ภายหลังคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่มีนายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา เป็นประธาน เดินหน้าลงมติวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมจะทำประชามติภายหลังยกร่างเสร็จเรียบร้อย ซึ่งอาจไม่ตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการแกด้ไขรัฐธรรมนูญตามาตรา 291 เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มาจาการลงประชามติของประชาชนดังนั้นหากจะแก้ไขจะต้องถามความเห็นของประชาชนก่อนว่าจะแก้ไขหรือไม่เสียก่อน
วานนี้(4ธ.ค.55)ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา ในฐานะแกนนำกลุ่ม 40 สว. ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านว่า การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการกระทำขัดต่อต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 3 ก.ค. 2555 ดังนั้นอยากเตือนเพื่อน สว. และ สส.หากจะลงมติในวาระ 3 อาจสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำขัดต่อคำสั่งของศาลอาจส่งผลต่อการยุบพรรคและพ้นจากสมาชิกภาพได้
“หากยังดำเนินการลงมติในวาระ 3 ก็จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อคัดค้านต่อไป”
นายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามยื่นขนมหวานให้ สว.เลือกตั้งโหวตแลกกับการต่อวาระการดำรงตำแหน่งให้อีก 3 ปี รวมเป็น9ปีซึ่ง ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยเพราะทราบว่าต้องการแก้มาตรา 309 ซึ่งเป็นกล่องดวงใจที่สามารถปลดพันธนาการและคืนอิสรภาพให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีกลับคืนสู่อำนาจได้เป็นเหมือนระเบิดลูกเก่า แต่นำมาวางใหม่
ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้อยู่แล้ว คิดว่าฝ่ายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงต้องดูรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวข้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ส่วนถ้ารัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการทำประชามติ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยก่อนหน้านี้อาจทำให้มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกนั้น เห็นว่า เรื่องการนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ที่จะมายื่นร้อง โดยจะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญในการยื่นร้อง แต่เรื่องการใช้สิทธิในการยื่นผ่านศาลรัฐธรรมนูญนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการที่จะพิจารณารับคำร้องหรือไม่
ทั้งนี้หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีก จะส่งผลทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล่าช้าหรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า เรื่องล่าช้าหรือเร็วไม่ได้อยู่ในกระบวนการนี้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลฯอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนตามปกติตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะศาลฯมีความเป็นอิสระ ยึดตามหลักฎหมาย ไม่ได้เข้าไปยุ่งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว
อีกด้านช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายโภคิน เดินทางเข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงานตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรายงานความคืบหน้าถึงผลสรุปของคณะทำงานฯ
จากนั้นนายโภคิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าพบว่า ตนได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าขณะนี้คณะทำงานได้ทำงานไปถึงไหนแล้ว และนายกฯจะต้องรอเอกสารที่เสร็จสมบูรณ์ก่อน รวมทั้งส่งให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคดูว่าคณะทำงานมีความเห็นอย่างไร โดยเบื้องต้นคิดว่าจะส่งเอกสารหลังการตรวจสอบและจัดพิมพ์ให้ได้ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ หากไม่ทันก็อาจจะเลื่อนออกไปนิดหน่อย ส่วนจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อไหร่ก็ขึ้นอยู่กับพรรคร่วมฯ จากนั้นก็จะเป็นเรื่องการนัดเพื่อหารือ ทั้งนี้นายกฯไม่ได้กังวลอะไร บอกว่าขอให้ทำทุกอย่างไปตามขั้นตอน และกระบวนการขอให้ดูให้รอบคอบเท่านั้น อย่างไรก็ตามคณะทำงานก็ทำไปตามหลักการตามกฎหมายและหลักวิชา จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพราะคนโหวตคือ ส.ส.และ ส.ว. ส่วนการปรับแก้นั้นก็มีบ้างเพราะในการยกร่างมีทั้งส่วนวิชาการ การอ้างถ้อยคำตามกฎหมาย ซึ่งก็ต้องมาดูรายละเอียดให้สมบูรณ์
