ภาคธุรกิจชี้เอกชนต้องปรับตัวเตรียมรับมือค่าแรง 300 บาทปีหน้าให้พร้อม เหตุเป็นต้นทุนสำคัญ แนะปรับกระบวนการผลิต ลดไขมันองค์กร ด้านธุรกิจค้าปลีก-แฟชั่น ไม่หวั่นค่าแรง 300 บาท เดินหน้าขยายธุรกิจรับแรงงานอีกเพียบ ไม่ต่ำกว่าแสนคน
นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และการตลาด บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด หรือ ยูเอฟพี บริษัทผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แบรนด์ พรานทะเล กล่าวว่า ในปีหน้า 2556 เป็นปีที่นโยบายปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ดังนั้นภาคเอกชนต้องปรับตัวรองรับให้ดี เพราะเป็นปัจจัยลบที่มีผลกระทบกับต้นทุนการดำเนินธุรกิจอย่างมาก
เขากล่าวด้วยว่า สิ่งที่เอกชนควรมองคือ การเตรียมตรวจสอบกระบวนการผลิตใหม่หมด เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน การลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เล็กลงเหมาะกับความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทฯเองก็มีประสบการณ์จากการปรับขึ้นค่าแรงให้แก่พนักงาน 300 บาทต่อวันตั้งแต่ปีนี้แล้ว เพราะบริษัทฯมีโรงงานกระจายอยู่ใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปีที่ทำธุรกิจเหนื่อยมาก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถอยู่รอดมาได้ เพราะมีการปรับตัวรองรับไว้อย่างดี อีกทั้งไม่มีการลดจำนวนแรงงานลงด้วยจากที่มีอยู่ 3,800 คน
โดยบริษัทฯได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 38% ด้วยการหันมาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้เครื่องจักรมากขึ้น แต่คงคุณภาพสินค้าเหมือนเดิม ทำให้ในสิ้นปีนี้ บริษัทในเครือยังคงมีรายได้รวมประมาณ 9,000 ล้านบาท เติบโต 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้เช่นเดิม
อย่างไรก็ตามในปี 2556 คาดว่ารายได้ของบริษัทฯจะเติบโต 10% อีกทั้งจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและได้ลดภาษีนิติบุคคลในปีหน้า จะทำให้อัตราผลกำไรระยะยาวเติบโตขึ้นด้วย ซึ่งบริษัทฯคาดว่าปีหน้าผลกำไรจะเติบโต 4% ส่วนในปีนี้กำไรเติบโตแค่ 2% เท่านั้นเอง
นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่าย เครื่องสำอาง สินค้า แฟชั่น เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ มากกว่า 100 แบรนด์ ในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า เนื่องจากในปีหน้า บริษัทฯจะมีการขยายธุรกิจจำนวนมาก ส่งผลให้มีความต้องการพนักงานเพิ่มตามไปด้วย ปีหน้าจึงมีแผนที่จะรับพนักงานใหม่หลายร้อยคนจากปัจจุบันมีพนักงานในเครือรวม 7,000 คน แต่บริษัทฯก็ไม่มีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เพราะบริษัทฯได้ทำการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้แก่พนักงานไปแล้วตั้งแต่ปีนี้ ซึ่งยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัทพอสมควร เพราะทำให้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นหลายสิบล้านบาท แต่ได้พยายามลดต้นทุนในองค์กร และไม่ได้ลดแรงงานที่มีอยู่แต่อย่างใด
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 ประเมินกันว่า ภาคธุรกิจค้าปลีกจะมีความต้องการรับพนักงานใหม่เพิ่มมากกว่า 100,000 คน เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจและการเปิดสาขาใหม่จำนวนมาก จากปัจจุบันภาคธุรกิจค้าปลีกมีจำนวนแรงงานทั้งหมดกว่า 6.1 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนมากที่สุดของประเทศ
นอกจากนั้นแล้วแม้ว่าปีหน้าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ แต่ภาคธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่มีแผนที่จะปรับลดจำนวนพนักงานลง เพราะปัจจุบันค่าแรงของภาคค้าปลีก ส่วนใหญ่จะเกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว ซึ่งได้มีการรวมค่าสวัสดิการและค่าโอทีต่างๆ ประกอบกับภาคเอกชน มีต้นทุนธุรกิจที่ลดลง จากการลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 20% ในปีหน้าด้วย
ส่วนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 เชื่อมั่นว่าแรงงานในธุรกิจค้าปลีกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะกฏหมายไม่ได้อนุญาติให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในธุรกิจนี้ ยกเว้นกลุ่มแม่บ้านและ รปภ. ที่อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างชาติได้ แต่ต้องขออนุญาติจากหน่วยงานภาครัฐก่อน
สำหรับภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในปี2556 คาดว่าทั้งอุตสาหกรรมจะมีการเติบโตประมาณ 8-9% ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และผลจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น และออกมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 5% ซึ่งปกติภาคค้าปลีกจะเติบโตมากกว่าจีดีพี 3-4% ส่วนปี 2555 หรือปีนี้ภาคธุรกิจค้าปลีกเติบโต 10-11%เป็นผลมาจากปีก่อนเกิดน้ำท่วม ทำให้ฐานปีก่อนหน้านี้อยู่ในระดับต่ำ
นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และการตลาด บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด หรือ ยูเอฟพี บริษัทผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง แบรนด์ พรานทะเล กล่าวว่า ในปีหน้า 2556 เป็นปีที่นโยบายปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ดังนั้นภาคเอกชนต้องปรับตัวรองรับให้ดี เพราะเป็นปัจจัยลบที่มีผลกระทบกับต้นทุนการดำเนินธุรกิจอย่างมาก
เขากล่าวด้วยว่า สิ่งที่เอกชนควรมองคือ การเตรียมตรวจสอบกระบวนการผลิตใหม่หมด เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน การลดขนาดบรรจุภัณฑ์ให้เล็กลงเหมาะกับความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทฯเองก็มีประสบการณ์จากการปรับขึ้นค่าแรงให้แก่พนักงาน 300 บาทต่อวันตั้งแต่ปีนี้แล้ว เพราะบริษัทฯมีโรงงานกระจายอยู่ใน จ.สมุทรสาคร ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปีที่ทำธุรกิจเหนื่อยมาก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถอยู่รอดมาได้ เพราะมีการปรับตัวรองรับไว้อย่างดี อีกทั้งไม่มีการลดจำนวนแรงงานลงด้วยจากที่มีอยู่ 3,800 คน
โดยบริษัทฯได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 38% ด้วยการหันมาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้เครื่องจักรมากขึ้น แต่คงคุณภาพสินค้าเหมือนเดิม ทำให้ในสิ้นปีนี้ บริษัทในเครือยังคงมีรายได้รวมประมาณ 9,000 ล้านบาท เติบโต 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้เช่นเดิม
อย่างไรก็ตามในปี 2556 คาดว่ารายได้ของบริษัทฯจะเติบโต 10% อีกทั้งจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและได้ลดภาษีนิติบุคคลในปีหน้า จะทำให้อัตราผลกำไรระยะยาวเติบโตขึ้นด้วย ซึ่งบริษัทฯคาดว่าปีหน้าผลกำไรจะเติบโต 4% ส่วนในปีนี้กำไรเติบโตแค่ 2% เท่านั้นเอง
นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่าย เครื่องสำอาง สินค้า แฟชั่น เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษ มากกว่า 100 แบรนด์ ในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า เนื่องจากในปีหน้า บริษัทฯจะมีการขยายธุรกิจจำนวนมาก ส่งผลให้มีความต้องการพนักงานเพิ่มตามไปด้วย ปีหน้าจึงมีแผนที่จะรับพนักงานใหม่หลายร้อยคนจากปัจจุบันมีพนักงานในเครือรวม 7,000 คน แต่บริษัทฯก็ไม่มีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เพราะบริษัทฯได้ทำการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้แก่พนักงานไปแล้วตั้งแต่ปีนี้ ซึ่งยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัทพอสมควร เพราะทำให้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเพิ่มขึ้นหลายสิบล้านบาท แต่ได้พยายามลดต้นทุนในองค์กร และไม่ได้ลดแรงงานที่มีอยู่แต่อย่างใด
นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 ประเมินกันว่า ภาคธุรกิจค้าปลีกจะมีความต้องการรับพนักงานใหม่เพิ่มมากกว่า 100,000 คน เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจและการเปิดสาขาใหม่จำนวนมาก จากปัจจุบันภาคธุรกิจค้าปลีกมีจำนวนแรงงานทั้งหมดกว่า 6.1 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนมากที่สุดของประเทศ
นอกจากนั้นแล้วแม้ว่าปีหน้าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ แต่ภาคธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่มีแผนที่จะปรับลดจำนวนพนักงานลง เพราะปัจจุบันค่าแรงของภาคค้าปลีก ส่วนใหญ่จะเกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว ซึ่งได้มีการรวมค่าสวัสดิการและค่าโอทีต่างๆ ประกอบกับภาคเอกชน มีต้นทุนธุรกิจที่ลดลง จากการลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 20% ในปีหน้าด้วย
ส่วนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 เชื่อมั่นว่าแรงงานในธุรกิจค้าปลีกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะกฏหมายไม่ได้อนุญาติให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในธุรกิจนี้ ยกเว้นกลุ่มแม่บ้านและ รปภ. ที่อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างชาติได้ แต่ต้องขออนุญาติจากหน่วยงานภาครัฐก่อน
สำหรับภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในปี2556 คาดว่าทั้งอุตสาหกรรมจะมีการเติบโตประมาณ 8-9% ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และผลจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ลูกค้ามีกำลังซื้อมากขึ้น และออกมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 5% ซึ่งปกติภาคค้าปลีกจะเติบโตมากกว่าจีดีพี 3-4% ส่วนปี 2555 หรือปีนี้ภาคธุรกิจค้าปลีกเติบโต 10-11%เป็นผลมาจากปีก่อนเกิดน้ำท่วม ทำให้ฐานปีก่อนหน้านี้อยู่ในระดับต่ำ