชนจ่ายภาษีให้รัฐบาลนำไปลงทุน ดังนั้นหากรัฐบาลโกง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง
กรณีการยื่นเรื่องการตรวจสอบนโยบายรับจำนำข้าวจนนำไปถึงการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีนั้น ล่าสุด ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งกระบวนการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าทางพรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญคัดค้านการตรวจสอบของ ป.ป.ช.
****ป.ป.ช.สอบโกงข้าวยุค”มาร์ค”
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการไต่สวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีนายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธาน กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนและตรวจสอบข้อมูลการทุจริตการขายข้าวในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยได้มีการเรียกข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงพาณิชย์และเรียกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ไปชี้แจงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ป.ป.ช. ได้กล่าวหานายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กับพวกรวม 4 คน กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการอนุมัติให้ความเห็นชอบขายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้ส่งออกบางราย โดยไม่มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป อันเป็นการกีดกันบริษัทผู้ส่งออกอื่นไม่ให้มีการเสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
สำหรับรายละเอียดที่ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างการตรวจสอบการขายข้าวในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกตั้งแต่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2553 ที่ได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การระบายข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาล และมติครม.อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการระบายข้าว มีกรอบและแนวทางในการดำเนินการอย่างไร
กขช.ได้แต่งตั้งใครเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารและคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร และมีการประชุมกำหนดกรอบแนวทางการระบายอย่างไร
นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสนอราคาของบริษัทผู้ส่งออกทุกบริษัทที่ได้ซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2553 จนถึงวันที่พ้นจากความเป็นรัฐบาล และกำลังตรวจสอบดูว่าใครเป็นคนพิจารณาการขายข้าวในเบื้องต้น และใครเป็นคนอนุมัติในขั้นสุดท้ายและยังได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการวางเงินค้ำประกันหรือหลักประกันเพื่อทำสัญญาขนข้าวออกจากโกดังทุกฉบับ เอกสารการขนข้าว และเอกสารที่แสดงว่ามีการส่งออกข้าวออกไปต่างประเทศจริง รวมไปถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด นำแคชเชียร์เช็คจากเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยส.)มาวางค้ำประกันการทำสัญญากับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
ส่วนการตั้งอนุกรรมการไต่สวน กรณีของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการขายข้าวในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) นั้น กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้รับการติดต่อประสานงานจาก ป.ป.ช. เพื่อขอข้อมูลหรือเอกสารแต่อย่างใด โดยคาดว่า ป.ป.ช. น่าจะอยู่ระหว่างการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน และหลังจากนั้น ถึงจะเป็นการขั้นตอนการสอบสวน
ด้านนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่หนักใจ แม้ป.ป.ช.จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยยืนยันว่าสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้ทั้งหมด ทั้งในเรื่องการจำนำข้าว และการขายข้าวจีทูจี โดยการจำนำข้าว ได้มีการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล และมีการป้องกันการทุจริตอย่างเต็มที่ หากพบมีการทุจริตก็ได้ดำเนินการตามกฎหมายทันที ส่วนการขายข้าวจีทูจี มีการซื้อขายจริง และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาดูว่าจะเปิดเผยสัญญาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะไปเกี่ยวข้องกับคู่ค้าที่ซื้อข้าวจากไทย