ส่วนเรื่องความเห็นการทำประชามตินั้น นายโภคิน กล่าวว่า ตนได้แถลงชัดเจนแล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำไว้ในคำวินิจฉัยว่าถ้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องทำประชามติเสียก่อน คณะทำงานก็เห็นว่าเป็นคำแนะนำที่นำมาปฏิบัติได้อยู่แล้วเพราะในร่างแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญก็มีประเด็นที่ต้องทำประชามติ ซึ่งถ้าไปทำก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญแล้วจะไปถามประชาชนว่ามีรัฐธรรมนูญใหม่ดีหรือไม่ทั้งๆที่ยังไม่มีอะไรก็คงเป็นเรื่องแปลก แต่ถ้ามีการยกร่างแล้วถามประชาชนว่าขณะนี้เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วและมีสาระแบบนี้เห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ดำเนินการต่อไป ส่วนจะมีปัญหาต้องตีความหรือไม่ตนไม่สามารถตอบได้ แต่คณะทำงานก็พยายามทำตามหลักและขั้นตอนของรัฐธรรมนูญทุกอย่าง
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาคณะยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าคณะยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยจะประชุม เพื่อค้นหาแนวที่เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง แต่ขอย้ำว่าไม่ได้เป็นการแก้เพื่อล้างผิดให้ใคร สำหรับแรงต่อต้านนั้นเราไม่กังวล
“พ.ต.ท.ทักษิณก็พูดถึงรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดว่ากติกายังไม่เป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้องแก้ไข อดีตนายกฯเดินทางไปหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พบเจออะไรเยอะแยะ ก็อยากให้คนไทยได้อะไรที่ดีกว่าเป็นอยู่ในขณะนี้ แต่ท่านย้ำว่าจะทำอะไรไม่ต้องเป็นห่วงท่าน ให้ห่วงประเทศชาติดีกว่า”
นายนพดล กล่าวว่า ในวันที่ 11 ธ.ค. สถาบันเอเชียโซไซตี สำนักงานฮ่องกง ได้เชิญพ.ต.ท.ทักษิณ เข้าร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ "สนทนากับทักษิณ" โดยพ.ต.ท.ทักษิณจะพูดในฐานะอดีตผู้นำประเทศไทยที่มีความรู้เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ
มีรายงานว่าบรรดารัฐมนตรี และส.ส. แห่จองตั๋วเครื่องบินคึกคักเพื่อ เตรียมตัวเดินทางไปเยี่ยม
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปีรัฐธรรมนูญไทย หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคจะประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่รัฐสภา ให้มีการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อเรียกร้องการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถูกต้องตามครรลอง จากนั้นจะเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วประเทศ
ก่อนหน้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากได้ผ่านขั้นตอนของรัฐบาลไปแล้ว ตั้งแต่การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระแรก ส่วน จะทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายตามมาหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คงต้องรอให้มีการพูดคุยกันก่อน ส่วนจะมีการทำประชามติก่อนหรือไม่นั้น ตนยังไม่ทราบ แต่ขอให้เป็นการพิจารณาและกระบวนการของสภาฯ
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวว่า กลุ่ม นปช.พร้อมออกมาร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนกึงแนวทางของรัฐบาล แต่จะไม่มีการออกมาชุมนุมเพื่อสนับสนุน
แม้จะมีการส่งสัญญาณจากกลุ่มคัดค้านที่ต้องการล้มรัฐบาล ทั้งฝ่ายการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง และกลุ่มที่ไม่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ หากใช้เวลาในการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชน อีกสัก 1-2 เดือน อาจจะช่วยลดกระแสต้าน
นอกจากนี้ขั้นตอนการทำประชามติควรเกิดขึ้นหลังการพิจารณายกร่างของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) โดยไม่จำเป็นต้องถามความเห็นจากประชาชนก่อนว่าควรจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ขัดต่อความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องไปล็อบบี้ ส.ว.เลือกตั้ง ด้วยการให้เงื่อนไขแลกเปลี่ยนเชื่อว่า หาก ส.ว.ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน หากจะมีการเลือกตั้งใหม่ก็ยังได้รับการสนับสนุน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กล่าวว่า จะทำอะไรต้องให้ประชาชนเข้าใจ ตกผลึกเพี่อไม่ให้เกิดปัญหาแม้ว่าพรรคร่วมจะมีมติเช่นนั้นก็ตาม
