แฉกันมันหยด ยุค “ปู” โกงข้าว ยุค “มาร์ค” ก็ไม่ต่างกัน เผยสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์แอบขายข้าวในสต๊อกวิธีพิเศษเอื้อผู้ส่งออกบางราย ไม่ยอมเปิดประมูล ปล่อยสร้างหลักฐานเท็จ ขายกันสุดไวแค่ 4 เดือนเคาะรวด 2.731 ล้านตัน แถมผิดเงื่อนไขไม่ยอมเอาข้าวส่งออกสูงถึง 9.22 แสนตัน และยังเอื้อดอดคืนเงินค้ำประกันให้
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการตรวจสอบสัญญาการซื้อขายข้าวในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตรวจสอบข้อมูลการทุจริตการขายข้าวในรัฐบาลชุดก่อน พบว่ามีการอนุมัติขายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้ส่งออกบางรายโดยไม่มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป เป็นการกีดกันบริษัทผู้ส่งออกอื่นไม่ให้เสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการจริง
ทั้งนี้ วิธีการดำเนินการขายข้าวในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ เช่น การเปิดขายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลให้ผู้ส่งออกโดยไม่ได้ใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป แต่กลับให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขายตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าผู้ส่งออกที่ได้รับการอนุมัติขายข้าวให้นั้นมีคำสั่งซื้อข้าวจริงหรือไม่
ส่วนเกณฑ์ราคาที่อนุมัติขายให้ผู้ส่งออก ได้กำหนดราคาซื้อขายเป็นราคา ณ หน้าคลังสินค้า (เอ็กซ์แวร์เฮาส์) โดยใช้ราคาขนส่งข้าวในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยย้อนหลังเป็นเกณฑ์ และหักค่าขนส่งตามระยะทางมาตรฐาน แต่หากเป็นข้าวเก่าให้หักค่าเสื่อมได้ตามสภาพได้อีก
“จากเงื่อนไขดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธาน กขช.ได้อนุมัติขายข้าวให้แก่ผู้ส่งออก 8 ราย ปริมาณรวม 2.731 ล้านตัน เป็นการขายในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2553”
อย่างไรก็ตาม ในการขายข้าวจำนวนดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่าทุกสัญญาจะต้องทำการส่งออกให้เสร็จสิ้นภายในปี 2554 แต่พบว่ามีผู้ส่งออกบางรายส่งออกข้าวไม่ครบถ้วนตามสัญญา บางรายไม่มีการส่งออก รวมแล้วมีข้าวที่ขายให้ผู้ส่งออก แต่ไม่ได้มีการส่งออกรวม 9.22 แสนตัน หรือคิดเป็น 26.66% ของปริมาณข้าวในสต๊อกที่ขายให้ผู้ส่งออก
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ส่งออกที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขกลับมีการขอรับหลักประกันตามสัญญาคืนจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยแสดงหลักฐานการส่งออกไม่ครบถ้วน หรือปิดบังข้อเท็จจริงในการส่งออกข้าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐหลงเชื่อและคืนหลักประกันให้ ทั้งนี้ ยังพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐบางรายปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง และคืนหลักประกันให้ผู้ส่งออกโดยมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการตรวจสอบสัญญาการซื้อขายข้าวในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตรวจสอบข้อมูลการทุจริตการขายข้าวในรัฐบาลชุดก่อน พบว่ามีการอนุมัติขายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้ส่งออกบางรายโดยไม่มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป เป็นการกีดกันบริษัทผู้ส่งออกอื่นไม่ให้เสนอราคาแข่งขันอย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการจริง
ทั้งนี้ วิธีการดำเนินการขายข้าวในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ เช่น การเปิดขายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลให้ผู้ส่งออกโดยไม่ได้ใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป แต่กลับให้ผู้ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้าวเสนอซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขายตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าผู้ส่งออกที่ได้รับการอนุมัติขายข้าวให้นั้นมีคำสั่งซื้อข้าวจริงหรือไม่
ส่วนเกณฑ์ราคาที่อนุมัติขายให้ผู้ส่งออก ได้กำหนดราคาซื้อขายเป็นราคา ณ หน้าคลังสินค้า (เอ็กซ์แวร์เฮาส์) โดยใช้ราคาขนส่งข้าวในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยย้อนหลังเป็นเกณฑ์ และหักค่าขนส่งตามระยะทางมาตรฐาน แต่หากเป็นข้าวเก่าให้หักค่าเสื่อมได้ตามสภาพได้อีก
“จากเงื่อนไขดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธาน กขช.ได้อนุมัติขายข้าวให้แก่ผู้ส่งออก 8 ราย ปริมาณรวม 2.731 ล้านตัน เป็นการขายในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2553”
อย่างไรก็ตาม ในการขายข้าวจำนวนดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่าทุกสัญญาจะต้องทำการส่งออกให้เสร็จสิ้นภายในปี 2554 แต่พบว่ามีผู้ส่งออกบางรายส่งออกข้าวไม่ครบถ้วนตามสัญญา บางรายไม่มีการส่งออก รวมแล้วมีข้าวที่ขายให้ผู้ส่งออก แต่ไม่ได้มีการส่งออกรวม 9.22 แสนตัน หรือคิดเป็น 26.66% ของปริมาณข้าวในสต๊อกที่ขายให้ผู้ส่งออก
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ส่งออกที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขกลับมีการขอรับหลักประกันตามสัญญาคืนจากองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยแสดงหลักฐานการส่งออกไม่ครบถ้วน หรือปิดบังข้อเท็จจริงในการส่งออกข้าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐหลงเชื่อและคืนหลักประกันให้ ทั้งนี้ ยังพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐบางรายปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้อง และคืนหลักประกันให้ผู้ส่งออกโดยมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตด้วย