***วิ่งฝุ่นตลบถึงดูไบ!ตั้งปธ.บอร์ดรฟม.
รายงานข่าวพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 11 ธ.ค.นี้ ทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนที่หมดวาระรวมทั้งน.ส.รัชนี ตรีพิพัฒนกุล ประธานบอร์ด โดยมีข่าวว่า น.ส.รัชนียังคงมีความพยายามจะขออยู่ในวาระต่อ โดยลงทุนบินไปพบอดีตนายกฯแดนไกลเพื่อล็อบบี้ขอให้ตนอยู่ในตำแหน่งต่อ ขณะที่กระทรวงคมนาคมต้องการให้มีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากเห็นว่า รฟม.เป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาจราจร โดยเฉพาะที่มาจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลเอง จำเป็นต้องเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ เป็นนโยบายหาเสียงหลักของพรรคที่ต้องการคนที่เข้าใจภาพรวมของการขับเคลื่อนองค์กร รฟม.เป็นอย่างดี
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องการเห็นรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเลือกสรรกรรมการ และประธานบอร์ดรฟม.มืออาชีพเข้ามาโดยตรง เพราะบทบาทรฟม.จากนี้จะต้องประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการเร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ รวมทั้งต้องสามารถระดมความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ กล้าตัดสินใจ สุดท้ายแล้ว ก็จะทำให้นโยบายรถไฟฟ้าของรัฐบาลไม่ยับไปไหน”
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ตามที่องค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ จัดอันดับระดับปัญหาคอร์รัปชันใน 176 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีความโปร่งใสปลอดคอร์รัปชันมากที่สุดในโลก คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ คว้าอันดับ 1 ร่วมกัน ด้านประเทศในอาเซียน สิงคโปร์ได้อันดับดีที่สุด ส่วนไทยรั้งอันดับ 88 ด้วยคะแนนความโปร่งใสเพียง 37 เต็ม 100 ซึ่งคะแนนยิ่งน้อย ยิ่งทำให้เห็นว่าประเทศนั้นๆ มีปัญหาการคอร์รัปชันมาก เพื่อเป็นการสะท้อนปัญหาคอร์รัปชันในประเทศที่น่าเป็นห่วง และจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,289 คน ระหว่างวันที่ 6-8 ธ.ค.55 สรุปผลดังนี้
เมื่อถามว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร กรณีไทยติดอันดับ 88 ประเทศคอร์รัปชัน ประชาชนส่วนใหญ่ 33.25 % รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเสื่อมเสีย ส่วนอีก 28.06 % เห็นว่า เป็นปัญหาสำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะรัฐบาลต้องรีบดำเนินการอย่างจริงจัง ขณะที่ 22.96 % รู้สึกเป็นห่วงและสงสารประเทศไทย คนไทยทุจริตคอร์รัปชันกันมากขึ้น โดยเฉพาะนักการเมือง และ 15.73 % เห็นว่า มาตรการบทลงโทษต่างๆ ยังไม่เด็ดขาดพอ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
ส่วนคำถามที่ว่าอาชีพที่ประชาชนคิดว่ามีการคอร์รัปชันมากที่สุด ปรากฏว่า 45.39 % ตอบว่า เป็นนักการเมือง/นักการเมืองท้องถิ่น 30.24 % ข้าราชการ 12.86 % ตำรวจ/ทหาร และ 11.51 % นักธุรกิจ /นักลงทุน
ส่วนสาเหตุของการคอร์รัปชันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 37.96 % ตอบว่า การใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด เห็นช่องทางที่จะได้เงิน/มีคนยุ คนเสนอ 24.49 % กฎหมายหย่อนยาน บทลงโทษไม่เด็ดขาด เจ้าหน้าที่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ รับสินบน 20.67 % เกิดจากพฤติกรรม นิสัยส่วนตัว/ความโลภ ความอยากได้ไม่รู้จักพอ และ 16.88 % สภาพสังคม เศรษฐกิจที่แย่ลง/ฐานะทางครอบครัวยากลำบาก/มีแบบอย่างที่ผิดๆ ให้เห็น
เมื่อถามว่าวิธีแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ที่ประชาชนคิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นรูปธรรมมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 43.08 % เห็นว่าควรปลูกฝัง อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรหลานตั้งแต่วัยเยาว์ อีก 29.21% เห็นว่า กฎหมาย บทลงโทษต้องเด็ดขาด/เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้มงวดกวดขันเอาจริงเอาจัง ไม่ละเลยในหน้าที่ อีก 15.57% เห็นว่าทุกคนต้องร่วมมือกัน ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเจอการทุจริต ควรรีบแจ้งทันที ไม่ควรนิ่งเฉยหรือละเลย และ 12.14% เห็นว่า ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยหยุดการทุจริตคอร์รัปชัน/มีแบบอย่างที่ดี
**เยาวชนเข้าใจผิด รับได้นักการเมืองโกง
วานนี้ (9ธ.ค.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวเปิดงานนิทรรศการศิลปะคอร์รัปชั่นในตัวเรา ภายใต้แนวคิด "คอร์รัป "ฉัน" ไม่ขอรับ" ในวันที่ 11-16 ธันวาคม ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรงกับวันต่อต้านการทุจริตสากลว่า ปัญหาในการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นทุกประเทศ เป็นเหมือนอาชญากรรมข้ามชาติที่นับวันจะขยายตัวส่งผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างมาก โดยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ขณะที่ประเทศไทย ก็ได้มีการทำอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยการร่วมมือกับนานาชาติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันตั้งแต่ปี 2546
ด้านนายเทพ วงษ์วานิช รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวด้วยว่า จากผลสำรวจร้อยละ 60 พบว่า นักศึกษา เยาวชน ยอมรับได้ หากนักการเมืองโกง แต่ทำให้ประเทศเจริญ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะความจริงเศรษฐกิจโตได้ เพราะภาคเอกชนจ่ายภาษีให้รัฐบาลนำไปลงทุน ดังนั้นหากรัฐบาลโกง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง
กรณีการยื่นเรื่องการตรวจสอบนโยบายรับจำนำข้าวจนนำไปถึงการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีนั้น ล่าสุด ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนกรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งกระบวนการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าทางพรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญคัดค้านการตรวจสอบของ ป.ป.ช.