“ผมเคยศึกษาประวัติศาสตร์ กรณีที่นายมิคาเอล โคบาชอฟ ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซีย ในการหารือเรื่องสงครามเย็นกับประเทศสหรัฐฯ ทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวว่าอะไรที่เป็นข้อขัดแย้งให้เจรจาทีหลัง อะไรที่ตกลงกันได้ให้เจรจาก่อน อะไรที่ขัดแย้งในความเห็นส่วนตัวผมจะไปสร้างความขัดแย้งทำไม ค่อยเป็นค่อยไปรัฐบาลจะได้มีเวลาทำงาน
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องรอให้การสานเสวนาเสร็จก่อนในเดือนมี.ค.หรือไม่นั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าเดือนมี.ค.ไม่เสร็จต่อเวลาอีก 3 เดือนก็สามารถทำได้ ขออย่าขัดแย้งกันเลย
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดเวทีสานเสวนาว่า หลังจากการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา แล้ว ก็จะเดินหน้าในเรื่องการจัดการจัดเวที คาดว่ากลางเดือน ธ.ค.จะได้กติกาที่ชัดเจน จากนั้นก่อนสิ้นเดือนนี้จะมีการอบรมวิทยากรปฏิบัติการทั้งหมด 20 ชุด เพื่อที่จะลงพื้นที่จัดเวทีฯ 108 แห่งทั่วประเทศ โดยจะเริ่มในช่วงหลังปีใหม่ และในช่วงสิ้นเดือน มี.ค. หลังจากที่ระดมความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 75,000 คนก็จะสามารถมองออกว่าตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางใด จากนั้นจะนำมาสรุปและเปิดเผยต่อสาธารชนต่อไป
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทบทวนว่า จะเดินหน้าเรื่องนี้หรือควรจะถอยหลัง เพื่อให้สังคมได้มีเวลาในการเรียนรู้เพื่อหาทางออกในปัญหาของประเทศร่วมกันมากกว่าที่จะเดินหน้าล้างผิดหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นคุณกับรัฐบาลเท่านั้น เพราะจะเป็นการเติมเชื้อเพลิงในกองไฟ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ทางพรรคยังไม่มีการพูดคุยกัน และยังไม่มีการเข้าไปพูดคุยกับทางรัฐบาล คาดว่า อาจจะมีการประชุมกันอีกครั้ง หลังเปิดสมัยประชุมสภาไปแล้ว
นายสุรชัย ทิณเกิด ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ขณะนี้ ทางพรรคยังไม่มีการพูดคุยในเรื่องนี้ คาดว่าจะมีการนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 25 - 26 ธันวาคมนี้ ซึ่งแนวโน้มของพรรคในตอนนี้ กำลังรอดูท่าทีของรัฐบาล ถึงรายงานสรุปแก้รัฐธรรมนูญก่อนว่าเป็นอย่างไร
วานนี้(4ธ.ค.55)ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา ในฐานะแกนนำกลุ่ม 40 สว. ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านว่า การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการกระทำขัดต่อต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 3 ก.ค. 2555 ดังนั้นอยากเตือนเพื่อน สว. และ สส.หากจะลงมติในวาระ 3 อาจสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำขัดต่อคำสั่งของศาลอาจส่งผลต่อการยุบพรรคและพ้นจากสมาชิกภาพได้
“หากยังดำเนินการลงมติในวาระ 3 ก็จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อคัดค้านต่อไป”
นายประสาร กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามยื่นขนมหวานให้ สว.เลือกตั้งโหวตแลกกับการต่อวาระการดำรงตำแหน่งให้อีก 3 ปี รวมเป็น9ปีซึ่ง ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยเพราะทราบว่าต้องการแก้มาตรา 309 ซึ่งเป็นกล่องดวงใจที่สามารถปลดพันธนาการและคืนอิสรภาพให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีกลับคืนสู่อำนาจได้เป็นเหมือนระเบิดลูกเก่า แต่นำมาวางใหม่
ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้อยู่แล้ว คิดว่าฝ่ายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงต้องดูรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวข้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ส่วนถ้ารัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการทำประชามติ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยก่อนหน้านี้อาจทำให้มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกนั้น เห็นว่า เรื่องการนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ที่จะมายื่นร้อง โดยจะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญในการยื่นร้อง แต่เรื่องการใช้สิทธิในการยื่นผ่านศาลรัฐธรรมนูญนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการที่จะพิจารณารับคำร้องหรือไม่