****ป.ป.ช.สอบโกงข้าวยุค”มาร์ค”
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการไต่สวน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีนายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธาน กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนและตรวจสอบข้อมูลการทุจริตการขายข้าวในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยได้มีการเรียกข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงพาณิชย์และเรียกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ไปชี้แจงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ป.ป.ช. ได้กล่าวหานายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กับพวกรวม 4 คน กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเกี่ยวกับการอนุมัติให้ความเห็นชอบขายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้ส่งออกบางราย โดยไม่มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป อันเป็นการกีดกันบริษัทผู้ส่งออกอื่นไม่ให้มีการเสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
สำหรับรายละเอียดที่ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างการตรวจสอบการขายข้าวในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ได้มีการตรวจสอบเชิงลึกตั้งแต่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2553 ที่ได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การระบายข้าวตามโครงการแทรกแซงของรัฐบาล และมติครม.อื่นๆ ที่เกี่ยวกับการระบายข้าว มีกรอบและแนวทางในการดำเนินการอย่างไร
กขช.ได้แต่งตั้งใครเป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสารและคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร และมีการประชุมกำหนดกรอบแนวทางการระบายอย่างไร
นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการเสนอราคาของบริษัทผู้ส่งออกทุกบริษัทที่ได้ซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2553 จนถึงวันที่พ้นจากความเป็นรัฐบาล และกำลังตรวจสอบดูว่าใครเป็นคนพิจารณาการขายข้าวในเบื้องต้น และใครเป็นคนอนุมัติในขั้นสุดท้ายและยังได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการวางเงินค้ำประกันหรือหลักประกันเพื่อทำสัญญาขนข้าวออกจากโกดังทุกฉบับ เอกสารการขนข้าว และเอกสารที่แสดงว่ามีการส่งออกข้าวออกไปต่างประเทศจริง รวมไปถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด นำแคชเชียร์เช็คจากเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยส.)มาวางค้ำประกันการทำสัญญากับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
ส่วนการตั้งอนุกรรมการไต่สวน กรณีของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการขายข้าวในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) นั้น กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้รับการติดต่อประสานงานจาก ป.ป.ช. เพื่อขอข้อมูลหรือเอกสารแต่อย่างใด โดยคาดว่า ป.ป.ช. น่าจะอยู่ระหว่างการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน และหลังจากนั้น ถึงจะเป็นการขั้นตอนการสอบสวน
ด้านนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่หนักใจ แม้ป.ป.ช.จะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยยืนยันว่าสามารถชี้แจงข้อกล่าวหาได้ทั้งหมด ทั้งในเรื่องการจำนำข้าว และการขายข้าวจีทูจี โดยการจำนำข้าว ได้มีการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล และมีการป้องกันการทุจริตอย่างเต็มที่ หากพบมีการทุจริตก็ได้ดำเนินการตามกฎหมายทันที ส่วนการขายข้าวจีทูจี มีการซื้อขายจริง และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาดูว่าจะเปิดเผยสัญญาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะไปเกี่ยวข้องกับคู่ค้าที่ซื้อข้าวจากไทย
***วิ่งฝุ่นตลบถึงดูไบ!ตั้งปธ.บอร์ดรฟม.
รายงานข่าวพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 11 ธ.ค.นี้ ทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอรายชื่อคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนที่หมดวาระรวมทั้งน.ส.รัชนี ตรีพิพัฒนกุล ประธานบอร์ด โดยมีข่าวว่า น.ส.รัชนียังคงมีความพยายามจะขออยู่ในวาระต่อ โดยลงทุนบินไปพบอดีตนายกฯแดนไกลเพื่อล็อบบี้ขอให้ตนอยู่ในตำแหน่งต่อ ขณะที่กระทรวงคมนาคมต้องการให้มีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากเห็นว่า รฟม.เป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาจราจร โดยเฉพาะที่มาจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลเอง จำเป็นต้องเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ เป็นนโยบายหาเสียงหลักของพรรคที่ต้องการคนที่เข้าใจภาพรวมของการขับเคลื่อนองค์กร รฟม.เป็นอย่างดี
“หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องการเห็นรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเลือกสรรกรรมการ และประธานบอร์ดรฟม.มืออาชีพเข้ามาโดยตรง เพราะบทบาทรฟม.จากนี้จะต้องประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการเร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ รวมทั้งต้องสามารถระดมความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ กล้าตัดสินใจ สุดท้ายแล้ว ก็จะทำให้นโยบายรถไฟฟ้าของรัฐบาลไม่ยับไปไหน”