ทั้งนี้หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีก จะส่งผลทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล่าช้าหรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า เรื่องล่าช้าหรือเร็วไม่ได้อยู่ในกระบวนการนี้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลฯอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนตามปกติตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะศาลฯมีความเป็นอิสระ ยึดตามหลักฎหมาย ไม่ได้เข้าไปยุ่งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว
อีกด้านช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายโภคิน เดินทางเข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงานตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรายงานความคืบหน้าถึงผลสรุปของคณะทำงานฯ
จากนั้นนายโภคิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าพบว่า ตนได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าขณะนี้คณะทำงานได้ทำงานไปถึงไหนแล้ว และนายกฯจะต้องรอเอกสารที่เสร็จสมบูรณ์ก่อน รวมทั้งส่งให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคดูว่าคณะทำงานมีความเห็นอย่างไร โดยเบื้องต้นคิดว่าจะส่งเอกสารหลังการตรวจสอบและจัดพิมพ์ให้ได้ในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ หากไม่ทันก็อาจจะเลื่อนออกไปนิดหน่อย ส่วนจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อไหร่ก็ขึ้นอยู่กับพรรคร่วมฯ จากนั้นก็จะเป็นเรื่องการนัดเพื่อหารือ ทั้งนี้นายกฯไม่ได้กังวลอะไร บอกว่าขอให้ทำทุกอย่างไปตามขั้นตอน และกระบวนการขอให้ดูให้รอบคอบเท่านั้น อย่างไรก็ตามคณะทำงานก็ทำไปตามหลักการตามกฎหมายและหลักวิชา จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพราะคนโหวตคือ ส.ส.และ ส.ว. ส่วนการปรับแก้นั้นก็มีบ้างเพราะในการยกร่างมีทั้งส่วนวิชาการ การอ้างถ้อยคำตามกฎหมาย ซึ่งก็ต้องมาดูรายละเอียดให้สมบูรณ์
ส่วนเรื่องความเห็นการทำประชามตินั้น นายโภคิน กล่าวว่า ตนได้แถลงชัดเจนแล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำไว้ในคำวินิจฉัยว่าถ้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องทำประชามติเสียก่อน คณะทำงานก็เห็นว่าเป็นคำแนะนำที่นำมาปฏิบัติได้อยู่แล้วเพราะในร่างแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญก็มีประเด็นที่ต้องทำประชามติ ซึ่งถ้าไปทำก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญแล้วจะไปถามประชาชนว่ามีรัฐธรรมนูญใหม่ดีหรือไม่ทั้งๆที่ยังไม่มีอะไรก็คงเป็นเรื่องแปลก แต่ถ้ามีการยกร่างแล้วถามประชาชนว่าขณะนี้เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วและมีสาระแบบนี้เห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ดำเนินการต่อไป ส่วนจะมีปัญหาต้องตีความหรือไม่ตนไม่สามารถตอบได้ แต่คณะทำงานก็พยายามทำตามหลักและขั้นตอนของรัฐธรรมนูญทุกอย่าง
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาคณะยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าคณะยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยจะประชุม เพื่อค้นหาแนวที่เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง แต่ขอย้ำว่าไม่ได้เป็นการแก้เพื่อล้างผิดให้ใคร สำหรับแรงต่อต้านนั้นเราไม่กังวล
“พ.ต.ท.ทักษิณก็พูดถึงรัฐธรรมนูญอยู่ตลอดว่ากติกายังไม่เป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้องแก้ไข อดีตนายกฯเดินทางไปหลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พบเจออะไรเยอะแยะ ก็อยากให้คนไทยได้อะไรที่ดีกว่าเป็นอยู่ในขณะนี้ แต่ท่านย้ำว่าจะทำอะไรไม่ต้องเป็นห่วงท่าน ให้ห่วงประเทศชาติดีกว่า”
นายนพดล กล่าวว่า ในวันที่ 11 ธ.ค. สถาบันเอเชียโซไซตี สำนักงานฮ่องกง ได้เชิญพ.ต.ท.ทักษิณ เข้าร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ "สนทนากับทักษิณ" โดยพ.ต.ท.ทักษิณจะพูดในฐานะอดีตผู้นำประเทศไทยที่มีความรู้เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ
มีรายงานว่าบรรดารัฐมนตรี และส.ส. แห่จองตั๋วเครื่องบินคึกคักเพื่อ เตรียมตัวเดินทางไปเยี่ยม
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปีรัฐธรรมนูญไทย หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคจะประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่รัฐสภา ให้มีการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อเรียกร้องการมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างถูกต้องตามครรลอง จากนั้นจะเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วประเทศ
ก่อนหน้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากได้ผ่านขั้นตอนของรัฐบาลไปแล้ว ตั้งแต่การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระแรก ส่วน จะทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายตามมาหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า คงต้องรอให้มีการพูดคุยกันก่อน ส่วนจะมีการทำประชามติก่อนหรือไม่นั้น ตนยังไม่ทราบ แต่ขอให้เป็นการพิจารณาและกระบวนการของสภาฯ
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวว่า กลุ่ม นปช.พร้อมออกมาร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนกึงแนวทางของรัฐบาล แต่จะไม่มีการออกมาชุมนุมเพื่อสนับสนุน
แม้จะมีการส่งสัญญาณจากกลุ่มคัดค้านที่ต้องการล้มรัฐบาล ทั้งฝ่ายการเมืองที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง และกลุ่มที่ไม่ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ หากใช้เวลาในการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชน อีกสัก 1-2 เดือน อาจจะช่วยลดกระแสต้าน
นอกจากนี้ขั้นตอนการทำประชามติควรเกิดขึ้นหลังการพิจารณายกร่างของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) โดยไม่จำเป็นต้องถามความเห็นจากประชาชนก่อนว่าควรจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ขัดต่อความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องไปล็อบบี้ ส.ว.เลือกตั้ง ด้วยการให้เงื่อนไขแลกเปลี่ยนเชื่อว่า หาก ส.ว.ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน หากจะมีการเลือกตั้งใหม่ก็ยังได้รับการสนับสนุน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กล่าวว่า จะทำอะไรต้องให้ประชาชนเข้าใจ ตกผลึกเพี่อไม่ให้เกิดปัญหาแม้ว่าพรรคร่วมจะมีมติเช่นนั้นก็ตาม
“ผมเคยศึกษาประวัติศาสตร์ กรณีที่นายมิคาเอล โคบาชอฟ ประธานาธิบดีของประเทศรัสเซีย ในการหารือเรื่องสงครามเย็นกับประเทศสหรัฐฯ ทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวว่าอะไรที่เป็นข้อขัดแย้งให้เจรจาทีหลัง อะไรที่ตกลงกันได้ให้เจรจาก่อน อะไรที่ขัดแย้งในความเห็นส่วนตัวผมจะไปสร้างความขัดแย้งทำไม ค่อยเป็นค่อยไปรัฐบาลจะได้มีเวลาทำงาน
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องรอให้การสานเสวนาเสร็จก่อนในเดือนมี.ค.หรือไม่นั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าเดือนมี.ค.ไม่เสร็จต่อเวลาอีก 3 เดือนก็สามารถทำได้ ขออย่าขัดแย้งกันเลย
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธาน ปคอป. กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดเวทีสานเสวนาว่า หลังจากการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา แล้ว ก็จะเดินหน้าในเรื่องการจัดการจัดเวที คาดว่ากลางเดือน ธ.ค.จะได้กติกาที่ชัดเจน จากนั้นก่อนสิ้นเดือนนี้จะมีการอบรมวิทยากรปฏิบัติการทั้งหมด 20 ชุด เพื่อที่จะลงพื้นที่จัดเวทีฯ 108 แห่งทั่วประเทศ โดยจะเริ่มในช่วงหลังปีใหม่ และในช่วงสิ้นเดือน มี.ค. หลังจากที่ระดมความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 75,000 คนก็จะสามารถมองออกว่าตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางใด จากนั้นจะนำมาสรุปและเปิดเผยต่อสาธารชนต่อไป
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทบทวนว่า จะเดินหน้าเรื่องนี้หรือควรจะถอยหลัง เพื่อให้สังคมได้มีเวลาในการเรียนรู้เพื่อหาทางออกในปัญหาของประเทศร่วมกันมากกว่าที่จะเดินหน้าล้างผิดหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นคุณกับรัฐบาลเท่านั้น เพราะจะเป็นการเติมเชื้อเพลิงในกองไฟ
นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ขณะนี้ ทางพรรคยังไม่มีการพูดคุยกัน และยังไม่มีการเข้าไปพูดคุยกับทางรัฐบาล คาดว่า อาจจะมีการประชุมกันอีกครั้ง หลังเปิดสมัยประชุมสภาไปแล้ว
นายสุรชัย ทิณเกิด ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ขณะนี้ ทางพรรคยังไม่มีการพูดคุยในเรื่องนี้ คาดว่าจะมีการนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 25 - 26 ธันวาคมนี้ ซึ่งแนวโน้มของพรรคในตอนนี้ กำลังรอดูท่าทีของรัฐบาล ถึงรายงานสรุปแก้รัฐธรรมนูญก่อนว่าเป็นอย่างไร